ค่านิยมทางศาสนา
ศาสนาหมายถึง"
ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแหล่งกำเนิดและสิ้นสุดของโลก เป็นต้น
อันเป็นฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง
พร้องทั้งลัทธิวิธีที่กระทำตามความเห็นหรือคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น
ๆ "
อิทธิพลของศาสนาที่มีต่อสังคม
ศาสนาที่มีต่อสังคมที่มีทั้งทางบวกและทางลบ
กล่าวคือ ศาสนาสามารถก่อให้เกิดความแตกแยกใน
สังคมและก่อให้เกิดการรวมตัวกันของคนในสังคมได้เช่นกัน นอกจากนั้นศาสนายังมีอิทธิพลต่อการสร้าง
ทัศนคติสร้าง
ค่านิยมให้แก่สังคม เสริมสรา้งศิลปะของชาติและจัดระบบคุณค่าของศีลธรรม
ศาสนามีบทบาทในสังคมไทยมาเป็นยาวนาน
ทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมกล่าวคือ
1)ระดับบุคคล สัจธรรมของศาสนาได้ให้ความหมายของชีวิตว่า
ถ้าผู้ใดเชื่อและปฎิบัติตามแล้ว
จะสามารถเป็นหลักหยึดเหนี่ยวทางจิตใจและเสริมสรา้งความมั่นคงในชีวิตได้
2)ระดับสังคม ศาสนาช่วยกำหนดหลักศีลธรรม โดยชี้ให้เห็นถึงความดีและความชั่ว
สิ่งใดควรกระทำ
สิ่งใดไม่ควรกระทำ


กลับเมนู