2. เหตุมูลฐานแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งอยู่ที่ลักษณะขัดแย้งภายในของสรรพสิ่ง
2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุภายในและเหตุภายนอก
......ก. เราเห็นว่าฐานของการพัฒนาอยู่ที่เหตุภายในของสรรพสิ่ง แต่วิภาษวิธีวัตถุนิยมไม่ปฏิเสธเหตุภายนอก ปราชญ์กล่าวว่า “วิภาษวิธีวัตถุนิยมปฏิเสธเหตุภายนอกหรือไม่? ไม่ปฏิเสธ วิภาษวิธีวัตถุนิยมถือว่า เหตุภายนอกเป็นเงื่อนไขกานเปลี่ยนแปลง เหตุภายในเป็นมูลฐานของกานเปลี่ยนแปลง เหตุภายนอกเกิดบทบาทโดยผ่านเหตุภายใน ไข่ไก่ กลายเป็นลูกไก่เพราะได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่อุณหภูมิจะทำให้ก้อนหินกลายเป็นลูกไก่ไม่ได้ เพราะมูลฐานของสองสิ่งต่างกัน”
......ในที่นี้ต้องเข้าใจมูลฐานและเงื่อนไข เหตุภายในเป็นมูลฐาน ก้อนหินกลายเป็นลูกไก่ไม่ได้ เพราะ 2 สิ่งมูลฐานไม่เหมือนกัน แต่การที่ไขไก่จะกลายเป็นไก่ได้ ต้องมีเหตุภายนอกเป็นเงื่อนไข นั่นคืออุณหภูมิที่พอเหมาะ ฉะนั้นมูลฐานภายในก็ต้องประสานกับเงื่อนไขภายนอก จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้นมูลฐานภายในไม่มีเงื่อนไขที่แน่นอนมา ประสานแล้วก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่บทบาทของเหตุภายนอกมีมากแค่ไหนต่อการเปลี่ยนแปลงเล่า? ในการพัฒนาของสิ่งหนึ่งๆ เหตุภายนอกสามารถเกิดบทบาทเร่งรีบ ถ่วงช้า แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทิศทาง การพัฒนาของสรรพสิ่งได้ เช่น ไข่ไก่ถ้าไม่มีอุณหภูมิไม่พออาจจะทำให้ไข่กล่ายเป็นไก่ช้าลงได้ ฉะนั้นเงื่อนไขภายนอกไม่สามารถทำให้ทิศทางการพัฒนาของสรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงไป และสาเหตุที่ทำให้สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงนั้น ด้านหลักอยู่ที่เหตุภายใน
......ข. เหตุภายนอกเกิดบทบาทโดยผ่านเหตุภายในเช่น คนคนหนึ่งจะก้าวหน้าหรือไม่ การช่วยเหลือของสหาย การให้การศึกษาของฝ่ายนำ ซึ่งเป็นเหตุภายนอกจะเกิดบทบาทได้ก็ต้องประสานกับเหตุภายในของเขา คือถ้าไม่เชื่อฟังไม่มีความเพียรพยายาม เขาก็ก้าวหน้าไม่ได้
.......สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเหตุภายในกับเหตุภายนอกนั้น ยังมีปัญหาหนึ่ง ต้องเข้าใจคือ เข้าลักษณะสัมพันธ์ของมัน เพราะสรรพสิ่งสัมพันธ์กันและการพัฒนาของโลกก็ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น เหตุอันหนึ่งสำหรับสิ่งสิ่งหนึ่งเป็นเหตุภายใน แต่สำหรับอีกสิ่งหนึ่งเป็นเหตุภายนอก เช่น ความขัดแย้งของจักพรรดินิยม กล่าวสำหรับทั่วโลกในยุคจักรพรรดินิยม มันเป็นเหตุพื้นฐานของโลกในยุคจักรพรรดินิยม (เหตุภายใน) แต่ถ้ากล่าวสำหรับประเทศกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา มันเป็นเหตุภายนอก คือพูดในขอบเขตกว้าง มันเป็นเหตุภายใน แต่พูดในขอบเขตเล็กลงมันก็เป็นเหตุภายนอก
......การรู้สัมพันธ์นี้มีความสำคัญอย่างไร เมื่อเราจะทำงานจะค้นคว้าหาเหตุผล เราก็ต้องค้นหาทั้งเหตุภายในและเหตุภายนอก เพราะสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กัน แต่ที่สำคัญยังอยู่ที่เหตุทางอัตวิสัย เช่น ถ้าเราทำงานไม่ดี เราจะค้นหาสาเหตุอย่างไร ถ้าเราใช้ทัศนะอภิปรัชญาก็จะหาแต่เหตุภายนอก(ภววิสัย) โทษว่าฝ่ายนำไม่ดี ไม่มีการศึกษาเป็นต้น แต่นี้เป็นเงื่อนไงประการหนึ่งของเหตุภายนอกเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือเหตุภายใน ถ้าเราค้นหาเหตุไม่ถูกต้อง ก็พัฒนางานไม่ได้
......ฉะนั้น ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหวั่งเหตุภายนอกและเหตุภายในให้แจ่มชัดก็จะเป็นอาวุธสำคัญในการดัดแปลงโลกทางอัตวิสัยและภววิสัย