การย้ายฝากตัวอ่อนในโคนมเทคโนโลยีที่ถูกลืม
   อลงกลด แทนออมทอง
   อาจารย์ประจำภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   

            เมื่อประมาณเกือบสิบปีที่ผ่านมานี้ (ปี พ.ศ.2533 ถึง 2535) ผู้ที่อยู่ในวงการโคนม ก็คงได้ยินเรื่องราว เกี่ยวกับมีการนำเทคนิคการย้ายฝากตัวอ่อน หรือที่เราเรียกว่าเอ็มบริโอทรานสเฟอร์ (Embryo transfer) มาใช้กับโคนมในประเทศไทย และได้ประสบความสำเร็จได้ลูกโคนมออกมาหลายตัว ซึ่งก็เป็นข่าวที่ก่อให้เกิดการตื่นตัว กับผู้เลี้ยงโคนมไทยมากพอสมควร แต่พอมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ข่าวของการย้ายฝากตัวอ่อนในโคก็ได้เงียบหาย ไป ดังเช่น เดียวกับ ในวงการโคเนื้อ ที่มีการนำเขาพ่อพันธุ์ ของโคพันธุ์หูยาว  หรือที่เราเรียกว่า พันธุ์ฮินดูบราซิล โดยมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ตัวละเป็นแสนบาท เพื่อที่จะนำมาผสมพันธุ์ กับโคเนื้อในประเทศไทย ที่มีการปั่นราคาจนมีการผสมพันธุ์ครั้งละเป็นพันๆ บาท


[ BACK] [ HOME ]