บทความเกี่ยวกับ Overhead Projector


ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
1.เตรียมแผ่นโปร่งใสที่จะใช้ให้พร้อม เรียงตามลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง
2.เตรียมปากกาหรือดินสอเพื่อเขียนเพิ่มเติมและใช้ชี้เน้นข้อความที่ต้องการ และเตรียมกระดาษเช็ดมือที่ชุ่มน้ำหรือภาชนะใส่น้ำพร้อมกระดาษหรือสำลีหรือเศษผ้าสำหรับลบข้อความที่เขียนผิด
3.ตั้งจอ - เครื่องฉาย ห่างกันประมาณ 1.5 - 2 เมตร ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัส 315 มม. จอฉายขนาด 70 นิ้ว โดยวางเครื่องฉายที่มั่นคงแข็งแรงและตั้งให้ต่ำกว่าจอ จัดที่นั่งให้เหมาะสมตามเกณฑ์ เพื่อให้ดูภาพบนจอได้อย่างชัดเจน
4.ทำความสะอาดแท่นวางแผ่นโปร่งใส เลนส์ฉาย ตรวจระบบไฟเครื่องฉาย เสียบปลั๊กไฟ
5.ทดลองฉาย เปิดสวิสช์พัดลม - สวิสช์หลอดฉาย วางแผ่นโปร่งใส ปรับโฟกัส โดยวางปากกาหรือดินสอ หรือวัตถุอื่นใดบนแท่นวางวัสดุฉาย เปิดหลอดไฟแล้วปรับปุ่มโฟกัสที่แขนเครื่องฉายขึ้น - ลงจนภาพเงาดำคมชัด ปรับตำแหน่งลำแสงให้พอดีกับจอภาพ ปรับขนาดภาพเล็กหรือใหญ่ให้พอดีกับจอฉาย โดยเลื่อนเครื่องฉายหรือจอให้ห่างหรือชิดพอประมาณ (ปิดหลอดฉายก่อนการเคลื่อนย้ายเครื่องฉาย) แก้ความผิดเพี้ยน (Key ston effect) โดยคว่ำจอด้านบนลงจนกว่าจะหายผิดเพี้ยน
6.ฉายแผ่นโปร่งใสเรียงตามลำก่อนหลัง เมื่อจะเปลี่ยนแผ่นโปร่งใสใหม่ต้องปิดหลอดฉายก่อนทุกครั้ง และควรนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในขณะฉาย
7.เลิกใช้ ปิดหลอดฉาย ปล่อยให้พัดลมทำงานต่อไปจนเครื่องเย็นลง พัดลมจะหยุดทำงานอัตโนมัติหรือเราต้องปิดหากไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ แล้วจึงถอดปลั๊ก เก็บเครื่องฉาย
เทคนิคการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
1. ใช้ดินสอหรือปากกาชี้เน้นข้อความสำคัญบนแผ่นโปร่งใส
2. ใช้ดินสอหรือปากกาเขียนเพิ่มเติมรายละเอียดหรือทำเครื่องหมายเพื่อเน้นจุดสำคัญ
3. ใช้กระดาษแข็งปิดหรือบังภาพหรือข้อความบางส่วนที่ยังกล่าวไม่ถึงไว้ก่อน เมื่อถึงแล้วจึงค่อยเลื่อนเปิดออกทีละน้อย จนหมดข้อความในแผ่นนั้น
4. ใช้ฉายภาพเงาดำ โดยวางวัสดุทึบแสง เพื่อให้เห็นรูปร่างของสิ่งที่วางนั้น หรือใช้เชิดหุ่นเงาในการเล่าเรื่อง เล่านิทานได้
5. ใช้ฉายวัสดุโปร่งแสง โปร่งใส เครื่องมือสิ่งของต่าง ๆ ที่ทำด้วยพลาสติกใส ก็จะปรากฏเห็นรายละเอียดบนจออย่างชัดเจน
6. ใช้ฉายแผ่นใสแบบซ้อนภาพแบบแผ่นปิดรูปวงกลม แบบบานพับ ปิด - เปิด ฯลฯ เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่เป็นขั้นตอนต่อเนื่อง
7. ใช้ฉายภาพให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยใช้แผ่นโปร่งใสที่ผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีพิเศษที่เรียกว่า Polarized transpareency เมื่อจะฉายต้องใช้ร่วมกับชุด Polarizing filters จึงจะปรากฏเป็นภาพเคลื่อนไหวในเนื้อหาที่แสดงการเคลื่อนไหว
8.ใช้แสดงผลของการสาธิต เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ โดยวางเครื่งฉายในแนวนอนแล้วใช้กระจกเงาสะท้อนแสงเปลี่ยนทิศทางให้กลับไปสู่จอฉาย เป็นต้น
9. ใช้เทคนิคการปิดเปิดไฟเครื่องฉาย เมื่อต้องการให้ผู้ฟังดูภาพบนจอฉาย จึงเปิดไฟให้ปรากฏภาพขึ้น เมื่อต้องการให้ผุ้ฟังหันมาสนใจผู้บรรยายก็ปิดไฟเครื่องฉาย
10. สามารถนำภาพทีมาแสดงอัดสำเนาลงบนกระดาษล่วงหน้ามาก่อนแล้วแจกให้นักเรียนหรือผู้ฟังเขียนรายละเอียดในขณะบรรยาย ลงในภาพบนกระดาษที่แจกไปได้ด้วย
11. ให้ผู้รียนได้ออกมาแสดง กิจกรรมร่วมในการใช้เครื่องฉายภาพด้วย เช่น ชี้ตำแหน่งต่าง ๆบนภาพ เป็นต้น
12. ใช้ร่วมกับทัศนวัสดุอื่น ๆ เช่น สไลด์ ที่ให้ความรู้ในเนื้อหาเดียวกัน เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
หลักการเลือกเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
กลับหน้าแรก