ธรรมชาติของภาษา
ภาษาของมนุษย์โดยทั่วไปมีลักษณะร่วมกันที่สำคัญมี 4 ประการดังนี้
1. ใช้เสียงสื่อความหมาย บางภาษามีตัวอักษรเป็นเครื่องถ่ายเสียง
เสียงสัมพันธ์กับควาหมาย คำไทยบางคำอาศัยเลียนเสียงธรรมชาติ และเสียงสัตว์ เช่น โครม เพล้ง
ปั้ง กริ่ง หวูด ออด ตุ๊กๆ กา แมว จิ้งจก อึ่งอ่าง ตุ๊กแก
เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย คือ การตกลงกัน ของกลุ่มแต่ละกลุ่มว่าจะใช้คำใดตรงกับความหมายนั้นๆ
ฉะนั้นแต่ละชาติจึงใช้คำไม่เหมือนกัน
ส่วนมากเสียงกับความหมายไม่สัมพันธ์กัน ถ้าเสียงกับความหมายสัมพันธ์กันทั้งหมดแล้ว คนต่างชาติต่างภาษา
ก็จะใช้คำตรงกัน
2.ภาษาประกอบกันจากหน่วยเล็กเป็นหน่วยใหญ่ เช่นเสียง ( พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ) คำ ประโยค ข้อความ เรื่องราว
ภาษาแต่ละภาษามีคำจำนวนจำกัดแต่สามารถ ประกอบกันขึ้นโดยไม่จำกัดจำนวน เช่น มีคำว่า ใคร ใช้ ให้ ไป หา สามารถสร้างเป็นประโยคได้หลาย
ประโยค และต่อประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ
3.ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
การพูดจาในชีวิตประจำวัน เสียงอาจกลาย หรือกร่อนไป
อิทธิพลของภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ มักมีคำที่ไม่กะทัดรัด เช่นคำว่า ได้รับ ต่อการ นำมาซึ่ง พร้อมกับ สำหรับ
มัน ในความคิด สั่งเข้า ส่งออก ใช้ชีวิต ไม่มีลักษณะนาม ตัวอย่าง เขาได้รับความพอใจ ข้อสอบนี้ง่ายต่อการคิด
ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
การเรียนภาษาของเด็ก
4.ภาษาต่างๆ มีลักษณะที่ต่างและเหมือนกัน ที่ต่างกันคือ การใช้คำ เสียง ลักษณนาม ไวยกรณ์ การเรียงคำ ที่เหมือนกันคือ ใช้เสียงสื่อความหมาย ใช้วิธีสร้างศัพท์ใหม่ มีสำนวน มีชีวิตของคำ เช่น คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ เป็นต้น มีการขยายประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ มีประโยคบอกเจตนาคล้ายกัน เช่น แจ้งให้ทราบ ถามให้ตอบ บอกให้ทำ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา |
|