ไขมันในเลือดสูง
(hyperlipidemia)
เป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในเมืองไทย
ที่มีการดำเนินชีวิตแบบเมือง
คล้ายประเทศตะวันตกมากขึ้นเรื่อย
ๆ และมีความสัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
จนเป็นที่วิตกของคนทั่วไป
ไขมันในเลือดที่มีความสำคัญทางการแพทย์แบ่งได้เป็น
2 ชนิด ได้แก่ คอเลสเตอรอล (cholesterol)
และไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides)
ซึ่งจะอยู่ในรูปของโครงสร้างพิเศษที่ขนถ่ายไขมันทั้งสองตัว
จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
เรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein) มี 4
ชนิด ได้แก่ chylomicron, LDL, HDL และ IDL
จากการศึกษาในประชากร
สหรัฐอเมริกา ที่เมือง Framingham
พบว่าภาวะไขมันในเลือดสูงที่เป็น
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ส่วนไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
ปัจจุบันพบมีความสัมพันธ์บ้าง
แต่ยังไม่เด่นชัดนัก
สำหรับวันนี้
เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ
คอเลสเตอรอล
และภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
เมื่อใด
จะเรียกว่า
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง |
คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นไขมันที่มีความสำคัญ
เป็นสารต้นกำเนิดของฮอร์โมนหลายชนิด
และกรดน้ำดี
จึงถึงว่าคอเลสเตอรอลเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้
แต่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงกว่าปกติ
ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ
ซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ระดับคอเลสเตอรอลที่ตรวจ
ภายหลังอดอาหารอย่างน้อย 12 ชม.
และมีค่าเกินกว่า 200 มก./ดล.
จัดว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ
เมื่อมาดูส่วนประกอบละเอียดของคอเลสเตอรอล
พบว่า คอเลสเตอรอลที่อยู่ในรูป LDL
มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
ส่วน HDL
นั้นกลับช่วยลดหรือป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้
ในปัจจุบันผู้ที่ตรวจหาระดับคอเลสเตอรอลโดยวิธีมาตรฐานแล้ว
พบว่าระดับคอเลสเตอรอลมากกว่า 200
มก./ดล. จึงแนะนำให้ตรวจหาค่า LDL
ในเลือดด้วย
โดยคำนวณจากระดับคอเลสเตอรอล,
ไตรกลีเซอไรด์ และ HDL
LDL
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ |
การศึกษาในกลุ่มประชากร
และการศึกษาการดำเนินโรคของเส้นเลือดหัวใจตีบ
พบปัจจัยเสี่ยง
ที่สนับสนุนให้เกิดภาวะนี้ได้ง่าย
ได้แก่
- ผู้ชายที่อายุเกิน
45 ปี หรือผู้หญิงที่อายุเกิน 55 ปี
- มีประวัติการเกิดโรคนี้ในครอบครัว
- การสูบบุหรี่
- เบาหวาน
- ความดันเลือดสูง
- ระดับของ LDL
ในเลือดที่มากกว่า 160 มก./ดล.
- ระดับของ HDL
ในเลือดที่น้อยกว่า 35 มก./ดล.
ส่วนปัจจัยที่ป้องกันหรือลดการเกิดภาวะนี้
ได้แก่ ระดับของ HDL
ในเลือดที่มากกว่า 60 มก./ดล.
คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ที่ไขมันในเลือดสูง
- เมื่อไหร่จะใช้ยา |
ผู้ที่ไขมันในเลือดสูง
โดยเฉพาะที่เจาะเลือดพบว่าค่า LDL
สูงกว่า 160 มก./ดล.
ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- พยายามรักษาหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ
เช่น ควบคุมความดันเลือดให้ดี,
รักษาระดับน้ำตาลมิให้สูงเกินไป,
งดบุหรี่ เป็นต้น
- พยายามลดไขมันในอาหารให้น้อยลง
เหลือประมาณไม่เกินร้อยละ 20
ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน
และควรเป็นไขมันไม่อิ่มตัว
(ไขมันจากพืช) มากกว่าไขมันสัตว์
- เลี่ยงอาหารที่คอเลสเตอรอลสูง
ได้แก่ ไข่แดง, ไข่นกกระทา,
เครื่องในสัตว์ เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก
เนื่องจากจะช่วยขัดขวางการย่อยและดูดซึมไขมัน
มิให้เข้าสู่ร่างกาย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกิน
และร่างกายนำไขมันจากเลือดไปใช้ได้ดีขึ้น
สำหรับผู้ที่ควบคุมอาหารและปฏิบัติตามดังข้างต้น
และพบว่าระดับ LDL
ในเลือดไม่ลดลงภายในเวลา 3-6 เดือน
มีความจำเป็นต้องได้รับยาลดไขมัน
โดยระดับ LDL
ที่ควรได้รับการรักษาจะมากหรือน้อย
ขึ้นกับว่าผู้นั้นมีปัจจัยเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
โดยยึดหลักว่า
- ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงข้ออื่น
หรือมีแต่ไม่เกิน 2 ข้อ
จะเริ่มรักษาเมื่อระดับ LDL เกิน 160
มก./ดล.
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
มากกว่า 2 ข้อ
ควรเริ่มรักษาเมื่อระดับ LDL เกิน 130
มก./ดล.
- ผู้ที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
จากเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่แล้ว
ควรเริ่มรักษาเมื่อระดับ LDL เกิน 100
มก./ดล.
- อนึ่ง
ผู้ที่มีระดับ HDL เกินกว่า 60 มก./ดล.
สามารถหักปัจจัยเสี่ยงออกได้ 1
ข้อ
ทั้งนี้
ควรได้ปฏิบัติตัวอย่างดีไปอย่างน้อย
3-6 เดือน และพบว่าระดับ LDL
ลดลงไม่เป็นที่น่าพอใจ
จึงเริ่มรับประทานยาได้
การรับประทานยาลดไขมัน
อาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
แม้จะพบไม่บ่อย
จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เสมอ
หวังว่าคงได้รับความกระจ่าง
เกี่ยวกับไขมันในเลือดสูง
โรคฮิต อีกโรคหนึ่ง ในขณะนี้ |