กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน
นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ในสมัยโบราณสังเกตพบว่า ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ส่วนโลกและดาวเคราะห์ต่างๆ โคจรรอบดวงอาทิตย ์โดยวงโคจรของดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์มีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี แม้เคปเลอร์จะพบกฎการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ได้ แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถอธิบายเหตุผลในการโคจร ลักษณะเช่นนี้ได้จนกระทั่งนิวตันได้นำผลการสังเกตของนักดาราศาสตร์ทั้งหลายมาสรุปว่า       การที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ เนื่องจากมีแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์
เขาเชื่อว่าแรงนี้เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงอาทิตย์กับมวลของดาวเคราะห์และยังเชื่อต่อไปว่าแรงดึงดูดระหว่างมวล เป็นแรงธรรมชาติและจะมีแรงดึงดูดระหว่างวัตถุทุกชนิดที่มีมวลในเอกภพ  นิวตันจึงเสนอกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลซึ่งมีใจความว่า “วัตถุทั้งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่งๆจะแปรผันตรงกับผลคูณ ระหว่างมวลทั้งสองและจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั้น”

ในการหามวลของวัตถุต่างๆบนโลกเราอาจหาได้โดยใช้เครื่องชั่งแต่กรณีที่วัตถุมีขนาดใหญ่มาก เช่นโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ต่างๆ เราไม่สามารถใช้เครื่องชั่ง ชั่งมวลที่มีขนาดใหญ่เช่นนั้นได ้แต่เราสามารถใช้กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน คำนวณหามวลของวัตถุขนาดใหญ่ๆ เช่นโลกและดวงดาวได้         กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลทำให้สามารถเข้าใจสมบัติและลักษณะการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ได้เป็นอย่างดี อาจพิสูจน์ได้ว่า แรงที่เป็นปฏิภาคกับ1/R2 ทำให้วงโคจรโดยทั่วไปจะเป็นวงรีวงกลม อาจถือว่าเป็นกรณีพิเศษของวงรี

แรงมวล และกฎการเคลื่อนที่
back
home
next