การทดสอบรีซาซูริน กับการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบ
       
นายชูรัฐ แปลกสงวนศรี   
    

            จากการศึกษาเพื่อหาความเหมาะสม ในการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบทางด้านจุลินทรีย์ โดยใช้รีซาซูริน ที่ศูนย์รับนมสหกรณ์โคนมพัฒนานิคม และศูนย์รับนมสหกรณ์ไทย-เดนมาร์ค พัฒนานิคม อ. พัฒนานิคม จ.ลพบุรี แห่งละ 70 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2542 ผลที่ได้พบว่า การตรวจน้ำนมดิบจากเกษตรกร โดยการเปลี่ยนสีรีซาซูริน  เมื่อครบ 15 นาทีนั้น นำมาใช้เพื่อป้องกันเพื่อไม่ให้น้ำนมดิบของเกษตรกรที่มีจุลินทรีย์สูง ปะปนลงไปรวมกับน้ำนมดิบของเกษตรกรที่มีจำนวนจุลินทรีย์ต่ำได้ เพราะสีของรีซาซูริน มีการเปลี่ยนไปตามจุลินทรีย์ในน้ำนมดิบ สีรีซาซูรินในน้ำนมดิบที่เป็นปกติคือ สีฟ้า (ระดับ 6) เมื่อครบ 15 นาที มี 76 ตัวอย่าง จะมีจำนวนเชื้อ/มิลลิลิตร อยู่ระหว่าง 5.1 X 103 - 2.5 X 106   ที่เปลี่ยนเป็นสีฟ้าอมม่วง (ระดับ 5) จำนวน 26 ตัวอย่าง อยู่ระหว่าง  2.0 X 105 -3.1X10 ที่เปลี่ยนเป็นสีม่วงอมฟ้า (ระดับ 4) จำนวน 20 ตัวอย่าง อยู่ระหว่าง 1.0 X 105 - 4.5 X 106 ที่เปลี่ยนเป็นสีม่วงอมชมพู (ระดับ 3) จำนวน 11 ตัวอย่าง อยู่ระหว่าง 8.1 X 105-1.5X107 ที่เปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง (ระดับ 2) จำนวน 2 ตัวอย่าง อยู่ระหว่าง 9.0 X 106-9.6 X106  ที่เปลี่ยนเป็นสีชมพู (ระดับ 1)จำนวน 2 ตัวอย่าง อยู่ระหว่าง 2.1 X107 - 2.5 X 107 ดังนั้นเพื่อให้น้ำนมดิบรวมมีจุลินทรีย์ต่ำเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดควรรับน้ำนมดิบ จากเกษตรกร รายที่น้ำนมยังมีสีเป็นปกติ คือ สีฟ้า (ระดับ 6) แต่ยังพบว่า ใน 76 ตัวอย่าง มี 20 ตัวอย่างที่มีจจุลินทรีย์สูง อยู่ในเกณฑ์ถูกตัดราคา คือ มากกว่า 6.0 X 105 โคโลนี/มิลลิลิตร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจต่อไปจนครบ 1 ชั่วโมง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปแจ้งกับเกษตรกร เพื่อปรับปรุงกระบวนการรีดนมให้สะอาดต่อไป  ซึ่งจะทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง การดูสีรีซาซูรินที่เปลี่ยนไปเมื่อครบ 1 ชั่วโมง แล้วระดับการเปลี่ยนสีต่ำกว่า ระดับ 5 น้ำนมส่วนใหญ่จะมีจุลินทรีย์สูงอยู่ในเกณฑ์ถูกตัดราคา เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบควรตรวจสอบร่วมกับการดูระยะเวลา ในการเปลี่ยนสีของ เมทีลีนบลู และการตรวจนับเชื้อโคลิฟอร์ม การนำผลที่ได้จากการตรวจสอบ ไปเป็นข้อมูลเพื่อส่งเสริม เกษตรกรให้รีดนมสะอาด เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้น้ำนมดิบที่มีจุลินทรีย์สูง มีจำนวนลดลง ทำให้น้ำนมดิบรวมของศูนย์รับนม มีคุณภาพดีตามมา

 


 [ BACK] [ HOME ]