แนวดำเนินการสถาบันการอาชีวศึกษา 

กรมอาชีวศึกษา

แนวดำเนินการสถาบันการอาชีวศึกษา

  1. หลักการ

 

ด้วยร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.… อยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อพิจารณาตามขั้นตอน  ซึ่งได้มีการกำหนดให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษาที่สำคัญคือ  การจัดให้สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษารวมกลุ่มกันเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา  โดยในเบื้องต้นได้กำหนดไว้ 28  สถาบันการอาชีวศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้มีการผนึกกำลังระหว่างสถานศึกษาดำเนินงานให้มีคุณภาพ  ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน  การเกื้อกูลความเชี่ยวชาญด้านวิชาการ  การสร้างความต่อเนื่องเชื่อมโยงของการอาชีวศึกษา  ให้สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาในสายปฏิบัติหรือเทคโนโลยี

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนแนวคิดการรวมกลุ่มสถานศึกษาเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา  จึงกำหนดให้สถานศึกษาเร่งรัดดำเนินงานในรูปสถาบันการอาชีวศึกษา  28  แห่ง  โดยให้มีการทบทวนและดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 เป็นต้นไป

 

  2. วัตถุประสงค์

1)      เพื่อสร้างคุณภาพ  มาตรฐานการอาชีวศึกษา  และความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพอิสระ

2)      เพื่อขยายโอกาสการอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ  ให้เข้าถึงกลุ่มบุคคลได้กว้างขวางขึ้น

3)      เพื่อผนึกกำลังระหว่างสถานศึกษาในหารใช้ทรัพยากร  เกื้อกูลความเชี่ยวชาญด้านวิชาการ  จัดระบบความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เข้มแข็งและเตรียมความพร้อมสำหรับเปิดสอนสระดับปริญญา

  

   3. แนวดำเนินการ                                                                                        ระยะเวลาดำเนินการ

3.1  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสถาบันการอาชีวศึกษา                      พฤศจิกายน    2544

1)      จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสถาบันการอาชีวศึกษา  จากหัวหน้าสถานศึกษาในกลุ่มสถาบันการอาชีวศึกษาที่กำหนด

2)      ให้มีการประชุมหารือเพื่อกำหนดที่ตั้งสำนักงานสถาบันการ อาชีวศึกษา

3)      การเลือกที่ตั้งสำนักงานอธิการบดีสถาบันการอาชีวศึกษาโดยกำหนดพื้นที่ตั้งในสถานศึกษาใดสถานศึกษาหนึ่งให้  คำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้

3.1)    เป็นสถานศึกษาที่เป็นศูนย์กลาง  การคมนาคมสะดวก เหมาะกับการติดต่อประสานงาน

3.2)   เป็นสถานศึกษาที่มีความรู้ความพร้อมด้านบุคลากร  วัสดุอุปกรณ์  และอาคารสถานที่เพียงพอเหมาะสม

 

3.2  แต่งตั้งคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา                                 พฤศจิกายน       2544

1)     จัดตั้งคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา  จากหัวหน้าสถานศึกษาในกลุ่มสถาบันการอาชีวศึกษา

2)     ประชุมคัดเลือกประธาน  (ชั่วคราว คณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา

3)    ประชุมหารือเพื่อสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนสถาน ประกอบการร่วมเป็นคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา  ทั้งนี้ให้มีกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ   ผู้แทนสถานประกอบการรวมกันมากกว่ากรรมการจากผู้บริหารสถานศึกษา

                             4)     ประชุมหารือเพื่อสรรหาประธานกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาและอธิการบดีสถาบันการอาชีวศึกษา

5)     เสนอกรมพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา  และอธิการบดีสถาบันการอาชีวศึกษา

 

3.3   การเลือกประธานกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาและอธิการบดีสถาบันการอาชีวศึกษา          พฤศจิกายน   2544

                                                         

ก.      การเลือกประธานกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา 

1)       เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย  อาจมิใช่ข้าราชการ แต่อาจจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ  หรือผู้แทนจากภาคเอกชน  หรือ

 บุคคลที่คณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาเห็นสมควร

         2)    มีความเป็นผู้นำ   มีวิสัยทัศน์  มีประสบการณ์สูง
                            
3)      เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือ  ความศรัทธาจากบุคคลทั่วไป  และ
สามารถผลักดันนโยบาย  เป้าหมายของสถาบัน ฯ ให้ไปสู่การปฏิบัติได้ 

 

ข.     การเลือกอธิการบดีสถาบันการอาชีวศึกษา

1)      ให้เลือกจากผู้อำนวยการวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งในสถาบันการอาชีวศึกษานั้น

2)       ผู้รับการเสนอชื่อควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

-     มีวิสัยทัศน์  มีความเป็นผู้นำ มีความมุ่งมั่นในการปฏิรูปการอาชีวศึกษา

-     มีความรู้ความเข้าใจในร่าง พ... การอาชีวศึกษาและ ตระหนักถึงความสำคัญการรวมกลุ่มสถานศึกษาเป็น

       สถาบันการอาชีวศึกษา

-     มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

-     มีความกระตือรือร้น คล่องตัวในการประสานความร่วมมือ  การตัดสินใจ  และการแก้ปัญหา

3)      ให้คณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาเสนอชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมอย่างน้อย  ราย  เพื่อให้คณะกรรมการอาชีวศึกษาระดับชาติพิจารณาแต่งตั้ง

 

3.4  อำนาจหน้าที่ของอธิการบดีสถาบันการอาชีวศึกษา                              พฤศจิกายน   2544

1)       ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา

2)      จัดประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดแผนกกลยุทธ์ของสถาบัน      (วิสัยทัศน์ฯ  พันธะกิจ  โครงการ  กิจกรรม  และตัวชี้วัดความสำเร็จ)

3)      บริหารจัดการและประสานการดำเนินงานของสถาบันฯ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

4)      ติดตามกำกับดูแล  ประเมินผล  และรายงวานความก้าวหน้า    ปัญหาอุปสรรคต่อกรมทุก 3 เดือน

3.5    ดำเนินการตามพันธะกิจหลัก 5 ประการของสถาบันการอาชีวศึกษา

ตามนโยบายการมอาชีวศึกษา

1)      ศึกษาความต้องการของตลาดแรงงาน ช่องทางการประกอบอาชีพ  ความต้องการอาชีวงศึกษาและการพัฒนาทักษะอาชีพของชุมชน 

       องค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง  และจัดระบบข้อมูลที่ได้รับจาการศึกษา  เพื่อใช้ในการวางแผนรับนักเรียน  พัฒนาหลักสูตร  และพัฒนางาน

       ของสถาบัน

2)      จัดทำแผนรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2545 ของสถาบันฯ  และจัดส่งให้กรมภายในเดือนพฤศจิกายน 2544

3)      จัดทำแผนปฏิบัติงานฝึกอบรมอาชีพตามโครงการ  9+1  และ 12+1 ของสถาบันฯ   แผนปฏิบัติการโครงการอาชีวศึกษาทวิภาคี  จัดส่ง

ให้กรมภายในเดือนพฤศจิกายน 2544 และร่วมกันบริหารงบประมาณตามโครงการทั้งสองโครงการนี้ให้มีประสิทธิภาพ

4)      จัดทำแผนพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาส่งให้กรมภายใน

       วันที่  10  ธันวาคม  2544  เพื่อเป็นข้อมูลการจัดตั้งงบประมาณ

       ปี 2546 ทั้งนี้ให้มีองค์ประกอบหลักอย่างน้อย 3 ประการคือ

-    แผนการใช้ทรัพยากร  อาคารเรียน  อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน   ร่วมกัน ระหว่างสถานศึกษาในสถาบันฯ

-    แผนการใช้บุคลากรร่วมกัน การเกื้อกุลความเชี่ยวชาญด้านวิชาการการแลกเปลี่ยนบุคลากร รวมถึงระบบการจัดหา รักษา พัฒนาและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

-    แผนการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันฯ  และการเตรียมความพร้อมสำหรับเปิดสอนสระดับปริญญาตรี

5)      ติดตามรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายของกรม

3.6    การกำกับดูแลติตามงานของสถาบันการอาชีวศึกษา

ให้อธิบดี  รองอธิบดี  กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงานของสถาบันการอาชีวศึกษาทุกแห่งให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่าง

มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง ทำหน้าที่ให้การสนับสนุน กำกับ  ดูแล  ติดตาม ประเมินผล  และรายงานการ

ดำเนินงานของสถาบันการอาชีวศึกษาแต่ละแห่งทุก  3 เดือน  ดังนี้

                           

                       สถาบันการอาชีวศึกษา                         หัวหน้าส่วนราชการระดับกองที่รับผิดชอบ

1.      สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 และ 2                          ผู้อำนวยการกองออกแบบและก่อสร้าง

2.      สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ3 ,4 และ 5                        ผู้อำนวยการกองการศึกษาอาชีพ

3.      สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 และ 2     ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาครูอาชีวศึกษา

4.      สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และ 4     หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์

5.      สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 และ 7     ผู้อำนวยการกองแผนงาน

6.      สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 2 และ 3                            ผู้อำนวยการกองวิทยาลัยเกษตรกรรม

7.      สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 4 และ 5                               ผู้อำนวยการกองเจ้าหน้าที่

8.      สถาบันการอาชีวศึกษภาคกลาง 1, 2 และ 3                        ผู้อำนวยการกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา

9.      สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 และ 5                           ผู้อำนวยการกองบริการเครื่องจักรกล

10.  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เลขานุการกรมอาชีวศึกษา

11.  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก1, 2 และ 3                    ผู้อำนวยการกองวิทยาลัยเทคนิค

12.  สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 1 และ 2                  ผู้อำนวยการกองคลัง
 

 

……………………………….

(นายพยุงศักดิ์  จันทรสุรินทร์)

อธิบดีกรมอาชีวศึกษา

30  ตุลาคม  2544
 

 

© 2001  นำเสนอข้อมูล และพัฒนาระบบโดย  หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 09 January 2002     จดหมายถึงผู้ดูแลระบบ