มาวิเคราะห์เพื่อหาความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆในโรงงานกันดีกว่า
สุรัตน์ ศรีน้อย* ยุทธพงศ์ ทัพผดุง**
*ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต E-Mail: issn@dusit.ac.th
**กองบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค E-Mail: yutt_t@pea.co.th
โดยทั่วไปแล้วในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์เพื่อหาความพร้อมใช้งานของกระบวนการ,อุปกรณ์เครื่องมือหรือเครื่องจักรต่างๆ เพื่อทำให้เราสามารถประมาณหรือคาดเดาได้ว่าปริมาณผลผลิตที่จะได้รับมีจำนวนเท่าไหร่ต่อระยะเวลาที่กำหนด, ระยะเวลาที่จะต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมอะไหล่ อีกทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการนำเสนอให้ท่านผู้อ่านสามารถทราบหลักการและปัจจัยอะไรบ้างที่จำเป็นให้การวิเคราะห์เพื่อหาความพร้อมใช้งาน(Availability) ของอุปกรณ์ต่างๆในโรงงานของท่านได้
บทนำ
ความสามารถในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นโดยทั่วไปแล้วจะถูกบงชี้ด้วยค่าดัชนีต่างๆเช่นปริมาณ,ความถี่และระยะเวลาที่เครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตหยุดทำงาน อีกทั้งค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป และการวิเคราะห์เพื่อหาความพร้อมใช้งานนั้นก็เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยให้วิศวกรหรือผู้เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงความสามารถในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมของตนเองได้ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยการคำนวณหาต้นทุนต่างๆ และขอบเขตผลตอบแทนที่เราจะได้รับ สำหรับวิธีการที่เราจะหาความเหมาะสมที่สุดของความสามารถในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมได้นั้นก็จะอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์หาความพร้อมใช้งานทั้งสิ้น และก่อนที่จะดำเนินการปรับปรุงความสามารถในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเราจำควรจะต้องดำเนินการประเมินหาค่าต่างๆ ดังนี้ก่อน อาทิเช่น เป้าหมายของค่าความพร้อมใช้งาน,ค่าความเชื่อถือได้,ความสามารถในการบำรุงรักษา,ค่าใช้จ่ายเมื่อเครื่องจักรหยุดทำงาน,ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักร เป็นต้น
สำหรับค่า MTTR ของส่วนประกอบต่างๆนั้นจะเป็นการวัดความสามารถในการบำรุงรักษาของส่วนประกอบนั้นๆและ MTTF จะเป็นการวัดความเชื่อถือได้ของส่วนประกอบนั้นๆ และบ่อยครั้งมีเราได้นำค่าความสามารถในการบำรุงรักษาและค่าความเชื่อถือได้ มาใช้เพื่อหาขอบเขตเพื่อหาค่าต้นทุนโดยรวมที่น้อยที่สุด ซึ่งวิธีการวิเคราะห์หาความพร้อมใช้งานนี้ก็จะสามารถหาต้นทุนที่น้อยที่สุดดังกล่าวได้ และนอกจากนั้นยังอยู่ภายใต้ข้อกำหนดต่างๆหรือสเปคของระบบหรือเครื่องจักรนั้นๆนั่นเอง
ก่อนอื่นเราลองมาพิจารณาความสามารถในการซ่อมแซม ซึ่งจะประกอบด้วยอัตราการเสีย(
และ
เมื่อเปลี่ยน MTTR เป็นฟังก์ชั่นของ MTTF และ A ก็จะได้
สำหรับค่าของ A แต่ละค่านั้นเมื่อทำการพร็อตกราฟเปรียบเทียบระหว่างค่า MTTR กับ MTTF แล้วเราก็จะได้เส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ(1-A)/A ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของ MTTR กับ MTTF เมื่อกำหนดให้ค่า A คงที่
ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์
โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
1. ระดับความพร้อมใช้งานที่ต่ำที่สุดที่ต้องการ
2. ค่า MTTF (ระยะเวลาอุปกรณ์เสียเฉลี่ยต่อปี) ต่ำที่สุดที่ต้องการ
3. ค่า MTTR (ระยะเวลาการซ่อมอุปกรณ์เฉลี่ยต่อปี) สูงที่สุดที่สามารถยอมรับได้
ดังรูปที่ 2 ในพื้นที่ที่มีการแรเงานั้นจะเป็นขอบเขตค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่เราเป็นผู้กำหนดและสามารถยอมรับได้ ดังนั้นการที่จะลดทุนให้ได้มากหรือน้อยนั้นก็จะขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบที่จะนำจุดใดในขอบเขตพื้นที่ที่ถูกแรเงานั้นไปออกแบบนั่นเอง
รูปที่ 2 ขอบเขตทางด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์ความพร้อมใช้งาน
สรุป
เมื่อมาถึงจุดนี้คุณจะเห็นได้ว่าจากตัวอย่างข้างต้นที่เราใช้สมการง่ายๆและปัจจัยไม่กี่ตัว คุณก็สามารถหาหรือคำนวณขอบเขตต้นทุนของความพร้อมใช้งานและผลประโยชน์ที่คุณจะได้รับเพื่อช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงานของคุณให้ดีขึ้นได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับค่า MTTF และ MTTR นั้นจะเป็นค่าที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลและสถิติของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ของคุณเอง ดังนั้นข้อมูลดังกล่าวควรจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้วการประเมินค่าต่างๆก็จะผิดพลาดไปด้วย สวัสดีครับ
เรียบเรียงจาก :
- R. Ramakumar,Engineering Reliability: Fundamentals and Applications, Prentice-Hall , Inc.,1993.