ระดับของคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เยื่อใยในอาหารผสมสำเร็จ
ที่มีผลต่อผลผลิตและองค์ประกอบของน้ำนมในโคนม
นิโรจน์ ศรสูงเนิน, ฉลอง
วชิราภากร, เมธา วรรณพัฒน์ และ
สุรชัย โค้วสุวรรณ
การทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสง์เพื่อศึกษาระดับของคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เยื่อใยในอาหารผสมสำเร็จ และเพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของโคนมพันธุ์ผสม โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน สายเลือด 50 % กับ 75 % ใช้โคนมพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 50 % จำนวน 4 ตัว และโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 75 % จำนวน 4 ตัว ที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 389.8 ± 27.5 กก. และวันให้นมที่ 141±43.5 วันสุ่มให้ได้รับอาหารผสมสำเร็จที่มีสัดส่วนอาหารหยาบ (หญ้ารูซี่แห้ง) ต่ออาหารข้น 30 ต่อ 70 โดยอาหารผสม สำเร็จมีระดับของคาร์โบไฮเดรต ที่ไม่เป็นโครงสร้างเท่ากับ 39, 42,45 และ 48 % ตามลำดับ ทดลองตามแผนการทดลองแบบลาตินสแควร์ แต่ละระยะทดลองใช้เวลา 28 วัน จากการทดลอง พบว่า โดนมที่ได้รับอาหารผสมสำเร็จที่มีระดับของคาร์โบไฮเดรต ที่ไม่เป็นโครงสร้างต่างๆ มีปริมาณการกินได้ทั้งหมด การย่อยได้ของวัตถุแห้งและอินทรีย์วัตถุ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และแอมโมเนียไนโตรเจน (NH3-N) ในของเหลวจากกระเพาะหมัก การให้นมที่ปรับไขมัน 4 % และองค์ประกอบน้ำนม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ส่วนการให้นมที่ปรับไขมัน 4 % ของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 50 % (9.3 ± 0.19 กก./วัน) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) แต่ปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งและองค์ประกอบน้ำนมไม่แตกต่างกัน ระหว่างโคนมพันธุ์ผสมโฮมสไตน์ฟรีเชียน จากผลการทดลองครั้งนี้ สูตรอาหารผสมสำเร็จสำหรับโคนมสามารถปรับให้มีคาร์โบไฮเดรต ที่ไม่เป็นโครงสร้างได้ในระดับสูงถึง 48 % และโคนมพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 50 % ให้ผลตอบสนองให้นมที่ดีกว่าโคนมพันธุ์ผสมโฮสไตน์ฟรีเชี่ยน 75 % |