กลับหน้าแรก

แผนที่ทอ่งเที่ยว

 

มารู้จักเมืองฉะเชิงเทรา

ฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 80 กิโลเมตร มีพื้นที่ 5,351 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองฯ อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรีและนครนายก
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดชลบุรีและจันทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพฯ

ประวัติศาสตร์เมืองฉะเชิงเทรา

ฉะเชิงเทราหรือแปดริ้ว เป็นจังหวัดในภาคกลาง มีประวัติปรากฏมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงและ คลองทั่วไป โดยมี “หลวงพ่อโสธร” เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวแปดริ้ว ในอดีตฉะเชิงเทรามีฐานะเป็น เมืองจัตวา อยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทย และคงอยู่เช่นนี้ เรื่อยมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลง ระบบการปกครองแผ่นดินใหม่ เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี และในปี พ.ศ.2459 จึงได้เปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัด เรียกว่า”จังหวัดฉะเชิงเทรา” คำว่า”ฉะเชิงเทรา” เป็นภาษาเขมร แปลว่าคลองลึก ส่วนชื่อ “แปดริ้ว” นั้น ได้มาจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า ในเมืองนี้ มีปลาช่อนขนาดใหญ่ชุกชุม เมื่อนำมาตากทำเป็นปลาแห้งจะต้องแล่เนื้อปลาถึง8 ริ้ว

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อำเภอเมือง

วัดโสธรวรารามวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงส์” สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจัง หวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๔๘ เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติเล่าว่า ได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัด แห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิ หน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่ พระสงฆ์ ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบัน ทุก วันนี้จะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธรกันเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าของวัดมีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงมีมติให้รื้อพระอุ โบสถหลังเก่า และสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยอัญเชิญพระพุทธโสธรองค์จำลองไปประดิษฐานไว้ ณ อาคาร ชั่วคราว เพื่อเปิดให้ประชาชนได้มานมัสการตามปกติ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็น แบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จ เวลาเปิดให้เข้า นมัสการ วันธรรมดา ๐๗.๐๐–๑๖.๑๕ นาฬิกา วันหยุด ๐๗.๐๐–๑๗.๐๐ นาฬิกา
บริเวณวัดโสธรฯ มีบริการร้านค้าจำหน่ายอาหารและสินค้าของที่ระลึก และบริเวณท่าน้ำของวัดมีบริการ เรือหางยาว รับ-ส่ง ผู้โดยสารระหว่างตลาดในตัวเมืองและวัดโสธรฯ และเรือบริการท่องเที่ยวลำน้ำบางปะกง

อนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

อยู่ใกล้กับวัดโสธรฯ ท่านเป็นชาวเมืองแปดริ้ว ผู้คิดแบบเรียนหนังสือไทย เช่น ชุด ๖ เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

เป็นวัดจีนในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลท่าใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ๑ กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจ ในวัด ได้แก่ รูปปั้นขนาดใหญ่ของจตุโลกบาล และเทวรูปจีนอ้วยโห้ ซึ่งแต่งกายชุดนักรบ นอกจากนี้มี วิหารศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารว่องอ้วนตี่ วิหารตี่ ซังอ๋อง และสระนทีสวรรค์ เป็นต้น

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เป็นวัดญวนใน ลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เดิมเป็นวัดจีน แต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัด ญวนไปแล้ว เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “ เจ้าพ่อ ซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง ๓ องค์เท่านั้น คือ ที่วัดกัลยาณมิตร และที่วัดอุภัยภาติการาม ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการบูรณะองค์พระ เนื่องจากองค์พระได้แตกร้าวเพราะความชื้นสะสมมาเป็นเวลานาน

วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย์)

ตั้งอยู่ตำบลบ้านใหม่ จากหลักฐานแผ่นเงินที่พบตรงรอยแตกคอระฆัง ของเจดีย์องค์ใหญ่ทราบว่าสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนายเสือ หรือ พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรากับภรรยา ชื่ออิน ได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ส่วนวัดนั้นสร้างเสร็จในราวปี พ.ศ. ๒๔๒๔ นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ทางกรมศิลปากรได้ขึ้น ทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ใหญ่ ๑ องค์ เจดีย์เล็ก ๒ องค์ วิหารพระพุทธบาทสุสานเก่า อุโบสถ และหอระฆัง

ศาลหลักเมือง

เป็นศาลที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ถนนหน้าเมือง เป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทยหลังคาทรง จัตุรมุข ส่วนบนเป็นยอดปรางค์ ภายในศาลมีเสาหลักเมือง ๒ เสา เสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมือง ปัจจุบัน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ อีกเสา เป็นเสาเก่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ นอกจากนั้นยังมีศาลเจ้าพ่อหลัก เมืองอยู่ในบริเวณเดียวกัน เปิดให้เข้าชมเวลา ๐๗.๐๐ - ๑๖.๐๐ นาฬิกา

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)

อยู่ตำบลหน้าเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ พร้อมๆ กับการสร้างป้อมและกำแพงเมืองในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ โดยช่างฝีทมือจากเมืองหลวง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไกล้ เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร วัดนี้เดิมเรียกว่า วัดเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทรา และได้พระราชทาน นามวัดใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง

ป้อมและกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา

อยู่ที่ถนนสุขเกษม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูมารุกราน และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นที่ตั้งมั้น กองทัพในการปราบกบฏอั้งยี่(พ่อค้าฝิ่นเถื่อนชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายปล้นสะดมชาวเมือง) บริเวณหน้าป้อมจัดเป็นสวนสาธารณะ สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และชมทิวทัศน์แม่น้ำบางปะกง และมีปืนใหญ่ตั้งอยู่ตามกำแพงเมือง

เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ

ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจบริเวณ มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรม ได้มีผู้พบลอยอยู่ ในแม่น้ำบางปะกง ใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำ จึงได้อัญเชิญไว้ที่ศาลเจ้าของมูลนิธิฯ

สำนักสงฆ์ชมพุทธคยานุสรณ์

ตำบลโสธร เป็นสำนักสงฆ์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีเจดีย์ จำลองแบบพุทธคยา ประเทศอินเดีย ภายในเป็นที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ

กลุ่มเรือนแพตลาดน้ำเก่า

อยู่บริเวณหน้าวัดแหลมใต้ เป็นตลาดน้ำเก่าของเมืองแปดริ้ว ฝั่งตรง กันข้ามมีวัดเซนต์ปอล ต้นตำรับการเผยแพร่ศริสตศาสนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัดเซนต์แอนโทนีตั้ง อยู่บนถนนสวรรค์ปราสาท ก่อนถึงวัดแหลมใต้มีรูปหล่อทองแดงของคุณพ่อการิเอ ซึ่งบันทึกประวัติ ของท่านไว้

วัดสัมปทวน

ตั้งอยู่ใกล้วัดเจดีย์ ริมแม่น้ำบางปะกง เป็นวัดเก่าแก่ มีตำนานเกี่ยวพันกับ หลวงพ่อโสธร มีพระอุโบสถลายหินอ่อนงดงาม เชิงชายโดยรอบมีงานปูนปั้น เล่าเรื่องเมืองแปดริ้ว ในยุคต่างๆ ที่ผ่านมา บริเวณหน้าวัดมีหอพระที่สวยงาม มองจากริมแม่น้ำจะเห็นเขื่อนทดน้ำบางปะกง

เขื่อนทดน้ำบางปะกง

อยู่บนเส้นทางฉะเชิงเทรา – บางคล้า แยกเข้าวัดจุกเฌอ เป็นเขื่อนป้องกันน้ำ เค็ม มีบริเวณกว้างขวาง เหมาะกับการพักผ่อน

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ ประมาณ 90 ไร่ ภายในสวนจัดภูมิทัศน์เป็นสัดส่วน มีรูปปั้นหล่อสัมฤทธิ์สมเด็จพระศรีนครินทร์ ประดิษฐานเด่นสง่าบนเนินสูง กลางสวนเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ รอบ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นสนามเด็กเล่น ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลากหลายมีทางเดินโดยรอบเหมาะสำหรับออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ

การท่องเที่ยวทางเรือตามลำน้ำบางปะกง

ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูง โคราช ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี (เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี) อำเภอบางน้ำเปรี้ยว (เรียกว่าแม่ น้ำแปดริ้ว) อำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง ระยะทาง ๒๓๐ กิโลเมตร การท่องเที่ยวทางเรือในลำน้ำบางปะกงเริ่มจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อชมธรรมชาติและ บ้านเรือนสองฝั่งน้ำ ซึ่งยังคงสภาพความเป็นอยู่อย่างไทย ผ่านสถานที่น่าสนใจ เช่น อาคารตำหนักกรมขุนมรุพงษ์ศิริวัฒน์ ป้อมและสันกำแพงเมืองโบราณ อาคารศาลากลางหลังเก่า กลุ่ม เรือนแพสมัยเก่า วัดวาอาราม ทั้งไทย จีน ฝรั่ง เช่น วัดเมือง วัดสัมปทวน วัดแหลมใต้ วัดสายชล วัดเซนต์ปอล ไปขึ้นฝั่งที่วัดโพธิ์บางคล้า เพื่อชมค้างคาวแม่ไก่ ระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๓ ชั่วโมง สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าน้ำวัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือที่ท่า น้ำหน้าตลาดในตัวเมือง มีทั้งเรือหางยาวจุคนได้ ๘–๑๐ คน เรือสำราญจุคนได้ ๔๐ คน อัตราค่าเช่า เรือตามแต่จะตกลงกันตามจำนวนผู้โดยสารและระยะทาง ติดต่อเรือท่องธารา จ่าสิบเอก ศักดา ทองประสิทธิ์ โทรศัพท์ ๐–๑๓๕๓–๔๒๐๗

อำเภอบางคล้า

วัดโพธิ์บางคล้า อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา ๒๓ กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ (สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี) ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๑๒๑ ไปอีก ๖ กิโลเมตร เข้าตัวอำเภอบางคล้า ผ่านศาลเจ้าตากสินมหาราช แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ ๕๐๐ เมตร หรือสามารถเดินทางโดยทางเรือ จากตลาดตัวเมือง ท่าเรือจะอยู่บริเวณด้านหลังของ ห้างตะวันออกพลาว่า มาขึ้นที่ท่าน้ำของวัดก็ได้ ที่วัดโพธิ์บางคล้ามีค้างคาวแม่ไก่เกาะอยู ่ตามต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ ยามพลบค่ำจะบินออกไปหากิน
วัดแจ้ง ตั้งอยู่บริเวณตลาดบางคล้า สร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรี เป็นบริเวณที่ได้เดินทัพมาถึง เมื่อเวลาแจ้ง จึงได้ชื่อว่าวัดแจ้ง มีโบสถ์ที่สวยงามมาก
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงใช้ฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางเดินทัพผ่านในการกอบกู้เอกราชหลังเหตุการณ์เสียกรุง เพื่อไปยังชลบุรี ระยอง และจันทบุรี รวบรวมผู้คนเข้าตีเมืองจันท์ แล้วนำกำลังเดินทางโดยเรือเข้า กอบกู้บ้านเมือง
สถูปเจดีย์พระเจ้าตากสิน เป็นที่ตั้งเจดีย์อนุสรณ์ชัยชนะ เมื่อครั้งที่พระเจ้าตากสินมหาราช ได้สู้รบกับข้าศึกและได้รับชัยชนะ โปรดให้สร้างขึ้นบริเวณนี้ ต่อมาถูกกระแสน้ำเซาะพังลงไป และได้มีการก่อสร้างเจดีย์และการจัดภูมิทัศน์ขึ้นใหม่อย่างสวยงามริมแม่น้ำบางปะกง แล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓
เกาะลัด ตั้งอยู่หน้าอำเภอบางคล้า แต่การปกครองขึ้นกับกิ่งอำเภอคลองเขื่อน ชาวบ้านมีอาชีพ ทำนา ทำสวน เป็นสถานที่สงบ เหมาะกับการนั่งเรือพักผ่อน มีเรือท่องเที่ยวบริการที่หน้าอำเภอ
สวนมะม่วง ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีการเพาะปลูกมะม่วงมากที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ ๘๖,๐๐๐ ไร่ อำเภอที่ปลูกมากที่สุด คือ อำเภอบางคล้าและอำเภอแปลงยาว มะม่วงที่นิยมปลูก ได้ แก่ แรด เขียวเสวย น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ และทองดำ โดยเริ่มออกผลในเดือนมีนาคม ทางจังหวัด ได้จัดงานมะม่วงและของดีเมืองแปดริ้วเป็นประจำทุกปี ผู้สนใจเที่ยวชมสวนมะม่วงติดต่อคุณมานพ แก้ววงษ์นุกูล ประธานชมรมสวนมะม่วงฉะเชิงเทรา หรือที่เกษตรอำเภอ บางคล้า โทรศัพท์ ๐–๓๘๕๔–๑๐๐๓

อำเภอพนมสารคาม

เขาหินซ้อน ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ (ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี) กิโลเมตรที่ ๕๓ อยู่ห่าง จากตัวเมือง ๕๓ กิโลเมตร เป็นภูเขาที่มีความสูงไม่มากนัก ประกอบด้วยก้อนหินรูปทรงต่าง ๆ เรียงราย อยู่ตามธรรมชาติ บริเวณเขาหินซ้อนจัดเป็น “สวนรุกขชาติสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ” เป็นที่ตั้งของศาล สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศาลนี้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ ด้านหลังของศาลนี้ เป็นที่ตั้งของวัดเขาหินซ้อน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ตั้งอยู่ตำบลเขาหินซ้อน ริมทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ กิโลเมตร ที่ ๕๑–๕๒ อยู่ห่างจากอำเภอพนมสารคาม ๑๗ กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม ๑,๙๒๙ ไร่ เป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาการ เกษตรแผนใหม่ โดยความร่วมมือทั้งจากส่วนราชการและเอกชน มีการแบ่งพื้นที่ภายในเพื่อทำการสาธิต และทดลองงานต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาที่ดิน การปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ งานศิลปาชีพ และ โครงการสวนป่าสมุนไพร มีแปลงทดลองปลูกพืช เช่น พันธ์หวายที่มีในประเทศไทย อโวคาโด มะม่วงทุกพันธ์ โดยจัดตั้งเป็น “สวนพฤกษาศาสตร์ภาคตะวันออก” เพื่อดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพร เปิดบริการทุกวันพุธ-พฤหัสบดี และวันเสาร์-อาทิตย์ ค่าบริการ ๒๐ บาท ผู้สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าทางศูนย์ฯ ยังมีบริการที่พัก สอบถามรายละเอียด ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โทรศัพท์ ๐–๒๒๘๐–๖๑๙๘–๒๐๐ หรือศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน โทรศัพท์ ๐–๓๘๕๙–๘๑๐๕–๖
วัดสุวรรณคีรี(วัดเขาดงยาง) ตั้งอยู่เชิงเขาดงยาง ใกล้เขาน้ำหยด บนเขาดงยางมีความสูง จาก ระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ ๑๐๐ เมตร มีบันไดขึ้นเขาอย่างสะดวก บนยอดเขามีพระนอนขนาดใหญ่ ความยาว ๑๙ เมตร สร้างโดยการนำของอาจารย์ซ่วน ปัญญาธโร เกจิอาจารย์ชื่อดัง ช่วงกลางเดือน ๓ มีเทศกาลขึ้นเขาไหว้พระพุทธบาท

อำเภอสนามชัยเขต

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หรือบ้านศานติธรรม ใช้ทางหลวงหมายเลข 3245 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 3259 ประมาณ 3 กม. ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันธุ์ไม้เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ภายในมีบ้านไม้แบบไทย มุงด้วยกระเบื้องว่าว มีใต้ถุนสูงสำหรับประชุมหรือบรรยาย ชั้นบนใช้เก็บ และแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน วัตถุโบราณ ของใช้รุ่นเก่าด้านหลังบ้านมียุ้งข้าวจำลองและ อุปกรณ์นวดข้าวสีข้าว อีกด้านหนึ่งจัดไว้สำหรับตั้งค่ายพักแรมเยาวชน มีลานสันทนาการและบริเวณทำ กิจกรรมสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 038-597441
อ่างเก็บน้ำลาดกระทิงและวัดพระธาตุวาโย ตั้งอยู่บนเส้นทางสนามชัยเขต – ท่าตะเกียบ ห่างจากตัวอำเภอสนามชัยเขตประมาณ 9 กม. แยกขวาเข้า ไปอีกประมาณ 2 กม. เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ทางด้านตะวันตกของอ่างเก็บน้ำเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุ วาโย มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่และเจดีย์ที่สวยงาม บริเวณใกล้เคียงมีสวนสนร่มรื่น เหมาะกับการตั้งแคม ป์
อ่างเก็บน้ำคลองระบม อยู่บนเส้นทางสนามชัยเขต – วัดชำป่างาม ระยะทาง 25 กม. จากตัวอำเภอ ถนนลาดยาง การเดินทางสะดวก เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทัศนียภาพโดยรอบสวยงามเหมาะกับการพักผ่อนท่องเที่ยวและแค้มปิ้ง

อำเภอท่าตะเกียบ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ 643,750 ไร่ ตั้ง อยู่ในใจกลางของพื้นที่ป่าผืนใหญ่ รอยต่อ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ ปราจีนบุรีเป็นป่าอุดมสมบูรณผืนสุดท้ายของภาคตะวันออก สภาพภูมิประเทศทั่วไปมีความลาดชันไม่มาก นัก โดยทั่วไปมีความสูงจากน้ำทะเลปานกลางประมาณ 30-150 เมตร มีพื้นที่ป่าปกคลุมเป็นบริเวณกว้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกง ทางด้านจังหวัดฉะเชิงเทรา คลองโตนด จังหวัดจันทบุรี และ แม่น้ำประแสร์ จังหวัดระยองบริเวณป่ามีสัตว์ป่านานาชนิด และนกหลากหลายพันธุ์อาศัยอยู่ นอกจาก นั้นยังมีน้ำตกอ่างฤาใน อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่าประมาณ 2 กิโลเมตร
การเดินทาง จากตัวเมือง ใช้เส้นทางฉะเชิงเทรา – พนมสารคาม จากอำเภอพนมสารคาม ใช้เส้นทางหมายเลข 3245 ถึงอำเภอท่าตะเกียบ จากนั้นไปตามเส้นทางลาดยางสู่บ้านหนองคอก ระยะทาง 57 กม. ต่อด้วยเส้น ทางสู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว อีกประมาณ 15 กม. จะถึงทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขา อ่างฤาไนและสถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าไป ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะต้องขออนุญาตจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ โทรศัพท์ 02-5614292-3 ต่อ 706-7
สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์ป่ากระบกคู่ ตั้งอยู่บนเส้นทางหมายเลข 3259 (พนมสารคาม – ท่าตะเกียบ) ก่อนถึงตัวอำเภอ เป็นสถานที่เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า เป็นที่ศึกษาวิจัยของนักเรียน นักศึกษา
อ่างเก็บน้ำเขื่อนสียัด ตั้งอยู่บนเส้นทางหมายเลข 3259 เลยที่ว่าการอำเภอไปประมาณ 4 กม. นำรถวิ่งผ่านเข้าไปบนสันเขื่อนได้เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ กักเก็บน้ำจากแควสียัดบริเวณเขื่อน มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นสถานที่พักผ่อน แค้มปิ้ง ดูนก และกิจกรรมทางน้ำ

อำเภอบางปะกง

วัดเขาดิน หรือวัดปถวีปัพตาราม ตั้งอยู่ใกล้สถานีพักรถมอเตอร์เวย์ ตำบลบางผึ้ง การเดินทางเข้า ไปที่วัดต้องเข้าทางโรงไฟฟ้าบางปะกง บนถนนสุขุมวิท(คู่ขนาน) เป็นเขาที่มีความสูงไม่มากตั้งอยู่ โดดเดี่ยวกลางทุ่งนา บนยอดเขาเป็นที่ตั้งวัดภายในมีมณฑปร้างเก่าแก่มาก เข้าใจว่าเป็นที่ประดิษ ฐานพระพุทธบาทจำลอง
ปากแม่น้ำบางปะกง บริเวณใกล้ปากอ่าว เหมาะสำหรับการนั่งเรือท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านที่เลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากแล้ว ล่องเรือออกปากอ่าวในยามเย็น ผ่านเกาะเล็ก ๆ ออกไปจะเห็นวิวทิวทัศน์ของจังหวัดชลบุรี ในปัจจุบันไม่มีเรือท่องเที่ยว แต่อาจหาเช่าเรือ ประมงขนาดเล็กที่ท่าเรือสุขาภิบาลท่าข้าม

อำเภอบ้านโพธิ์

วัดประศาสน์โสภณ (วัดบางกรูด) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง เส้นทางฉะเชิงเทรา-พนัสนิคม ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๖ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๐๕ มีโบสถ์เก่าแก่ มีอาคารสูง สร้างเป็นลักษณะแท่น พระ ๙ ชั้น ชั้นบนสุดมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จากบนอาคารสามารถมองเป็นทิวทัศน์ตัวเมืองได้
แหล่งดูนกดูปลา แม่น้ำบางปะกงช่วงวัดบางกรูด วัดผาฯ คลองประเวศบุรีรมย์ ไปจนถึงวัดเกาะชัน เป็นบริเวณที่สงบ มีนกย้ายถิ่นและนกประจำถิ่น มาอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเป็นจำนวนมากนักตกปลานิยมตกปลากันในบริเวณนี้ มีสถานที่ตกปลาของเอกชนตั้งอยู่ และในการดูนก ควรมาดูในช่วงเย็นที่ นกกลับจากหากิน โดยล่องเรือมาจากวัดโสธรฯ

เทศกาลและงานประเพณี

งานนมัสการหลวงพ่อโสธร ปีหนึ่งมี ๓ ครั้ง มีกำหนดทางจันทรคติดังนี้
๑. งานเทศกาลกลางเดือน ๕ เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๒ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน ถือว่าเป็นงานฉลองสมโภชในวันที่อาราธนา หลวงพ่อโสธรขึ้นจากน้ำมาประดิษฐานที่วันแห่งนี้
๒. งานเทศกาลกลางเดือน ๑๒ เริ่มงานวันขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เนื่องมาจากในปี พ.ศ.๒๔๓๓ เกิดโรคฝีดาษระบาดไปทั่ว ชาวบ้าน จึงบนบานต่อหลวงพ่อโสธรขอให้หาย และได้จัดพิธีสมโภชจนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ปัจจุบันทางจังหวัดฉะเชิงเทราและวัดโสธรฯ ได้ร่วมกัน จัด”งานนมัสการพระพุทธโสธรและงานกาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา” ขึ้นเป็นประจำทุกปี มีการเฉลิมฉลองและการจัดขบวนแห่หลวงพ่อโสธรจำลองทั้ง ทางบกและทางน้ำ เป็นงานประจำปีครั้งใหญ่ของจังหวัด
๓. งานเทศกาลตรุษจีน จัดโดยสมาคมชาวจีน พร้อมด้วยพ่อค้า ข้าราชการ และประชาชนในจังหวัด เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๕ ค่ำ (ปีใหม่ตามจันทรคติของจีน) รวม ๕ วัน ๕ คืน
งานกาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดขึ้นพร้อม ๆ กับงานนมัสการพระพุทธโสธร ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยจัดขึ้น ณ บริเวณสวนสมเด็จ พระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา
งานวันมะม่วง จัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มะม่วงให้ผลผลิตออกสู่ตลาด งานจัดขึ้นบริเวณโรงเรียน พุทธโสธร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ในงานมีการออกร้านจำหน่ายมะม่วงและผลิตผลทางการเกษตร การประกวดผลิตผลทางการเกษตร

การเดินทาง

รถยนต์ เส้นทางที่สะดวกมี ๒ เส้นทาง คือ จากกรุงเทพฯ – มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา ทางหลวงหมายเลข ๒๗๓ และอีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางบางนา-ตราด ก่อนข้ามสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง มีทางแยกซ้ายเจ้าทางหลวงหมายเลข ๓๑๔ ไปฉะเชิงเทรา



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต ๘ ๑๘๒/๘๘ ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครนายก ๒๖๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๗๓๑-๒๒๘๒, ๐-๗๗๓๑-๒๒๘๔