3. ผลการต่อสู้ซึ่งกันและกันระหว่างสองฝ่ายที่ตรงกันข้ามซึ่งขัดแย้งกันอยู่นั้น ไม่มีเลยที่จะไม่แปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันในเงื่อนไขที่แน่นอน
3.1 ลักษณะอย่างเดียวกันของความขัดแย้ง (เอกภาพ) มีความหมาย 2 ด้านคือ
.....ก. ด้าน 2 ด้าน ของความขัดแย้งแต่ละชนิดในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ต่างถือเอาด้านตรงข้ามกับตนเป็นเงื่อนไขเบื้องแรกในการดำรงอยู่ของตน คือด้าน 2 ด้านที่ขัดแย้ง ไม่ใช่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ต่างก็ถือฝ่ายตรงข้ามเป็นเงื่อนไขแห่งการดำรงอยู่ของตน เมื่อไม่มีการแบ่งบน-ล่าง ก็ ไม่มีข้างบน-ข้างล่าง ในสังคมทุนนิยม เมื่อไม่มีชนชั้นกรรมาชีพ ก็ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีนายทุนก็ไม่มีชนชั้นกรรมาชีพ แต่การอาศัยอยู่กันก็ต้องมีเงื่อนไข คือเงื่อนไขในความสัมพันธ์ทางการผลิตแห่งทุนนิยมถ้าปราศจากเงื่อนไขนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายก็ไม่เป็นเอกภาพกัน
........ข. ด้าน2 ด้าน ที่ขัดแย้งกันต่างก็แปรเปลี่ยนไปสู่กันและกัน ด้าน 2 ด้าน ขัดแย้งกันต้องแปรเปลี่ยนไปสู่ทิ ศทางของตรงข้าม และแปรเปลี่ยนไปสู่ฐานะของด้านตรงข้าม เช่นในเงื่อนไขของสังคมทุนนิยมชนชั้นกรรมาชีพเป็นชนชั้นที่ถูกปกครอง ชนชั้นนายทุนเป็นชนชั้นที่ปกครอง เมื่อชนชั้นกรรมาชีพต่อสู้ได้รับชัยชนะ ฐานะของทั้ง 2 ก็เปลี่ยนไป ปราชญ์จีนกล่าวว่า "สิ่งที่ขัดแย้งกันทั้งปวงมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน มันไม่เพียงแต่อยู่ร่วมกันในองค์เอกภาพอันเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่งๆ เท่านั้น หากแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกัน ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่งๆ ด้วย นี่คือความหมายทั้งหมดของลักษณะอย่างเดียวกันของความขัดแย้ง"
......การเข้าใจลักษณะอย่างเดียวกันของความขัดแย้งต้องสนใจ 3 ข้อ ต่อไปนี้
......ก. ความขัดแย้งที่เราหมายถึงต้องเป็นจริงและรูปธรรม ไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีสิ่งที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน เช่น ในเทพนิยาย การแปรเปลี่ยนของพวกเทวดายักษ์ ไม่มีความเกี่ยวพันและไม่มีความขัดแย้งกันที่เป็นจริงเลย แต่ถ้าความขัดแย้งที่เป็นจริงและรูปธรรม ก็ต้องมีลักษณะอย่างเดียวกันแน่นอน ฉะนั้นการนึกฝันกันเองของเรา จึงไม่มีความเป็นเอกภาพและไม่มีความเกี่ยวพันกัน
......ข. ลักษณะอย่างเดียวกันของความขัดแย้งที่เป็นจริงและรูปธรรม มีเงื่อนไขที่แน่นอน ถ้าขาดเงื่อนไขที่แน่นอน ก็ไม่มีลักษณะอย่างเดียวกัน เช่นชนชั้นกรรมาชีพจะแปรเปลี่ยนจากชนชั้นถูกปกครองเป็นชนชั้นปกครองจะต้องมีเงื่อนไขการลุกขึ้นต่อสู้ ถ้าไม่มีเงื่อนไขนี้ลักษณะอย่างเดียวกันก็ไม่สามารถมีได้
......ค. การแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันของด้าน 2 ด้านที่ขัดแย้งกันมีความสำคัญกว่าการดำรงอยู่โดยอาศัยกัน ถ้าไม่มีการแปรเปลี่ยนไปสู่กันก็ไม่มีการดับสูญของสิ่งเก่าและการเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ พวกชนชั้นนายทุนก็ยอมรับว่า การดำรงอยู่ของพวกเขากับกรรมกรเป็นเงื่อนไขกัน และบ้างก็ยอมรับการต่อสู้ทางชนชั้น แต่พวกมันไม่ยอมรับการแปรเปลี่ยนทางชนชั้น ฉะนั้น มาร์กซจึงกล่าวว่า การค้นพบการต่อสุ้ทางชนชั้นมีมาก่อนแล้ว แต่ชนชั้นนายทุนไม่ยอมรับว่าการต่อสู้ทางชนชั้นปกครอง การทำงานทางความคิดก็เป็นการทำงานเพื่อแปรเปลี่ยนทางความคิดคือเปลี่ยนความคิดนายทุนมาเป็นความคิดชนชั้นกรรมาชีพ ปราชญ์จีนกล่าวว่า "ภาระหน้าที่ของเราก็คือเปิดโปงความคิดที่ผิดของพวกปฏิกิริยาและอภิปรัชญา โฆษณาวิภาษวิธี ซึ่งมีอยู่ในสรรพสิ่งมาแต่เดิม ส่งเสริมการแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่ง เพื่อบรรลุจุดหมายแห่งทางปฏิวัติ"