4. ต่อสรรพสิ่งที่เป็นรูปธรรมควรใช่ท่าทีที่วิเคราะห์
4.3 ในขณะที่วิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งนั้นต้องสนใจขจัดลักษณะอัตวิสัย ลักษณะด้านเดียวผิวเผิน ปราชญ์กล่าวว่า "ที่เรียกว่าลักษณะอัตวิสัยนั้น ก็คือไม่รู้จักมองปัญหาอย่างภววิสัย ซึ่งก็คือไม่รู้จักมมองปัญหาด้วยทัศนะวัตถุนิยม ข้อนี้ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในเรื่อง "ว่าด้วยการปฏิบัติ" แล้วที่เรียกว่าลักษณะด้านเดียวนั้นก็คือไม่รู้จักมองปัญหาอย่างรอบด้าน เช่น เข้าใจแต่ด้านจีน ไม่เข้าใจด้านญี่ปุ่น เข้าใจด้านพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่เข้าใจพรรคก๊กมิ่นตั๋ง"
......."รวมความว่า ไม่เข้าใจลักษณะพิเศษแห่งด้านต่างๆ ของความขัดแย้ง นี่เรียกว่ามองปัญหาด้านเดียวหรือเรียกว่ามองเห็นแต่เพียงเฉพาะส่วน ไม่เห็นส่วนทั้งหมดมองเห็นแต่เพียงต้นไม้ไม่เห็นป่า เช่นนี้ย่อมไม่สามารถทำงานในหน้าที่ให้ดีและย่อมไม่สามารถคลี่คลายการต่อสู้ทางความคิดภายในขบวนอย่างถูกต้องได้.....ลักษณะผิวเผินนั้นไม่มองลักษณะพิเศษแห่งองค์รวมของความขัดแย้งและลักษณะพิเศษแห่งองค์รวามของความขัดแย้งและลักษณะพิเศษแห่งด้านต่างๆ ของความขัดแย้ง ปฏิเสธความจำเป็นในการ หยั่งลึกเข้าสู่ภายในของสรรพสิ่ง ไม่ค้นคว้าลักษณะพิเศษของความขัดแย้งอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพียงแต่ยืนดูอยู่ไกลๆ พอมองเห็นรูปโฉมของความขัดแย้งได้หน่อยอย่างหยาบๆ ก็คิดลงมือแก้ความขัดแย้ง การทำเช่นนี้ ไม่มีเลยที่จะไม่เกิดความวุ่นวาย การที่บางคนที่มีลัทธิคัมภีร์และลัทธิจัดเจน ทำความผิดพลาดขึ้น ก็เพราะว่าวิธีการมองสรรพสิ่งของพวกเขาเป็นแบบอัตวิสัย ด้านเดียวและผิวเผิน ลักษณะด้านเดียวและลักษณะผิวเผินก็เป็นลักษณะ อัตวิสัยเช่นเดียวกัน เพราะว่าสิ่งภววิสัยทั้งปวงที่จริงก็สัมพันธ์กันและมีกฏภายในอยู่ แต่คนเราไม่ไปสะท้อนสภาพเหล่านี้ตามความจริงของมัน กลับมองดูอย่างด้านเดียวหรืออย่างผิวเผิน ไม่เข้าใจความสัมพันธ์กันของสรรพสิ่งไม่เข้าใาจในกฎภายในของสรรพสิ่ง ฉะนั้นวิธีการชนิดนี้จึงเป็นลัทธิอัตวิสัย" เพื่อหลีกเลี่ยงลักษณะอัตวิสัย เราจึงจำเป็นต้องทำการสำรวจค้นคว้าอย่างซึมลึก การสำรวจสำคัญยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานชั้นนำคนหนึ่งในการเข้าใจธาตุแท้ของสิ่งรูปธรรมหนึ่งๆ มหาบุรุษของตะวันออกท่านหนึ่งกล่าวว่า "การไปทำความเข้าใจสภาพภายในของหน่วยงานหนึ่งๆ ต้องทำความเข้าใจว่ามันเริ่มต้นอย่างไร ต่อมาเป็นอย่างไร เวลานี้เป็นอย่างไร มวลชนทำกันอย่างไร ฝ่ายนำทำกันอย่างไร เคยเกิดความขัดแย้งและการต่อสู้อย่างไร อะไรบ้าง ต่อมา ความขัดแย้งเหล่านี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ความรับรู้ของคนทั้งหลายมีการพัฒนาอย่างไร เพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นกฎจากในนี้"
......แต่จะทำได้ถึงขั้น วิเคราะห์อย่างรูปธรรม าจากสภาพที่เป็นรูปธรรมนั้นยังต้องสนใจคัดค้านความที่ขี้เกียจหลังยาว และความคิดที่เย่อหย่งทนงตน ถ้ากลัวความยากลำบาก กลัวเหน็ดเหนื่อย ก็จะเอาแต่รูปแบบง่ายๆ เอาแต่รูปแบบไม่ทำการค้นคว้าอย่างละเอียดประณีตเมื่อพบปัญหาก็จะใช้วิธีการแบบเดียวกันไปแก้ปัญหาต่างๆ ก็จะต้องล้มเหลว "เพราะความขัดแย้งที่มีคุณภาพต่างกันจะแก้ได้ก็ด้วยวิธีการที่ต่างกัน" ปราชญ์ท่านกล่าวว่า "การกำหนดเข็มมุ่งในการงานตามสภาพที่เป็นจริงเป็นวิธีการทำงานขั้นพื้นฐานที่สุดซางจะต้องจดจำไว้ให้มั่น ความผิดพลาดที่เราได้กระทำไปนั้น เมื่อค้นคว้าหาสาเหตุของมันแล้ว ก็ล้วนแต่เนื่องจากห่างเหินห่างจากสภาพที่เป็นจริงในเวลานั้นและในที่นั้น แล้วกำหนดเข็มมุ่งในการงานของตนอย่างอัตวิสัย" การที่จะอาศัยสภาพความเป็นจริง ก็มีแต่ต้องไปเข้าใจสภาพการณ์ จึงจะสามารถกำหนดเข็มมุ่งได้ถูกต้อง นี่คือจุดมุ่งหมายที่เราจะต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง
สรุป "โลกทัศน์วิภาษวิธีนี้ ที่สำคัญก็คือสอนให้เราสันทัดในการสังเกตและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของความขัดแย้งในสิ่งต่างๆ และอาศัยการวิเคราะห์อย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการแก้ความขัดแย้ง ฉะนั้นการเข้าใจกฎแห่งความขัดแย้งในสิ่งต่างๆ และอาศัยการวิเคราะห์อย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการแก้ความขัดแย้ง ฉะนั้นการเข้าใจกฎแห่งความขัดแย้งในสิ่งต่างๆ และอาศัยการวิเคราะห์อย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการแก้ความขัดแย้ง ฉะนั้น การเข้าใจกฎแห่งความขัดแย้งในสรรพสิ่งอย่างรูปธรรม จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพวกเรา"