ระเบียบองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
ว่าด้วย การรับซื้อและการกำหนดราคาน้ำนมดิบ พ.ศ. 2539


 

     โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบองค์การส่งเสริมกิจการ โคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ว่าด้วยการรับซื้อและการกำหนด ราคาน้ำนมดิบ พ.ศ.2538 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23(2) แห่งพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย  พ.ศ.2541 จึงวางระเบียบไว้ดังนี้

     ข้อ 1 . ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับซื้อและการกำหนดราคาน้ำนมดิบ พ.ศ.2539
    
ข้อ 2 . ระเบียบนี้ให้มีผลบังคับใช้ถถัดจากวันลงนามประกาศเป็นต้นไป
   
ข้อ 3 . ให้ยกเลิกระเบียบองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับซื้อน้ำนมดิบ พ.ศ.2538 และให้ใช้ระเบียบนี้แทนระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับระเบียบน ี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
   
ข้อ 4 . ในระเบียบนี้
              "น้ำนมดิบ" หมายความว่า น้ำนมที่รีดจากแม่โคภายหลังจากโคคลอดลูก
              "สมาชิก" หมายความว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม หรือนิติบุคคลที่ อ.ส.ค.อนุมัติให้มีสิทธิขายน้ำนมดิบและรับบริการต่างๆ จาก อ.ส.ค. ได้
              "ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ" หมายความว่า สถานที่ของ อ.ส.ค. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่รับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิก
    
ข้อ 5 . ให้หัวหน้าสำนักงาน อ.ส.ค. ภาคแต่ละภาคเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้


                หมวด 1 สมาชิกและสมาชิกภาพ
                หมวด 2 มาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบ
                หมวด 3 การรับซื้อน้ำนมดิบ
                หมวด 4 การกำหนดราคาน้ำนมดิบ
                หมวด 5 การฝ่าฝืนระเบียบและการลงโทษ
                หมวด 6 ข้อปฏิบัติทั่วไป

 

 

หมวด 1 สมาชิกและสมาชิกภาพ


     ้อ 6.  สมาชิกต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
               6.1 บุคคลธรรมดา
                      (1) มีสัญชาติไทย
                      (2) บรรลุนิติภาวะตามที่กฎหมายกำหนด
                      (3) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
                      (4) ต้องเป็นเกษตรผู้เลี้ยงโคนม ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงโคนมจาก อ.สค. หรือ หน่วยงานอื่น ที่ อ.ส.ค. เชื่อถือ หรือเป็นผู้มีประสบการณ์การเลี้ยงโคนม
                      (5) มีฟาร์มเลี้ยงโคนมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 7
                6.2 นิติบุคคล
                      (1) เป็นผู้ประกอบการเลี้ยงโคนม หรือเป็นสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม
                      (2) บุคลากรของนิติบุคคล หรือสมาชิกของสหกรณ์ ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงโคนมจาก อ.ส.ค.หรือหน่วยงานอื่นที่ อ.ส.ค.เชื่อถือหรือเป็นผู้มีประสบการณ์การเลี้ยงโคนม
                      (3) มีฟาร์มการเลี้ยงโคนมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 7


     ข้อ 7. สมาชิกจะต้องจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงโคนมตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
                      (1) ต้องมีที่ดินที่ใช้ในการจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงโคนม ตั้งแต่ 10 ไร่ ขึ้นไป หรือต้องมีที่ดินหรือแหล่งอาหารที่เหมาะสมกับจำนวนโค ตามที่ อ.ส.ค.เห็นชอบ
                      (2) หากที่ดินใช้จัดตั้งฟาร์มเลี้ยงโคนมเป็นของบุคคลอื่น ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ที่ดินหรือเป็นผู้เช่ามีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี
                      (3) ที่ดินที่จัดตั้งฟาร์มจะต้องอยู่ห่างจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบให้รัศมีไม่เกิน 20 กิโลเมตร หรือตามที่ อ.ส.ค. เห็นชอบ
                      (4) โรงเรือน คอกรีดนมจะต้องสร้างตามแบบที่ อ.ส.ค. กำหนด หรือตามแบบที่ อ.ส.ค. เห็นชอบ

       ข้อ 8.  ผู้ประสงค์จะเป็นสมาชิก ให้ยื่นใบสมัครและหลักฐานตามแบบที่ อ.ส.ค. กำหนด ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ หรือสำนักงาน อ.ส.ค. ภาค ที่ผู้ประสงค์จะเป็นสมาชิกมีภูมิลำเนาอยู่

        ข้อ 9. ให้หน่วยงานที่รับใบสมัครตรวจสอบเอกสาร หลักฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 6 และข้อ 7 ครบถ้วนสมบูรณ์ถูกต้องแล้ว ให้ออกหมายเลขสมาชิกและนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติเข้าเป็นสมาชิก ภายใน 15 วัน

       ข้อ 10.  สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
                       (1) ตาย
                       (2) วิกลจริต ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
                       (3) ถูกให้ออกสมาชิก


[TOP] [ BACK ] [ HOME ] 

                                  

 

หมวด 2 มาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบ


      ข้อ 11.  อ.ส.ค. จะรับซื้อน้ำนมดิบที่คุณลักษณะดังนี้
                      (1) ต้องเป็นน้ำนมบริสุทธิ์ที่รีดจากแม่โคภายหลังโคคลอดลูก ไม่มีนมน้ำเหลืองเจือปน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบหรือปลอมสารอื่นใด ลงในน้ำนมนั้น
                      (2) ปราศจากเชื้อโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้
                      (3) เปอร์เซ็นต์ไขมันไม่น้อยกว่า 3.3
                      (4) เปอร์เซ็นต์ของแข็งในนมต้องไม่น้อยกว่า 12.5 หรือเปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันเนยน้อยกว่า 8.5
                      (5) ไม่มีสารอื่นที่อาจเป็นพิษในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สารปฏิชีวนะ สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง
                      (6) ตรวจคุณภาพด้วยน้ำยาเมธิลินบลู แล้วเปลี่ยนสีที่ระยะเวลาเกินกว่า 4 ชั่วโมงขึ้นไป
                      (7) จำนวนเซลในน้ำนมดิบ (Somatic cell Count) ไม่เกิน 1,000,000,000 เซลต่อมิลลิลิตร
                      (8) จำนวนจุลินทรีย์ทนความร้อนในน้ำนมดิบ (Thermoresistant Bacteria) ไม่เกิน 5,000 เซล ต่อมิลิลิตร
                      (9) ไม่มีการตกตะกอนของน้ำนมโดยวิธีการ Alcohol Test ที่ใช้เอททิลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 75 และหรือไม่มีการจับตัวเป็นก้อนจากการต้ม (Clot on Boiling)
                      (10) ความเป็นกรดในน้ำนมดิบอยู่ในระหว่าง 0.12 ถึง 0.16 ของกรดแลกติก (Lactic Acid) หรือ pH อยู่ระหว่าง 6.4 ถึง 6.8
                      (11) จุดเยือกแข็ง (Freezing Point) อยู่ในระหว่าง -0.52 ถึง -0.55 องศาเซลเซียส

 


[TOP] [ BACK ] [ HOME ] 

                                  

 

หมวด 3 การรับซื้อน้ำนมดิบ


       ข้อ 12. การรับซื้อน้ำนมดิบ ณ ศุนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 
                    12.1 กำหนดเวลารับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิก
                            อ.ส.ค. จะรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิกตามกำหนดเวลา
                            ช่วงเช้า    07.00 - 08.30    น.
                            ช่วงเย็น    16.30 - 18.00    น.
                            อ.ส.ค. ขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเวลารับซื้อน้ำนมดิบ ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบตามความเหมาะสม
                    12.2 สมาชิกต้องงดส่งมอบน้ำนมดิบให้แก่ อ.ส.ค.ในกรณีดังต่อไปนี้
                            (1) นมน้ำเหลือง (Colostum) จากแม่โคคลอดลูกใหม่
                            (2) น้ำนมจากเต้านมที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ (Mastitis)
                            (3) น้ำนมจากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบหรือโรคใดๆ ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะครั้งสุดท้ายภายใน 72 ชั่วโมง
                            (4) น้ำนมจากแม่โคที่ได้รับการรักษาด้วยยาใด ที่มีผลตกค้างในน้ำนมตามที่นายสัตงแพทย์ อ.ส.ค. ได้ออกกำหนดและออกประกาศเอาไว้

 


[TOP] [ BACK ] [ HOME ] 

                                  

 

หมวด 4 การกำหนดราคาน้ำนมดิบ


        ข้อ13.  อ.ส.ค. จะรับซื้อน้ำนมดิบ ณ หน้าศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของ อ.ส.ค. ตามราคามารตฐาน ในราคา 8.75 บาท/กิโลกรัม โดยราคาน้ำนมดิบให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากราคามาตรฐานที่กำหนดดังนี้
                    13.1 คุณภาพทางสุขศาสตร์ (Hygienic Quality) อ.ส.ค. ตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบทางสุขศาสตร์ โดยใช้วิธีเมธิลินบลู (Methylene Blue Reduction Test) ดังนี้
                            (1) เกรด 1 จำนวนชั่วโมงในการเปลี่ยนสีมากกว่า 6 ชั่วโมง ให้ราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 20 สตางค์
                            (2) เกรด 2 จำนวนชั่วโมงก่อนการเปลี่ยนสีตั้งแต่ 4 - 6 ชั่วโมง ให้ราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น 10 สตางค์
                            (3) เกรด 3 จำนวนชั่วโมงก่อนการเปลี่ยนสีต่ำกว่า 4 ชั่วโมงให้ราคาน้ำนมดิบลดลง กิโลกรัมละ 15 สตางค์

                      13.2 คุณภาพทางเคมี (Chemical Quality)
                            13.2.1 ตรวจหาเปอร์เซ็นไขมันโดยกำหนดให้ 2 สตางค์/กก. ต่อร้อยละ 0.1 ของไขมันในการเพิ่มหรือลดจากไขมันมาตรฐานร้อยละ 3.3 กล่าวคือ
                                    1. เปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนมดิบเพิ่มจากมาตรฐาน(3.3) ในอัตราร้อยละ 0.1
                                        ให้ราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นอีก 2 สตางค์/กก.
                                    2. เปอร์เซ็นต์ไขมันลดลงจากมาตรฐาน (3.3) ในอัตราร้อยละ 0.1 ให้ราคา
                                        น้ำนมดิบลดลง 2 สตางค์/กก.
                             13.2.2 การตรวจหาจำนวนเซล (Somatic cell Count) ในน้ำนมดิบเกินกว่า 1,000,000,000 เซลต่อมิลลิลิตร จะถูกตัดราคาน้ำนมดิบ 20 สตางค์/กก. ในงวดที่ตรวจพบ
                             13.2.3 การตรวจหาจำนวนจุลินทรีย์ทนความร้อน (Thermoresistant Bacteria) ถ้ามีจำนวนจุลินทรีย์เกินกว่า 5,000 เซล/มิลลิลิตร จะถูกตัดราคาน้ำนมดิบ 20 สตางค์/กก. ในงวดที่ตรวจพบ
                        13.3 การตรวจความสะอาดคอกและการตรวจเยี่ยมฟาร์ม คะแนนการตรวจเยี่ยมฟาร์ม จะเป็นไปตามที่ อ.ส.ค. กำหนดท้ายระเบียบนี้
                         กรณีการรับซื้อน้ำนมดิบ ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ การตรวจสอบคุณภาพของน้ำนมดิบรายฟาร์ม อ.ส.ค. จะทำการตรวจคุณภาพโดยการสุ่มเก็บตัวอย่าง อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง จากการเก็บตัวอย่างน้ำนมดิบของสมาชิก  ณ ศูนย์รวบรวม น้ำนมดิบ การตรวจคุณภาพนี้เป็นการตรวจสอบตามกรรมวิธีของ อ.ส.ค. และให้เป็นที่ยุติ

        ข้อ 14.  อ.ส.ค. จะรับซื้อน้ำนมดิบรวม (Bulk Tank Milk) ณ หน้าโรงงานผลิตภัณฑ์นมในราคาตามประกาศที่จะประกาศไว้ ณ หน้าโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมของ อ.ส.ค. แต่ละแห่ง น้ำนมดิบที่จะรับซื้อต้องมีคุณสมบัติดังนี้
                    14.1 น้ำนมดิบจะต้องมีสีและกลิ่นตามธรรมชาติ
                    14.2 อุณหภูมิของน้ำนมดิบต้องไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส
                    14.3 ราคาน้ำนมดิบให้เพิ่มหรือลดลงจากราคาที่ประกาศไว้ ณ หน้าโรงงานผลิตตามเกรดน้ำนมดิบของ อ.ส.ค. ที่แนบท้ายระเบียบนี้

        ข้อ 15.  อ.ส.ค. มีสิทธิไปตรวจฟาร์มเลี้ยงโคนม และสถานที่รวบรวมน้ำนมดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมน้ำนมดิบของสมาชิกประเภทนิติบุคคลได้ รวมทั้งเข้าตรวจฟาร์มเลี้ยงโคนม ของสมาชิกได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำนมดิบเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบที่ อ.ส.ค. กำหนด

        ข้อ 16.  อ.ส.ค. จะชำระค่าน้ำนมดิบให้แก่สมาชิกที่ส่งมอบน้ำนมดิบระหว่างวันที่ 1 ถึงสิ้นเดือนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งภายในวันที่ 12 ของเดือนถัดไป
        ทั้งนี้หากจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการชำระค่าน้ำนมดิบ อ.ส.ค.จะออกประกาศให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน

        ข้อ 17.  อ.ส.ค. จะทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบทุกครั้งที่รับซื้อ ณ หน้าโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมของ อ.ส.ค.

 


[TOP] [ BACK ] [ HOME ] 

                                  

 

หมวด 5 การฝ่าฝืนระเบียบและการลงโทษ


         ข้อ 18.  กรณีที่สมาชิกส่งน้ำนมดิบช้ากว่าเวลาที่กำหนดจะถูกปรับดังนี้
                           
ช้ากว่ากำหนด                                           ราคา(สตางค์/กก.)
                         น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง                                        -25
                         ตั้งแต่ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง                                     -100
                         เกินกว่า 1 ชั่วโมง                                           -100 หรือไม่รับซื้อก็ได้

         ข้อ 19.  กรณีการรับน้ำนมดิบ ณ ศูนย์รับน้ำนมดิบ หาก อ.ส.ค. ตรวจพบสมาชิกรายใดเติมน้ำหรือปลอมปนสารใดๆ ในน้ำนมดิบ อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารและยา สมาชิกต้องเสียค่าเบี้ยปรับให้แก่ อ.ส.ค. เป็นเงิน 30 เท่าของมูลค่าน้ำนมดิบในวันตรวจพบ
                      ถ้ามีการตรวจพบว่าสมาชิกรายใดมีการเติมสารเคมี หรือยาปฏิชีวนะอื่นใดเพื่อรักษาคุณภาพน้ำนมดิบจะถูกปรับจำนวนเงินเท่ากับ 15 เท่าของมูลค่าน้ำนมดิบของสมาชิกในวันตรวจพบ

         ข้อ 20.  กรณีการรับซื้อน้ำนมดิบ ณ หน้าโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นม หากมีการตรวจพบการเติมน้ำ หรือปลอมปนสารเคมี หรือยาปฏิชีวนะอื่นใดก็ตามในน้ำนมดิบ อ.ส.ค.จะพิจารณาไม่รับซื้อน้ำนมดิบในครังนั้น

         ข้อ 21.  สมาชิกปฏิบัติผิด หรือฝ่าฝืนระเบียบนี้ อ.ส.ค. สามารถพิจารณาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสมาชิกตามที่เห็นสมควรได้ ดังนี้
                    (1) มีหนังสือตักเตือน
                    (2) ไม่รับซื้อน้ำนมดิบและหรือหยุดให้บริการ
                    (3) ให้ออกจากสมาชิก

 


[TOP] [ BACK ] [ HOME ] 

                                  

 

หมวด 6 ข้อปฏิบัติทั่วไป


          ข้อ 22.  สมาชิกจะต้องส่งน้ำนมดิบที่ผลิตได้ทั้งหมดจำหน่ายให้แก่ อ.ส.ค. แต่เพียงแห่งเดียว
        ข้อ 23.  โคนมของสมาชิกจะต้องมีหมายเลขที่ อ.ส.ค. กำหนดหรือที่ อ.ส.ค. รับรอง
        
ข้อ 24.  โคนมทุกตัวของสมาชิกต้องปราศจากโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคสัตว์หรือโรคอื่นตามที่ อ.ส.ค. กำหนด
       
ข้อ 25.  โคทุกตัวของสมาชิกต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดอย่างสม่ำเสมอ ตาม อ.ส.ค. กำหนด
       
ข้อ 26.  ในการที่เกิดโรคระบาดในฝูงโคของสมาชิกผู้ใด อ.ส.ค. อาจจะพิจารณาระงับให้สมาชิกหยุดส่งมอบน้ำนมดิบ เป็นการชั่วคราวได้ จนกว่าจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งจนปลอดจากโรคระบาดนั้น
       
ข้อ 27.   สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมต้องแจ้งรายงานจำนวนโคตามแบบที่กำหนดให้แก่ อ.ส.ค. เป็นประจำเดือน
       
ข้อ 28.  สมาชิกต้องซ่อมแซม ดูแลคอก โรงรีดนม ตลอดจนอาณาบริเวณรอบๆ ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
     
  ข้อ 29.  สมาชิกต้องไม่ปล่อยหรือนำพาหรือกักขังเลี้ยงสัตว์อื่นๆ ใกล้บริเวณโรงรีดนมในรัศมี 50 เมตร
    
   ข้อ 30.  บุคคลที่อยู่ในฟาร์มของสมาชิก จะต้องแสดงหลักฐานตรวจเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อ อ.ส.ค. ต้องการทราบผู้ซึ่งป่วยเป็นวัณโรค หรือสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรควัณโรค จำต้องถูกห้ามทำงานเกี่ยวข้องกับโคหรือเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงโคนม
       
ข้อ 31.  หากปรากฏว่าบุคคลใดที่อยู่ในฟาร์มของสมาชิกเป็นโรคระบาด อ.ส.ค. จะพิจารณาให้สมาชิกหยุดส่งนมชั่วคราว จนกว่าจะดำเนินการให้มีการกักกันโรคระบาด ตามหลักการของกระทรวงสาธารณสุข
       
ข้อ 32.  ผู้รีดนมจะต้องปราศจากโรคที่สังคมรังเกียจ
       
ข้อ 33.   ภาชนะที่รีดนมหรือบรรจุนมจะต้องทำด้วยอลูมิเนียมหรือเหล็กไม่เป็นสนิม ทั้งนี้ต้องทำขึ้นโดยไม่มีตะเข็บรอยต่อของภาชนะบรรจุ หรือเป็นริ้วรอยจนแปลงเข้าไปทำความสะอาดไม่ได้
   
    ข้อ 34.   น้ำที่ใช้ล้างภาชนะต้องเป็นน้ำสะอาด ซึ่งได้จากแหล่งน้อที่ อ.ส.ค. เห็นชอบแล้ว
       
ข้อ 35.   สมาชิกรายใดไม่สามารถส่งมอบน้ำนมดิบให้แก่ อ.ส.ค. ได้ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนด ต่อ อ.ส.ค. ล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วัน การพิจารณาอนุญาตให้สมาชิกหยุดส่งน้ำนมดิบได้ชั่วคราวหรือไม่ เป็นระะเวลาเท่าใด เป็นดุลยพินิจของ อ.ส.ค.
  
     ข้อ 36. สมาชิกรายใดจะย้ายฟาร์มเลี้ยงโคนม จะต้องยื่นคำขอตามแบบที่กำหนด ต่อ อ.ส.ค. พร้อมแบบเอกสารสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน แผนผัง แบบโรงเรือน แบบคอกรีดนม เพื่อขความเห็นชอบในเบื้องต้น เมื่อ อ.ส.ค. ให้ความเห็นชอบแล้ว สมาชิกจะได้รับอนุญาตให้ย้ายฟาร์มโคนมได้ต่อเมื่อได้สร้างฟาร์มเลี้ยงโคนม ที่ อ.ส.ค. ให้ความเห็นชอบแล้ว
      ข้อ 37. ข้อปฏิบัตินี้ให้ใช้บังคับกับสมาชิกที่เป็นนิติบุคคลโดยอนุโลม สมาชิกที่เป็นนิติบุคคล ประเภทสหกรณ์ต้องกำกับดูแลให้สมาชิกของสหกรณ์ ถือปฏิบัติด้วย มิฉะนั้นจะถือเป็นความผิดของสหกรณ์


[TOP] [ BACK ] [ HOME ]