[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียม ทอ.
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์




หมวด 4
การตรวจค้นทหาร

ข้อ 23. ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีความสงสัยโดยเหตุอันสมควรว่าทหารสวม
เครื่องแบบคนหนึ่งคนใดมีสิ่งของไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำผิด
หรือมีไว้เป็นความผิดก็ดี ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจกระทำการตรวจค้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา แต่ถ้ามีสารวัตรทหารอยู่ในที่ที่จะทำการตรวจค้น ก็ให้ร้องขอสารวัตรทหารจัดการให้ ถ้า
สารวัตรทหารไม่ยินยอมทำการตรวจค้นให้ก็ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจัดการตรวจค้นเอง สถานที่
ตรวจค้นให้หาสถานที่ที่เหมาะสมเท่าที่จะหาได้ในภูมิประเทศนั้น ถ้าทหารมิได้สวมเครื่องแบบก็ให้พนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจทำการตรวจค้นเหมือนบุคคลธรรมดา
สำหรับนายทหารชั้นสัญญาบัตร การตรวจค้นต้องมีเหตุผลอันสมควรยิ่งกว่าเหตุผลธรรมดา
ข้อ 24. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะตรวจค้นยานพาหนะของทหารโดยสงสัยว่าจะมีสิ่งของ
ต้องห้ามตามกฎหมายซุกซ่อนมาในยานพาหนะนั้น ๆ ก็ดี อยู่ในตัวคนซึ่งโดยสารอยู่ในยานพาหนะก็ดี
ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพึงระมัดระวังว่าก่อนจะทำการตรวจค้นจะต้องมีเหตุผลอันสมควร
เป็นพิเศษยิ่งกว่าเหตุผลธรรมดา ให้ฝ่ายทหารผู้ครอบครองยานพาหนะให้ความสะดวกตามสมควร แต่
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจต้องทำการตรวจค้นให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ในกรณีที่เป็นรถสงคราม
เครื่องบิน หรือเรือกลและเรือยนต์ ซึ่งชักธงราชนาวีขณะปฏิบัติราชการจะทำการตรวจค้นได้ต่อเมื่อมีหนังสือ
อนุมัติของผู้บังคับบัญชายานพาหนะนั้น ๆ ตั้งแต่ชั้นผู้บัญชาการกองพลขึ้นไป
ในการตรวจค้น ถ้าสิ่งของใดเป็นราชการลับให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ทำหนังสือรับรองกำกับสิ่งของนั้น และให้ผู้ควบคุมรีบแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ทราบก่อน ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพึงงดเว้นการตรวจค้นเฉพาะสิ่งของดังกล่าว แต่ให้ทำบันทึกเหตุงดเว้นการตรวจค้น และลงชื่อรับรองไว้ทั้ง 2 ฝ่าย แล้วรีบรายงานให้ ผู้บังคับบัญชาของตนทราบต่อไป
ถ้าพนักงานฝ่ายปกครองแต่ชั้นปลัดอำเภอขึ้นไป หรือตำรวจแต่ชั้นสัญญาบัตรหรือหัวหน้า สถานีตำรวจหรือหัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจหรือผู้รักษาการแทนยังติดใจสงสัยก็ให้ทำเครื่องหมาย ลงชื่อทั้ง 2 ฝ่าย ปิดกำกับไว้ที่หีบห่อนั้น และเมื่อสิ่งของนั้นถึงสถานที่ปลายทางให้ฝ่ายทหารตั้ง กรรมการเปิดตรวจสิ่งของและทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน  ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้มีหน้าที่ตั้ง กรรมการจะต้องมีตำแหน่งแต่ชั้นผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการเรือ ผู้บังคับฝูงบินขึ้นไปหรือผู้บังคับ หน่วยทหารอิสระ ผลของการตรวจค้นจะพบหรือไม่พบสิ่งของต้องห้ามตามกฎหมายก็ตาม ให้ ฝ่ายทหารทำหนังสือแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทราบโดยด่วน
การตรวจค้นสิ่งของใดซึ่งอาจเป็นอันตรายหรืออาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งของ นั้น ให้ผู้ควบคุมสิ่งของนั้นแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทราบ แต่ถ้าพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจยังติดใจสงสัยอยู่ ให้ทำบันทึกงดการตรวจค้นเพื่อเป็นหลักฐานยึดไว้ทุกฝ่าย และให้ทำเครื่องหมายลงชื่อรับรองไว้ทั้ง 2 ฝ่าย ปิดกำกับไว้ที่สิ่งของหรือหีบห่อนั้น ให้ทั้ง 2 ฝ่าย รีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาของตนทราบ เพื่อตรวจสอบแล้วแจ้งผลให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจทราบต่อไป
การตรวจค้นสิ่งของใด อันจะเป็นเหตุทำให้การปฏิบัติการยุทธพึงเสียเปรียบแล้วให้งด เว้นการตรวจค้น
เมื่อตรวจค้นเสร็จแล้วจะได้สิ่งของต้องห้ามตามกฎหมายอย่างใดหรือไม่ก็ตาม ให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทำบันทึกการตรวจค้นพร้อมกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา แล้วให้ผู้ค้นและผู้ครอบครองยานพาหนะลงชื่อไว้ในบันทึก ต่างฝ่ายยึดบันทึกไว้เป็น หลักฐานฝ่ายละหนึ่งฉบับ
การตรวจค้นตามข้อนี้ ถ้ามีสารวัตรทหาร ก็ให้ผู้ตรวจค้นขอให้สารวัตรทหารทำ การตรวจค้น
ข้อ 25. การตรวจค้นภายในที่รโหฐานของทหารไม่เกี่ยวแก่สถานที่ราชการ ให้พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ทำการตรวจค้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่การ ตรวจค้นให้กระทำต่อเมื่อมีเหตุผลอันสมควรและให้กระทำโดยละมุมละม่อม ไม่ให้เป็นการ กระทบกระเทือน
การตรวจค้นภายในเขตที่ตั้งของทหาร หรือสถานที่ราชการใด ๆ ของฝ่ายทหาร เช่น ป้อม, ค่าย, ที่พักร้อน, พักแรมของทหารในขณะที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เรือรบ, เรือเดินทะเลที่ชักธงราชนาวี ให้อธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการ ตำรวจ ผู้บังคับการตำรวจ อธิบดีกรมมหาดไทย รองอธิบดีกรมมหาดไทย ผู้ว่าราชการภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งดังกล่าว เป็นผู้ทำการตกลงกับ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการหรือผู้บังคับการมณฑลทหาร หรือผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยนั้น ๆ ซึ่งมีตำแหน่ง ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับการกรมขึ้นไป หรือผู้บังคับหน่วยอิสระแล้วแต่กรณีว่าสถานที่ดังกล่าวข้างต้นนั้น ๆ อยู่ในบังคับบัญชาของผู้ใด

หมวด 5
ในการสอบสวนในกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย
หรือเป็นผู้ต้องหา

ข้อ 26. การสอบสวนคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารซึ่งเกิดขึ้นภายในเขตที่ตั้งทหารหรือ เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยกัน หรือคดีอาญาที่เกี่ยวด้วยวินัยทหารหรือ ความลับของทางราชการทหาร โดยปกติให้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายทหารทำการสอบสวน ตามวิธีพิจารณาความอาญาทหาร แต่ถ้าฝ่ายทหารร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดย ลำพัง หรือร่วมกับฝ่ายทหารก็ให้พนักงานสอบสวนให้ความร่วมมือตามที่นายทหารร้องขอ
ในกรณีที่ฝ่ายทหารร้องขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินการอย่างอื่นนอกจากการสอบสวน ตามความในวรรคต้น เช่นการสืบสวน การค้น หรือจับกุม เมื่อฝ่ายทหารได้ให้ข้อเท็จจริงหรือ หลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินนการได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ก็ให้ พนักงานสอบสวนให้ความร่วมมือ
อนึ่ง ถ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ได้รับแจ้งความไว้ หรือได้ประสบเหตุและมี เหตุจำเป็นที่จะต้องสอบสวน ก็ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนไปพลางก่อน แล้วรีบแจ้งให้ ฝ่ายทหารทราบ ถ้าฝ่ายทหารขอรับตัวไปดำเนินการ ก็ให้มอบตัวและสำนวนการสอบสวนให้ไป แต่ถ้าฝ่ายทหารไม่มารับตัวผู้ต้องหาไปดำเนินการหรือไม่แจ้งให้ทราบ ก็ให้พนักงานสอบสวน ดำเนินการต่อไปจนเสร็จสำนวน
ข้อ 26. ทวิ คดีอาญาที่ทหารเป็นผู้ต้องหานอกจากที่กล่าวในข้อ 26. ให้พนักงานสอบ- สวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว โดยให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ ฝ่ายทหารที่มาร่วมฟังการสอบสวนในคดีนั้นในโอกาสแรก ถ้าฝ่ายทหารที่มาร่วมการสอบสวน ฝ่ายทหารที่มาร่วมฟังการสอบสวนมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดในการสอบสวน ก็ให้ร้องขอต่อ พนักงานสอบสวนให้ซักถามให้  ถ้าพนักงานสอบสวนไม่ซักถามให้ ก็ให้ฝ่ายทหารที่มาร่วมฟังการ สอบสวนทำบันทึกในข้อที่พนักงานสอบสวนไม่ซักถามติดไว้ในสำนวนการสอบสวน ส่วนวิธีที่จะนำ พยานเข้าสอบสวนนั้น ให้อยู่ในอำนาจของพนักงาน แต่กรณีที่ฝ่ายทหารจะนำพยานเข้าสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนขัดข้อง ก็ให้ฝ่ายทหารทำบันทึกขอนำพยานเข้าสอบสวนติดสำนวนไว้เช่น เดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออัยการทหารต่อไป เว้นแต่จะมี กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
"การร่วมฟังการสอบสวน" หมายถึง ร่วมฟังการสอบสวนตั้งแต่พนักงานสอบสวนเริ่ม ดำเนินการสอบสวนจำนปิดสำนวนการสอบสวน
ในระหว่างสอบสวน ถ้าฝ่ายทหารได้รับทหารผู้ต้องหาไปควบคุม ก็ให้พนักงานสอบสวน และฝ่ายทหารทำความตกลงกำหนดวันและเวลานำตัวทหารผู้ต้องหาไปให้พนักงานสอบสวน ณ ที่ทำการพนักงานสอบสวนหรือ ณ ที่ใด แล้วแต่จะเห็นสมควร
ในกรณีฝ่ายทหารรับตัวทหารผู้ต้องหาไปควบคุมตัวครั้งแรก ถ้าพนักงานสอบสวนประสงค์ จะให้ฝ่ายทหารควบคุมตัวผู้ต้องหาครั้งแรกไว้ตั้งแต่เมื่อใดเป็นเวลาเท่าใด ให้บันทึกจำนวนวัน ที่จะควบคุมตัวลงไว้ในหนังสือมอบและรับตัวทหารกระทำผิดอาญา (แบบ 2) แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 15 วัน โดยให้นับตั้งแต่วันที่ฝ่ายทหารได้รับตัวผู้ต้องหาไป
เมื่อคำสั่งควบคุมตัวผู้ต้องหาครั้งแรกครบกำหนดลงแล้ว ฝ่ายทหารไม่ได้รับแจ้งจาก พนักงานสอบสวนขอให้สั่งควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อ ให้ฝ่ายทหารปล่อยตัวผู้ต้องหาพ้นจากการ ควบคุมตัวไป
ในกรณีที่ทหารผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจศาลทหาร และพนักงานสอบสวนเห็นจำเป็นให้ควบคุม ตัวผู้ต้องหาต่อ ก็ให้พนักงานสอบสวนทำหนังสือตามแบบ 3 แจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดหรือ จังหวัดทหาร หรือมณฑลทหาร แล้วแต่กรณี ขอให้ควบคุมตัวไว้เป็นคราว ๆ โดยถือกำหนดเวลา ควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร คดีที่ฝ่ายทหารเห็นว่าการสอบสวนล่าช้าจะขอให้ พนักงานสอบสวนเร่งรัดหรือชี้แจงเหตุผล เพื่อประกอบการพิจารณาในการที่จะสั่งให้ควบคุมตัว ผู้ต้องหา โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์การควบคุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้
ในกรณีที่ฝ่ายทหารได้รับตัวผู้ต้องหาไป ไม่นำตัวทหารตัวผู้ต้องหามามอบให้พนักงาน สอบสวนความรับผิดชอบย่อมตกอยู่กับฝ่ายทหาร
สำหรับคดีซึ่งจำเป็นจะต้องมีการชี้ตัวตัวผู้ต้องหาเพื่อประกอบการสอบสวน โดยปกติให้นำ ตัวผู้ต้องหามาทำการชี้ตัว ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวน โดยคละปนกับบุคคลอื่นจำนวน ไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 10 คน แต่ในบางกรณีจะทำการชี้ตัว ณ ที่อื่นใดก็ย่อมกระทำได้ โดยให้ทั้งสองฝ่ายทำความตกลงกันเป็นราย ๆ ไป ถ้าไม่สามารถที่จะทำความตกลงกันได้ ให้ ต่างฝ่ายต่างรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ส่วนวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชี้ตัวนั้น ให้พนักงาน สอบสวนปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับ การชี้ตัวผู้ต้องหาของกรมการปกครองหรือกรมตำรวจ ที่ได้วางไว้แล้ว
คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ถ้าทหารผู้ต้องหารับสารภาพตลอด ข้อหาให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงโดยให้ ส่งตัวผู้ต้องหาไปให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวงโดยไม่ต้องทำการสอบสวน และไม่ต้องให้ฝ่ายทหารมาร่วมฟังการสอบสวน แต่ให้แจ้งให้ทราบว่าได้ส่งตัวทหารผู้ต้องหา ไปฟ้องด้วยวาจา แล้วหรือไม่ หรือจะส่งฟ้องเมื่อใด
คดีอาญาที่เป็นความผิดซึ่งอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย หากทหารผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบตามที่กำหนด ไว้ในข้อ 38. โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ฝ่ายทหารมาร่วมฟังการสอบสวน
ข้อ 27. ในคดีอาญาทหารเป็นผู้ถูกทำร้าย ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ฝ่ายทหารมาร่วม ฟังการสอบสวนด้วย เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบได้ ซึ่งผู้ต้องหา และทหารผู้ถูกทำร้ายยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือคดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณา พิพากษาได้ ซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่ที่มีศาลแขวง และผู้ต้องหารับสารภาพตลอดข้อหา
คดีอาญาอื่น ๆ ที่ทหารเป็นผู้เสียหาย ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย วิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าทหารเป็นผู้เสียหายสงสัยว่าตนมิได้รับความเป็นธรรมให้ทหารผู้ เสียหายรายงานต่อผู้บังคับบัญชาของตน จนถึงชั้นผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการเรือ(2) ผู้บังคับ- การกองบิน หรือผู้บังคับหน่วยอิสระซึ่งมีฐานะต่ำกว่ากองพัน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นดังกล่าวพิจารณา โดยติดต่อกับพนักงานสอบสวนอย่างใกล้ชิด หากปรากฏว่ารายงานของผู้เสียหายไม่มีมูลความ จริงหรือเป็นการเข้าใจผิด ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวชี้แจงให้ผู้เสียหายเข้าใจ แต่ถ้าผู้บังคับ- บัญชาฝ่ายทหารยังมีข้อข้องใจในการสอบสวนนั้นอยู่ ก็ให้ติดต่อกับผู้บังคับบัญชาของพนักงาน สอบสวนนั้น เพื่อหาทางแก้ไข ถ้าเห็นเป็นการสมควรจะให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารเข้าร่วมฟัง การสอบสวนด้วยก็ได้
การร่วมฟังการสอบสวนดังกล่าวให้ปฏิบัติตามข้อ 26. ทวิ โดยอนุโลม
ข้อ 28. การแจ้งให้ฝ่ายทหารมาร่วมฟังการสอบสวนดังกล่าวในข้อ 26. ทวิ และ ข้อ27. ให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้แจ้งทางหนังสือโดยกำหนดนัดหมายให้ฝ่ายทหารได้มีเวลา พอสมควร ไปยังผู้บังคับบัญชาของทหารที่เป็นผู้ต้องหาหรือผู้เสียหาย แต่ชั้นผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการเรือ หรือผู้บังคับการกองบิน ขึ้นไป หรือผู้บังคับหน่วยอิสระ
ถ้ามีความจำเป็นจะต้องแจ้งทางโทรศัพท์ ก็ให้พนักงานสอบสวนบันทึกการแจ้งติดสำนวน ไว้ให้ปรากฏด้วยว่า แจ้งไปเมื่อใด ใครเป็นผู้แจ้ง ใครเป็นผู้รับแจ้ง ให้มาร่วมฟังพนักงาน สอบสวนในวัน เดือน ปี เวลาใด ณ ที่ใด แล้วให้มีหนังสือยืนยันการแจ้งทางโทรศัพท์ไปอีกด้วย
นอกจากนั้น ถ้าจำเป็นต้องแจ้งทางโทรเลขหรือวิทยุ ก็ให้ทำได้โดยให้ปรากฏหลักฐานว่า ได้แจ้งไปแต่เมื่อใด
ข้อ 29. เมื่อฝ่ายทหารรับแจ้งจากพนักงานสอบสวนดังกล่าวในข้อ 28. ให้ผู้บังคับบัญชา ของทหารที่เป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาจัดนายทหารชั้นสัญญาบัตรไปร่วมฟังการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ ฝ่ายทหารจะส่งนายทหารชั้นสัญญาบัตรไปร่วม ฟังการสอบสวนด้วยก็ได้
ในกรณีที่ฝ่ายทหารไม่ไปร่วมฟังการสอบสวนตามกำหนดวันที่นัดหมายไว้ ให้พนักงาน สอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปไม่ต้องรอฝ่ายทหาร แต่ให้พนักงานสอบสวนทำบันทึกไว้ใน สำนวนการสอบสวนด้วยว่าฝ่ายทหารไม่มาร่วมฟังการสอบสวนตามกำหนดที่นัดหมายกันไว้
ข้อ 30. ในกรณีที่ทหารกับตำรวจมีกรณีวิวาทกัน ให้ผู้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่ายรีบติดต่อ ปรึกษาหารือกันเพื่อหาทางระงับข้อพิพาทโดยด่วนคือ
ก. ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้สารวัตรหรือหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่ เกิดเหตุหรือผู้รักษาการแทนรายงานด่วนแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในรายงานให้ปรากฏข้อหาวันเวลาเกิดเหตุ ตำบลที่เกิดเหตุ ยศ ชื่อ เครื่องหมายและสังกัด ของทหารและตำรวจซึ่งเป็นคู่กรณีด้วย แล้วให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลปรึกษาหารือกับ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก หรือผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ แล้วแต่กรณี
ข. ในจังหวัดอื่น ถ้าทหารซึ่งเป็นคู่กรณีเป็นทหารที่สังกัดอยู่ในหน่วยทหารซึ่งตั้งอยู่ใน เขตจังหวัดที่เกิดเหตุ ให้ผู้บังคับกอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุหรือหรือผู้รักษา- การแทนรายงานด่วนดังกล่าวในข้อ ก. ไปยังผู้กำกับการตำรวจ แต่ถ้าจังหวัดที่เกิดเหตุเป็น จังหวัดที่ตั้งกองบังคับการตำรวจ ให้รายงานด่วนถึงผู้กำกับการตำรวจ แล้วให้ผู้กำกับการหรือ ผู้กำกับการตำรวจแล้วแต่กรณี ปรึกษาหารือกับผู้บังคับหน่วยทหารในจังหวัดนั้น
ถ้าทหารซึ่งเป็นคู่กรณีเป็นทหารที่สังกัดอยู่ในหน่วยทหาร ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่ เกิดเหตุและการพบปะหารือกับผู้บังคับหน่วยทหารไม่อาจทำได้โดยสะดวก หากผู้กำกับการ ตำรวจจังหวัดที่เกิดเหตุเห็นเป็นการสมควรที่จะได้มีการติดต่อประสานงานกับผู้บังคับหน่วยของ ทหารซึ่งเป็นคู่กรณี ก็ให้รีบติดต่อโดยตรงกับผู้กำกับการตำรวจจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยทหารที่ ทหารคู่กรณีสังกัดอยู่ แต่ถ้าจังหวัดดังกล่าวนี้เป็นจังหวัดที่ตั้งกองบังคับการ ก็ให้ติดต่อโดยตรงกับ ผู้กำกับการตำรวจ
การติดต่อดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ปรากฏข้อหา วันเวลาเกิดเหตุ ตำบลที่เกิดเหตุ ยศ ชื่อ เครื่องหมาย และสังกัดของทหารและตำรวจซึ่งเป็นคู่กรณีด้วย นอกจากนี้ให้ปรากฏ ข้อเท็จจริงโดยละเอียดอีกด้วย เมื่อผู้บังคับการหรือผู้บัญชาการตำรวจแล้วแต่กรณีได้รับรายงาน ดังกล่าวนี้แล้วเห็นว่า การดำเนินการแทนจะเป็นการสะดวก เพราะระยะทางอยู่ใกล้กว่า ก็ให้รีบปรึกษาหารือกับผู้บังคับหน่วยทหาร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของทหารคู่กรณีเพื่อเป็นการติดต่อ ประสานงานทำนองเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ ก. และ ข้อ ข.
กรณีวิวาทระหว่างทหารกับตำรวจไม่มีบุคคลพลเรือนร่วมด้วย ให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหาร และตำรวจตั้งกรรมการร่วมกันขึ้นคณะหนึ่ง ทำการสอบสวนเป็นการภายใน และเมื่อเสร็จ การสอบสวนแล้ว ถ้าคณะกรรมการมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ก็ให้เสนอสำนวนนั้นต่ออธิบดีกรม ตำรวจเพื่อสั่งการ ถ้าคณะกรรมการมีความเห็นขัดแย้งกัน ก็ให้เสนอสำนวนนั้นต่ออธิบดีกรม ตำรวจเพื่อเสนอต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง- มหาดไทยสั่งการประการใด จึงให้ผู้บังคับบัญชาทั้ง 2 ฝ่ายปฏิบัติไปตามนั้น
ถ้าได้มีการตายเกิดขึ้นในที่วิวาทนั้นก็ดี หรือได้มีการตายขึ้นภายหลังเนื่องจากกรณี วิวาทนั้นก็ดี ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชันสูตรพลิกศพตามข้อ 36 โดยอนุโลมแล้วส่งให้ คณะกรรมการรวมไว้ในสำนวนเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป และถ้าคณะกรรมการนั้นมีความ สงสัยในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่ตายประการใด ก็มีอำนาจที่จะทำการสอบสวนเป็นการ ภายในต่อไปได้
กรณีดังกล่าว ถ้าเป็นกรณีที่มีบุคคลพลเรือนร่วมด้วย จะจับตัวได้หรือไม่ก็ตาม ให้ดำเนินการตามข้อ 26 ทวิ
ข้อ 31. คณะกรรมการสอบสวนกรณีทหารกับตำรวจดังกล่าวในข้อ 30 นั้น ให้ประกอบด้วย
    (1) ผู้บังคับบัญชาทหารที่เป็นคู่กรณีหรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหาร
    (2) ผู้บังคับบัญชาตำรวจที่เป็นคู่กรณี  หรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้บังคับบัญชาฝ่ายตำรวจ
    (3) พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เกิดเหตุ
ข้อ 32. ถ้ากรณีทหารกับตำรวจเกิดขึ้นตามข้อ 30. ให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าพนักงาน สอบสวนในท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นผู้รายงานเพื่อขอตั้งกรรมการ โดยแจ้งข้อกล่าวหา วัน เวลา- เกิดเหตุ สถานที่ที่เกิดเหตุ ยศ ชื่อ เครื่องหมายและสังกัดของทหารและตำรวจที่เป็นคู่กรณี ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้รายงานไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ในจังหวัดอื่นให้รายงาน ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด
ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการฝ่าย ตำรวจ ในจังหวัดอื่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ และให้อธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาทหารที่เป็นคู่กรณี
ทางฝ่ายทหารนั้น ให้นายทหารซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้บังคับกองพัน หรือผู้บังคับหน่วย ทหารอิสระเป็นผู้มีอำนาจตั้งกรรมการฝ่ายทหาร
ให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และนัดหมายให้กรรมการ ดังกล่าวแล้วมาดำเนินการสอบสวนต่อไป
ข้อ 33. ในกรณีที่ต้องตั้งกรรมการสอบสวนอันเกี่ยวกับทหารตำรวจวิวาทกันนั้นให้ พนักงานสอบสวนปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปก่อนได้ คือ ในการลงประจำวัน การจัดส่ง ผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาล การตรวจบาดแผล การถ่ายภาพ ทำแผนที่ที่เกิดเหตุ การรับและ มอบตัวผู้ต้องหา การรักษาของกลาง และการจดถ้อยคำของผู้ใกล้จะตายหรือไปต่างประเทศ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ความเที่ยงธรรมของคดี ส่วนการชันสูตรพลิกศพนั้นให้ดำเนินการตามข้อ 30.
ข้อ 34. ในการดำเนินการสอบสวนของคณะกรรมการนั้น ให้อนุโลมตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยพยานหลักฐานเท่าที่จะปฏิบัติได้ ส่วนการเรียกพยานใน การสอบสวนนั้น ให้กรรมการที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้ดำเนินการ
ข้อ 35. ในกรณีที่กรรมการฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้มาร่วมการสอบสวนตามกำหนดนัดโดย มิได้แจ้งเหตุขัดข้องประการใด ให้กรรมการดำเนินการสอบสวนต่อไปได้ทีเดียวตลอดทั้งการ เสนอความเห็นในสำนวนด้วย ทั้งนี้ เพื่อตัดปัญหาการสอบสวนเนิ่นนานอันเป็นผลให้ผู้ต้องหาถูก ควบคุมอยู่นาน แต่ให้กรรมการซึ่งทำการสอบสวนบันทึกการที่กรรมการไม่มาร่วมทำการสอบสวน ติดสำนวนไว้
ข้อ 36. ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการ ตามหน้าที่โดยผู้ตายเป็นทหาร ก็ให้จัดการให้มีการสอบสวนและชันสูตรพลิกศพตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กับให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารตามข้อ 28. ส่งนายทหารชั้นสัญญาบัตรเข้านั่งฟังการสอบสวนในโอกาสแรกที่กระทำได้ และถ้าในท้องที่นั้นมี แพทย์ประจำโรงพยาบาลทหารอยู่ ก็ให้ใช้แพทย์ประจำโรงพยาบาลทหารเป็นเจ้าพนักงานแพทย์ ทำการชันสูตรพลิกศพ แต่ถ้าในท้องที่ไม่มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลทหารหรือแพทย์ประจำ โรงพยาบาลทหารไม่สามารถจะมาได้ จึงให้ใช้แพทย์หรือบุคคลอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้นำผู้บาดเจ็บไปเพื่อรักษา พยาบาลก่อนตายและได้นำไปไว้ ณ โรงพยาบาลซึ่งมีแพทย์อยู่ประจำ ก็ให้ใช้แพทย์นั้นเป็นผู้ ทำการชันสูตรพลิกศพ ถ้าฝ่ายทหารไม่มานั่งฟังการสอบสวนตามกำหนดนัด ก็ให้พนักงานชันสูตร พลิกศพทำการชันสูตรพลิกศพต่อไป ในกรณีที่ผู้แทนฝ่ายทหารเข้าฟังการสอบสวนด้วยนั้นจะทำ บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพ เช่น ทำแผนที่ ถ่ายรูป และขอส่งเอกสารนั้นต่อ พนักงานชันสูตรพลิกศพ ก็ให้พนักงานชันสูตรพลิกศพรับบันทึกรวมสำนวนไว้เพื่อดำเนินการต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าการตายเกิดขึ้นในจังหวัดที่ไม่มีที่ตั้งกรมกองทหาร การแจ้งดังกล่าวมาในวรรคก่อน ให้แจ้งไปยังสัสดีจังหวัด หรือกรมกองทหารอื่นที่ใกล้เคียง

หมวด 6
การส่งสำนวนการสอบสวนที่เกี่ยวกับทหาร

ข้อ 37. สำนวนการสอบสวนที่เกี่ยวด้วยทหารกระทำผิดในทางอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจ ศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารนั้น ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยัง อัยการทหารดำเนินการต่อไป ส่วนตัวผู้ต้องหา ถ้าได้มอบให้ผู้บังคับบัญชารับตัวไปควบคุมไว้แล้ว ก็ไม่ต้องขอรับตัวมาแต่ในบันทึกไว้ด้วยว่า ได้มอบตัวผู้ต้องหาให้ผู้บังคับบัญชารับไปแต่เมื่อใด ถ้าเป็นกรณีที่ทหารกระทำผิดซึ่งอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนให้พนักงานสอบสวนพร้อมด้วยผู้ต้องหา ไปยังพนักงานอัยการดำเนินการต่อไป
การส่งตัวทหารผู้ต้องหา ซึ่งผู้บังคับบัญชารับตัวไปควบคุมไว้ไปยังพนักงานอัยการนั้น ให้พนักงานสอบสวนนัดหมายให้ผู้บังคับบัญชาของทหารส่งตัวผู้ต้องหามายังพนักงานสอบสวน เพื่อนำส่งพนักงานอัยการพร้อมกับสำนวน
ในกรณีที่พนักงานอัยการส่งฟ้องไม่ทันในวันนั้น หากมิได้มีการสั่งให้ปล่อยชั่วคราวใน จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีให้พนักงานอัยการมอบตัวผู้ต้องหาให้อยู่ในความควบคุมของ พนักงานตำรวจผู้สอบสวนในจังหวัดอื่นให้พนักงานอัยการฝากตัวผู้ต้องหาให้เรือนจำควบคุมไว้
ข้อ 38. ทหารกระทำผิดอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ไม่ว่าจะเป็น คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือศาลพลเรือนก็ตาม ให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบตาม อำนาจหน้าที่ ถ้าไม่ตกลงกันจึงให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังผู้ว่าคดีพนักงานอัยการ หรือ อัยการทหาร แล้วแต่กรณี ดำเนินการต่อไป
ข้อ 39. คดีอาญาซึ่งผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจศาลทหารนั้น ถ้าจับตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ก็ดี หรือจับตัวได้แต่หลักฐานไม่พอฟ้องก็ดี หรือพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง รวมตลอดทั้ง สำนวนเปรียบเทียบที่เสร็จสิ้นแล้วให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนนั้น ๆ ไปยังอัยการทหาร
ในกรณีที่ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยังอัยการทหาร เพื่อมีคำสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับคดีที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพ เมื่อพนักงานสอบสวนชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปให้ เจ้าหน้าที่สอบสวนฝ่ายทหารตามที่ได้รับการร้องขอ
ข้อ 40. การแจ้งผลคดีที่ทหารกองประจำการหรือประจำการกระทำผิดคดีอาญาซึ่งอยู่ใน อำนาจศาลพลเรือนให้ปฏิบัติดังนี้
    (1) ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ให้พนักงานสอบสวน หรือหัวหน้าพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบแจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาทหาร
    (2) ในชั้นพนักงานอัยการ เมื่อสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ให้พนักงานอัยการแจ้งให้พนักงาน สอบสวนเจ้าของคดีทราบ เพื่อแจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาทหาร
    (3) ในชั้นศาล เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องหรือลงโทษ ให้พนักงานอัยการเป็นผู้แจ้งและ ถือปฏิบัติตามข้อ (2) การแจ้งเมื่อศาลยกฟ้องหรือลงโทษ ขอให้แจ้งให้ชัดว่ายกฟ้องโดยเหตุ อย่างไรหรือลงโทษสถานใด มีกำหนดเท่าใด พิพากษาตั้งแต่เมื่อใด ตามสำนวนคดีแดงที่เท่าไร
    (4) ในกรณีที่ทหารผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกและผู้บังคับบัญชาทหาร ที่ได้รับแจ้งต้องการที่จะรับตัวทหารผู้กระทำผิดนั้นเมื่อพ้นโทษให้แจ้งการอายัดตัวให้ผู้บังคับการ เรือนจำที่ทหารผู้กระทำผิดนั้นต้องคุมขังอยู่ทราบ และให้เป็นหน้าที่ผู้บังคับการเรือนจำแจ้งให้ ผู้บังคับบัญชาทหารที่แจ้งการอายัดตัวนั้นทราบเมื่อใกล้กำหนดวันเวลาที่จะปล่อยตัวไป
    (5) การปล่อยตัวทหารผู้กระทำผิดในกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ถ้าหากมีเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารมาคอยรับตัว ก็ให้มอบตัวไป แต่ถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมารับตัว ก็ให้ผู้ที่มีอำนาจสั่ง ปล่อยและพนักงานอัยการในกรณีที่ศาลสั่งปล่อยแจ้งให้ผู้นั้นไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาที่ ต้นสังกัด
    (6) การแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ให้แจ้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.
ข้อ 41. ถ้าทหารซึ่งต้องหานั้นต้องหาในคดีอื่นที่จะต้องนำตัวไปฟ้องทางศาลทหารหรือ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารต้องการตัว ให้ฝ่ายทหารมีหนังสืออายัดตัวไว้กับพนักงานสอบสวนและให้ พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนการสอบสวนว่าทางทหารยังต้องการตัว และให้ผู้บังคับบัญชา ฝ่ายทหารติดต่อกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อรับตัวทหารไป
ข้อ 42. นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการและข้าราชการกลาโหมชั้นสัญญาบัตร ประจำการต้องหาคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวนรายงานตามลำดับถึงกระทรวงมหาดไทยเพื่อจะ ได้แจ้งให้กระทรวงกลาโหมทราบ เว้นไว้แต่ต้องหาในคดีลหุโทษ หรือคดีที่พนักงานสอบสวนมี อำนาจเปรียบเทียบได้ และคดีได้เสร็จในชั้นพนักงานสอบสวน ข้อ 43. บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ถ้าเป็นเด็กหรือเยาวชนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ให้ พนักงานสอบสวนดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2495 ทุกประการ แล้วแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทหารซึ่งบุคคลนั้นสังกัดอยู่ทราบ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
หมายเหตุ
1. ข้อใดที่มีตัวเลข (1) หน้าข้อ หมายความว่าข้อนั้นแก้ไขใหม่โดยข้อตกลง ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ต้องหา ในความผิดอาญา พ.ศ.2498 พ.ศ.2498 (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2507
2. ข้อใดที่มีตัวเลข (2) หน้าข้อ หรือข้อความ หมายความว่าข้อนั้นหรือข้อความนั้น แก้ไขใหม่โดยข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ต้องหา ในความผิดอาญา พ.ศ.2498 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2518
เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com