คู่มือการใช้โปรแกรม BAYCOM และ PACKET RADIO
                           BY E21IZC@DL1ZAV.BKK 16-9-98
โปรแกรม BAYCOM TERMINAL PROGRAM VERSION 1.50A

         เป็นโปรแกรม  ซึ่งเขียนโดยนักวิทยุสมัครเล่นชาวเยอรมัน  Mr.FLORIAN RADHERR สัญญาณเรียกขาน DL8MBT และ DL3RBU โดยประกอบด้วย FILE ต่าง ๆ ดังนี้ที่ สำคัญสำหรับระบบ
        FILE  SCC.INI เป็น FILE ที่ใช้สำหรับ เซ็ทค่าเริ่มต้นของการงานใช้โปรแกรมเป็น FILE  ในลักษณะของ  TEXT  FILE  โดยสามารถใช้คำสั่ง EDIT หรือ Q.EXE ของ DOS หรือ THAIWRITE ที่อยู่ใน WINDOWS เป็นโปรแกรมที่ทำการแก้ไขได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบ SOFT TNC นี้มีอยู่มากมาย โดยเป็น SOFTWARE ประเภท SHAREWARE ที่โดยส่วนมากนักวิทยุสมัครเล่น ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และชอบ ค้นคว้าในสิ่งใหม่ ๆ จะเป็นผู้เขียน ในปัจจุบัน BAYCOM MODEM  ที่เราใช้เล่นกันอยู่ นี้ มีโปรแกรมที่จะสามารถใช้ได้ไม่เพียงแต่ โปรแกรม BAYCOM เท่านั้น ยังมีอีก หลายโปรแกรมที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น TOP   VERSION  1.51,1.53 ซึ่งเหมาะสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์  ตั้งแต่ 486 DX66 ขึ้นไปจนถึง PENTIUM โดยโปรแกรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถหาได้จากทาง INTERNET ของกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่น คุณสมบัติของวงจร BAYCOM MODEM         การแก้ไขและปรับปรุงไฟล์ SCC.INI ให้เหมาะสมกับแต่ละท่าน จากข้างต้นเราทราบถึงโปรแกรมที่ใช้ในการแก้ไข File SCC.INI แล้ว สำหรับเซ็ทโปรแกรม  BAYCOM  ให้เหมาะสมกับแต่ละท่าน โดยเมื่อท่านใช้คำสั่ง EDIT SCC.INI แล้ว และในขณะนี้ท่านอยู่ในหน้าจอของอีดิตเตอร์ให้เรื่มเข้าไปแก้ไขที่ บรรทัดที่ 7 ENGLISH ON ซึ่งโปรแกรมจะให้ใช้ได้ 2 ภาษาคือภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน หากท่านต้อง การใช้ภาษาใด ก็ให้ท่านเลือก ระหว่าง ENGLISH ON หรือ GERMAN ON บรรทัดที่ 30 TPORT 8 8 คือ จำนวน Terminal Screen ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถที่จะคุยกับเพื่อน ๆ ในระบบ PACKET RADIO ได้ถึง 8 สถานี โดยปกติโปรแกรมจะตั้งมาให้แค่ 4 สถานี บรรทัดที่ 39 RS232 2 ให้ท่านแก้ให้ตรงกับ COMPORT ที่ท่านใช้ (ส่วนใหญ่จะใช้COM2 เพราะ MOUSE จะต่ออยู่กับ COM1 ไว้แล้วแต่จะใช้ที่ COM1 ก็ได้) บรรทัดที่ 58 CRTSAVE 20 เป็นค่าของ screen saver หน่วยเป็นนาทีถ้าใช้ 0 จะยกเลิกการใช้screen saver
บรรทัดที่ 63 REMOTE ON เป็นการเปิด/ปิด การควบคุมจากต่างสถานี ถ้า off คู่สถานีจะไม่สามารถส่ง คำสั่งมาควบคุมได้
บรรทัดที่ 71 KNAX ON เป็นการเปิด/ปิด เสียง ตุ๊บ...เมื่อมีข้อความเข้ามาจาก คู่สถานี OFF=ไม่มีเสียง
บรรทัดที่ 72 CBEKK ON เป็นการเปิด/ปิด เสียงเตือนเมื่อมีเพื่อน CONNECT เข้ามา OFF =ไม่มีเสียง
บรรทัดที่ 96 DCALL CALLSIGN เป็นการตั้งสัญญานเรียกขาน DIGIPEATER
บรรทัดที่ 98 MYCALL CALLSIGN เป็นการตั้งสัญญานเรียกขานของสถานีที่ใช้
บรรทัดที่ 99 CNOT @ เป็นการตั้งสัญญานเรียกขานที่เราไม่ต้องการที่จะติดต่อด้วย
บรรทัดที่ 124 PACLEN 128 ตั้งจำนวนอักษรที่เราจะส่งไปในแต่ละคีย์ เช่น 32,64,128,256
บรรทัดที่ 211 TXDELAY 0 45 การตั้งระยะหน่วงเวลาระหว่างการกดคีย์กับการเริ่มส่งข้อมูลออกอากาศ 0 = ช่องที่ตั้งค่านี้ 45 = ระยะเวลาที่หน่วง (หน่วยเป็นมิลลิวินาที) หมายเหตุ ค่าที่นิยมอยู่ระหว่าง 30-50
บรรทัดที่ 213 BEACON 0 0 ตั้งเวลาระยะห่างของการส่ง BEACON 0 ตัวแรก =ช่องที่ตั้งค่านี้ 0 ตัวที่สอง = ไม่มีการส่ง BEACON ให้ใส่ตัวเลขแทน 0ตัวที่สอง หน่วยเป็นวินาทีเช่น 600 = 600 วินาที = 10 นาที 900 = 900 วินาที = 15 นาที 1800 = 1800 วินาที = 30 นาที บรรทัดที่ 214 BADRESS 0 BEACON CALLSIGN DIGI.CALLSIGN 0 = ช่องที่ตั้งค่า BEACON = ข้อความสัญลักษณ์ อาจใช้ CQ หรือ BEACON ก็ได้ CALLSIGN = สัญญานเรียกขานของท่าน DIGI.CALLSIGN = สัญญานเรียกขานของสถานี DIGIPEATER ที่ท่านต้องการให้ ถ่ายทอด BEACON ของท่าน เช่น HS1OMK DL1ZAV HS7AS เป็นต้น
บรรทัดที่ 215 BTEXT 0 TEXT 0 = ช่องที่ตั้งค่า TEXT = ข้อความที่ส่งไปพร้อมกับ BEACON ของท่าน เช่น BTEXT 0 <> เมื่อท่านแก้ไขไฟล์ SCC.INI เรียบร้อยแล้วให้บันทึกการแก้ไข แล้วออกจากโปรแกรมอีดิตเตอร์
PARA.EXE


        เรียกโปรแกรม PARA.EXE เพื่อให้โปรแกรมนี้ แปลงตัวอักษรในไฟล์ SCC.INIไปเป็นรหัสทางคอมพิวเตอร์ โดยอัตโนมัติ ให้พิมพ์ PARA <กด ENTER> แล้วสังเกตดูว่ามีการแสดงบรรทัดที่ ป้อนค่าไปผิดหรือไม่ ถ้ามีให้แก้ไขให้ถูกต้อง เรียกโปรแกรม PARA อีกจนไม่มีการ ERROR ต่อสายต่าง  ๆ ให้เรียบร้อย
BAYCOM.BAT
        ถ้าในโปรแกรม BAYCOM ของท่านไม่มี FILE ชื่อ BAYCOM.BAT ให้ทำดังนี้เพื่อสร้าง FILE ชื่อ BAYCOM.BAT เพื่อสะดวกในการใช้งาน โดยใช้คำสั่งเมื่ออยู่ใน C:> ว่า  (ถ้าต้องการให้สามารถอ่าน ภาษาไทยได้  ในกรณีที่ในโปรแกรมมี FILE THAI.COM ถ้าไม่มีก็ให้ตัดบรรทัด THAI ทิ้งไป)
| C:>COPY CON BAYCOM.BAT
| @ECHO OFF
| THAI | L2
| SCC
| ^Z |
คำสั่งใช้งานโปรแกรม BAYCOM เมื่อเข้าสู่การทำงานของโปรแกรม  BAYCOM  ส่วนการทำงานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
    ในส่วนที่ 1จะเป็นส่วนส่งข้อมูลและควบคุมโปรแกรมโดยคำสั่งควบคุมจะเป็นคำสั่ง ที่ต้องมี  :  นำหน้าเสมอ แต่ถ้าไม่มีโปรแกรมจะถือว่าเป็นข้อมูลที่ต้องการจะติดต่อ
    ส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนรับข้อมูลจากคู่สถานีที่ติดต่อ และ
    ในส่วนที่3 จะเป็นส่วน MONITOR คือใช้เฝ้าดูการติดต่อของสถานีอื่น สำหรับการเลื่อนไปในส่วนต่าง ๆ สามารถ กระทำได้โดยกดปุ่ม F9 และการดูคำสั่งช่วยเหลือ HELP ทำได้โดยการกดปุ่ม ALT+F1 แล้วเลือกคำสั่งที่ไม่เข้าใจ  โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ท่านต้องการทราบ และจะมี ข้อความอธิบายให้ทราบถึงคำสั่งที่ไม่เข้าใจ ส่วนการออกจากโปรแกรมกระทำได้โดย กดปุ่ม ALT+X หรือใช้คำสั่ง :QUIT
     ในทางกลับกันถ้าท่านต้องการที่จะใช้ คำสั่งในโปรแกรมของคู่สถานีก็เพียงแต่เปลี่ยนจาก : เป็น // ก็จะสามารถเข้าไปทำงาน ในโปรแกรมของคู่สถานีที่ท่านติดต่อได้ (ดูคำสั่งต่าง ๆ จากข้างท้าย) :MY callsign เป็นการเปลี่ยนCALLSIGN ของท่านอย่างเร่งด่วนที่หน้าจอ ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ HS6LZD เป็นผู้ที่ทำการออกกาศอยู่ HS1JQPต้องการที่จะออกอากาศจะต้องทำการเปลี่ยนสัญญาณเรียกขานเพื่อให้เป็นสัญญาณเรียกขานของตนเองจะใช้คำสั่ง             :mycall HS1JQP :C CALLSIGN เป็นการสั่งให้ CONNECT ไปที่สถานีนั้น ๆ เช่น HS1JQP ต้องการที่จะติดต่อ HS0XNO ต้องใช้คำสั่ง
        :c HS0XNO :C CALLSIGN DIGI1 DIGI2 DIGI3
เป็นการ  connectไปยังคู่สถานี โดยผ่าน ดิจิพีทเตอร์ เช่น HS6LZD ต้องการ ที่จะติดต่อกับ  HS1JQP  แต่สถานีของ  HS6LZD ไม่สามารถที่จะติดต่อ HS1JQPได้ แต่มีสถานี HS0XNO ซึ่งเป็นสถานีใหญ่และสามารถติดต่อได้ กับทั้งสถานี HS6LZD และ HS1JQP ดังนั้น การที่จะติดต่อผ่าน DIGIPEATER ก็จะทำได้ดังนี้
        :C HS1JQP V HSOXNO หรือ :C HS1JQP HSOXNO
(หมายเหตุ สถานีที่จะใช้เป็น DIGIPEATER ต้องไม่เกิน 8 สถานี) :DISCONNECT หรือ :D เป็นการเลิกติดต่อ  (Disconnect)  กับคู่สถานีที่เรากำลังติดต่ออยู่แต่ถ้า ต้องการที่จะเลิกการติดต่อเลยทั้งหมด (ซึ่งโปรแกรม BAYCOM จะสามารถติดต่อได้ สูงสุดถึง 8 สถานี) ก็อาจจะใช้คำสั่ง
        :D ALL ซึ่งหมายถึงเลิกการติดต่อทุก ๆ สถานี
        :ANSWER ON หรือ OFF เป็นการปิด/เปิด ข้อความทักทายกับเพื่อนที่ Connect เข้ามา เช่น เมื่อ ANSWER ON และ HS1JQPconnectเข้ามาจะมีข้อความที่อยู่ในไฟลล์HS1JQP.CTXส่งออกไปทักทายก่อนที่เราจะพิมพ์ข้อความส่งไป
ไฟล์ทักทายนี้ ตั้งชื่อตาม Callsign มีนามสกุล .CTX เก็บไว้ที่ไดเร็กทอรี่ C:\BAYCOM\ANSWER โดยข้อความที่ให้โปรแกรมทำ งานอัตโนมัติและส่งข้อความออกไปทักทายนั้น จะทำโดยใช้โปรแกรมแก้ไขหรือ EDIT เช่นเดียวกันเป็นตัวเขียนข้อความทึ่จะทักทายใน DIRECTORY ที่กล่าวถึงข้างต้น
        :RCMD เป็นคำสั่งให้แสดงว่าในสถานีของท่านจะใช้คำสั่งใดได้บ้าง หรือในคู่สถานีที่ ท่านติดต่อด้วย (โดยใช้คำสั่ง   //RCMD)โดยมีดังต่อไปนี้CSTATUS,INFO,MHEARD,QUIT,RTT,READ,WRITE,RPRG,WPRG,DIR,CD เป็นต้น
        :BE 0 ตั้งเวลาระยะห่างของการส่ง BEACON 0 = ไม่มีการส่ง BEACONให้ใส่ตัวเลขแทน 0 หน่วยเป็นวินาทีเช่น 600 = 600 วินาที = 10 นาที 900 = 900 วินาที = 15 นาที 1800 = 1800 วินาที = 30 นาที
        :BT TEXT TEXT = ข้อความที่ส่งไปพร้อมกับ BEACON ของท่านเช่น BTXT <>
        :CA 0 ชื่อเต็มว่า CARRIER ถ้า  0 = ทำให้โปรแกรมมีความไวมากขึ้นกับ DATA ในอากาศ (บางครั้งRECV ค้างทำให้ไม่ส่ง) 1 = ไวน้อยลง เหมาะกับสถานีที่ S meter ค้าง แนะนำให้ปิด SQL. (ให้มีเสียงซู่) :CD ใช้เปลี่ยนไดเรคทอรี่ ขณะอยู่ในโปรแกรม หรือต้องการทราบว่า ขณะนี้เราอยู่ใน DIRECTORY อะไร เช่น :CD C:\BAYCOM\ANSWER หรือ :CD C:\DOS
        :CL คือ CLEAR หน้าจอ เช่น :CL จะ CLEAR จอภาพส่วนที่ 2 :CL 1 จะ CLEAR จอภาพส่วนที่ 1 :CL 2 จะ CLEAR จอภาพส่วนที่ 2 :CL 3 จะ CLEAR จอภาพส่วนที่ 3 :CL 123 จะ CLEAR จอภาพทั้ง 3 ส่วน
        :CRT 0 ตั้งเวลารักษาจอภาพ ( SCREEN SEAVER ) หน่วย เป็นนาที :CRT 0 = ไม่มีการรักษาจอภาพ :CRT 15  = เริ่มการรักษาจอภาพเมื่อหยุดไปแล้ว 15 นาที :DIR เป็นคำสั่งที่จะต้องการดูว่าใน  DIRECTORY  เราตอนนี้มี  FILES อะไรอยู่บ้าง การทำงานของคำสั่งนี้คล้ายกับการทำงานใน DOS เช่น
        :DIR *.MSG :DIR E21IZC :DIR M*.TXT :DIR E20*.LPQ :DIR MANUAL.* :DIR HS6.* :R (FILENAME) or :VIEW (FILENAME) คือคำสั่งที่ต้องการอ่าน FILE ที่อยู่ในเครื่องเรา ใช้คำสั่ง :R ตามด้วยชื่อ FILE ที่ต้องการอ่าน  คำสั่ง  :R  นี้จะสามารถให้เพื่อน คู่สถานีเราอ่านได้ด้วยโดยเมื่อเราติดต่อเขา ได้ แล้วต้องการส่งข้อความ ให้เพื่อน  ๆ  ได้อ่านจาก TEXT FILE ของสถานีเรา ก็ให้ใช้คำสั่งนี้ คู่สถานี ของเราก็จะสามารถรับได้เช่นเดียวกัน
        :OSHELL เป็นคำสั่งให้ออกมาทำงานใน DOS MODE ชั่วคราวโดยไม่ออกจากการ ติดต่อ เมื่อทำงานที่ DOS MODE เสร็จให้ใช้คำสั่ง EXIT กลับเข้าไปในโปรแกรม :CSTATUS เป็นการทราบถึงสถานะในตอนนี้ว่า เราติดต่ออยู่กับสถานีใดบ้าง และ ที่ช่องไหน
        :MHEARD or :MHEARD * เป็นคำสั่งที่สามารถทราบถึงผู้ที่เข้ามาติดต่อที่สถานีในช่วงเวลา 120  นาที ล่าสุด ในบางครั้งถ้าเราไม่ต้องการที่จะดูถึง 120 นาที เราก็สามารถ ใช้คำสั่งให้โปรแกรมแสดงได้ตามต้องการเช่น :MHEARD # แสดงถึงผู้ที่เข้ามาติดต่อใน 15 นาที ล่าสุด :MHEARD (จำนวนเวลาที่ต้องการดู) แสดงถึงผู้ที่เข้ามาติดต่อใน 60 นาที ล่าสุดเช่น ต้องการดูผู้ที่เข้ามาติดต่อใน 20 นาที ล่าสุด ใช้คำสั่ง :MHEARD 20 เป็นต้น
        หมายเหตุ ..............ถ้าต้องการทราบถึงผู้ที่เข้ามาติดต่อในคู่สถานีใช้คำสั่ง //MHEARD :USERS แสดงสถานะการติดต่อ (คล้าย :CSTATUS) :VERSION ให้แสดง VERSION (รุ่น) ของโปรแกรม คำสั่งที่ใช้ใน FUNGTION (F1 - F10) ALT-F1 เป็นการเรียกเปิด HELP MENU F1 - F8 คือการเปลี่ยนสถานีที่ติดต่อในแต่ละช่อง F9 คือการเปลี่ยนช่องระหว่าง หน้าต่าง อันได้แก่ หน้าต่าง 1 -ช่องข้อมูล หน้าต่าง 2 -ช่องรับข้อมูล หน้าต่าง 3 -ช่อง MONITOR F10 เป็นช่องใช้สำหรับการ MONITOR และTEST โปรแกรม (สำหรับการเปลี่ยนกลับสถานะเดิม กด F1) ESC or TAB เป็นการใส่เครื่องหมาย : สำหรับการทำงานในสถานีตนเอง PgUp PgDn เป็นการเลื่อน CURSOR ไปทีละหน้า ในหน้าต่างนั้น Ctrl-PgUp เป็นการเพิ่มขนาดช่อง MONITOR Ctrl-End เป็นการเพิ่มขนาดช่อง ส่งข้อมูล Ctrl-PgDn เป็นการลดขนาดช่อง MONITOR Ctrl-Home เป็นการลดขนาดช่องส่งข้อมูล ALT-X เป็นการออกจากโปรแกรม
ติดต่อสถานี PBBS


        การเข้าไปใช้งานในสถานี PBBS และสถานีที่ใช้โปรแกรมเดียวกัน การอ่าน MESSAGE ใน สถานี PBBS การเข้าไปใน สถานี PBBS ว่ามีการฝากข่าวสารถึงเราหรือไม่ต้อง CONNECT เข้าไปที่สถานี PBBS  ก่อน เมื่อ CONNECT ไดูจึงใช้คำสั่ง LM สำหรับเรียกดูข่าวสาร ของเรา สำหรับการเรียกดูข่าวสาร หรือทั่ว ๆ ไปไม่เจาะจงสถานี ถ้าต้อง การเรียกดู ข้อมูลเฉพาะ  10  สถานี  สุดท้ายที่มีการฝากข่าวสารไว้ ก็ใช้คำสั่ง
        LL 10 เมื่อมี ข้อความขึ้นแล้วจากสถานี  PBBS  ให้ท่านเลือกดูข่าวหรือ ข้อความถึงท่านที่จะทำการ อ่าน โดยใช้คำสั่งดังนี้คือ
        คำสั่ง R คือ READ MESSAGE โดยใช้คำสั่ง ว่า  R  ตามด้วย NUMBER MESSAGE ที่ต้องการจะอ่าน เช่น R 1145 เป็นต้น ในกรณี ที่ต้องการที่จะเรียกอ่าน MESSAGE ของตนเองให้ใช้คำสั่ง RM การส่งไฟล์ การส่ง FILE ให้คู่สถานีที่ติดต่ออยู่ และต้องการบันทึกไว้ที่สถานีของคู่สถานี
การส่งไฟล์


        (ต้องเป็นโปรแกรมที่ใช้เดียวกันในที่นี้จะพูดถึงโปรแกรม BAYCOM) การส่ง FILE ให้คู่สถานี ทำดังนี้ เมื่อติดต่อคู่สถานีได้ ถ้าต้องการที่จะ COPY FILE ไปให้คู่สถานี ใช้ คำสั่ง
        //WPRG ตามด้วยชื่อ FILE คำสั่ง
        //WPRG คือการเขึยนชื่อ FILE ในสถานีของคู่สถานี ตัวอย่าง ต้องการ COPY FILE ของ เราชื่อว่าTHAI.TXT ไปให้คู่สถานี ก็ทำตามขั้นตอนดังนี้
        //WPRG THAI.TXT
คือการเข้าไปเปิดFILE  ในสถานีของคู่สถานีก่อนชื่อ FILE ที่จะเปิดจะเป็นชื่ออะไรก็ได้
จะซ้ำกับชื่อFILE ที่เราจะทำการ  COPY ไปให้ก็ได้ ไม่ซ้ำก็ได้  เมื่อคู่สถานีรับคำสั่งนี้จะทำ
การเปิด FILE จะมีข้อความ บอกว่า FILE OPEN คือคู่สถานี ทำการเปิด FILE แล้ว
หลังจากนั้น ให้ใช้คำสั่ง :RPRG ตามด้วยชื่อ FILE ของเราที่จะทำการ COPY ตัวอย่าง....... ต้องการ COPY FILE ชื่อ THAI.TXT ก็ใช้คำสั่งว่า
        :RPRG THAI.TXT ในเครื่องเราก็ จะทำการอ่านไปจนหมด หลังจากหมดแล้วก็ ให้ใช้คำสั่ง
        //W OFF เป็นการสิ้นสุดการ COPY FILE ไปให้คู่สถานี การ COPY FILE จากคู่สถานี CONNECT สถานีที่จะทำการ COPY FILES ใช้คำสั่ง
        :WPRG RPRG ตามด้วยชื่อ FILE เมื่อเครื่องของเรา เปิด FILE เรียบร้อย ก็ให้ใช้คำสั่ง
        //RPRG ตามด้วยชื่อ FILE ที่จะทำการ COPY (สำหรับการ COPY FILE ในโปรแกรมอื่น ก็ใช้คำสั่ง
        R ตามด้วย NUMBER MESSAGE เมื่อรับได้จนจบเรียบร้อย ให้ใช้คำสั่ง
        :W OFF การฝากข้อความไว้ที่ PBBS กระทำดังนี้ โดยเมื่อติดต่อเข้าไปที่สถานี PBBS แล้วใช้คำสั่งดังนี้
        SP ตามด้วยชื่อสถานีที่ จะฝากข่าวสาร  (คำสั่ง sp เป็นคำสั่งเจาะจงสถานีที่จะฝากข่าว ถึง บุคคลอื่นไม่สามารถจะเข้ามาเปิดดูได้ ถ้าใช้คำสั่ง sp) เมื่อสถานี PBBS รับได้แล้วจะบอกให้เราเขียนชื่อเรื่องที่จะฝาก         (SUBJECT) หลังจากนั้นก็จะเป็นข้อความที่ ท่านต้องการจะฝาก  เมื่อเขียนข้อความเสร็จเรียบร้อย ให้ใช้คำสั่ง
        /ex หรือ
        กดปุ่ม CONTROL พร้อมกับตัว Z ตัวอย่างการฝากข้อความที่ PBBS :
  • | SP HS6LZD
  • | SUBJECT (ชื่อเรื่องที่ต้องการ)
  • | MESSAGE โทรมาหาด่วน ถ้าขึ้นมาอ่านข่าวแล้ว
  • | ^Z หมายเหตุ :  ถ้าท่านต้องการฝากข้อความที่จะให้ทุกๆ คนอ่านได้ก็ทำตามเหมือน ข้างต้นเพียงแต่ เปลี่ยนจาก SP เป็น
  • SB และเปลี่ยนสัญญาณเรียกขานเป็น ALL เพื่อน ๆ ที่เข้ามาใน PBBS ก็จะสามารถอ่านได้ การ COPY FILE จากสถานี PBBS 1. CONNECT ไปที่สถานี PBBS 2. ใช้คำสั่ง LL 10 เพื่อดูว่าจะต้องการ COPY FILE อะไรมาให้ ต้องจำ NUMBER ที่จะ COPY ไว้ 3. หลังจากนั้น ให้เปิด FILE ที่ในเครื่องของเราฎฏ โดยใช้คำสั่ง
  • :W <ชื่อ FILE ที่จะตั้ง> จะใช้ชื่ออะไรก็ได้ 4. เมื่อทำตามขั้นตอนที่ 3 เสร็จแล้ว ให้ใช้คำสั่งเปิด MESSAGE ที่จะ COPY มาจาก PBBS โดยใช้คำสั่ง
  • R 5. เมื่อทำการคัดลอกออกมาเสร็จแล้ว ให้ใช้คำสั่ง
  • :W OFF (คำสั่งนี้อย่า ลืมโดยเด็ดขาด) 6. เป็นการเสร็จการ COPY FILE จาก PBBS. หวังว่าเพื่อน ๆ ใหม่  ๆ คงจะสนุกสนานกับ PACKET RADIO ตามควรนะครับ และ จะพยามยามหาโปรแกรมใหม่ ๆ มาให้ได้ลองกันอีกครับ พบกันฉบับหน้า
    73 DE E21IZC TONY นำเสนอโดย สมลักษณ์ ว้นโย ประธานชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย