สกุล Lygodium ย่านลิเภา
เฟินในสกุลนี้เป็นเฟินเลื้อย ซึ่งมีเหง้าลำต้นจริงอยู่ใต้ดิน ส่วนใบพัฒนาเป็นเถาเลื้อยขึ้นพันขึ้นไปตามต้นไม้ใหญ่
เพื่อรับแสงแดด เลื้อยยาวไปได้หลายเมตร กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อน
มีจำนวนราว 40 ชนิด พบในไทยมี 7 ชนิด (บางแห่งแยกสกุลนี้เป็นอีกวงศ์เรียก
Lygodiaceae)
Lygodium circinnatum (Burm. F.) Sw.
ชื่ออื่น : ลิเภาใต้ ลิเภาหางไก่ รีบู (Ribu)
พบกระบี่ พังงา พัทลุงยะลา
Lygodium flexuosum (L.) Sw.
ชื่ออื่น : กูดจ้อง กูดดอย กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง กะฉอด (ราชบุรี) กระฉอก(ปราจีนบุรี)
ตะเภาขึ้นหน (ใต้) ตีนมังกร (กทม) ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่ ( [2] กูดก้อง กูดเครือ
สายพานผี รีบูบะซา (มลายู) หมอยยายชี [15] ผักตีนต๊กโต (เหนือ) หมอยแม่ม่าย
(ราชบุรี นครพนม) หลีเภา (ใต้) [16]
มีเหง้าสั้น ขนสีน้ำตาลปกคลุม ลำต้นเลื้อยพันได้ยาวหลายเมตร ใบประกอบแบบขนนก
ใบย่อยมีหลายรูปร่าง เช่น ขอบขนาน ถึงรูปสามเหลี่ยม กว้าง 7-12 ซ.ม. ยาว
10-25 ซ.ม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบย่อย
พบทั่วไปทุกภาคในไทย
Lygodium giganteum Tagawa & K. Iwats.
ชื่อไทย : ลิเภาเชียงใหม่
ถูกค้นพบและรายงานไว้เป็นครั้งแรกในปี 2510 ก้านมีขนาดใหญ่แตกต่างจากชนิดอื่น
ที่มีขนขึ้นตามก้านเห็นได้ชัด ที่นับว่าเป็นลักษณะเด่น คือ มีเถายาวที่สุดในบรรดาลิเภาชนิดต่างๆ
แต่มีคุณภาพในการใช้ถักต่ำมาก
พบที่เชียงใหม่ ในป่าผลัดใบเชิงดอยสุเทพ ระดับ 260-300 เมตร และพบที่เชิงดอยอินทนนท์ในระดับ
500 เมตร และที่เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก
Lygodium japonicum (Thumb. ex Murray) Sw.
ชื่ออื่น : งอแง ลิเภางอแง
พบที่ เชียงใหม่ ตาก เลย กาญจนบุรี ประจงบคีรีขันธ์
Lygodium microphyllum (Cav.) R. Br.
ชื่ออื่น : กระฉอดหนู ลิเภายุ่ง
พบในป่าที่เชียงใหม่ ลำปาง หนองคาย ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนล่างสุด
Lygodium polystachym Wall. ex. T. Moore
ชื่ออื่น : กูดก๊อง กูดเคือ ลิเภา ลิเภาย่อง
พบในป่าเชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ ชลบุรี ภาคใต้
Lygodium salicifolium C. Prresel.
ชื่ออื่น : กูดคือ สายพานผี อู่ตะเภา กะฉอด กะฉอดหนู ย่านอีเภา ย่านยายเภา
ลิโบ
พบในป่าเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง หนองคาย กาญจนบุรี ปราจีนบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้
|