1.1
วิภาษวิธีนิยมเป็นโลกทัศน์ของชนชั้นกรรมาชีพ |
......อะไรคือโลกทัศน์
โลกทัศน์คือทัศนะและวิธีการพื้นฐานที่สุดที่มีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงของโลกและโลกทั้งโลก
โลกทัศน์ของชนชั้นกรรมาชีพคือวิภาษวิธิวัตถุนิยมไม่ใช่อภิปรัชญา เป็นวัตถุนิยมแบบวิภาษวิธีไม่ใช่อภิปรัชญา
ปัญหาการมองว่าโลกนี้เป็นอย่างไร? มีรูปร่างอย่างไร? สิ่งต่างๆในโลกนี้มีความสำพันธ์และแปรเปลี่ยนอย่างไร?
แต่ไหนแต่ไรมามีการมองที่แตกต่างกัน 3 ชนิด |
ก.
จิตนิยม มีทั้งจิตนิยมแบบอภิปรัชญาและจิตนิยมแบบวิภาษ เขาว่าโลกนี้สร้างจากจิต
หรือพูดให้ลึกเข้าไปคือ โลกนี้สร้างจากพระเจ้าและเทวดา |
ข.
วัตถุนิยมกลไก ปฏิเสธว่าโลกนี้สร้างโดยจิต เห็นว่าโลกนี้สร้างโดยวัตถุ
แต่วัตถุไม่พัฒนาไม่เปลี่ยนแปลง |
ค.
วัตถุนิยมวิภาษ เป็นการมองโลกของชนชั้นกรรมาชีพ ได้โค่นคำพูด 2 อย่างแรก
ชนชั้นกรรมาชีพเห็นว่า โลกนี้เป็นวัตถุที่พัฒนาอยู่ การมองโลกเช่นนี้เป็นการมองที่พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน
วิธีการมองเช่นนี้ ความจริงในสมัยโบราณทั้งจีนและยุโรปก็มีอยู่แล้ว เช่น
ในสมัยกรีก มีนักวัตถุนิยมเรียบๆ เขาว่าในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่หยุดนิ่งและไม่เคลื่อนไหว
ทุกอย่างล้วนกำลังเปลี่ยนแปลงไม่ขากชั่วนิรันดร์ เขามีคำพูดที่ลือชื่อว่า
ท่านไม่สามารถเข้าสู่แม่น้ำสายเดียวกันในเวลา 2 ครั้ง เพราะครั้งแรกที่เขาเข้าไปนั้นเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง
แต่ถ้าไปอีกครั้งเป็นอีกสายหนึ่ง เพราะทุกอย่างเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง
เขาว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนประกอบด้วยปรมาณูที่ละเอียดลออ ปรมาณูที่มีรูปร่างต่างกัน
น้ำหนักต่างกัน ประกอบขึ้นเป็นสิ่งที่ต่างกัน คำพูดของเขาขณะนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง
วัตถุนิยมเรียบๆในบสมัยโบราณ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยยุคสมัย ฉะนั้นการมองโลกโดยวิธีนี้ของพวกเขาจึงไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
การมองโลกของพวกเขาเป็นแบบรวมๆง่ายๆ ฉะนั้นจึงตั้งชื่อการมองโลกรวมๆนี้ว่า
วิภาษวิธีวัตถุนิยมเรียบๆ มาในศตวรรษที่ 19 ในเยอรมัน ก็มีนักปรัชญาคนหนึ่งสร้างวิภาษวิธีจิตนิยมขึ้นมา
ตัวแทนคือเฮเกล เขาเห็นว่าโลกพัฒนาแต่สร้างโดยจิต ฉะนั้นเขาคือพวกทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาแบบจิตนิยม
ด้านที่ถูกต้องของทฤษฎีนี้คือ ว่าด้วยการพัฒนา (วิภาษวิธี) ด้านที่ผิดคือ
จิตนิยม ระหว่างศตวรรษที่ 17-19 ในประเทศทุนนียมของเยอรมันและฝรั่งเศส
มีนักวัตถุนิยมจำนวนหนึ่งปรากฏขึ้น คนเหล่านี้เห็นว่าโลกเป็นวัตถุแต่ไม่พัฒนา
แม้จะมีการเคลื่อนไหวหรือพัฒนาอยู่ก็เป็นเพียงภายนอก คือ เป็นการเพิ่มหรือลดปริมาณ
เขาปฏิเสธว่าการพัฒนาของสรรพสิ่งนั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพวิธี การมองโลกเข่นนี้
คือวัตถุนิยมแบบกลไก ด้านที่ถูกต้องคือ ยอมรับโลกทางวัตถุ แต่ที่ผิดคือเห็นว่าโลกนั้นมีการเคลื่อนไหวเป็นแบบกลไก
(เหมือนเครื่องจักร) |
|
......ส่วนการมองแบบลัทธิมาร์กซนั้น
ได้สืบทอดวัตถุนิยมวิภาษแบบเรียบๆ ดัดแปลงวัตถุนิยมแบบกลไก และวิภาษวิธีจิตนิยม
แล้วสร้างโลกทัศน์วิภาษวิธีวัตถุนิยมที่สร้างขึ้นมาบนพื้นฐานแห่งวิทยาศาสตร์ซึ่งไม่มีมาก่อนได้กลายเป็นอาวุธทางความคิดของชนชั้นกรรมาชีพ
และประชาชนที่ถูกกดขี่ทั่วโลก วิภาษวิธีวัตถุนิยมเป็นโลกทัศน์ของลัทธิมาร์กซ
และก็เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ คือเห็นว่าโลกทัศน์ที่พัฒนาและสรรพสิ่งล้วน
1 แยกเป็น 2 เมื่อเราได้นำเอาโลกทัศน์ขั้นมูลฐานนี้มามองโลก มาค้นคว้าปัญหาชี้นำ
การปฏิบัติมาทำงานมวลชน ทำการผลิต วิจารณ์ข้อดี ข้อบกพร่องของผู้อื่น ก็รวมเรียกว่าทฤษฎีว่าด้วยวิภาษวัตถุนิยม |