3. ผลการต่อสู้ซึ่งกันและกันระหว่างสองฝ่ายที่ตรงกันข้ามซึ่งขัดแย้งกันอยู่นั้น ไม่มีเลยที่จะไม่แปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันในเงื่อนไขที่แน่นอน
3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะอย่างเดียวกันกับลักษณะต่อสู้ของความขัดแย้ง
......ลักษณะอย่างเดียวกันเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (มีเงื่อนไข) ส่วนลักษณะต่อสู้กัน เป็นสิ่งสัมบูรณ์ (ไม่มีเงื่อนไข) ลักษณะต่อสู้แฝงอยู่ในลักษณะอย่างเดียว(เอกภาพ) ถ้าไม่มีลักษณะต่อสู้ก็จะไม่มีลักษณะเอกภาพ เพราะเหตุใดลักษณะเอกภาพเป็นสิ่งสัมพัทธ์และมีเงื่อนไขเพราะลักษณะเอกภาพก็คือด้าน 2 ด้านที่ขัดแย้งอาศัยกันและแปรเปลี่ยนไปสู่กัน ซึ่งล้วนเป็นไปโดยมีเงื่อนไขที่แน่นอน เช่นระหว่างชนชั้นขูดรีดกับชนชั้นถูกขูดรีด เงื่อนไขที่ทั้ง 2 ดำรงอยู่และอาศัยกันก็อยู่ในเงื่อนไขที่มีระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ถ้าปราศจากเงื่อนไขนี้ ทั้ง 2 ก็อาจจะอยู่ไม่ได้ การแปรเปลี่ยนก็ต้องมีเงื่อนไขที่แน่นอน ฉะนั้นลักษณะเอกภาพจึงเป็นสิ่งสัมพัทธ์และมีเงื่อนไข แต่ลักษณะต่อสู้ดำรงอยู่ในกระบวนการต่อสู้และ การดำรงอยู่แห่งการพัฒนาของความขัดแย้ง ตั้งแต่ต้นจนจบ ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสัมบูรณ์ และไม่มีเงื่อนไข ดังนั้น ปราชญ์จีนจึงว่า "ลัษษณะคงตัวของกระบวนการทั้งปวงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ แต่ลักษณะปรวนแปรที่แปรเปลี่ยนจากกระบวนการหนึ่งเป็นอีกกระบวนการหนึ่งนั้นเป็นสิ่งสัมบูรณ์" ทั้งยังกล่าวอีกว่า "การประสานกันเข้าระหว่างลักษณะอย่างเดียวกัน ซึ่งมีเงื่อนไขและสัมพันธ์กับลักษณะต่อสู้ ซึ่งไม่มีเงื่อนไขและสัมบูรณ์นั้น ประกอบขึ้นเป็นการเคลื่อนไหวที่ขัดแย้งกันในสิ่งทั้งปวง" ด้าน 2 ด้านที่ขัดแย้งกันดำรงอยู่ด้วยการเปรียบเทียบกัน และพัฒนาด้วยการต่อสู้กัน หมายถึงว่า กระบวนการหนึ่ง จะแปรเปลี่ยนไปสู่อีกกระบวนการหนึ่งเป็นสิ่งสัมบูรณ์