การบรรยายสรุปปิดการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2545 โดย ดร. พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2544 ณ โรงแรมลีการ์เดนส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ท่านรองอธิบดี ท่านที่ปรึกษา ผู้อำนวยการกองฯ ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ และพวกเราที่รักทุกท่าน เวลานี้ก็เป็นเวลาที่ควรจะต้องพูดจากันเพื่อที่จะไปทำงาน คิดว่า อาจจะใช้เวลามาก กว่า ที่คาดไว้ เดิมทีจะพูดครึ่งชั่วโมง แต่คงจะเป็น 45 นาที ก่อนอื่นต้องขอแสดงความชื่นชมยินดีที่ทุกกลุ่ม กลุ่มภาค กลุ่มคละที่มีแต่ละกองฯ ส่วนของศูนย์ฯ ได้รวมเป็นข้อสรุป และกลุ่มกองทั้งหลายที่ทำงานกันออกมา เห็นว่าเป็นผลงานที่ดีมากพอสมควรที่จะเป็นพื้นฐานที่จะทำงาน คงจะมีการไปปรับอะไรต่าง ๆ ได้เล็กน้อยก่อนที่จะมาทำในหลายเรื่อง แต่คงจะไปพูดจาในรายละเอียดมากนักก็ไม่ได้ เช่น หลักสูตรในเรื่องเวลา โหลดที่จะแบ่ง อาจจะมีการปรับยึดหยุ่นต่าง ๆ พอสมควร ก็เป็นเรื่องหนึ่ง เรื่องที่สอง หลักสูตรของ ปวส. คงต้องเอาไปทำตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป หมายความว่าต้องเร่งดำเนินการ แปลว่า ฝ่ายศึกษานิเทศก์และศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา ต้องไปทำด้วย และ หลักสูตร ปวช. จะต้องใช้ในเดือน พฤษภาคม 2545 เป็นเรื่องที่ต้องไปคิดและดำเนินการกัน
เรื่องสถาบันการอาชีวศึกษาในหลายเรื่องที่อยากจะเรียนกับท่าน ในเรื่องที่เด่น ๆ เป็นหลักการใหญ่ที่ควรจะเรียนกับท่านทั้งหลาย คือเรื่อง สถาบันการอาชีวศึกษา ต้องขออภัยว่า เข้าใจผิด เพราะว่าตอนเป็นรองปลัดกระทรวงฯ นั้นได้เสนอให้ รัฐมนตรีฯ ได้ลงนามประกาศไปแล้ว ปรากฏว่า เป็นการประกาศให้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี ไม่ใช้เป็นการประกาศสถาบันอาชีวศึกษา ซึ่ง การประกาศสถาบันการ อาชีวศึกษา ก็ทำได้โดยกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประเด็นที่หนึ่งที่ต้องไปทำ ท่านมั่นใจได้ว่า เราต้องไปประกาศทำแน่นอน อันที่สอง สิ่งที่เราจะต้องเรียนให้ท่านทราบว่า ได้ไปที่กระทรวงฯ เมื่อ 2 วันก่อน มีเรื่องสำคัญคือ เรื่อง การอาชีวศึกษา ปรากฏว่า เราไม่คาดคิดว่า จะได้รับการสนับสนุนจากส่วนอื่นด้วย โดยเฉพาะ ก.พ. ได้มีคณะทำงานของการพิจารณาของส่วนราชการของกระทรวงศึกษาโดย ก.พ. ได้สนับสนุนเช่นเดียวกันว่า ให้เราเป็นแท่งหนึ่งต่างหาก เป็นอีกคณะกรรมการหนึ่ง ภายใต้ พ.ร.บ. นั้น สิ่งที่ตามมา เขาบอกไม่ใช่เสนอเฉพาะแท่งของอาชีวฯ อย่างเดียว เขาเสนอให้เรามีพวกอีกหลายพวก เพราะฉะนั้น จะกลายเป็นว่า 1. กรมพลศึกษา 2. การศึกษานอกโรงเรียน 3. วิทยาลัยชุมชน 4. สช. จะมาอยู่กับเราด้วย กลายเป็นว่าของเราจจะโตหยุดไม่ได้เสียแล้ว มันเป็นแท่งเล็กไม่ได้ ทุกคนมาอาศัยหมด เพราะฉะนั้น จะต้อง clarify กับท่านทั้งหลาย ตอนแรกนี้คำว่า สถาบันการอาชีวศึกษา ที่เราแบ่งกันไปนี้ เป็นระบบบริหารอันหนึ่ง แต่ละวิทยาลัยที่อยู่ในสถาบันอาชีวศึกษาจะอยู่ภายใต้การบริหารของสถาบันอาชีวศึกษาหนึ่ง ๆ ไม่ใช่เป็นเครือข่ายอย่างเดียว เวลาเรา settle down ต่อไประบบการบริหารจะอยู่ภายใต้สถาบันอาชีวศึกษาของแต่ละแห่ง เพียงแต่ว่าตอนนี้เรายังไม่มี พ.ร.บ. ของสถาบันฯ ชัดเจน ก็เลยจะยังบริหารประหนึ่งว่า จะเป็นเครือข่าย แต่แท้ที่จริงเวลาตอนท้าย สถาบันอาชีวศึกษาจะเป็นระบบบริหารหนึ่ง ๆ เป็นสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 , 2, 3 ไปเรื่อย ๆ เพราะมันจะมีคำว่า เครือข่าย มาทีหลังอีก ถ้าท่านไปเรียกตัววิทยาลัยฯ เหล่านี้ ต่อไปมีคนอื่นที่จะไม่ใช่ภายใต้ระบบบริหาร เช่น สช. ที่จะมาเป็นเครือข่าย เขาจะมาอยู่และจะใช้มาตรฐานของเรา ต่อไปเราจะดูแลมาตรฐานการควบคุม ในฐานะคนที่จะดูในเรื่องของการอาชีวศึกษาเอกชน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะให้ทราบและย้ำอีกทีว่า สถาบันการอาชีวศึกษาเป็นระบบบริหาร และวิทยาลัยฯ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้จะอยู่ภายใต้การบริหารของสถาบันอาชีวศึกษา ต่อไปจะมีสำนักงานอธิการ, สำนักงานสภาสถาบันอาชีวศึกษาแต่ละเขต ดูแลเรื่องการบริหารภายในสถาบันของตัวเอง เพราะฉะนั้น แต่ละวิทยาลัยไม่ใช่เครือข่าย เป็น Agent เป็นหน่วยของสถาบัน แต่ในระยะแรกนี้ เนื่องจากเรายังไม่มี พ.ร.บ. สถาบันฯ ก็เลยจำกัดการทำงานอยู่ 3-4 อย่าง ยังไม่มีการสั่งการอะไรต่าง ๆ มากมาย โดยเราก็กำหนดไปว่าเฉพาะงานมี 4-5 อย่าง ตั้งเป้าหมายร่วมกัน หาความต้องการร่วมกัน แบ่งทรัพยากรกัน และแชร์ทั้งคนทั้งวัสดุต่าง ๆ ร่วมกัน และดูนโยบายที่จะทำร่วมกัน เป็นเรื่องคร่าว ๆ ตอนแรกนี้ ต่อไป พอเป็นสถาบันอะไรต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว อธิการก็มีอำนาจที่จะสั่งวิทยาลัยฯ ต่าง ๆ ได้ นี่คืออันแรก อันที่สอง เวลาถ้ามีคนมาอยู่แล้วจะทำอย่างไร ท่านอย่าพึ่งปวดหัว ให้คิดง่าย ๆ เหมือนของเราทุกแห่งเป็นวิทยาลัยฯ วิทยาลัยพลศึกษา ก็เป็นอีกวิทยาลัยหนึ่งเท่านั้นเอง คือ เข้ามาเพิ่ม เหมือนวิทยาลัยเทคนิคอีกแห่งหนึ่งเท่านั้นเอง แต่เขาสอนพลศึกษา การกีฬา ก่อนหน้านั้น ที่เขาได้เอาธุรกิจไปสอนวิทยาลัยฯ ก็นำมาสังคายนาเสีย ว่าจะจัดการอย่างไร ต่อไปเราก็ไปรู้เรื่องกีฬา ก็ไปผลิตวัสดุอุปกรณ์กีฬาขายก็ได้ ต่อไปอันไหนไม่ถนัดอยู่เฉย ๆ และต่อไปสามัญก็ไปทำสามัญ เพราะฉะนั้น กศน. จะเป็น Campus หนึ่งเป็น College หนึ่งของเราแปลว่าอย่างนั้น ทฤษฎีของเรา จัดการอาชีวศึกษา เป็น Community base อยู่แล้ว แต่ที่นี้ของเขาจะมีในเรื่องของการสอนสามัญ สอนมหาวิทยาลัย จะขึ้นได้อะไรต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่การที่จะมาทำแท่งสามัญเพื่อที่จะขึ้นไปต่อมหาวิทยาลัยฯ จำกัดอยู่แค่นั้นบอกไม่ถึงปริญญาตรีก็เชิญ ของเราไปถึงปริญญาตรี และก็เคยกราบเรียนรัฐมนตรีสิริกร ฯ ซึ่งท่านถามตอนนั้นเป็นรองปลัดฯ ว่าจะเอาวิทยาลัยชุมชนไปไว้ที่ไหน ก็ได้ตอบไปว่านำไปไว้ที่กรมอาชีวศึกษา เพราะธรรมชาติเป็นอย่างนั้น เช่นของเราที่มุกดาหารซึ่งจะเป็นวิทยาลัยชุมชน เดิมที่เดียวก็หวงเหมือนกันเป็นแห่งเดียวของเราอยู่ในจังหวัดมีอะไรลงไปพร้อม และก็จะให้ไปได้อย่างไร ตอนนี้ก็บอก ไปได้มีเงินแถม จบในเรื่องของสถานะและการดำเนินการต่าง ๆ ทีนี้ของเราจะทำอย่างไร มีหลายกลุ่มช่วยกันผลักดัน หน่วยงานเรามีเพื่อนแล้ว ต้องไปสนิทสนม ทั้งพลศึกษา, กศน., สช. ต้องไปเรียกเขาว่า เพื่อน และพวกที่จะช่วยเราอีกทางคือ ส.ส. ส.ว. จังหวัดใดก็ไป campaign พ.ร.บ.ต้องเดินหน้าทุกจังหวัด ระดับชาติ ที่จะทำต่อไป ต้องตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เรียกว่า คณะกรรมการอาชีวศึกษา ซึ่งต้องมีรัฐมนตรีเป็นประธาน ไม่ต้องรอกฎหมาย เราทำไปเลย อีกเรื่องคือ ทำประกาศสถาบันการอาชีวศึกษาขึ้นเป็นการภายในในกระทรวงศึกษาฯ ก่อน ต้องตั้งเป็นการภายใน อย่างนี้ และดำเนินการไปตามกฎบัตรกฎหมายอำนาจที่ๆมีอยู่ ให้มีหน้าที่ดำเนินการรวบรวมทำ เหมือนกับหลักการที่เราพูดจากันทั้งหมด อันนี้เป็นงานของส่วนกลางที่จะต้องทำ ระดับของสถาบันฯ ก็จะต้องมีคณะกรรมการสภาสถาบันประกอบด้วย 3 ส่วน ที่ได้เล่าให้ฟังแล้ว มีส่วนของผู้บริหารทุกสังกัด, ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการทางด้านการค้า อุตสาหกรรม ธุรกิจทั้งหมด ทุก Sector มาเป็น 3 ส่วน ในระยะที่ยังไม่มีส่วนอื่น ๆ ก็ให้คณะกรรมการ ในแต่ละวิทยาลัยฯ มาโหวตกันเพื่อที่จะตั้งประธาน, อธิการ, หัวหน้าสำนักเลขาฯ สำนักอธิการและมีรองอธิการ ก็เป็นอย่างนั้น ตัวสถาบัน พยายามหาอาคารที่พอจะใช้ได้ ไม่ได้ไปตั้งอาคารอะไรมากมาย โดยไปขออาคารเหลือ จะเป็นโรงเรียนเก่าที่ไม่ใช่ หรือถ้ามีอาคาร ห้องต่างๆ ที่พอจะใช้ได้ก็ให้ดำเนินการ ที่ตั้งตัวอาคารไม่ได้หมายความว่า คนที่อยู่ที่นั้นจะต้องเป็นอธิการเสมอไป แต่ถือเป็นของกลาง ทีนี้พอมีสถาบัน จะต้องมีสภาสถาบันฯ เพื่อจะเลือกสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น จะต้องรีบทำ มีข้อเสนอบอกว่า จะทำแบบกล้อมแกล้ม ๆ ไม่ได้ ต้องเตรียมความพร้อมที่จะทำงานในการจัดประชุม, กำหนด, สำรวจความต้องการสรรหา ว่า เราจะผลิตแรงงานอย่างไรในพื้นที่ที่เราทำ เดือนธันวาคมก็อาจจะช้าด้วยซ้ำ ในการที่จะทำในเรื่องนี้ให้สำเร็จ บางที่เขียนแผนไปว่าจะทำให้เสร็จในเดือน มีนาคม เมษายน ไม่ได้ ต้องทำในเดือนธันวาคมและต้องทำให้เสร็จ
เรื่องการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอาชีวศึกษาภาค เราได้คุยกันไว้แล้วว่า จะต้องส่งหลักการว่าที่จะตั้งในรูปแบบคร่าว ๆ ให้ดำเนินการให้เสร็จ ในส่วนของกองแผนงานที่จะต้องทำ ในระหว่างสถาบัน จะมาถึงกระทรวงฯ ถึงคณะกรรมการอาชีวศึกษาเลย เวลาจะประสานระหว่างสถาบัน อยู่ภาคเหนือ มีตั้ง 5 สถาบัน กว่าจะดูแลพื้นที่ภาคเหนือได้ มาเข้ากรมฯ ส่งกลับออกไป ประสานงานกันไม่ได้เรื่องแล้ว จึงเห็นสมควรว่า จะต้องให้มี ศูนย์พัฒนาอาชีวศึกษาขึ้นในแต่ละภาค โดยกำลังของศึกษานิเทศก์ภาค กำลังดูว่าจะเสริมกำลังอย่างไร และศึกษานิเทศก์ภาคไม่ให้ทำเรื่องนิเทศเหมือนกับในอดีต ที่เปลี่ยนนี้ต้องทำในเรื่อง ประสานงานระหว่างสถาบันในภาค, การติดตามนโยบายต่าง ๆ, การเผยแพร่, การกระตุ้นสถาบันฯ ให้เดินในภาคจะต้องทำเพราะซึ่งสถาบันฯอยู่ในพื้นที่ และเราได้ตั้งผู้อำนวยการกองต่าง ๆ ไปดูแต่ละสถาบัน ซึ่งตั้งไว้แล้ว ตอนนี้ได้รองคนใหม่แล้ว ก็จะไปแบ่งกันอีก ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายไปดูและ กองต่าง ๆ ไปดูสัก 2-3 สถาบันฯ ต่อกองหนึ่งกอง ซึ่งให้ไปดูกันหมดทุกคน งานของทุกกอง ต่อไปนี้ กองที่ดูแลจะต้องรู้งานของคนอื่นด้วย แล้วตัวท่านรองฯ ทั้งหลาย 3-4 คน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจะไปดูซ้อนขึ้นมาอีกในภาค ๆ การดูแลที่จะให้งานของสถาบันอาชีวศึกษาเดินจะต้องไปพร้อมกันหมด check across กันหมดให้เดินให้ได้ วิทยาลัยฯ เองต้องไปเตรียมการในส่วนที่จะต้องไปทำคณะกรรมการวิทยาลัยฯ ขึ้นใหม่ในสามส่วนอย่างเช่นที่ว่านี้ แต่ว่าจะต้องมีโครงสร้างลักษณะเหมือนกัน จะประกอบด้วยตัวแทนของผู้บริหารคณะ ส่วนต่าง ๆ ในวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นกรรมการ และมีส่วนที่จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของวิทยาลัยฯ และต้องมีส่วนที่จากสถานประกอบการ มี สามภาคีใหญ่ เป็นหลักการของการดำเนินงานของเรา ทวนอีกทีว่า ทุกส่วน จะต้องทำงานอย่างนี้ ทั้งระดับชาติก็ต้องเดิน ทั้งศึกษานิเทศก์ต้องไม่ใช่นิเทศอย่างเดียว คือ รวมเอางานของศึกษานิเทศก์,เป็น งานศูนย์พัฒนาการอาชีวศึกษา, งานวิชาการโดยทั่วไป, งานประสานงานระหว่างสถาบันอาชีวศึกษาเข้ามาอยู่ด้วยกัน, งานหลักสูตรในภูมิภาคก็ดูด้วย เป็นการ Cross ระหว่างสถาบันฯ, ดูมาตรฐานคุณภาพในภาคนั้น ว่าต่อไปเป็น Agent ย่อย ๆ อยู่ในภาคต่าง ๆ เป็นแบบนั้น ซึ่งเป็นตอนเริ่มแรกในระยะนี้ เพราะในต่างประเทศเขามีมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งรวมกันต้องมี ตัวสำนักงานของ Regional Office มีอยู่สำหรับที่จะไปดูแลใกล้ชิด ซึ่งท่านรัฐมนตรีฯได้ให้หลักการไว้แล้ว คงจะต้องเร่งดำเนินการในทั้งหมด เรื่องไอทีต้องขอชื่นชมสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง เพราะว่าสามารถใช้เครื่องไอที เขียนตัวหนังสือเหมือนมือเขียน วิวัฒนาการแตกต่างกับคนอื่น ไม่ได้แล้วสมัยนี้ ก็ไปพิจารณาก็แล้วกัน เรื่องไอที มันรุกไปถึงขั้น ท่านนายกฯ บอกให้ไปทำในระดับตำบล และมอบให้เราไปดูแล,ซ่อม, install ช่วยในการติดตั้งและให้การศึกษา ฉะนั้น เราอยู่ Highly Expected จะทำเล่น ๆ ไม่ได้แล้ว ก็เป็นที่ร้อนใจจะต้องขอดูวิทยาลัยฯ ของเราในจังหวัดศรีสะเกษ ได้ทำหลักสูตรระยะสั้นอะไรต่าง ๆ บ้าง เข้าไปดูเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ ไปเปิดดูแล้วมันค่อนข้างจะเหงาไป ที่สำคัญคือ มีหัวข้อแต่เข้าไปแล้ว ไม่มีข้อมูล อยากจะให้ท่านไปดูสิ่งที่ท่านจะทำไอที ถ้าผู้บริหารไม่รู้เรื่อง เด็กไปเขียนหลอกว่า ผู้อำนวยการฯ ถูกย้าย ก็ไม่รู้จะตรวจสอบอย่างไร ต้องรีบไปเรียนรู้ ไม่งั้นจะถูกย้ายโดยครูน้อยต้องรีบไปแก้ไข และสิ่งที่สำคัญคือ ต่อไปนี้ตอนบ่ายสุดเรื่อง ที่จะทำให้ราชการโปร่งใส ต่อไปนี้ จะประมูลอะไรต้องใส่ในเว็บไซต์ว่า ประกาศซื้อข้าวของอะไรบ้าง ถ้าไม่มีก็ใช้ไม่ได้ เรื่องนี้อยากจะให้แนวว่าไอทีของเราที่ไปเจอและไม่ได้พูดวันแรก วันหลังได้ไปดูแล้ว บอกผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคลำปาง ซึ่งได้ไปตรวจดูแล้ว ปรากฏว่า วิทยาลัยฯ มีโปรแกรมพร้อมหมดทุกด้าน เรื่องของนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาอะไร, สอบได้เท่าไร, พ่อแม่รู้รหัสเข้าได้เลย, ได้มาเรียนอะไรถึงไหน, สอบได้สอบตก, ดีวีทีทำกับริษัทใด, อย่างไร, นักเรียนมีเท่าไร, มีโปรแกรมอะไรบ้างที่สอนปริญญาตรี ถือว่าสมบูรณ์ในส่วนของวิทยาลัยเทคนิค ทีนี้บางแห่งไม่ตรง และที่จังหวัดปัตตานีก็ทำไว้ดี อยากจะให้แนวอย่างนี้ เพื่อไม่ให้เสียเวลามาก ท่านไปเปิดเว็บไซต์ของพวกนี้ที่มาโชว์ แล้วดาวน์โหลดไป อันไหนไม่ตรงของเราก็เอาออก เรียกโปรแกรมเขาเข้ามาเพื่อที่จะเอาของเราใส่เข้าไปจะทำให้ได้เร็วขึ้นเพื่อรวบรัดที่จะทำงาน จึงเรียนไว้สองเรื่องใหญ่คือ ผู้บริหารต้องใช้เป็นพอสมควร สองอย่าได้รีรอในการเรื่องราวเหล่านี้ จะซื้อหรือจะยืมอะไรก็แล้ว จะต้องทำเลือกเอาสิ่งที่มัน Fit in กับท่าน เรื่องที่สาม บางอย่างที่ยังไม่ Workable พอ ก็เพิ่มเติมเข้าไป เช่น ดีวีที มีสถานที่ ยังขาด เป็นธุรกิจขนาดใด มีคนงานเท่าไร เชี่ยวชาญทางด้านใดเป็นพิเศษ รับนักศึกษาได้จำนวนเท่าไร ถ้าบอกอย่างนี้ก็จะได้ความรู้ของดีวีที ที่ดีและแน่นอน เห็นภาพยิ่งขึ้น ทำนองเดียวกันในเรื่อง ของการจัดการดีวีที อยากจะย้ำอีกทีว่า เป็นการเรียนรู้ที่ Effective มาก ฉะนั้นเราควรจะต้องขยายทุกแห่งทุกวิทยาลัยฯ ถ้ามันไม่ได้จริง ๆ จำเป็นจะต้องเป็นตัวประกอบการเองก็จะต้องทำเพื่อให้เด็กเกิดการมีกิจกรรมของการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
เรื่องยาเสพติดท่านหมอพงษ์ศักดิ์ ได้มาพูด มีความเป็นห่วง ต้องมีการคิดแผนร่วมกันว่า ในการที่จะทำในเรื่องการจะกำจัดการติดยาเสพติดเหล่านี้ ขอให้ท่านถือว่า เป็น Priority ที่สำคัญที่สุด ที่จะต้องรักษาเด็กของเราไว้ แต่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง อย่างมีแผนครอบคลุม เรารู้ว่าการทำงานเช่นนี้ แท้ที่จริงจะเป็น National Agenda แต่ว่าเป็นเรื่อง ขบวนการแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติ ทุกคนจะต้องทำ ทราบว่าบางคนก็เจอปัญหา มีคนข่มขู่ อย่างไรก็ตามก็ทราบว่า ที่มุกดาหาร สงสัยจะไปปราบยาเสพติดหรือวิทยาลัยชุมชนก็ไม่รู้ และบอกว่าทำได้ผลดี ก็ได้เรียนไปว่า ถ้ามีวิธีการที่ทำอย่างไรก็เป็นการทดสอบว่า ท่านรู้เรื่องไอทีดีและของท่านทำเรื่องยาเสพติดดี ท่านลองเอาเรื่องยาเสพติด up load เข้าไปใน เน็ตเวิร์ด ของ Dovenet เพื่อคนอื่น ดูในจอคอมพิวเตอร์แล้วเรียกเรื่องมาดูได้ ได้ทราบจากทางวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ก็มีวิธีการโดยการปฐมนิเทศ 3 วัน ถ้าไม่เข้าก็สอบตก ไม่รับเข้า ต่อไปใครประพฤติไม่ดีเอาไปให้ทหารเคี่ยวอีก 3 วัน ครั้งที่สอง 6, 9 วัน เอาสิ่งที่ท่านทำ up load เข้าไป ทั้งไอที, ยาเสพติด เป็นตัวอย่างประสานกันว่า เรามีอะไรดีที่ทำ เป็นเรื่องดีงามของบ้านเมืองที่จะให้เพื่อนเราได้แลกเปลี่ยน และจะโยงถึงการ Top up เทคโนโลยี, 9+1, 12+1, การทำวิชาชีพสอดคล้องกับพื้นที่ ก็จะเป็นสังคมชุมชนชาวอาชีวศึกษาที่เป็น Open Society ก็จะเป็นเครือข่ายที่สอนกันเอง ทั้งหมดคือ สิ่งที่อยากจะพูดกับท่าน ทีนี้ท่านจะต้องกลับไปทำ ต้องเดินหน้าในแง่ของความคิด ต้องไปขยายให้หัวหน้าคณะ, หัวหน้าแผนก, ครู-อาจารย์ทุกคนให้ได้เข้าใจทิศทางและก็ขับเคลื่อนไปได้ทั้งองค์กร ต้องขอชื่นชมก็ทำมาได้ส่วนหนึ่งที่ทำได้ออกมาดี รายงานการประชุมเสร็จแล้วพกไปได้ ให้ไปประชุม, สั่งสอน, แนะนำและดำเนินการ ตามสิ่งที่เราได้คุย ได้ตกลงกันไว้ หวังว่า เราคงจะประสบความสำเร็จอย่างที่เราปรารถนา ขอให้รวมใจกัน รวมสติปัญญาทำ ไม่ใช่เพื่อพวกเราอย่างเดียว แต่เพื่อการอาชีวศึกษา เพื่อการผลิตกำลังคนให้กับเศรษฐกิจและสังคมประเทศชาติ ขอให้ความตั้งใจดีทั้งหลายจงเป็นพลวัตรปัจจัย ดลบันดาลให้พวกเรามีความสุขกายสบายใจอิ่มเอิบใจ ขอให้ท่านทั้งหลายที่ทำงานในการประชุมนี้จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี จงได้อานิสงครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกัน ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับบ้านสถานศึกษาที่รักของเราด้วยความปลอดภัยทุกคน ด้วยความสวัสดี ขอปิดการประชุม ณ บัดนี้
|
© 2001
นำเสนอข้อมูล
และพัฒนาระบบโดย หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่
09 January 2002
จดหมายถึงผู้ดูแลระบบ