ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าพิษณุโลก
ที่ตั้ง   34/7   หมู่ที่ 3   ตำบลวังนกแอ่น   อำเภอวังทอง   จังหวัดพิษณุโลก

เดิม เป็นสถานีควบคุมไฟป่าที่จัดตั้งเพื่อรับผิดชอบไฟป่าในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก   จ.เพชรบูรณ์   โดยได้รับงบประมาณดำเนินการครั้งแรกในปีงบประมาณ   2528   ต่อมาในปีงบประมาณ 2529 ได้ย้ายมาปฏิบัติงานในเขตจังหวัดพิษณุโลกโดยจัดตั้งที่ทำการใหม่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ริมถนนสายพิษณุโลก - หล่มสัก ระหว่าง หลักกิโลเมตรที่ 35 - 36 รับผิดชอบควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวา

ปีงบประมาณ 2540 กรมป่าไม้ได้ตั้งศูนย์ควบคุมไฟป่าภาคเหนือตอนล่างขึ้นที่จังหวัดพิษณุโลกโดยปฏิบัติงานควบคุมหน่วยงานสถานีควบคุมไฟป่าในท้องที่จังหวัดพิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และพิจิตร

ปีงบประมาณ 2542 ได้ยกระดับให้เป็นศูนย์ควบคุมไฟป่าภาคเหนือที่ 3 (พิษณุโลก) ในสังกัดและขึ้นตรงต่อศูนย์ควบคุมไฟป่าภาคเหนือตอนล่าง

ปีงบประมาณ 2543 มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานในสำนักควบคุมไฟป่าโดยให้ยุบศูนย์ควบคุมไฟป่าภาคเหนือตอนล่างและให้ศูนย์ควบคุมไฟป่าภาคเหนือที่ 3 (พิษณุโลก) ขึ้นตรงต่อสำนักควบคุมไฟป่า

ปีงบประมาณ 2544 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ควบคุมไฟป่าที่ 35 (พิษณุโลก)   สังกัดอยู่ในสำนักควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ มีหน้าที่ดูแลปัญหาไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 4 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก, พิจิตร ,เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์   รวมพื้นที่ป่าที่รับผิดชอบจำนวน   12,122,746   ไร่



ปีงบประมาณ 2546 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า พิษณุโลก   สังกัดอยู่ในสำนักป้องกันและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีหน้าที่ดูแลปัญหาไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 4 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก, พิจิตร ,เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์   รวมพื้นที่ป่าที่รับผิดชอบจำนวน   12,122,746   ไร่

พื้นที่รับผิดชอบ
<> ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าพิษณุโลก รับผิดชอบโดยการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนล่าง 4 จังหวัด คือ พิษณุโลก , เพชรบูรณ์ , พิจิตร และนครสวรรค์ ซึ่งรับผิดชอบทั้งพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ , ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าที่สำคัญต่าง ๆ คือ
1.ป่าอนุรักษ์ คือ พื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า, น้ำตกชาติตระการ, ทุ่งแสลงหลวง, น้ำหนาว, ตาดหมอก, แม่วงก์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง - ภูทอง, ภูผาแดง, เขาห้วยใหญ่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ , ถ้ำผาท่าพล และพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธาร รวมพื้นที่ 3,762,747 ไร่
2.ป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึงป่าชุมชน เช่น ป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวา, ป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย , ป่าเขากระยาง,ป่าน้ำหนาว, ป่าโคกซำซาง, ป่าลุ่มน้ำป่าสัก, ป่าแม่วงก์-แม่เปิน และป่าเขาคอก รวมพื้นที่ 8,113,120 ไร่
3.ป่าที่สำคัญ เช่น
   3.1จังหวัดพิษณุโลก คือ พื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ ภูขัด- ภูเมี่ยง-ภูสอยดาว (บริเวณพื้นที่โครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินารถ) พื้นที่ 112,356 ไร่
   3.2จังหวัดนครสวรรค์ คือ พื้นที่โครงการอันเนื่องจากพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ บริเวณเทือกเขาพระ พื้นที่ 69,035 ไร่
   3.3จังหวัดเพชรบูรณ์ คือ เขตพระราชฐานพระตำหนักเขาค้อ

ลักษณะภูมิประเทศ ( Topograply)
จังหวัดพิษณุโลก
- เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวาบริเวณ ตำบลวังนกแอ่น ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาสลับกัน มีพื้นที่ราบเป็นบางแห่งตามบริเวณ ที่ราบลุ่มลำน้ำโดยเฉพาะตอนกลางพื้นที่ทั่วไปมีระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางประมาณ 150 - 500 ม. ทางตอนใต้มีแนวเขาค่อนข้างสูงชันเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยเล็ก ๆ หลายสายไหลลงสู่ลำน้ำเข็ก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกมีแนวเขาสูงชันอันเป็นแนวแบ่งเขตของ อำเภอวังทอง กับ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
   -เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขากระยาง และเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงบางส่วน ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ทั่วไปเป็นเนินเขาและเทือกเขาสูงชันสลับกันไปมีพื้นที่ราบบริเวณตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกบริเวณตอนกลางพื้นที่ ค่อนไปทางทิศตะวันตกจะเป็นแนวเขาที่สูงชันเรียกว่า เขากระยาง ซึ่งมีความสูงชันยาวตลอดตามแนวเหนือใต้พื้นที่ ทั่วไปมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 100-500 ม.
   - เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลำน้ำแควน้อยฝั่งซ้าย, ป่าสงวนแห่งชาติเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ทั่วไปค่อนข้างราบมีแนวเขาสูงสลับกับเนินเขาเป็นบางแห่ง ทิศตะวันออกติดแนวเขาภูหินร่องกล้าที่สูงชัน ทางตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มทิศเหนือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำแควน้อยสองฝั่ง ทิศตะวันตกเป็นแนวเขาที่ทอดยาวต่อมาจากเขากระยาง พื้นที่ทั่วไปสูงจากระดับ น้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 200 - 400 ม.
   -เขตพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว มีอาณาเขตครอบคลุม พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 112,365 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และอยู่ในท้องที่อำเภอห้วยมุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเขาและสูงสลับซับซ้อนกันไปมีความสูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,800 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ประมาณ 85 % เป็นที่ราบประมาณ 15 % ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ภูลูกคราด ภูสอยดาว ภูเมี่ยง ภูฮี้ และภูทุ่งแล้ง เป็นต้น บริเวณเทือกเขาเหล่านี้เป็น แหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ลำน้ำปาดไหลลงสู่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ลำน้ำภาค และลำน้ำแควน้อย ไหลลงสู่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
   - เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร หรือ 339,375 ไร่ สภาพ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขา และภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำภาคและแม่น้ำ ลำแควน้อย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200-1,200 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในพื้นที่อุทยานฯ ได้แก่ ภูไก่ห้อย มี ความสูง 1,277 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

สภาพป่า(Forest)
- เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มแม่น้ำวังทองฝั่งขวาบริเวณตำบลวังนกแอ่น ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าผลัดใบมีป่าเต็งรัง อยู่ด้านทิศตะวันตกยาวตลอดแนวจนถึงทิศใต้ ส่วนทางตอนเหนือและทิศตะวันออกเป็นป่าที่ถูกทำลาย หรือเสื่อมโทรม
- เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขากระยางและเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงบางส่วน ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สภาพป่ามีความแตกต่าง กันมาก โดยตอนกลางของพื้นที่ค่อนไปทางทิศตะวันตกแนวเขากระยางชนิดป่าเป็นแบบป่าดิบ ทิศตะวันตกเป็นป่าเต็งรังทั้งสิ้น ด้านทิศเหนือเป็นป่าผสมผลัดใบ ทิศใต้เป็นป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และป่าที่ถูกทำลาย กระจายสลับกันทั่วไป ด้านทิศตะวันออกติดแนวเขาภูหินร่องกล้าเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนที่เป็นป่าถูกทำลาย

สภาพเชื้อเพลิง(Fuel)
โดยทั่วไปของพื้นที่ควบคุมไฟป่าส่วนใหญ่เป็นสภาพป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาและป่าดงดิบบริเวณริมห้วยหรือลำธารที่ถูกบุกรุกจากประชาชนเข้าไปทำไร่แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวา และเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ซึ่งบางส่วนกลายเป็นหมู่บ้านและไร่ร้าง จึงทำให้มีสภาพเชื้อเพลิงอยู่ ทั่วไปในฤดูแล้ง เช่นหญ้าคา หญ้าพง หญ้าเพ็ก สาบเสือ และไม้พื้นล่างอื่นๆที่เกิดขึ้นหลังจากสภาพป่าเปิดออก กลายเป็นไร่และเมื่อมีการทำไร่ผ่านไปแล้วปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าจึงเกิดวัชพืชเหล่านี้ขึ้นมาในฤดูฝน และจะแห้งตายในฤดูแล้งจึงก่อให้เกิดปริมาณเชื้อเพลิงสะสมอยู่ทั่วไปเมื่อถึงฤดู เก็บเกี่ยวพืชไร่ผ่านไปแล้ว ชาวไร่ก็จะเผาเศษพืชไร่ที่แห้งอยู่ให้หมดไป แต่ขาดการควบคุมที่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาไฟป่าประจำทุกปี ในฤดูแล้ง

สภาพดิน (Soil)
- เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวา บริเวณตำบลวังนกแอ่น ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้สภาพดินทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเชิงซ้อน ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 % ส่วนทางตอนเหนือจนถึงบริเวณตอนกลางและทิศตะวันออกบางส่วน จะมีลักษณะเป็นดินร่วนละเอียด ตามที่ราบลุ่มหุบเขามีความลาดชัน 0 - 2 % นอกจากนี้ยังพบดินเหนียวและ ดินทรายแป้งตามที่ราบหุบเขาทิศตะวันออกเฉียงเหนือและดินเหนียวทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่
- เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขากระยาง และเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงบางส่วน ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สภาพดินบริเวณตอนกลาง ที่พบเป็นดินร่วนละเอียด ซึ่งมีความลาดชัน 8 - 16 % ส่วนทางตอนเหนือค่อนมาทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นดินประเภทดินร่วนละเอียด ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความลาดชัน 16 - 35 % ด้านทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เป็นดินประเภทดินที่ลาดชันเชิงซ้อน มีความลาดชันมากกว่า 35 % ตามแนวเทือกเขากระยาง ด้านทิศเหนือลาดไปจดทิศตะวันตก เป็นดินเหนียวละเอียด ด้านทิศใต้ เป็นดินจำพวกดินร่วนละเอียด ส่วนตอนกลางเป็นดินระหว่างกลุ่มดินเหนียวกับดินที่ลาดเชิงซ้อน
- เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลำน้ำแควน้อยฝั่งซ้ายป่าสงวนแห่งชาติเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สภาพดินบริเวณทิศตะวันออกทั้งหมดเป็นดิน ที่ลาดเชิงซ้อน มีความลาดชันมากกว่า 35 % ด้านทิศเหนือลาดไปจดทิศตะวันตกเป็นดินเหนียวละเอียด ด้านทิศใต้เป็นดินจำพวกดินร่วนละเอียด ส่วนตอนกลางเป็นดินระหว่างกลุ่มดินเหนียวกับดินที่ลาดเชิงซ้อน

เส้นทางคมนาคม (Communication)
ในทางปฏิบัติงานดับไฟของทาง ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าพิษณุโลก อาศัยเส้นทางคมนาคมถนนหลวงแผ่นดินสายหลัก หมายเลข 12 สายพิษณุโลก - หล่มสัก , และถนนสาย วังทอง - บ้านแยง และบ้านแยง - นครไทย ซึ่งเป็นถนนลาดยางอย่างดี นอกจากนี้ยังมีถนน อีก 3 สาย เป็นสายรอง ลักษณะของผิวถนนเป็นทางดินแดง ใช้ได้ดี แต่พอถึงช่วงฤดูฝนใช้ได้เป็นบางช่วง นอกจากนั้นจะเป็นถนนเล็กๆ เข้าหมู่บ้าน หรือเข้าป่า ซึ่งใช้ได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น ส่วนทางเดินเข้าป่าจะมีกระจายอยู่ทั่วไปจากถนนสายหลักและสายรอง เนื่องจาก ป่าสงวนแห่งชาตินี้ได้ถูกบุกรุกจากราษฎรมากพอสมควร ซึ่งจะเห็นได้จากสภาพป่าบางตอนที่กลายเป็นไร่ ใช้ในการเพาะปลูกประจำอยู่ทุกปี ซึ่งใช้เป็นแนวเส้นทางคมนาคมตรวจหาไฟได้

สภาพแหล่งน้ำ (Water Resouce)
ในทางปฏิบัติงานดับไฟของทาง ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าพิษณุโลก อาศัยเส้นทางคมนาคมถนนหลวงแผ่นดินสายหลัก หมายเลข 12 สายพิษณุโลก - หล่มสัก , และถนนสาย วังทอง - บ้านแยง และบ้านแยง - นครไทย ซึ่งเป็นถนนลาดยางอย่างดี นอกจากนี้ยังมีถนน อีก 3 สาย เป็นสายรอง ลักษณะของผิวถนนเป็นทางดินแดง ใช้ได้ดี แต่พอถึงช่วงฤดูฝนใช้ได้เป็นบางช่วง นอกจากนั้นจะเป็นถนนเล็กๆ เข้าหมู่บ้าน หรือเข้าป่า ซึ่งใช้ได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น ส่วนทางเดินเข้าป่าจะมีกระจายอยู่ทั่วไปจากถนนสายหลักและสายรอง เนื่องจาก ป่าสงวนแห่งชาตินี้ได้ถูกบุกรุกจากราษฎรมากพอสมควร ซึ่งจะเห็นได้จากสภาพป่าบางตอนที่กลายเป็นไร่ ใช้ในการเพาะปลูกประจำอยู่ทุกปี ซึ่งใช้เป็นแนวเส้นทางคมนาคมตรวจหาไฟได้ ในพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งหมดมีแหล่งน้ำใหญ่ ๆ ที่ใช้ได้ตลอดปีอยู่ 6 แห่ง ได้แก่ ลำน้ำเข็ก ห้วยบ้านน้ำริน ห้วยบ้านแยง ห้วยบ้านซำรู้ ลำน้ำแควน้อย นอกจากนั้นเป็นแหล่งน้ำเล็ก ๆ ตามลำห้วยซึ่งสามารถใช้ได้แม้ในฤดูแล้ง เช่น ห้วยน้ำไคร้ ห้วยบ้านปากยาง และห้วยบ้านห้วยเฮี้ยะ เป็นต้น

บริเวณที่ต้องป้องกันไฟป่าเป็นพิเศษ
- สวนรุกขชาติน้ำตกสกุโณทยาน ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
- อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ต.บ้านแยง กิ่ง อ.นครบางยาง จ.พิษณุโลก
- เขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าาย
- เขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวาา
- เขตป่าสงวนแห่งชาติเขากระยาง
- ป่าสงวนแห่งชาติเนินเพิ่ม
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ อ.ชาติตตระการ จ.พิษณุโลก
- โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ภูขัด ภูเเมี่ยง ภูสอยดาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

รายชื่อหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าพิษณุโลกตั้งแต่ก่อตั้ง - ปัจจุบัน
1.นายสมศักดิ์    เร่งเพียร     ปฏิบัติงาน 2527 - 2531
2.นายสมคิด    แก้วไทรหงวน     ปฏิบัติงาน 2531 - 2534
3.นายสมศักดิ์    เร่งเพียร     ปฏิบัติงาน 2534 - 2540
4.นายสมัคร    ดอนนาปี     ปฏิบัติงาน 2540 - 2543
5.นายปณิทาน    จันทมา     ปฏิบัติงาน 2543 - 2544
6.นายทวีศักดิ์    ขันธราช     ปฏิบัติงาน 2544 - 2544
7.นายสัมฤทธิ์    ยินเจริญ     ปฏิบัติงาน 2544 - 2545
8.นายกิตติพจน์    สมอารยพงษ์     ปฏิบัติงาน 2545 - 2545
9.นายโอภาส    วิจิตรานันท์     ปฏิบัติงาน 2545 - 2546
สายงานการบังคัญบัญชาภายในศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าพิษณุโลก
ประจำปีงบประมาณ 2546

ปัจจุบัน นายโอภาส   วิจิตรานันท์     เจ้าหน้าที่งานบริหารงานป่าไม้ 6
ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า พิษณุโลก

นายธนาธิป     ทารักษา   เจ้าพนักงานป่าไม้ 5    ประจำศูนย์ฯ
นายปราโมทย์     ขำสุทัศน์   พนักงานพิทักษ์ป่า    ประจำศูนย์ฯ
หน้าหลัก    
ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า พิษณุโลก    รักษาป่า     เพื่อให้สิ่งแวดล้อมที่ดีแก่ทุกคน