สรุปความรู้และรายงานของภาคเรียนที่ ๑
ของ พ.อ.ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร , พ.ท.สัจจา รักติประกร และ พ.ท.ฐิตวัชร์ เสถียรทิพย์
นศ.ปริญญาโท สาขาความมั่นคงศึกษา Master of Defence Studies
ณ สถาบันการทหารกองทัพออสเตรเลีย
มี.ค. พ.ค. ๔๘
---------------------------------------------------
ทุนการศึกษาปริญญาโทของนายทหารกองทัพไทย ณ ออสเตรเลีย ตามโครงการความร่วมมือทางทหารออสเตรเลีย ไทย ประจำปี ๒๕๔๘ ( ม.ค. ธ.ค.๔๘) เป็นทุนการศึกษาระดับหลังปริญญาตรี (Postgraduate)ในโครงการ เป็นหนึ่งในจำนวนหลายๆ หลักสูตรการฝึกศึกษา ในโครงการ DC คุณสมบัติขั้นต้นของผู้รับทุนไทย จะต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรระดับกลาง (ยศ พ.ต.-พ.อ.) ยกเว้นกองบัญชาการทหารสูงสุด มีประสบการณ์ทำงานโดยตรง หรือเกี่ยวข้อง ในสาขาวิชาที่ประสงค์จะศึกษา และต้องผ่านการทดสอบความสามารถใช้ภาษาอังกฤษแบบ IELTS (International English Language Testing System) ไม่ต่ำกว่าระดับ ๖.๕ (โดยเฉพาะ ADFA) หรือ ระดับ ๖.๐ แล้วแต่ความต้องการของมหาวิทยาลัย
สำหรับปี ๒๕๔๘ กองทัพไทยมีผู้สอบผ่านไปเข้ารับการศึกษา จำนวน ๑๒ คน ( ทบ. ๕ คน , ทร. ๓ คน , ทอ. ๓ คน และ บก.ทหารสูงสุด ๑ คน ) โดยเข้าเรียน ที่ Australian Defence Force Academy (ADFA) ในระดับปริญญาโททางด้าน Defence Studies, Strategic and Policy และ Management และสถาบัน University of Wollongong ที่ Sydney และ Griffith University ที่ Brisbane
สำหรับผลงานและบทความทางวิชาการที่ผู้รวบรวมได้พยายามนำมาเผยแพร่นั้น
มีพื้นฐานความคิดหลายประการ คือ กำลังพลของ ทบ.
ที่ไปรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในระดับต่างๆ มากมาย ทั้งจากทุนของกองทัพไทย
ทุนส่วนตัว และทุนจากความร่วมมือจากมิตรประเทศ โดยสิ่งที่ค้นคว้า เรียนรู้
น่าจะนำมาเผยแพร่ หรือ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ รูปแบบที่เป็นทางการ หรือ
อ้างอิงการรายงานแบบราชการนั้น อาจจะทำให้ผู้สนใจที่จะนำเอกสารมาเผยแพร่
อาจจะรู้สึกว่าขั้นตอนและลักษณะการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นทางการนั้น
ไม่คล่องตัวเท่าใดนัก แต่ปัจจุบันสื่อ
Internet
เครื่องมือสำคัญในยุคข่าวสารข้อมูล สามารถทำลายกำแพงอุปสรรคเหล่านั้นลงไปแล้ว
ประการสำคัญ ปรากฏว่า สิ่งที่ส่วนใหญ่ นศ.ป.โท ลงทุน ลงแรงวิจัย ( โดยเฉพาะ " กรณีศึกษาในหน่วยทหาร") นั้น กลับไปวางบนหิ้งในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ๑ เล่ม แล้วก็วางไว้ในตู้โชว์ ตัวเองอีก ๑ เล่ม ทั้งๆ ที่จริงแล้ว องค์ความรู้ต่างๆ เหล่านั้น สามารถนำมาขยายผล ต่อยอด ค้นคว้า เพิ่มเติมได้อย่างดียิ่ง หรืออย่างน้อยที่สุดสามารถนำมาอ่านประดับความรู้ได้อย่างดียิ่ง
พวกเราหวังว่า การเผยแพร่บทความและเอกสารต่างๆ ที่ได้รับการศึกษาผ่านทางเวบไซท์แห่งนี้ คงจะเป็นจุดเริ่มให้ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังพลของ ทบ. ได้เริ่มที่จะขายความคิด , แสดงออกในสิ่งที่สร้างสรรค์ และแบ่งบันแนวคิดร่วมสมัยต่อกันบนเวทีแห่งนี้
พ.ท. ฐิตวัชร์ เสถียรทิพย์[1]
ผู้รวบรวม
http://www.oocities.org/dcsp2005
---------------------------------------------------
๑. วิชา Global security (ความมั่นคงของโลก)
วิชานี้มีเนื้อหาหลากหลาย โดยความมั่นคงของโลกนั้น ไม่สามารถพิจารณาโดยเฉพาะแง่คิดความมั่นคงทางทหารเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบต่างๆ ที่คนทั้งโลกและทุกประเทศต้องคำนึงถึง เช่น สิ่งแวดล้อม พลังงาน การอพยพ นิวเคลียร์ ปัญหาอาชกรรมข้ามชาติ ภัยจากเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ต้องการความร่วมมือที่สูงกว่าความร่วมมือและความมั่นคงระหว่างประเทศ
รายงานที่ต้องทำ ๓ ฉบับ ( เฉพาะผู้รวบรวม) สรุปความรู้ในแต่ละเรื่องดังนี้
๑.๑ เรื่อง ยาเสพติด
เอกสารฉบับเต็ม http://www.oocities.org/dcsp2005/essay/drug_trafficking_in_case_narco-terrorism.pdf
ปัญหาสำคัญของการทำรายงานฉบับนี้ คือ การคิดคำถาม หรือ เรื่องที่มีความน่าสนใจ เพื่อที่เราจะนำไปค้นหามายืนยัน หรือ ขัดแย้งสมมติฐาน / คำถามที่เราสนใจ
ผมเริ่มตั้งประเด็นครั้งแรก เกี่ยวกับ ปัญหายาเสพติดใน Afghanistan ทำไมการผลิตยาเสพติดใน Afghanistan จึงยังเป็นอันดับ ๑ หลังจากการยึดครองของสหรัฐฯ เมื่อค้นหาต่อไปกลับไปเจอคำใหม่ คือ Narco-Terrorism ก็เลยเริ่มค้นหาที่มา และ แนวทางการต่อสู้กับ ๒ สงครามสำคัญ ( War on terror & narcotics )
แต่หลังจากนั้น มีความรู้สึกว่า นี่เป็นการชักนำของสหรัฐฯ ที่พยายามนำ การก่อการร้ายมาผูกโยงกับภัยคุกคามของสหรัฐฯ จึงได้ข้อสรุปในคำถามว่า Narco-terrorism เป็นการชักจูงให้ประเทศต่างๆ การต่อสู้กับสงครามยาเสพติด ภายใต้สภาวะแวดล้อมของการก่อการร้าย หรือไม่?
จากการทำรายงานสรุปได้ว่า
๑. ในบางประเทศ เช่น Columbia มีการนำรายได้จากการค้ายาเสพติด มาสนับสนุนการก่อความไม่สงบ ด้วยการก่อการร้าย
๒. มีแนวโน้มว่า เครือข่ายก่อการร้าย และ ขบวนการค้ายาเสพติด มีความเชื่อมโยงและพึ่งพากันในบางกิจกรรม เช่น การฟอกเงิน การจัดหาอาวุธ ระเบิด
๓. มีนักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า สหรัฐฯ พยายามชักจูงจริงๆ โดยได้ยกเหตุผลสนับสนุนจากคุณลักษณะของเครือข่ายก่อการร้าย กับ ขบวนการค้ายาเสพติด มีความแตกต่างกันมากในหลายประเด็น แต่ในขณะที่ UN ได้ออกรายงานว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ เครือข่ายก่อการร้าย และ ขบวนการค้ายาเสพติด มีความเชื่อมโยงและพึ่งพากัน
๔. อย่างไรก็ตามแม้ว่า Narco-terrorism เป็นการชักจูงจากสหรัฐฯ หรือไม่ ประชาคมโลกต้องร่วมมือกันในทุกระดับ ( ประเทศ / รัฐบาล / ประชาชน ) และทุกองค์กร (ความมั่นคง / ปกครอง / เอกชน ) เพื่อต่อสู้กับ Narco-terrorism แต่ !!!! อย่าทำให้เป็นเรื่องใหญ่มากเกินจริง
๑.๒ เรื่อง ความขัดแย้งใน Azerbaijan
เอกสารฉบับเต็ม http://www.oocities.org/dcsp2005/essay/USAID_and_Azerbaijan.pdf
รายงานฉบับนี้มีความพิเศษตรงที่วิธีการเรียนการสอน โดยเป็นการเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาให้นักศึกษาสัมภาษณ์ ( Expert Interview) แล้วบันทึกเทป เพื่อจะนำไปใช้ในการสอบ หรือเป็นแหล่งข้อมูลตรง ก่อนที่จะสัมภาษณ์ต้องมีการค้นคว้าข้อมูล และ เตรียมคำถามในรายงานเพื่อจะได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นของนักศึกษา สำหรับงานที่ได้ได้รับมอบ คือ สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศอาเซอร์ไบจัน ( เอเชียกลาง แยกมาจากรัสเซีย) โดยผู้เชี่ยวชาญเป็น จนท.ในองค์กร USAID US Agency for international Development ซึ่งเข้าไปปฏิบัติภารกิจในประเทศนี้
จากการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลของ USAID ได้พบประเด็นสำคัญ คือ ความช่วยเหลือจากมหาอำนาจ เป็นเครื่องมือหนึ่งของการแทรกแซง / ครอบงำ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศผู้ให้ สำหรับในกรณีของรายงานฉบับนี้ จึงตั้งคำถามว่า การเข้ามามีอิทธิพลของสหรัฐฯ นำไปสู่การมั่นคงและปลอดภัยของอาเซอร์ไบจัน หรือไม่?
จากการศึกษาพบว่า
๑. สหรัฐฯ มีสิ่งซ่อนเร้นในความช่วยเหลือและการกระชับความสัมพันธ์ คือ แหล่งนำมันในทะเลสาบคาสเปี้ยน ซึ่งสหรัฐฯ ได้เป็นผู้ได้รับสัมปทานส่วนใหญ่
๒. จากการประกาศสงคราม War on terrorism สหรัฐฯ ได้มองไปถึงการวางกำลังสหรัฐฯ เพื่อกดดันอิหร่านไปด้วย
๓. น่าสนใจว่า อาเซอร์ไบจันเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่มีการต่อต้าน หรือ แสดงปฏิกิริยาต่อต้าน ตต.อย่างรุนแรง
๔. อย่างไรก็ตาม USAID ก็มีประโยชน์ต่อภาคประชาชนโดยตรง แม้ว่าจะมีผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นเป้าหมายสำคัญ
ทำให้สรุปได้ว่า การครอบงำของสหรัฐฯ ทั้งผ่านทางการเมือง การทหาร และความช่วยเหลือต่างๆ นั้นกระทำเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ทั้งสิ้น แต่ก่อให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคนี้ด้วย เช่น รัสเซีย และ อิหร่าน ซึ่งยังไม่รวมจีนที่กำลังมองว่า สหรัฐฯ กำลังโอบล้อมชายแดนด้าน ตต. ด้วย
สำคัญไปกว่านั้น พบว่า ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ของประเทศมหาอำนาจ ( ใหญ่ และ กลาง) มีผลประโยชน์แอบแฝงทั้งสิ้น แต่สมดุลนั้นเกิดขึ้นจากประเทศผู้รับ พยายามที่จะมองข้ามและต้องการความช่วยเหลือดังกล่าวเช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้นที่เรียกว่า Win-win ก็ตาม ( เช่น โครงการ IMET ,DC รวมทั้งทุนการศึกษาปริญญาโทนี้ก็มาจาก AUSAID เช่นกัน )
๑.๓ ยุทธศาสตร์จีนในการลดความขัดแย้งของประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง จากผลกระทบในการพัฒนาต่างๆ ในลุ่มน้ำตอนบน
เอกสารฉบับเต็ม http://www.oocities.org/dcsp2005/essay/Chinese_Strategic_culture_on_the_Mekong_case.pdf
รายงานนี้เป็นรายงานหลักที่ผู้สอนต้องการให้นักศึกษานำหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ๒ หัวข้อนำมาพิจารณาร่วมกันในเรื่องที่สนใจ ซึ่งผมได้นำปัญหา ม.โขง เป็นตัวตั้ง ( ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม / ทรัพยากรธรรมชาติ ) แล้วหาเรื่องที่สนใจมาเกี่ยวข้อง คือ The major powers คือ จีน มาพิจารณา โดยใช้หัวข้อ Strategic culture เป็นกลไกในการหาคำตอบ แต่ก็เกิดปัญหาเนื่องจากผมนิยามคำว่า Strategic culture ไม่ตรงกับความต้องการจริงๆ คือ วัฒนธรรมของชาวจีน เนื่องจาก Strategic culture เป็นการศึกษายุทธศาสตร์การการทหารต่อมุมมองความมั่นคง ซึ่งทำให้แนวความคิดต่อการค้นหาคำตอบ ค่อนข้างจะไปคนละทาง แต่ก็พยายามค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาจนได้
จากการศึกษาพบว่า
๑. จีน มีความต้องการพลังงานมากเป็นอันดับ ๒ จึงต้องมีการเพิ่มพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ หรือ การสร้างเขื่อน เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธี ม.โขง ซึ่งมีต้นกำเนิดในทิเบต ไหลผ่านจีนประมาณ ๕๐ % ทำให้มีโครงการพัฒนาสร้างเขื่อนบริเวณลุ่มน้ำโขงตอนบน มากว่า ๑๐ โครงการ ( เสร็จแล้ว ๓ เขื่อน) แต่ในขณะเดียวก็เกิดผลกระทบกับประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ( ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม)
๒. ปัญหา เรื่อง การแย่งทรัพยากรน้ำ มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น หากไม่มีการจัดการที่ดี หรือ ไม่มีองค์กรมาดำเนินการเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้ง
๓. บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของจีน คือ การเสริมสร้างพลังอำนาจต่างๆ ให้สอดคล้องและเกื้อกูลกัน ( Comprehensive Security ) เช่น การใช้เศรษฐกิจนำ การผูกมิตร การทูตทหาร รวมทั้ง พื้นฐาน Winning without war
๔. จีน จึงใช้วิธีการในการลดความขัดแย้ง ภายใต้วัฒนธรรมของจีน คือ การรับและให้ ( ให้ความช่วยเหลือ, เปิดตลาดการค้า) รวมถึงการขายไฟฟ้าในราคาถูกให้ประเทศตอนล่าง และ การแก้ปัญหาแบบ Win-win ตลอดจนการศึกษาพื้นฐานของประเทศคู่เจรจา ( รู้เขา)
๕. ที่น่าสนใจ คือ บทความที่วิเคราะห์เกี่ยวกับ กีฬาของชาติต่างๆ โดยพิจารณาหมากล้อมของจีน ในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ว่าเป็นการชนะ-แพ้ แบบนุ่มนวล มากกว่ากีฬาของ ตต. ซึ่งมีผู้ชนะ-ผู้แพ้ อย่างชัดเจน
๒. วิชา Terrorism
http://www.oocities.org/dcsp2005/essay/terrorist_using_WMD.pdf
คำถาม
"ความเป็นไปได้ที่
ผกร. สามารถครอบครอง และ ใช้
WMD "
จากการค้นคว้าพบว่า
๑.
WMD
ประกอบด้วย
อาวุธเคมี ชีวะ นิวเคลียร์ และสารกัมตภาพรังสี (
Nuclear,
biological and chemical and contaminate large areas with radioactive fallout: UN
report,2004)
แต่ละแบบมีคุณลักษณะ ข้อดี -เสีย ต่างกัน
๒. เหตุผลที่ ผู้ก่อการร้ายต้องการใช้
WMD
นอกจากจะ เป็นสิ่งที่จะทำลายและ ทำความเสียหายได้มหาศาล เหตุผลอื่นๆ
คือ
- Anti-Americanism
และ
นโยบายของสหรัฐฯ
-
ต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์
-
กลุ่มก่อการร้ายรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจัยข้อนี้ ทำให้เกิดการก่อการร้ายแบบรุนแรงมากขึ้น
เพราะผู้ก่อการร้ายในอดีต ไม่ต้องการฆ่าคนจำนวนมาก
เขาต้องการนำการเจรจามาบนโต๊ะมากกว่า
แต่ปัจจุบันผู้ก่อการร้ายรุ่นใหม่ต้องการใช้ความรุนแรง
Todays
terrorists dont want a seat at the table; the y want to destroy the table and
everyone sitting at it.
-
ซึ่งการศึกษาของ
Rapport
(2003:1 3)
กล่าวว่า เป็นการก่อการร้ายยุคที่ ๔ ที่มชาวมุสลิมเป็นแกนนำ
[As
Rapports study (200 3:13) states, the terrorist today is the fourth wave in
which Islam is at the heart of the wave.]
๓.
แล้วมีความเป็นไปได้ที่ ผกร. จะมี
WMD
ไว้ครอบครอง มีหลายปัจจัยที่ต้องติด ตาม คือ
-
การล่มสลายของโซเวียต (ทั้งนักวิทยาศาสตร์ และ ส่วนประกอบ)
-
วิธ
ีการผลิตที่หาได้ง่ายบนตลาดอินเตอร์เน็ต
-
ชีวะ เคมี
สามารถหาได้ง่ายๆ จากภาคอุตสาหกรรม
-
เคยมีการใช้อาวุธเคมี ๔ ครั้ง ( ปี ๑๙๘๔ ที่สหรัฐ
,
ปี ๑๙๙๐
โดยกลุ่มอีแลม , ปี ๑๙๙๕ ญี่ปุ่น และ ปี ๒๐๐๒ สหรัฐฯ)
****
น่าสนใจ คือ
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้น้อยมาก ที่ ผกร. จะใช้อาวุธนิวเคลียร์
โจมตีชาติ ตต.เพราะ
-
หายาก -
เก็บยาก - ขนส่งยาก
เงื่อนไขการใช้ยาก และ ถูกติดตามหาข่าวได้ง่าย
- ประเทศที่ต่อต้านสหรัฐฯ เช่น เกาหลีเหนือ และ ลิเบีย
ก็ไม่กล้าทำการค้า เพราะจะถูกเพ่งเล็ง หรือโดน
pre-emptive
Strike
และ จากข่าวกรองของ ตต. พบว่า กลุ่ม อัลเคด้า
พยายามหาและครอบครองมาหลายครั้ง
๔. สรุปความน่าจะเป็น
พิจารณาจาก ความตั้งใจ + ขีดความสามารถ + โอกาส สรุปว่า
น่าจะเป็นประเทศพันธมิตรสหรัฐฯ มากกว่าสหรัฐฯ เนื่องจากระบบการป้องกันที่ดี
โดยกลุ่มอัลเคด้า จะเป็นผู้ปฏิบัติ วิธีการ คือ เคมี กับ ชีวะ
http://www.oocities.org/dcsp2005/essay/Evaluate_the_strategy_of_insurgency_in_Iraq.pdf
http://www.oocities.org/dcsp2005/essay/Terrorism_incident_in_Pakistan.pdf
๓. วิชา Strategic Developing Policy in 21st Century
http://www.oocities.org/dcsp2005/essay/Vietnam_Strategic_framework.pdf
[1] พ.ท.ฐิตวัชร์ ฯ (จปร. ๔๐, รร.สธ.ทบ.๘๐ ) : กองข่าว กรมข่าวทหารบก เข้ารับการศึกษาปริญญาโทสาขาความมั่นคงศึกษา ตามโครงการความร่วมมือทางการทหารออสเตรเลีย-ไทย ( Defence Cooperation Scholarship Program 2005) ม.ค. - ธ.ค.๔๘ โดย University of New South Wales at Australian Defence Force Academy, Canberra, AUSTRALIA