ทางสว่าง
 การหาอายุสิ่งที่กว้างใหญ่และซับซ้อนอย่างจักรวาลเป็นเรื่องที่ยากก็จริงอยู่ แต่วิธีการต่างๆมักอิงกับหลักการง่ายๆ ดวงดาวก็เหมือนกับแสงไฟแฟลชเหล่านี้ ยิ่งอยู่ใกล้ก็ยิ่งดูสว่าง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทราบความสว่างที่แท้จริงของดวงดาวและนำมาเปรียบเทียบกับความสว่างที่ปรากฎ พวกเขาก็สามารถคำนวณหาระยะทางได้ และเมื่อทราบระยะต่างๆแล้ว ก็พอจะหาอายุของจักรวาลได้แม่นยำขึ้น ดาราจักรเอ็ม 100 เป็นการค้นพบชิ้นหนึ่งที่เพิ่งนำมาใช้ปะติดปะต่อปริศนาอายุจักรวาล
blackhole สิ่งลึกลับที่ยังข้อพิสูจน์ไม่ได้
จักรวาล...
อายุเท่าไร
ก่อนที่เอ็ดวิน ฮับเบิล จะก้าวเข้าสู่วงการดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ไม่เพียงติดขัดเรื่องการหาอายุของจักรวาลเท่านั้น
แต่ยังไม่แน่ใจด้วยว่าพ้นจากทางช้างเผือกไปยังมีอะไรอยู่อีกบ้าง จนกระทั่งปี 1924 ฮับเบิ้ลค้นพบว่ามีอะไรอยู่มากกว่านั้นจริงๆ
พอถึงปี 1924 ฮับเบิ้ลก็พิสูจน์ได้ว่าจักรวาลกำลังเคลื่อนตัวห่างจากกันด้วยอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับระยะทาง เมื่อเราทราบว่าดาราจักรทั้งหลายกำลังเคลื่อนตัวห่างออกไปจากเราด้วยความเร็วและระยะทางเท่าไร ก็จะคำนวณหาอัตราการขยายขอบเขตของจักรวาลที่เรียกว่า "ค่านิจฮับเบิ้ล" เพื่อนำไปคำนวณหาอายุของจักรวาลได้ แต่การได้ค่าตัวเลขที่เชื่อถือได้เพื่อใช้คำนวณหาค่านิจ( ค่าคงที่ ) ยังเป็นเรื่องยาก ความเร็วเป็นสิ่งที่วัดไดไม่ยากนัก ด้วยการตรวจสอบแถบสเปกตรัมของแสงที่มองเห็นได้จากดาราจักร โดยหลักการว่า ยิ่งสเปกตรัมเลื่อนไปทางแถบสีแดงมากเท่าไร ดาราจักรยิ่งเคลื่อนตัวออกห่างจากเราเร็วเท่านั้น
แตัการวัดระยะทางกลับเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า แม้กระทั่งฮับเบิ้ลเองยังคำนวณค่าคงที่ผิดพลาดไปเกือบ 10 เท่า
ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ก็ได้ค่านิจฮับเบิ้ลค่าใหม่มาช่วยคำนวณ ในดาราจักรเอ็ม 100 นักดาราศาสตร์พบดาวแปรแสง หรือที่เรียกว่าดาวเซอิดรวม 52 ดวง ซึ่งเป็นดาวอายน้อยที่ส่องแสงสว่างและหรี่ลงด้วยอัตราที่สัมพันธ์กับความสว่าง นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณหาค่าความสว่างสัมบูรณ์ของดาวเซเฟอิคได้ด้วยการจับเวลาช่วงที่กะพิบ และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าความสว่างที่ปรากฎก็จะได้ระยะทางระหว่างดาวดวงนั้นกับโลก ด้วยวิธีนี้เองที่ทำให้นักวิจัยสรุปว่าดาราจักรเอ็ม 100 อยู่ห่างจากโลก 50 ล้านปีแสง และเมื่อใช้ระยะทางที่ได้จากดาวเซเฟอิคใน 27 ดาราจักร นักดาราศาสตร์เวนดี ฟรีดแมนและคนอื่นๆก็สามารถคำนวณค่านิจฮับเบิ้ลได้เท่ากับ 72 หลังจากนำไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลด้านอื่นๆ ของจักรวาลทำให้เราทราบอายุจักรวาลว่าอยู่ที่ประมาณ 13,000 ล้านปี
ที่มาของข้อมูล:national geographic ฉบับภาษาไทย ประจำเดือนกันยายน 2544
home
next