ถ้าเราเปิดดูพระไตรปิฎกทุกๆ
อัน ไม่ว่าในสติปัฏฐาน ๔ ก็ดี ไม่ว่าอานาปานสติก็ดี หรือในสูตรต่างๆ
ก็ดี ความ สำคัญอันใหญยิ่งอยู่ที่สติตัวเดียวเท่านั้น ถ้าเราทำสติไม่ได้
อย่าไปหวังอะไรเลยที่เราจะทำให้มันสำเร็จ
ฉะนั้นไหนๆ
พวกเรานี่ก็เรียกว่าเป็นคนที่ไม่เต็มบาทกันอยู่แล้ว มันถึงได้มาพบกัน
ถ้าเต็มบาทเขาก็คงไปตามวัดตามวา เขาคงไม่มาพบกันอย่างนี้ เราก็เปิดตำรามาสอนกัน
ตำรานั่นอะไร
พระไตรปิฎกก็มี
พระอภิธรรมก็มี เปิดแล้วก็มาอ่าน
อ่านแล้วก็มาทำความเข้าใจ เข้าใจแล้วก็มาเผยแพร่ แล้วก็มาแจกกัน
เราทำกันเช่นนี้ มันกลายเป็นว่าสมาธินั่นน่ะ
ทุกๆ
แห่งเขาทำกันลำบากหนักหนา แต่มาถึงพวกเราคล้ายๆ มาปอกกล้วยเข้าปาก
ดูมันง่ายดายเสียเหลือเกิน
เช่นนี้
มันกลายเป็นของไม่มีค่าไป แต่สตินั้นมันไม่นั่น เรื่องสตินั้น
อย่าลืมว่ามันเป็นพื้นฐานของโลกุตตรกุศลทุกแง่ทุกมุมทุก step
แล้วตามที่ข้อเท็จจริงเท่าที่ประสบมา การเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยความเข้าใจทั่วๆ
ไปนั้น เขาไม่ค่อยคำนึงถึงในเรื่องนี้
ฉะนั้นเขาเพียงแต่รู่ว่าวิปัสสนา
ให้รู้จัก รูป นาม ฉะนั้นถ้าเราฟังวิทยุ บางทีเราก็จะอดขำไม่ได้
เพราะเหตุไร เขาบอกว่า รูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน เอ๊ะ เขาเอามาจากไหน
เพราะเหตุไร
เพราะหลักการของวิปัสสนา
ผมไม่เห็นมีอะไรเลย เป็นแต่เพียงให้รู้จัก รูป นาม แต่อ้ายรูปนามนั้นมันเป็นปรมัตถอารมณ์
หรือปรมัตถธรรม
อ้ายรูปนั่ง
รูปนอน รูปยืน รูปเดิน น่ะมันมีหรือ ยังงี้ นี่ เขาก็มาสอนกันอย่างนี้
แล้วเผยแพร่ไปทั่วประเทศ อย่างนี้ ฉะนั้นถ้าเราบอกว่าอ้ายนี่ผิด
เราสู้คนส่วนใหญ่เขาไม่ได้ ฉะนั้นเรายอมเป็นคนกลุ่มไม่เต็มบาทดีกว่า
สบายดี เพราะเราไม่อยากไปยุ่งกับใคร ผลใครปฏิบัติคนนั้นก็ได้
อย่างนี้ ความจริงรูปต่างๆ นั้น มันมีรูปปรมัตถ์เพียง ๒๘ รูปเท่านั้น
และโดยเฉพาะรูปที่เราพบบ่อยมากที่สุดก็คือ
มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
นั่นเองน่ะ ทำไมถึงได้เป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าสั่งสอนไม่ให้มีอุปาทาน
ไม่ให้มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕
ก็มีรูป แล้วก็เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เสร็จแล้วพระองค์บอกว่า
ขันธ์ ๕ นั่นน่ะ หดมันซะ เหลือรูปตัว
นามตัวเท่านั้นเองน่ะ พอหดมันเหลือรูปตัวนามตัวแล้วยังบอกว่าไม่ดีอีก
เพราะว่ามันไม่แน่ มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา
ผลสุดท้ายท่านทำลายหมด ก็เมื่อทำลายหมดแล้วยังมาเอารูปนั่ง รูปนอน
รูปยืน รูปเดิน อะไร
อีกล่ะ มันเป็นไปได้หรือ แต่ขอให้พวกเราทุกคนน่ะ เราฟัง เรารู้
เท่านั้นเป็นพอ อย่าไปทุ่มไปเถียงเขา เพราะเรามัน ไม่ใช่เกจิอาจารย์
หรือไม่ได้บวชไม่ได้เรียนเอามา เรารู้ก็รู้ของเราภายในวงในของเรา
๕-๖ คน ๗-๘ คน ๑๐ คน
นี่พอแล้ว อย่าไปยุ่งกับใครเขาเลย บางแห่งการเจริญวิปัสสนาเล่นเอาสมถะเข้าไปปนด้วย
บางแห่งพอเพ่ง
เพ่งให้เกิดนิมิตหน่อยหนึ่ง ยังไม่ถึงอัปปนาสมาธิเลยนิมิตมันก็เกิด
บอกนั่นแหละเป็นดวงปฐมมรรค
ดวงมรรคดวงผลว่ะ เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีนี่พระพุทธเจ้ากว่าจะตรัสรู้
๖ ปี ยากลำบากหนักหนา สู้มา
สมัยนี้ไม่ได้ ๒-๓ วันเท่านั้นตรัสรู้กันไปหมดแล้ว นี่ มันอย่างนี้
มันก็กลายเป็นมรรคอะไร เป็นมัก
มากไป อ้ายผลอะไร ผลมะม่วงก็มี ผลมะไฟก็มี ไม่รู้ มันเป็นอย่างนั้น
เพราะหนังสือพิมพ์ประกาศออกมา
อย่างนั้น วิทยุก็ประกาศออกมาอย่างนั้น แล้วเราทำยังไง ไปวัดไหวหรือ
เราก็เอาวัดวาของเราสิ หมดเรื่องกัน
เคยพูดมาแล้วว่าเรื่องวิปัสสนานั้นน่ะ
ผมไม่มีความรู้ ที่ไม่มีความรู้ยังไง ถ้าผมจะไปรู้ตามพระพุทธเจ้าเข้า
เขาก็จะหาว่าบ้า ฉะนั้นเราอย่าไปพูดกันเลยเรื่องวิปัสสนา เราเอาพูดกันเรื่องธรรมชาติดีกว่า
เพราะอะไร ความจริง คำว่าปรมัตถธรรมนั้น ตัวหลักการใหญ่ของวิปัสสนานั้นน่ะ
คือ พระพุทธเจ้าสอนธรรมชาติให้เรารู้นั่นเอง ธรรมะนี่
แปลมาจากคำว่าธรรมชาติ ต้องเข้าใจเช่นนั้นด้วย ไม่ใช่ของวิเศษอะไรหรอก
แต่เราเรียนไม่รู้ ศึกษาไม่รู้
พระพุทธเจ้าท่านค้นพบ ธรรมชาติอันแท้จริงมีอยู่ ๔ เท่านั้น
๑. จิต
๒.
เจตสิก ๓.
รูป
๔. นิพพาน เท่านั้นเอง
ธรรมชาติที่แท้จริง
ไม่มีอะไรนอกเหนือกว่านี้ ผมรับรอง ถ้าเราจะมาสำรวจดูพระอภิธรรมก็ดี
พระไตรปิฎกทั้ง
๘๔,๐๐๐ พระะรรมขันธ์ก็ดี ไม่มีอะไรมากกว่านี้
มีจิต
๘๙ ดวง
เจตสิก
๕๒
รูป
๒๘
นิพพาน
๑ จบแล้ว ไป
นิพพานกันแล้ว แต่เพราะเราไม่ก้าวให้มันดี แทนที่ว่าเราจะสร้างตึก
จะซื้อที่ซื้อทางเขาเสียก่อน มาถากหญ้าถางพง
เข้า
มาขุดหลุม ปักเสา ตอกเข็ม หล่อตอหม้อ เรากลับไปสร้างวิมานในอากาศ
แล้วมันจะเป็นตึกได้ยังไง ฉะนั้นเรา
อย่าไปทำกับเขาเช่นนั้น ทำไมผมถึงไม่พูดในเรื่องนี้มาก่อน
ทำไมผมถึงได้มาฝึกให้พวกเราทำความสงบในจิตกันก่อน
ขั้นแรกก็ทำความสงบในจิตกันก่อน
คือ เรียกว่า อานาปานสติสมาธิ นี่ เพราะเหตุไร เพราะเรื่องโลกุตตรกุศล
นี่มันเป็นเรื่องขั้นปัญญา ไม่ใช่ขั้นดุ่ยๆ อย่างที่เขาเข้าใจกัน
ฉะนั้นขอเสียทีเถอะที่พวกเราที่ว่าจะเอาธรรมไปเผยแพร่
โดยไม่ได้ดูคนนี่ไม่ควร เพราะว่ามันเป็นอันตรายแก่ตัวท่านเอง
อันตรายอย่างไรหรือ ผมจะบอกให้ พอเราบอกว่า อย่างนี้ เราฝึกมาอย่างนี้
ได้ผลมาอย่างนี้ เขาบอกว่าผิด เพราะร้อยคนพันคนเขาฝึกกันมาอย่างนั้น
ถ้าเรามีใจ โน้มเอียงไปนิดเดียวเท่านั้น พังแล้วฉะนั้นการไม่พูดดีกว่า
ทำ ทำ ทำไปจนมันบังเกิดผลออกมา
โดยเฉพาะ
สมถกรรมฐาน พวกเราหลายคนที่ไปทำกันมาแล้วแล้วมันไม่ได้ผล แล้วก็เรามาทำกันอย่างบ้าๆ
บอๆ ๒-๓ ทีมันก็ได้ผล
นี้ เพราะเหตุไร เพราะว่าเราไม่ได้แต่งตำราขึ้นเอง เราเอาจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านสอนอย่างไรเรา ก็เอามาแจกกันอย่างนั้น มันก็จบเรื่อง ถ้าเราไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ละ
มันไม่ยากหรอกครับเรื่องธรรมะน่ะ
ทีนี้เมื่อเราพูดกันถึงในเรื่องนี้แล้ว
เราควรจะได้รู้คุณค่าของธรรมะอันถูกต้องว่ามีเพียงใดนั้น ผมเองผมไม่อยาก
จะพูด เพราะว่าพวกเราส่วนใหญ่เกือบทุกคนได้ชิมรสมาแล้วว่า เวลาจังหวะกรรมมันเกิดขึ้นนั้นมันมีเป็นประการใด
และที่เขารอดตัวผ่านพ้นจังหวะกรรมมาได้นั้น
ก็เพราะว่าเขาทำตัวเป็นปลาเป็น ด้วยหลักของธรรมะนี่แหละ
ทำให้พวกเราได้ประสบความสุขความสบายกันมาได้ทุกวันนี้
เมื่อเรามีพื้นเช่นนี้แล้ว
ต่อไปนี้เราก็เริ่มหัดมาเรียน ก ข กันใหม่ คือมาเรียนเรื่องของธรรมชาติ
เริ่มกันทีเดียว
เราได้รู้จักสติกันมา ๒ อาทิตย์แล้ว ทีนี้ในวันนี้ เราก็จะได้มาทำการฝึกสติ
เพื่ออะไร ฝึกเอาไว้เพื่อใช้มัน ที่เราจะได้ ศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมในขั้นสูงๆ
ซึ่งมีความละเอียดลอออย่างยิ่ง
ธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ไม่ใช่ธรรมะที่หยาบคาย หรือจะเข้าใจกันง่ายๆ ไม่ใช่เช่นนั้น
ถ้าเราจะได้กันอย่างง่ายๆ เราไม่ต้องมาเรียนธรรมะ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราไปเอาธรรมะข้างถนนก็ได้ หลับตาครู่เดียวมันก็เห็นโน่นเห็นนี่
สบายสำเร็จ ไปแล้ว
เราควรจะทำความเข้าใจกันเสียใหม่
ทั้งนี้เพราะว่าข้อเท็จจริงมันปรากฏกับพวกเราเกือบแทบทุกคนแล้วว่า
อะไรมันเป็นอะไร เพราะว่าหลักของพุทธศาสนานั้นสอนอย่างยิ่ง ๔๕
พรรษา สอนเฉพาะในเรื่องกรรมทั้งนั้น
แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจในเรื่องกรรม
พอเมื่อมีกรรมมาเกิดขึ้น ก็ไปบนบาลศาลกล่าวเจ้าพ่อเจ้าแม่ สะเดาะ
เคราะห์ ทำพิธีรีตองต่างๆ เช่นนั้น มันได้ผลหรือไม่ สู้แต่อ้ายพวกเรานั่งกินกัน
สรวลเสเฮฮานิดๆ หน่อยๆ หยอก
กันมั่ง ล้อกันมั่ง ว่ากันมั่ง ปุบปับๆ แล้วมันก็หมายไป นี่
ฉะนั้นถึงได้บอกว่าถ้าธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นั้น เราเอาเข้าเถอะ เอาให้มันจริงๆ มันไม่เสียหลายหรอก ทั้งนี้เพราะอะไร
เพราะพระองค์ตรัสมาแล้วนี่ว่า ธรรมะขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ขั้นแรกเราเรียกว่า
ปริยัติ ศึกษาเสียก่อน ศึกษาเมื่อรู้ถ่องแท้แล้วก็มาถึง
ขั้นที่
๒ คือ การปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้ว ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
ซึ่งเราเรียกว่าปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั่นเอง
เมื่อปฏิบัติเช่นนี้แล้ว
ปฏิเวธ มันถึงจะเกิด นั่นคือผลของธรรมะที่ปฏิบัติมานั้นมันเกิดขึ้น
ซึ่งพวกเราได้รับกันมาแล้ว ทุกคนในด้านของสมถะ แต่ในด้านของสตินี่เราพูดกันมา
๒ อาทิตย์แล้ว จะมีคนเข้าใจหรือไม่ ผมไม่รู้
เพราะหลักการ
มีอยู่อย่างเดียว ความประสงค์คือ ทำอย่างไรถึงจะทำให้สติระลึกรู้ได้เป็นปัจจุบัน
นี่เป็นปัญหาอันใหญ่ยิ่ง เพราะ วิปัสสนานั้นไม่มีอะไร มีตัวเดียวว่าให้สติระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมเท่านั้น
ดังนั้นเราจะเห็นเขาสอน
เขาไม่เคยพูดกันถึง ในเรื่องนี้ ฉะนั้นผมอยากจะแนะนำอย่างไร
แนะนำด้วยการฝึกสติอย่างนี้นี่ เราจะทำได้โดยประการใดกันบ้าง
เพราะ เหตุไร ถ้าจะประมวลมาจากพระอภิธรรมปิฎกก็ดี พระสุตตันตปิฎกก็ดี
วิสุทธิมรรคก็ดี ก็จะเห็นได้ว่าในพระธรรม คำสั่งสอนขั้นสูงสุดคือโลกุตตรกุศลนั้นน่ะ
ก็ได้แก่วิปัสสนา ซึ่งมีอยู่ ๒ ประการ คือทางเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เจโตวิมุตติก็ดีหรือปัญญาวิมุตติก็ดี
สติตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญยิ่งในการปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีสติเสียแล้ว
อย่าไปหวังไม่มีทางที่จะทำได้ ทำไมผมถึงได้พูดเช่นนั้น เพราะว่าสติตัวนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนมาตั้งแต่ต้น
แต่พวกเราไม่ได้นึก แม้แต่ในอานาปานสติ ถ้าพวกเราระลึกรู้ ถ้าเราจะมาดู
อาปานบรรพในขั้นแรก เราจะเห็นได้ว่า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว แค่นี้ นั่นแหละอะไร
ท่านสั่งสอนให้เราฝึกสติให้รู้เป็นปัจจุบัน
แต่พวกเราไม่รู้ นี่ มันน่าเจ็บปวดไหม เพียงแค่นี้ ฉะนั้นถ้าเราจะไปดูในมหาสติปัฏฐานสูตร
เราจะเห็นว่า เริ่มต้น
เริ่มจากการฝึกจากลมหายใจเพื่อให้สติระลึกรู้ ดังนั้นในการปัญหาที่จะฝึกสติให้ระลึกรู้นี่
ผมบอกตรงๆ ว่าผมลอก
ตำราพระพุทธเจ้า ผมไม่แต่งตำราขึ้นเอง เพราะผมไม่มีความรู้ การลอกตำราพระพุทธเจ้านี่อะไร
การที่จะฝึกสติ
ให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรม ก็ คือ
๑.
ฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมทางลมหายใจเข้าออก หนึ่งละ
ประการที่
๒ ฝึกสติให้ระลึกรู้ให้เป็นปัจจุบันธรรมก็ทางอิริยาบถ ๔ คือ
การยืน เดิน นั่ง นอน นั่นเอง
ประการที่
๓ การฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมก็คือ ทางสัมปชัญญะ
คือ การรู้สึกตัวทุกอิริยาบถ นั่นเอง
ประการที่
๔ การฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมทางปฏิกูล คือ อาการ
๓๒ ที่พวกเราทุกคนมีเป็น ประจำ
ประการที่
๕ การฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมก็คือทางเวทนา คือได้แก่
สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ นั่นเอง
ประการที่
๖ การฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมทางทวาร ๖ อันได้แก่
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกายและทางใจ
นอกจากนี้แล้ว
ในมหาสติปัฏฐานสูตร ยังมี วิธีการฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมทางจิต
อีกประการ หนึ่งและ
ประการสุดท้าย
การฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมทางธรรม หรือทางสมาธิ
ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่ทุก คนนี่ได้กันมาแล้ว ฉะนั้น เราจึงอยู่ในขั้นที่ผู้มีกำไรในการฝึกสติ
หมายความว่าเราฝึกนะถึงจะมีนะ ถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่มี
ประการแรก
ผมอยากจะแนะนำให้พวกเราทุกคนได้รู้จักกับ มหาสติปัฏฐานสูตร
ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่ก็ได้ กันไปทุกคนแล้วว่ามีเป็นอย่างไร
เราก็เปิดดูหน้า ๓ เรื่อง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งท่านว่า
เอาไว้ตอนท้าย
ผมหยิบมาตอนท้ายเลยว่า
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้มั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจเข้า
ย่อมมีสติหายใจ ออก และ นี่เป็นบทอารัมภะ ทีนี้มาถึงเข้าขั้นฝึก
ท่านก็บอกว่า เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว นี่ข้อ
๑ นะ
ทีนี้ข้อที่
๒ ว่า เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น,
หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
ข้อที่
๓ ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนด รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง
หายใจออก
ข้อที่
๔ ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ กายสังขาร ( คือลมหายใจเข้าและหายใจออก
) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
เพียงแต่เราอ่านพระสูตรเพียง
๔ ข้อหรือ ๔ บรรทัดง่ายๆ แค่นี้ ถ้าเรามีสติระลึกรู้ มีปัญญา
เราได้อะไรเป็น เครื่องตอบแทน นั่นคือ ปัญจมฌานแห่งอานาปานสติสมาธิในด้านสมถะ
และถ้าเรามีสติปัญญาพิจารณาต่อไปว่า ทำไมพระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสซ้ำกันเช่นนั้น
๒ หน เราจะเห็นได้ว่าอันแรกมันเป็นเรื่องการสร้างสมาธิ และข้อความ
อีกเหมือนกัน
อันที่
๒ ข้อความเช่นเดียวกัน มันเป็นการสร้างปัญญา คือสร้างสติให้เกิดขึ้น
นั่นคือ วิปัสสนา ปัญญานั่นเอง เพียงลมหายใจ ๔ ข้อเท่านี้
ทุกๆ คนอ่านออกทุกๆ คนบอกว่ารู้แล้ว แต่ผลสุดท้ายไม่สามารถ ที่จะปฏิบัติกันได้แม้แต่อุปจารสมาธิ
นี่เป็นการอ่านธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อ่านให้เข้าใจ
เมื่อเข้าใจแล้วนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ ผลมันเกิดขึ้นเช่นนี้
แต่สำหรับในเรื่องของฝึกสตินั้น
เราก็เอาธรรมะ ๒-๓ ข้อ ๔ ข้อนี่แหละมาทำการฝึกหัดสติของเราอีก
เราอย่าประมาทเพียงลมหายใจเข้าออกนั้น เราอย่าประมาทว่าเพียงเรื่อง
ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น คิดว่าไม่มีประโยชน์
ความจริงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้ทรงค้นพบเมื่อตรัสรู้
เพราะว่าการฝึกสตินั้น บอกมาแล้วว่าเราสามารถจะฝึกกันได้ถึง
๘ วิธี นี่เท่าที่ผมพบนะ
ในปัญหาเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าเราจะนำเอา อานาปานสติหรือลมหายใจเข้าออกนี้มาฝึกสติ คำว่าฝึกสติใน
ที่นี้อย่าเข้าใจว่าเป็นการสร้างสมาธิหรือการสร้างปัญญา เป็นเพียงการฝึกให้สติที่มันหลับอยู่ตลอดศตวรรษที่เราเกิดๆ
ตายๆ เราไม่เคยใช้สตินั้น ให้มันตื่นขึ้น ตื่นขึ้นทำไม เพราะสตินั้นมันมี
nature อยู่อย่างหนึ่งว่ามันเป็นตัวระลึกรู้
ระลึกรู้อย่างไร
ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรม เมื่อเราฝึกปลุกมันให้ตื่นเช่นนี้แล้ว
มันจะได้ทำหน้าที่ระลึกรู้ พอมันหน้าที่ ระลึกรู้แล้ว การปฏิบัติและการศึกษาใดๆ
เรื่องมันก็เป็นการง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเหมือนกัน ฉะนั้นเราอย่า
ไปพูดกันมากเลย เราเริ่มกันซะตั้งแต่บัดนี้
ในประการที่
๑ ที่ท่านบอกว่าหายใจยาว ท่านบอกว่าตั้งแต่เริ่มต้น เธอย่อมมีสติหายใจเข้า
ย่อมมีสติหาย
ใจออก เราเริ่มกันมาตั้งแต่ต้นอันนี้ ในประการแรก
เราจะต้องกำหนดให้ระลึกรู้ทันตามลมหายใจเข้าหายใจออก
ซึ่งทุกๆ คนมีอยู่แล้วเป็นทุน เมื่อมันออก เราก็กำหนดให้รู้ว่ามันออก
เมื่อมันเข้า เราก็กำหนดให้รู้ว่ามันเข้า
ผมอยากจะใช้ภาษาธรรมะสักหน่อย
เรียกว่าบทบริกรรมนั่นเอง น่ะ ในประการแรกคือ เข้าหนอ ออกหนอ
คำเข้าว่าเข้าหนออันนี้น่ะ หมายความว่าเมื่อเราหายใจเข้าไป
หนออันนี้แปลว่า รู้แล้วจ้ะ นี่ภาษาธรรมะ
ก็หมายความเมื่อเราหายใจเข้าไปเราก็เข้าหนอ ว่าเข้าแล้วจ้ะ ทีนี้ออกหนอ
เราทำอย่างนี้ เราบริกรรมอย่างนี้
ลองดูซิสัก ๖-๗ วัน เวลาเราหายใจเข้าหายใจออก เราจะมีสติระลึกรู้บ้างไหม
ถ้ายังไม่ได้ทำมันต่อไปอีก
เรานึกกันบ้างหรือเปล่า อายุเราจนป่านนี้แล้ว เราอุแว้ออกมามันก็เริ่มหายใจแล้ว
อายุจนป่านนี้แล้วยังไม่รู้เลยว่า
เราหายใจเข้าหรือหายใจออก เพราะอะไร เพราะสติมันหลับอยู่ มันไม่ยอมตื่นเช่นนี้
เราเริ่มกันเสียบัดนี้
เริ่มมันจนกว่ามันจะรู้ของมันเองโดยไม่ต้องฝึกไม่ต้องหัด เพราะสตินั้นเมื่อมันรู้ของมันเองแล้ว
เราจะรู้สึกว่ากลาย
เป็นผู้รู้ขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีการเตือน
ในครั้งแรกเราเอาแบบสอนหนังสือเด็ก
จับมือ จี้ลงไป ให้มันลาก ว่าอ้ายนี่ขีดอย่างนี้นะเขาเรียกว่า
ก. ไก่ เรา
ก็สอนสติของเราเช่นนั้น เมื่อเวลาหายใจเข้าว่า เข้าหนอ ออกหนอ
เข้าหนอ ออกหนอ อย่างนี้
ดูซิสักกี่วันก็แล้วแต่ แล้วแต่ปัญญาของใครจะหลักแหลมแค่ไหน
เมื่อเราฝึกจนสติมันรู้ว่าเข้าหรือออกของลมหายใจได้ดีแล้ว
ขั้นต่อไปเราก็เอาของท่านอีกนั่นแหละ
ท่านบอกว่า หายใจออกยาวก็ให้รู้ หายใจเข้ายาวก็ให้รู้ เราก็เอาอีกแหละ
เอาของท่านนั่นแหละ ยกมาเลย มา
เข้ายาว ออกยาว นี่ ทำเช่นนี้
กำหนดให้รู้ลักษณะของลมหายใจที่ว่ามันยาวนั่นน่ะ มันเป็นอย่างไร
บางคนก็ชอบหายใจสั้นเราก็กำหนดหายใจสั้น
บางคนชอบหายใจยาว เราก็กำหนดหายใจยาว
ประการที่
๑ เรารู้แล้วว่า มันเข้า หรือ มันออก มา step ที่ ๒ เราก็รู้ลักษณะของอันยาวว่า
เข้ายาว ออกมันก็ยาว
เพราะว่ามันเข้ายาวแล้ว มันจะออกสั้นไม่ได้ มันไม่รู้จะเก็บไว้ที่ไหน
ประการที่ ๓ เมื่อเรารู้ถึงยาวแล้ว เรามารู้ถึง
หายใจเข้าสั้นมั่ง เราก็บริกรรมว่า เข้าสั้น ออกสั้น เอามันตรงๆ
อย่างนี้ ไม่ตอ้งไปอายใครเขาหรอก ที่ว่าผมไม่อายใคร
เพราะเหตุไร
เพราะเราระลึกของเราอยู่ในใจ เพราะคนที่เขาได้หูทิพย์ตาทิพย์
เขาก็คงไม่สัปดนมาดูใจเราว่าเรา
กำลังภาวนาอะไรอยู่ เราทำเช่นนี้ ทำให้เสมอๆ เช่นนี้ จากลมหายใจเข้าออก
ทำยังไง ทำให้มันเป็นปัจจุบัน ให้มัน ทันกันกับลมหายใจที่เข้าหรือออก
ให้สติระลึกรู้เช่นนี้ ดูซิ ผลมันจะออกมาเป็นอย่างไร นี่เป็นวิธีการฝึกขั้นต้นให้มันระลึก
รู้เท่านั้น
ตอนนี้เราก็เอาของท่านมาใช้เพียง
๒ ข้อ ถ้าเราจะเอาใช้ข้อต่อไป มันจะเกินขนาดไป ประเดี๋ยวเราจะปะปนกัน
เสียยุ่ง เอาเพียงระลึกรู้เท่านั้น นี่ เป็นการระลึกรู้จากลมหายใจเข้าออก
เพื่อให้มันเป็นปัจจุบันธรรม
ทีนี้มาถึงในเรื่องของการยืน
เดิน นั่ง นอน ซึ่งมหาสติปัฏฐานสูตรได้กล่าวเอาไว้ใน อิริยาบถบรรพ
อิริยาบถบรรพ
ท่านก็ว่าไว้อย่างนี้ เมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเดิน
หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า
เรานั่ง
หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน ท่านว่าไว้แค่นี้เท่านี้แหละ
แค่นี้เท่านั้นเอง
แล้วท่านก็บอกว่าอันนี้แหละคือทางที่ จะหลุดพ้น ได้มรรค ได้ผล
อันนี้เราจะเห็นได้หรือไม่ว่าท่านกล่าวสอนปัญญาชน ทีนี้เมื่อท่านกล่าวสอนเช่นนี้
เราก็เอา ตามท่าน ถ้าเราอ่านเพียงแค่นี้ เราก็จะรู้ได้ทันทีว่าท่านสอนอะไรเราบ้าง
สอน
๑ ให้สติระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมว่าขณะนั้นอิริยาบถนั้นเป็นอย่างไร
ข้อที่
๒ สอนให้รู้จักว่า อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เนื่องจากการยืน เดิน
นั่ง นอน นั้น
ประการที่
๓ สอนให้รู้ว่าการยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งเป็นรูปเป็นนามนั้น มันมีสามัญลักษณะอย่างไร
คือ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา นั่นเอง
แต่สำหรับที่เราจะพูดกันในวันนี้
เราจะไม่หยิบเอาข้อปัญหาทั้งหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจะหยิบยกขึ้นมาตัว
เดียวว่า เราจะเอาอิริยาบถบรรพ คือ การยืน เดิน นั่ง นอนนั้น
มาฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมได้อย่างไร
เท่านั้น เมื่อเราฝึกสติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมได้แล้ว
เราถึงจะเอาสติตัวนั้นไปใช้ทำการพิจารณาอย่างอื่นต่อไป
ที่ผมทำอย่างนี้ ผมถือว่าเราได้ขุดหลุม ตีเข็ม หล่อพื้น หรือหล่อตอหม้อขึ้นมา
ที่เราจะทำตึก เราอย่าไปทำอย่างท่าน ปัญญาชนทั้งหลายเลย พอเห็นแค่นี้พับรู้แล้ว
รูปยืน รูปเดิน รูปนั่ง รูปนอน เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา
เสร็จแล้วกลายเป็นวิปัสสนึก สวัสดีไปเลย เช่นนี้
เราอย่ามาเอาเช่นนั้น อย่าหัดสร้างวิมานในอากาศ เราจะสร้าง อะไร
เราสร้างด้วยความจริงๆ เพราะเหตุไร เพราะบอกแล้วนี่ว่าธรรมะมันเป็นกฏของธรรมชาติ
เราก็ต้องเอา
ธรรมชาติจริงๆ
นี่มาสอนตัวเราเอง เราสอนเด็กยังไงเราก็สอนตัวเราอย่างนั้น เด็กมันเป็นคนไม่ค่อยรู้ภาษา
เราก็ต้องจ้ำจี้จ้ำไชมัน มันถึงจะรู้ภาษา ในทำนองเดียวกัน อ้ายผู้ใหญ่ขนาดหัวหงอกๆ
อย่างเรานี่ แล้วมันจะไปรู้
ภาษาอะไร เช่นนี้ ฉะนั้นเราต้องยอมรับว่าสติมันไม่รู้ ถ้ารู้แล้วเราจะไปนั่งสอนมันทำไม
ดังนั้นในเรื่องการยืน
เราจะต้องมีสติระลึกรู้ยังไง คือระลึกรู้ เราก็ยืมเอาบทความจริงที่ว่าไว้ในสติปัฏฐาน
๔
เอามาใช้ นั่นคือ ยืนเราระลึกรู้ว่า ยืน ยืนยังไง เราก็ใช้บทบริกรรมว่า
ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ
เช่นนี้ เราทำเช่นนี้จนกว่าสติจะมีความระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรม
โดยเราไม่ต้องนึก เราไม่ต้องคิด เรานึกหรือเปล่า
เรามีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าทำอะไรทั้งหมด เราไม่เคยระลึกรู้
เราทำไปด้วยกิเลสตัณหาที่มันต้องการเท่านั้น มันเป็น
การสมควรหรือ ฉะนั้นการที่เราไม่สอนวิปัสสนากันนี้ผมว่าดีแล้ว
เรามาสอนกันด้วยเรื่องหลักของธรรมชาติ
เพราะว่าเราจะสอนผิดสอนถูก ไม่มีใครเขามาด่าอะไรเรา ใครเขาจะบอกเอ๊ะทำไมวิปัสสนาสอนอย่างนี้
ก็เราไม่ได้
สอนวิปัสสนานี่ เออ เราเอาของเราอย่างนี้ หากใครเขาบอกว่าทำไมอย่างนี้
บอกว่าเรื่องของกลุ่มคนบ้า อย่าไปว่าเลย
ใครเป็นคนดีก็เอาไปก็แล้วกัน เราเอาอย่างนี้ เพราะเราลูกศิษย์พระพุทธเจ้านี่
พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างนี้
เราก็เอาอย่างนี้
ประการต่อไป
เรื่องเดินนี่ มันเป็นเรื่องใหญ่ ทำไมผมว่าเรื่องเดินนี่เป็นเรื่องใหญ่
ถ้าเรารู้จักคำว่าเดินแล้ว
เราจะเห็นได้ว่าเดินนี่มีประโยชน์มากมายเหลือเกิน ที่เราจะสร้างสติให้มันเกิดขึ้นได้
เพราะว่าท่านบอกไว้แล้วว่า
เมื่อเดินก็ให้รู้ว่าเราเดิน ท่านพูดสอนไว้แค่นี้เท่านั้น ฉะนั้นใครเขาจะสอนยังไงก็ช่าง
เราตกลงเราเอาอย่างนี้นะ ทำไม
เมื่อเราเดิน
บทที่
๑ เอาไปเลย เมื่อเราเดิน เราก็รู้ว่าเดิน เดินยังไง เราก็บริกรรมภาวนาสิ
หัดมันสิ เดินหนอ เดินหนอ
เดินหนอ เดินหนอ การเดินน่ะเป็นอิริยาบถที่มันเคลื่อนไหวไป
หนอน่ะ แปลตามหลักของธรรมะว่า รู้แล้ว
เราบอกกับใครว่าเดินรู้แล้ว เราบอกกับตัวของเราเองว่า สติรู้แล้ว
เดินรู้แล้ว เดินรู้แล้ว ที่เราเดินไปนั่นน่ะ เราทำ
อย่างนี้ ทำมันไปเถอะ จนกว่าเราเดินแล้วก็สติระลึกรู้ด้วยตัวของมันเอง
นี่บทที่ ๑
ทีนี้เมื่อเราเดินเช่นนั้นแล้ว
บทที่ ๒ ที่ผมพูดเร็วอย่างนี้ อย่าเข้าใจนะ เดี๋ยวว่า
เดินหนอ เดินหนอ
แล้วก็เปลี่ยนบท ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องให้สติระลึกรู้ขึ้นเสียก่อน
เราค่อยไปเปลี่ยนมัน ถ้าพวกเราไปกิน
ข้าวต้มกระโจนกลางละก็ อีก ๑๐ ปียังไม่จบในเรื่องเดินนี้
บทที่
๒ เรารู้แล้วในเรื่องอิริยาบถเดิน เดินอย่างเดียว ทีนี้บทที่
๒ เรารู้ละ เรารู้เอามัน ๒ อย่าง รู้ยังไง รู้ว่าอ้ายที่เดินนั่นน่ะ
มันเดินทางขาขวาหรือขาซ้าย
ขยับรู้ขึ้นอีกหน่อย เราก็กำหนดเลย บทบริกรรมว่า ขวาก้าวหนอ
ในขณะที่เท้าขวาเราก้าวออกไป กำหนด
กับก้าวน่ะให้พร้อมกันนะ ไม่ใช่ขวาก้าวไปแล้ว อ้าวยังไม่ได้กำหนด
ไม่ได้ใช้ไม่ได้ เพราะบอกแล้วนี่ว่ามันเป็นการ
ปลูกสติ ทีนี้เมื่อเรายังเดินอยู่ เมื่อขวาก้าวไปแล้ว ซ้ายเราก็ต้องก้าว
เราก็กำหนด ซ้ายก้าวหนอ ขวาก้าวหนอ
ซ้ายก้าวหนอ เช่นนี้ ทำมันเช่นนี้ กี่วันก็ช่างมัน เราเอามันอย่างนี้
ถ้าเราเป็นคนปัญญาทึบหน่อยหนึ่ง มันก็ช้า
หน่อยนึง เราเป็นคนที่ปัญญาไว มันก็ได้เร็ว สิ่งเหล่านี้อย่าประมาทว่า
เอ๊ะไม่เห็นมีอะไรเลย
ทีนี้พอมาถึงขั้นที่เราจะ
ต้องศึกษาในเรื่องของธรรมชาติเช่นนี้แล้ว เราต้องเอาสติให้มันมากยิ่งกว่านี้อีก
มีเพียงขั้นของสมาธิที่เราเคยทำกันมา แล้วยังไม่พอ ใช้ไม่ได้
ต้องเอาให้มากกว่านั้นอีก เหตุนี้แหละ ผมถึงไม่สอนคุณมาตั้งแต่ต้น
จนพวกคุณได้สมถกรรมฐาน กันแล้ว ถึงได้มาพูดกันในเรื่องนี้ เพราะว่ามันได้หมดกังวลใจกันเสียทีในเรื่องสมถะ
ทีนี้เราเอาบทที่ ๒ ถ้าเราสามารถ ทำได้แล้ว ๒ จังหวะ เราก็ทำสรรถภาพของสติให้มันเพิ่มขึ้น
มาถึงบทที่
๓ ทำอย่างไรบทที่ ๓ ในการเดินนั้น ถ้าเราจะสังเกตให้ดี เท้าขวาของเรานั้นมันไม่ได้ไปทื่อๆ
มันจะ ต้องมียกเท้าก่อน ยกเท้าแล้วมันก็ถึงจะเหยียบลงไป ยกเท้าแล้วมันถึงเหยียบลงไป
นั่นแหละคือการเดิน เราทำ อย่างไร ทางด้านขวาเรารู้ก่อน ขวายกหนอ
นี่พอขวายกหนอแล้ว มันก็ ขวาเหยียบหนอ ก้าว ๑ ก้าวล่ะ
พอข้างขวาเสร็จแล้ว มันก็มาถึงข้างซ้าย มันก็ ซ้ายยกหนอ แล้วก็
ซ้ายเหยียบหนอ นี่ มันเช่นนี้ แล้วการ ก้าวนั้น เราจะต้องก้าวขาขวาทีหนึ่ง
ขาซ้ายทีหนึ่ง เมื่อเรายกเท้าเราก็มีสติระลึกรู้ ยกเท้าขวาเราก็มีสติระลึกรู้
เหยียบลงไป เราก็มีสติระลึกรู้ ยกเท้าซ้ายเราก็มีสติระลึกรู้
ยกเท้าขวา เหยียบเท้าขวา
เหยียบเท้าซ้าย
เราก็มีสติระลึกรู้ ทำเช่นนี้จนสติบังเกิด เมื่อเราเดิน เราสามารถระลึกรู้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบังคับ
แล้วเราไม่ต้อง ไปบอกโพทะนาให้ใครเขารู้ เพราะถ้าใครเขารู้ เขาบอกว่า
นั่นน่ะปฏิบัติผิด ผิดยังไง แน่ะ เราจะถามเขาว่าผิดยังไง
เขาบอกว่าทำไมจะไม่ผิดล่ะ
การเจริญสติปัฏฐานนั่นน่ะมันต้องไม่บังคับ แต่เขาไม่รู้ว่าเวลานี้เรากำลังฝึกสติ
เรายังไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน เพราะคนที่เจริญสติปัฏฐานทีเดียวนั้น
ไม่มีโอกาสสำเร็จผมรับรอง ฉะนั้นในขั้นต้น เราต้องฝึกสติให้มันรู้เสียก่อน
ทีนี้เราฝึกสติมาได้รู้
๒ ตัวแล้ว ในการยกกับการเหยียบ ต่อไปนี้เราจะฝึกให้มันรู้ถึง ๓
จังหวะ ทางด้านขวา
ขวายกเท้าหนอ เมื่อยกแล้ว มันก็ต้อง ขวาก้าวเท้าหนอ
ก้าวลงไปแล้ว สุดก้าวแล้ว มันก็ ขวาเหยียบ
หนอ หมดหน้าที่ของเท้าขวา ทีนี้ต่อมาถึงหน้าที่ของเท้าซ้าย
มันก็ ซ้ายยกเท้าหนอ ซ้ายก้าวเท้าหนอ
ซ้ายเหยียบลงหนอ จบ นี่ เป็นการสร้างบทที่ ๔ ซึ่งเราจะได้
แต่ขอเตือนพวกเราทั้งหลายให้เข้าใจว่า
แต่ละบทไม่ใช่ทำครู่เดียวนะ เราต้องฝึกให้มันเกิดสติระลึกรู้เสียก่อนแต่ละบท
มันถึงจะทำได้ผล
ที่นี้เมื่อเรารู้ท่าที่
๔ แล้ว เราก็มารู้ท่าที่ ๕ ท่าที่ ๕ นั้น เรารู้ข้างหนึ่ง เรารู้มันเป็น
๔ จังหวะ เห็นไหม ตั้ง
แต่แรก เรายังไม่รู้ซ้ายหรือขวา รู้แต่เดิน
อันที่
๒ มาเรารู้ซ้ายหรือขวาเท่านั้น
อันที่ ๓ เราก็รู้ ยก ก้าว เหยียบ ทีนี้อันต่อไปนี้เราก็รู้ให้รู้ถึง
๔ จังหวะ รู้ยังไง รู้ยกส้น ยกเท้า ก้าวเท้าจะเหยียบลง เรารู้อย่างนี้
รู้อย่างนี้เราจะ ใช้บทบริกรรมอย่างไร อ้ายบทบริกรรมนี่ไม่จำเป็นนา
ไม่จำเป็นจะต้องเอาตามอย่างผมหรอก คุณจะเอาของคุณยังไง ก็ได้
แต่ให้ระลึกรู้แต่ละข้างที่เราก้าวไป ลักษณะของเท้านั้นมันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
เราต้องมีสติระลึกรู้
สำหรับบทอันนี้
ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ขวายกส้นหนอ แล้วก็ ขาวยกเท้าหนอ
ส้นมันยกก่อนเท้านา ถ้าใครไม่เชื่อ
ประเดี๋ยวลองทำดู แล้วก็ต่อไปก็ ขวาก้าวเท้าหนอ ขวาเหยียบลงหนอ
เห็นไหม ข้างขวาเราจะมี ๔ จังหวะ
คือ ขวายกส้นหนอ ขาวยกเท้าหนอ ขวาก้าวเท้าหนอ ขวาเหยียบลงหนอ
นี่เป็นข้างขวา ทีนี้
เพียงก้าวเดียวเท่านั้น เราต้องมีสติระลึกรู้ถึง ๔ step ทีนี้มาข้างทางซ้าย
เราทำยังไง ซ้ายยกส้นหนอ
ซ้ายยกเท้าหนอ ซ้ายก้าวเท้าหนอ ซ้ายเหยียบลงหนอ เห็นไหม
ก้าวก้าวหนึ่งเราจะต้องมีสติระลึกรู้
ถึง ๔ จังหวะ ยังไม่พอ ยังไม่ละเอียดพอ เท้าของเรา สติของเรา
เราหัดให้มันช่ำชอง ไม่ต้องกลัว ใครเขาบอกว่า
ล้าสมัย ช่างมัน เรามันคนชั้น ๒,๕00 ปีแล้วนี่ เอากันอย่างงี้
ทีนี้
ท่าที่ ๖ ๔ จังหวะยังไม่พอ เราเพิ่มมาเป็น ๕ จังหวะ ทำอย่างไร
ขวายกส้นหนอ ขวายกเท้าหนอ
ขวาก้าวเท้าหนอ ขวาเหยียบลงหนอ ขวาถูกพื้นหนอ สิ่งเหล่านี้เพียงข้างขวาข้างเดียว
แล้วเมื่อท่าน
พิจารณาต่อไป เมื่อเพิ่มขึ้นชั้นสูงๆ ท่านจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กันกับสติและหลักของวิปัสสนาทั้งสิ้น
ทีนี้เมื่อ
เรานั่นข้างขวาแล้ว เราก็มาทางซ้าย ซ้ายยกส้นหนอ ซ้ายยกเท้าหนอ
ซ้ายก้าวเท้าหนอ
ซ้ายเหยียบลงหนอ ซ้ายถูกพื้นหนอ เราจะเห็นไหมว่า ท่าที่
๖ นี่เราได้ข้างละ ๕ จังหวะ ๕ จังหวะ
นี่เรามีสติระลึกรู้เกือบจะแน่นแล้วนา
ฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติ สร้างตึก สร้างหลังคาลงมาก่อนนั้น คุณอย่าหวังว่าสติ
มันจะเกิดขึ้นถึงขนาดนี้ เราจะรู้มันก็รู้กันอย่างวิปัสสนึกนั่นแหละ
คือรู้จากปริยัติ ไม่ใช่รู้จากปฏิบัติ เรื่องปริยัติ
หรือปฏิบัติพวกเราทุกคนประสบกันมาแล้วว่าอะไรมันเป็นปริยัติ
อะไรมันเป็นปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง ผลปฏิเวธ
มันจะเกิดขึ้นไม่มีปัญหา
ทีนี้เมื่อเรารู้ถึงท่าที่
๖ ซึ่งมีถึง ๕ จังหวะแล้ว เราก็มาถึงท่าที่ ๗ อันเป็นท่าสุดท้าย
เราก็สร้างมันให้ได้ถึง
๖ จังหวะ ให้มันมีความละเอียดยิ่งขึ้น นั่นคือ ขวายกส้นหนอ
ขวายกเท้าหนอ ขวาก้าวเท้าหนอ
ขวาเหยียบลงหนอ ขวาถูกพื้นหนอ ขวากดลงหนอ นี่เป็นคุณสมบัติของเท้าขวา
ที่จะต้องมีสติ
ระลึกรู้ให้เป็นปัจจุบัน ทีนี้เมื่อเรารู้ทางด้านขวาแล้ว เราก็มารู้ทางด้านซ้ายบ้าง
ซ้ายยกส้นหนอ ซ้ายยกเท้า
หนอ ซ้ายก้าวเท้าหนอ ซ้ายเหยียบลงหนอ ซ้ายถูกพื้นหนอ ซ้ายกดลงหนอ
เราทำเช่นนี้จนกว่า
สติจะระลึกรู้ นั้นคือหลักของการเดินในอิริยาบถ ๔ หรือเรียกว่า
อิริยาบถบรรพ
สำหรับอีก
๒ ท่า คือท่า นั่ง นั้น เมื่อเรานั่งเราก็ให้รู้อิริยาบถนั่ง
จำไว้นะ ผมใช้คำว่าอิริยาบถนั่งนะ ผมไม่พูดว่า
รูปนั่งนะ เราใช้บทบริกรรมว่า นั่งหนอ นั่งหนอ นั่งหนอ
เราทำมันเช่นนี้ โดยกำหนดให้ระลึกรู้เช่นนี้ให้มัน
เป็นปัจจุบันธรรม ทุกๆ ครั้งที่เรานั่ง จนกว่าสติมันจะระลึกรู้เป็นปัจจุบัน
ระลึกรู้ได้เองเราถึงเลิกกำหนดมัน นี่เป็น
วิธีสอนสติแบบเราสอนเด็กให้มันอ่านหนังสือ เราต้องจ้ำจี้จ้ำไชมัน
ใครเขาจะว่าเราไม่เป็นก็ช่างมัน เราคนโง่เราก็ต้อง
ทำภาษาโง่ๆ อย่างนี้
ทีนี้ในการ
นอน ก็เหมือนกัน เมื่อการนอน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อนอนก็ให้รู้ว่านอน
เราก็กำหนด
ลงไปซิ บริกรรมลงไปเลย นอนหนอ นอนหนอ นอนหนอ นอนหนอ อย่างนี้จนกว่าเราจะหลับไป
หรือ ขี้เกียจ ขี้เกียจกำหนด แต่อย่าลืมนะว่าการเจริญสตินี้
ถ้าเราไม่มีความเพียร อย่าไปทำเลย เสียเวลาเปล่าๆ ทุก
อย่างธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีโอกาส เราทำเช่นนี้จนกว่าสติจะมีความระลึกรู้ได้ด้วยตัวของมันเอง
นั่นแหละ เราถึงจะเลิกกำหนด เราถึงจะหยิบเอาสติไปทำอย่างอื่นให้เป็นประโยชน์ต่อไป
เท่าที่ผมพูดมาในการฝึกสติ
ให้ระลึกรู้ ๘ วิธีนั้น วันนี้ก็พูดได้เพียง ๒ วิธีเท่านั้นเองก็จะหมดเวลาลงแล้ว
จึงขอยุติ การฝึกสติให้ระลึกรู้ขั้นต้น
ตอน ๓ เพียงเท่านี้