ประวัติของจังหวัดตราด

       ตราดเป็นจังหวัดชายแดนเล็กๆ สุดด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทยต่อจากจังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร  มีทิวเขาบรรทัดเป็นพรมแดนกั้นอาณาเขตระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศกัมพูชาทางด้านตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงสายที่สั้นที่สุด คือ สายบางนา-ชลบุรี-แกลง- จันทบุรี-ตราดเป็นระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร ใน ร.ศ. 112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสยอม ยกดินแดนจังหวัดตราดและเกาะช้างทั้งหมด ตั้งแต่แหลมสิงห ์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ถอนทหารออกจากจันทบุรี 23 มี.ค. 2449 ได้ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร
ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมืองตราด เกาะต่าง ๆ ตั้งแต่ แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด กับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่ อ 6 กรกฏาคม 2450 ชาวจังหวัดตราดจึงได้ถือเอาวันที่ 23 มีนาคม 2449 เป็นวัน "ตราดรำลึก" โดยฝ่ายไทยมี พระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย เป็น หัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทยฝ่ายฝรั่งเศสมีมองซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้า ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำ พิธีส่งและรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด ในระหว่างสงครามอินโดจีน จังหวัดตราดถูกโจมตีโดยกองเรือรบฝรั่งเศส
ราชนาวีไทยได้เข้าขัด ขวางและเกิดยุทธนาวีที่เกาะช้างขึ้น การรบในครั้งนี้สร้างชื่อเสียงให้แก่กองทัพเรือไทยในความกล้าหาญมาก แม้ว่าฝ่ายไทยจะต้องเสียเรือรบหลวงชลบุรี เรือรบหลวงสงขลาและเรือรบปืนธนบุรีไป 3 ลำก็ตาม