พระสูตรเกี่ยวกับความยาวของกัป
ปัพพตสูตร
"ดูกรภิกษุ! กัปหนึ่งนั้น เป็นเวลายาวนานนักหนา จะนับเป็นว่า
"ดูกรภิกษุ! เราตถาคตจะยกอุปมาให้เธอฟัง เหมือนอย่างว่า
ภูเขาศิลาลูกใหญ่ ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์
ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ
สาสปสูตร
"ดูกรภิกษุ! เราตถาคตจะยกอุปมาให้เธอฟัง
เหมือนอย่างว่า พระนครที่ทำด้วยเหล็ก
มีความยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์
ซึ่งเป็นพระนครที่เต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด
มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน
ยังมีบุรุษผู้หนึ่งพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ
ออกจากพระนครนั้น โดยกาลล่วงไป ๑๐๐ ปี
ต่อเมล็ดหนึ่ง การที่เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น
จะพึงถึงความหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายาม
ของบุรุษนั้น ยังเร็วกว่า แต่เวลาที่เรียก กัปหนึ่ง นั้น
ยังไม่ถึงความหมดไป สิ้นไปเลย
กัปหนึ่งนั้น ยาวนานอย่างนี้ ก็บรรดากัปที่ยาวนาน
อย่างนี้แหละ พวกเธอท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
อยู่ในวัฏสงสาร มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑๐๐ กัป
สาวกสูตร
อีกคราวหนึ่ง ได้มีพระภิกษุหลายรูปด้วยกัน ได้พากัน
เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระสรรเพชญสัมมาสัมพุทธเจ้า
และกราบทูลถามเรื่องกัปที่ล่วงไปแล้วว่า
สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
..
คงคาสูตร
กาลต่อมาอีกคราวหนึ่ง
เมื่อสมเด็จพระสรรเพชญสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสฉะนี้แล้ว
พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลด้วยความเลื่อมใสว่า
___________________________________________
พระสูตรเกี่ยวกับความยาวของวัฏสงสาร
*********************************************
ขอให้พุทธสาวกทั้งหลายนึกถึงพระพุทธฎีกาว่าด้วย
ความยาวนานแห่งวัฎสงสาร อันปรากฏมีในอนมตัคคสังยุต
(สังยุตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุต ติณกัฏฐสูตร
ข้อ ๔๒๑ หน้า ๒๑๒ บาลีฉบับสยามรัฐ) ซึ่งเป็นเรื่องที่
พวกเราชาวพุทธบริษัทสมควรจะรับทราบเอาไว้
ดังต่อไปนี้
ความยาวนานแห่งวัฏสงสาร
"ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! อันว่าวัฏสงสารนี้
กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้ เมื่อเหล่าสัตว์ทั้งหลาย
ถูกอวิชชาเป็นที่กางกั้น ถูกตัณหาผูกพันเข้าไว้
ก็ย่อมจะท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ โดยที่สุดและเบื้องต้น
ย่อมไม่ปรากฏเลย
อีกคราวหนึ่ง สมเด็จพระสรรเพชญ์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทรงมีพระมหากรุณาแสดงพระธรรมเทศนา
เรื่องวัฏสงสารนี้ ในท่ามกลางที่ประชุม
พระภิกษุสงฆ์ว่า
ยังมีอีกคราวหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระสรรเพชญ์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทรงมีพระมหากรุณาตรัสสอนเรื่องวัฏสงสาร
ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ว่า
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดามาตลอดกาลนาน
พวกเธอได้ประสบกับความเสื่อมเพราะโรคมาตลอดกาลนาน
ข้อนี้ เป็นเพราะเหตุดังฤา?
จาก "ภูมิวิลาสินี"
หน้า ๔๕๖ - ๔๖๐
โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี
(วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
+ + + + + + + + + + + + + + +
(สังยุตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๓๑๔ หน้า ๒๑๖
บาลีฉบับสยามรัฐ)
- เท่านี้ปี
- เท่านี้ร้อยปี
- เท่านี้พันปี
- เท่านี้แสนปี ดังนี้ไม่ได้เลย"
ยังมีบุรุษผู้หนึ่งนำเราผ้าขาวบางเยื่อไม้มาแต่แคว้นกาสี
แล้วเอาผ้านั้นปัดถูภูเขา ๑๐๐ ปีต่อครั้งหนึ่งดังนี้
การที่ภูเขาศิลาใหญ่นั้น จะพึงถึงความหมดไป สิ้นไป
เพราะความพยายามของบุรุษนั้นยังเร็วกว่า
แต่เวลาที่เรียกว่า กัปหนึ่ง นั้น ยังไม่ถึงความหมดไป
สิ้นไปเลย
กัปหนึ่งนั้น นานอย่างนี้ ก็บรรดากัปที่นานอย่างนี้แหละ
พวกเธอท่องเที่ยวไปมาอยู่ในวัฏสงสาร
มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐๐ กัป
มิใช่ ๑๐๐๐๐๐ กัป (แสนกัป- ไม่ได้พิมพ์ผิดนะคะ - deedi)
ข้อนี้ เป็นเพราะเหตุดังฤา?
เพราะว่า วัฏสงสารนี้ กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
ในเมื่อเหล่าสัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
ถูกตัณหาผูกพันเขาไว้ ก็ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่
โดยที่สุดและเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏเลย"
(สังยุตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๔๑๓ หน้า ๒๑๖
บาลีฉบับสยามรัฐ)
มิใช่ ๑๐๐๐๐๐ กัป (แสนกัป- deedi)
เพราะว่า วัฏสงสารนี้ กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
ในเมื่อเหล่าสัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
ถูกตัณหาผูกพันเข้าไว้ ก็ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
อยู่โดยที่สุดและเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏเลย"
(สังยุตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๔๓๓ หน้า ๒๑๗
บาลีฉบับสยามรัฐ)
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! บรรดากัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว
ล่วงไปแล้ว มีมากเท่าใดหนอ พระเจ้าข้า"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตจะยกอุปมาให้พวกเธอฟัง
ยังมีพระพุทธสาวก ๔ รูปในพระศาสนานี้
เป็นผู้มีอายุยืน ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ได้ ๑๐๐ ปี
หากว่าพระสาวกทั้ง ๔ รูปเหล่านั้น สามารถระลึก
ถอยหลังไปได้วันละ ๑๐๐๐๐๐ กัป
กัปที่พระสาวกเหล่านั้นระลึกไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก
พระสาวก ๔ รูปของเราผู้มีอายุยืน ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ได้
๑๐๐ ปี พึงทำกาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปีเสียก่อน
โดยแท้เลย
กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจำนวนมากมาย
อย่างนี้แหละ ฉะนั้น จึงมิใช่เป็นการกระทำที่ง่าย
ในการที่จะนับจำนวนกัปว่า เท่านี้ร้อยกัป เท่านี้พันกัป
เท่านี้แสนกัป
ข้อนี้ เป็นเพราะเหตุดังฤา?
เพราะว่า วัฏสงสาร กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
ในเมื่อเหล่าสัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
ถูกตัณหาผูกพันเข้าไว้ ก็ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
อยู่โดยที่สุดและเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏเลย"
(สังยุตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๔๓๕ หน้า ๒๑๗
บาลีฉบับสยามรัฐ)
ขณะที่องค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ได้มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง
เข้าไปเฝ้าและกราบทูลถามปัญหาเรื่องกัปที่ผ่านไปแล้ว
อีกเช่นกัน แลในวันนั้น สมเด็จพระพุทธองค์
ได้ทรงมีพระพุทธฎีกาตอบแก่เขาว่า
"ดูกรพราหมณ์! เราตถาคตจะยกอุปมาให้ท่านฟัง
เหมือนอย่างว่า แม่น้ำคงคานี้ ย่อมเกิดแต่ที่ใด
และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เม็ดทรายในระยะนี้
ย่อมไม่เป็นของไม่ง่ายนัก ที่จะกำหนดนับได้ เท่านี้เม็ด
เท่านี้ร้อยเม็ด เท่านี้พันเม็ด เท่านี้แสนเม็ด
ดูกรพราหมณ์! กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว
ล่วงไปแล้ว มากกว่าเม็ดทรายเหล่านั้น
จึงมิใช่เป็นการง่ายนัก ที่จะกำหนดนับกัปเหล่านั้นว่า
เท่านี้กัป เท่านี้ร้อยกัป เท่านี้พันกัป เท่านี้แสนกัป
ข้อนี้ เป็นเพราะเหตุดังฤา?
เพราะว่า วัฏสงสารนี้ กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
ในเมื่อเหล่าสัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
ถูกตัณหาผูกพันเข้าไว้ ก็ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปมาอยู่
โดยที่สุดและเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย
ที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนั้น ได้เสวยทุกข์
ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า
ตลอดกาลนาน พอทีเดียวเพื่อจะคลายความกำหนัด
พอทีเดียวเพื่อจะหลุดพ้นได้ ใช่ไหมเล่า"
"แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านพระโคดม!
ไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม! ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ
โปรดจงจำข้าพระบาทว่า "เป็นอุบาสก" ผู้ถึงสรณะสาม
ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป" ดังนี้
จาก "ภูมิวิลาสินี" หน้า ๔๕๓ - ๔๕๖
โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี
(วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! เหมือนอย่างว่า
มีบุรุษคนหนึ่งเที่ยวตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้
แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้งแล้วพึงกระทำให้เป็นมัดๆ
มัดละ ๔ นิ้ว วางเอาไว้ แล้วจึงกระทำการสมมติว่า
"นี่ เป็นมารดาของเรา"
และว่า
"นี่ เป็นมารดาแห่งมารดาของเรา"
กระทำการสมมติไปโดยลำดับ มารดาแห่งมารดา
ของบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุดลงได้ แต่ว่าหญ้า ไม้ กิ่งไม้
ใบไม้ พึงถึงความหมดสิ้นไปก่อน
ข้อนี้ เป็นเพราะเหตุดังฤา?
เพราะว่า วัฏสงสารนี้ กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
เมื่อเหล่าสัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
ถูกตัณหาผูกพันเข้าไว้ ก็ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
อยู่โดยที่สุดและเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอ
ได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ
ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน
ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย!
ก็เหตุเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นการเพียงพอทีเดียว
เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
ย่อมเป็นการเพียงพอเพื่อจะหลุดพ้นได้"
(สังยุตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุต ปฐวีสูตร
ข้อ ๔๒๓ หน้า ๒๑๒ บาลีฉบับสยามรัฐ)
"ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! วัฏสงสารนี้
กำหนดที่สุดและเบื้องต้นไม่ได้ ในเมื่อเหล่าสัตว์
ถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น ถูกตัณหาเป็นเครื่อง
ผูกพันเข้าไว้ ก็จะท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่
โดยที่สุดและเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏเลย
ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย!
เหมือนอย่างว่า มีบุรุษคนหนึ่งพยายามปั้น
แผ่นปฐพีนี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเม็ดกระเบา
แล้ววางไว้ และแล้วก็กระทำสมมติว่า
"นี่ เป็นบิดาของเรา"
และว่า
"นี่ เป็นบิดาแห่งบิดาของเรา"
กระทำการสมมติเรื่อยไปโดยลำดับดังนี้
บิดาแห่งบิดาของบุรุษนั้น ย่อมไม่เป็นอันที่จะ
สิ้นสุดลงไปได้ แต่ว่ามหาปฐพีนี้ พึงถึงความหมดสิ้น
ไปก่อน
ข้อนี้ เป็นเพราะเหตุดังฤา
เพราะว่า วัฏสงสารนี้ กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
ในเมื่อเหล่าสัตว์ถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
ถูกตัณหาผูกพันเข้าไว้ ก็ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
อยู่โดยที่สุดและเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏเลย" ดังนี้
(สังยุตนิกาย นิทานวรรค อัสสุสูตร ข้อ ๔๒๕ หน้า ๒๑๓
บาลีฉบับสยามรัฐ)
"ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร! วัฏสงสารนี้
กำหนดที่สุกและเบื้องต้นมิได้
พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
คือ น้ำตาที่หลั่งไหลออกจากตาของพวกเธอ
ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ร้องไห้คร่ำครวญอยู่
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพราก
สิ่งที่พอใจโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
สิ่งไหนจะมากกว่ากัน? ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหล
ออกจากตาของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ร้องไห้
คร่ำครวญอยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ
เพราะพลัดพรากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี่แหละ
มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นไหนๆ
น้ำตาที่หลั่งไหลออกจากตาของพวกเธอ
ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา และร้องไห้คร่ำครวญ
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพราก
จากสิ่งที่พอใจอยู่นั้น มีประมาณมากกว่าน้ำ
ในมหาสมุทรทั้ง ๔ ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ นั้น
มีประมาณไม่มากกว่าน้ำตาของพวกเธอเลย
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของน้องสาวมาตลอดกาลนาน
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบุตรธิดามาตลอดกาลนาน
พวกเธอได้ประสบกับความเสื่อมแห่งญาติมาตลอดกาลนาน
พวกเธอได้ประสบกับความเสื่อมแห่งโภคะมาตลอดกาลนาน
น้ำตาที่หลั่งไหลออกจากตาของพวกเธอ ผู้ประสบกับ
ความเสื่อมเพราะโรค และร้องไห้คร่ำครวญเพราะประสบ
สิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจอยู่นั้น
มีประมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ นั้น
มีประมาณไม่มากกว่าน้ำตาของพวกเธอเลย
เพราะว่า วัฏสงสารนี้ กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
ในเมื่อเหล่าสัตว์ถูกอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
ถูกตัณหาผูกพันเข้าไว้ ก็ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
อยู่โดยที่สุดและเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏเลย" ดังนี้