ประวัติการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น

            วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น มีประวัติของการ จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480 ในชื่อ โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ จากนั้นก็ได้มีการพัฒนา และยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น ดังมีประวัติพอกล่าวโดยสังเขปดังนี้

พ.ศ.
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2480 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ให้การรับผู้จบชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนในวิชาช่างไม้ กำหนดหลักสูตร 2 ปี ซึ่งเริ่มเปิดทำการสอนครั้งแรกวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2480 โดยใช้สถานที่ที่ทำการ-ประมง จังหวัดขอนแก่นในปัจจุบันเป็นสถานที่ทำการสอน และมีนักเรียนรุ่นแรก 52 คน ครูผู้สอน 3 คน ผู้บริหารคนแรกคือ ครูใหญ่ "ขุนธรรมสัตย์ศึกษากร" (2480-2480)
พ.ศ. 2481 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปลี่ยนหลักสูตรเป็น 3 ปี และได้ย้ายมาตั้งโนนเหล่างา ข้างวัดป่าเหล่างา ตามเส้นทางขอนแก่น- ยางตลาด เนื้อที่ 19 ไร่ (คือที่อยู่ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนอาชีพช่างไม้" ใช้หลักสูตร 3 ปี รับผู้จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนเช่นเดิม
พ.ศ. 2486 ได้เปิดทำการสอนวิชา ระดับชั้น ม. 1 พิเศษ ให้แก่นักเรียน ซึ่งเมื่อจบแล้วสามารถบรรจุเป็นครูประชาบาลได้ด้วย
พ.ศ. 2492 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนช่างไม้ขอนแก่น" และเรียกระดับ ชั้นเรียนเป็น "อาชีวศึกษาชั้นต้น" เมื่อจบแล้วสามารถเรียนต่ออาชีพชั้น กลางอีก 3 ปีได้
พ.ศ. 2495 เริ่มรับผู้จบชั้น ม.3 เข้าเรียนในหลักสูตรชั้นอาชีวศึกษาตอนปลาย ครั้งแรก
พ.ศ. 2499 เลิกรับนักศึกษาชั้น ป. 4 เข้าเรียน โดยรับเฉพาะผู้จบ ม. 3 เท่านั้น เข้าเรียนอาชีวศึกษาตอนปลาย และเปิดสอนหลักสูตรระดับชั้นอาชีวศึกษาชั้นสูง หลักสูตร 3 ปี โดยรับผู้จบชั้นอาชีวศึกษาตอนปลาย ในช่วงนี้ ก็รับสมัครผู้จบ ม.6 เข้าเรียนในระดับชั้นอาชีวศึกษาชั้นสูงด้วย
พ.ศ. 2503 กรมอาชีวศึกษา ได้ยกฐานะของโรงเรียนช่างไม้ขอนแก่น เป็น "โรงเรียนการช่างขอนแก่น" และเปิดสอนชั้นอาชีวศึกษาตอนปลาย กับชั้นอาชีวศึกษาชั้นสูง เช่นเดิม
พ.ศ. 2504 ขยายหลักสูตรให้มีระดับสูงขึ้น โดยรับนักเรียน-นักศึกษาที่สำเร็จชั้น ประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย หรือผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 เข้า เรียนต่อหลักสูตร 3 ปี สำเร็จแล้วได้วุฒิประกาศนียบัตรประโยคอาชีว- ศึกษาชั้นสูง
พ.ศ. 2506 กรมอาชีวศึกษาได้ปรับปรุงโรงเรียนการช่างขอนแก่น ให้เข้าอยู่ใน โครงการ SEATO Skilled Labor Project โดยได้รับเงินจากโครงการ มาทำการปรับปรุงห้องเรียน โรงฝึกงานใหม่ เพื่อเตรียมติดตั้งเครื่อง จักร-เครื่องมือ รับการเปิดสอนเป็น แผนกช่างก่อสร้าง ครั้งแรก ใน หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
พ.ศ. 2507 เปิดสอนอีกหลายหลักสูตรในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) คือ แผนกช่างยนต์, ช่างกลโรงงาน, ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น และ ช่างไฟฟ้า
พ.ศ. 2513 เปิดสอนแผนกช่างวิทยุ - โทรคมนาคม เพิ่มขึ้นอีก 1 แผนกวิชาช่าง พ.ศ. 2519 กรมอาชีวศึกษาประกาศยกฐานะโรงเรียนการช่างขอนแก่นและโรงเรียน การช่างสตรีขอนแก่นรวมเป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น" โดยให้โรงเรียนการช่างขอนแก่นเป็น " วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นวิทยา- เขต 1" และโรงเรียนการช่างสตรีเป็น " วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น-วิทยาเขต 2"
พ.ศ. 2520 ขยายหลักสูตรให้มีระดับสูงขึ้น โดยรับนักเรียนที่สำเร็จประโยค- อาชีวศึกษาชั้นสูง เข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2522 กรมอาชีวศึกษาประกาศเปลี่ยนฐานะจาก วิทยาลัยอาชีวศึกษา- วิทยาเขต 1 เป็น "วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น"
พ.ศ. 2524 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) โดยเปิดสอนแผนก วิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ เพิ่มขึ้น 1 สาขา โดยรับจากนักเรียนที่จบจาก ม.ศ. 5 เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี (รุ่นแรก)
พ.ศ. 2527 เปิด ปวส.ช่างไฟฟ้า, ปวส.ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม, ปวท.โยธา, ปวท. เทคนิควิศวกรรมโยธา, ปวท. เทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ, ปวท. เทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล
พ.ศ. 2531 เปิดสอนระดับ ปวช. เพิ่ม คือช่างเขียนแบบเครื่องกล
พ.ศ. 2532 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่ม ช่างยนต์, ช่างเทคนิคการผลิต
พ.ศ. 2534 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่ม ช่างเขียนแบบเครื่องกล
พ.ศ. 2535 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่ม 1 ห้อง สาขางานการทำความเย็นและ ปรับอากาศ
พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่มอีก คือสาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ และสาขา วิชาช่างก่อสร้าง
พ.ศ. 2538 เปิดสอนระดับ ปวช.ระบบทวิภาคี คือวิชาช่างยนต์, วิชาช่างกลโรงงาน, ช่างก่อสร้าง, ช่างเชื่อมโลหะ
พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับ ปวช. ระบบทวิภาคี เพิ่มอีก คือ วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิชาช่างไฟฟ้า
พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับ ปวช. และ ปวส. ภาคสมทบ และรับนักเรียนที่จบ ม. 6 เข้าศึกษาต่อระดับ ปวส.
พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับ ปวส.ระบบทวิภาคี คือ วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

จากการเปลี่ยนแปลงจากอดีต มาจนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่นได้ตระหนักถึงหน้าที่ในการพร่ำสอนให้ความรู้ พร้อมทั้งอบรมคุณธรรม จริยธรรมให้กับลูกศิษย์จนสามารถนำไปประกอบอาชีพและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นคนดีของสังคม เป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีของประเทศชาติจนกระทั้งถึงทุกวันนี้

***************************