3.2 ลักษณะต่อสู้กัน
ก็คือด้าน 2 ด้านของความขัดแย้งที่ผลักไสกันและต่อสู้กัน ความขัดแย้งทั้งปวงล้วนมีลักษณะต่อสู้และผลักไสกัน
ดำรงอยู่กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบของความขัดแย้ง ล้วนมีการต่อสู้ดำรงอยู่
การต่อสู้ไม่เพียงแต่ดำรงอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณยังดำรงอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ
ฉะนั้น ลักษณะต่อสู้จึงเป็นสิ่งสัมบูรณ์ และไม่มีเงื่อนไข ปราชญ์รัสเซียกล่าวว่า
"การพัฒนาก็คือการต่อสู้ของด้านตรงข้าม ฉะนั้นการเข้าใจลักษณะต่อสู้ของความขัดแย้งจึงมีความสำคัญมาก
เพราะการต่อสู้ระหว่างด้าน 2 ด้านของความขัดแย้งเป็นพลังดันของการพัฒนาของสรรพสิ่ง
ถ้าไม่มีการต่อสู้ก็ไม่มีการพัฒนา ก็จะไม่มีชีวิต ก็ไม่มีทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่ก็มีปัญหาที่น่าสนใจคือ ลักษณะต่อสู้ที่พูดถึง เราพูดในแง่ความหมายกว้างและทั้วไป
ไม่ได้หมายถึง การต่อสู้ระหว่างเรากับศัตรูเท่านั้น ยังรวมทั้งการวิจารณ์-วิจารณ์ตนเอง
ในหมู่ประชาชน ยังรวมถึงแรงกิริยา - ปฏิกิริยา แรงดึงดูด - แรงกีดกันในวิชากลศาสตร์การแยกตัว
- การรวมตัวในภววิสัยด้วยผลแห่งการต่อสู้กันระหว่าง 2 ด้านที่ตรงข้ามกระตุ้นให้สรรพสิ่งพัฒนาแปรเปลี่ยนไป |
|
.......สำหรับลักษณะต่อสู้ของความขัดแย้งต้องสนใจ
2 ข้อดังต่อไปนี้ |
......ก. ผลแห่งการต่อสู้ทั้งปวงมีแนวโน้ม
2 แนวโน้มคือ แนวโน้มที่ก้าวหน้า ซึ่งก็คือ ผลที่จะผลักดันให้สรรพสิ่งก้าวหน้าไป
การแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม คือการกำเนิดขึ้นของสิ่งใหม่และการดับสูญของสิ่งเก่า |
......ข. แนวโน้มที่ถอยหลังชั่วคราว
คือภายหลังที่สิ่งใหม่ได้กลายเป็นด้านหลักของความขัดแย้งแล้วถูกสิ่งเก่าพิชิตลงอีก
เช่น สหภาพโซเวียต การปฏิวัติเดือนตุลาคมได้สร้างประเทศสังคมนิยมขึ้น แต่เนื่องจากผลแห่งการต่อสู้ภายในสังคมของโซเวียต
ชนชั้นนายทุนที่เกิดใหม่ได้ยึดอำนาจรัฐกลับไป |
........ไม่ว่าการต่อสู้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่จะต้องผ่านการกลับไปกลับมาหลายตลบ
แต่ถ้าพิจารณาแนวโน้มทั่วไป ผลในที่สุดสิ่งใหม่ต้องพิชิตสิ่งเก่า ฉะนั้น
ตามทัศนะของวิภาษวิธีวัตถุนิยม เห็นว่า สิ่งใหม่ต้องพิชิตสิ่งเก่าในที่สุด
เช่นการปฏิวัติของประเทศจีน ขณะที่ได้ขยายกำลังไปมาก็ได้เกิดการทรยศของลัทธิฉวยโอกาสทำให้กำลังปฏิวัติต้องลดน้อยลง
เป็นเช่นนี้หลายครั้งหลายหน แต่ในที่สุด การปฏิวัติของจีนก็สำเร็จได้ ใหม่แทนที่เก่าเป็นกฎจักรวาล
ไม่มีสิ่งใดจะต่อต้านได้ ฉะนั้นด้วยอาศัยลัษณะและเงื่อนไขของสรรพสิ่ง เมื่อผ่านรูปแบบก้าวกระโดดที่ต่างกันทำให้สิ่งหนึ่งแปรเปลี่ยนไปเป็นสิ่งใหม่
กระบวนการที่เก่าเปลี่ยนไปสู่ใหม่เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ฉะนั้นเราจึงต้องยืนหยัดอยู่กับสิ่งใหม่
ต้องเชื่อมั่นว่า ใหม่ต้องชนะเก่าเพราะเราเข้าใจลักษณะพิเศษของการต่อสู้เมื่อ
100 กว่าปีก่อน มาร์กซ - เองเกลส์ก็มีความเชื่อมั่นว่า ชนชั้นกรรมาชีพต้องชนะทั่วโลก
เพราะท่าเข้าใจว่าใหม่ต้องชนะเก่า ไม่ว่าการปฏิวัติจะต้องประสบความลดเลี้ยวอย่างไร
ซ้ำซากอย่างไร ก็ต้องได้รับชัยชนะในที่สุด |
......ลักษณะการต่อสู้มีลักษณะพิเศษที่เด่นชัดข้อหนึ่งคือ
ลักษณะไม่อาจปรองดองได้ การแสดงออกอย่างรูปธรรมก็คือ การต่อสู้ดำเนินไปอย่างไม่ขาดสายและซึมซ่านอยู่ตลอดทั้งขบวน
เช่น การต่อสู้ทางชนชั้นของสังคมชนชั้นไม่ว่าใครจะยินดีหรือไม่ยินดี การต่อสู้ทางชนชั้นก็ดำรงอยู่และดำเนินต่อไป
มันเริ่มจากการเป็นไปอย่างไม่มีจิตสำนึกไปสู่การมีจิตสำนึก ความหมายอีกอย่างก็คือผลแห่งการต่อสู้จะต้องนำไปสู่ฝ่ายหนึ่งพิชิตอีกฝ่ายหนึ่ง
หากมิใช่ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะอยู่อย่าง ปรองดอง หรือเป็นแบบดุลยภาพ ไม่เพียงแต่ความขัดแย้งระหว่างศัตรูกับเราเท่านั้น
แม้ความขัดแย้งระหว่างถูกกับผิด ก้าวหน้ากับล้าหลังในหมู่ประชาชนก็เป็นเช่นนี้
การที่จะเข้าใจความขัดแย้งระหว่างถูกกับผิด ก้าวหน้ากับล้าหลัง เราต้องจำแนกถูกผิดให้แจ่มชัด
ยืนหยัดในสัจธรรม แก้ความผิดให้ตกไป ถ้าแยกถูกผิดไม่ชัด หรือรวม 2 เป็น
1 ก็ไม่สามารถเข้าใจความขัดแย้งได้ ในการแก้ไขปัญหาการทำงาน ถ้าเราใช้วิธีประนีประนอมปรองดองกัน
ปกปิดกัน ปัญหาต่างๆ ก็แก้ไม่ได้ ฉะนั้นทฤษฎีปรองดองและทฤษฎีดุลยภาพล้วนแต่ผิดทั้งนั้นและ
"ทฤษฎีว่าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้นดับสูญ" ก็ผิด ฉะนั้นปรัชญาของเราจึงเป็นปรัชญาแห่งการ
ต่อสู้ก็มีความหมายเช่นนี้ เพราะว่ามีแต่การต่อสู้จึงจะทำให้สรรพสิ่งพัฒนาและแปรเปลี่ยนได้
ที่ปราชญ์กล่าวว่า "การพัฒนาก็คือ การต่อสู้ของด้านตรงข้าม" ก็มีความหมายเช่นนี้ |