แนวทางปฏิบัติการประยุกต์ใช้ Information Technology
ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนและการบริหารของกรมอาชีวศึกษา
แนวทางปฎิบัติ |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
1. ให้มีการติดตั้ง
leased Line ที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่าง
กระทรวง กรม สถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด 413 แห่ง
และศูนย์นิเทศอาชีวศึกษาภาค 5 แห่ง
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม 2545 |
ศูนย์สารสนเทศ สป.ศธ. และคณะทำงาน IT กรมอาชีวศึกษา ร่วมประสานงาน |
2.
ให้มีการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาแม่ข่ายระดับจังหวัดและหน่วยงานในสังกัดกรมอาชีวศึกษา
โดยการจัดหา SERVER
สำหรับรวบรวมและเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลร่วมกัน |
กองคลัง กรมอาชีวศึกษา จัดซื้อจัดจ้าง |
3.
ให้มีการปรับปรุง พัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กลางเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
Internet เพื่อการเรียนการสอนอย่างพอเพียง |
กองสถานศึกษา และสถานศึกษา |
4.
ให้มีการประยุกต์ใช้ Computer ในการปฏิบัติงาน ระบบ
Paper Less
และการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบ Internet
ระหว่างสถานศึกษาและกรมอาชีวศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภายในกรมอาชีวศึกษา |
หน่วยงานทุกหน่วยงานในสังกัดกรมอาชีวศึกษา |
5.ให้สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาครู
อาจารย์ ผู้บริหาร (In House Training)
ให้มีความรู้เรื่อง Computer Literacy ) มุ่งเน้นให้ครู
อาจารย์ผู้บริหาร สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ในฐานะ User
และInternet) เพื่อการสืบค้นและส่งข่าวสารได้ |
สถานศึกษา |
6.ให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสถานศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูล บุคคล งบประมาณ หลักสูตรการเรียนการสอน นักเรียน นักศึกษา อาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์/อุปกรณ์ ข้อมูลท้องถิ่น ด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และภูมิปัญญาท้องถิ่นฯลฯ ให้เป็นปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงเครือข่าย On Line ข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การบริหารงานและการส่งเสริม/สนับสนุนการปฏิบัติงานภายในกรมอาชีวศึกษา |
กองแผนงาน |
7. ให้มีการประยุกต์ใช้ให้มีการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการรวบรวมและเผยแพร่ข่าวสารด้านฐานข้อมูลครุภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ คุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ ปัญหาที่พบจากการใช้ การซ่อมบำรุง ในรูปแบบ Stock Library เพื่อให้บริการแก่สถานศึกษาและให้คำปรึกษาด้านการซ่อมบำรุงผ่าน Internet |
กองบริการเครื่องจักรกล |
8. ให้มีการเฝ้าระวังติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีรายสาขาวิชาชีพที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา (Watch Dog ) โดยมีคณะครู อาจารย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดเผยแพร่ใน web Page อาทิ Today Technology หรือ Today Innovation สำหรับครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา โดยผู้ที่รับผิดชอบรายสาขาจะ Up Load ข้อมูลตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว |
หน่วยศึกษานิเทศก์
กองแผนงาน |
9. ให้มีการพัฒนาเนื้อหารายวิชาที่จัดการเรียนการสอนให้ได้ Solid Knowledge และ Solid Practical ให้ผู้เรียนสามารถทำงานได้จริงตามความต้องการของสถานประกอบการและท้องถิ่น พร้อมทั้งจัดทำเครือข่ายการเรียนรู้ผ่าน Internet สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้
|
หน่วยศึกษานิเทศก์ |
10.
ให้มีการสำรวจความพร้อมของสถานศึกษาในสังกัดที่สามารถให้บริการตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์
การให้คำปรึกษาและฝึกอบรมด้านการบำรุงรักษาและตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์แก่ อบต.และให้ความช่วยเหลือแก่สถานศึกษาในสังกัด
สปช. สศ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐบาล
พร้อมทั้งให้สถานศึกษาทุกแห่ง.
มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการเป็นศูนย์บริการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมด้านการบำรุงรักษาและตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์
โดยให้ผู้บริการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย |
กองบริการเครื่องจักรกล
|
11.
ให้มีการพิจารณากำหนดมาตรฐาน Domain Name ของสถานศึกษา
และหน่วยงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน |
กผ. สล. และคณะทำงาน |
12.ให้มีการประยุกต์ IT ในการรับ นักเรียน/นักศึกษา และการจัดส่งนักเรียน/นักศึกษา ไปเรียนตามสถานศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาที่ นักเรียน/นักศึกษาเลือกเรียน และสนองนโยบายการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา การวางแผนกำลังคน การวางแผนการนับนักเรียนนักศึกษา และ การวางแผนการใช้ทรัพยากรร่วมกัน |
กองแผนงาน
|
© 2001
นำเสนอข้อมูล
และพัฒนาระบบโดย หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่
09 January 2002
จดหมายถึงผู้ดูแลระบบ