ระบบแพ็คเก็ตเรดิโอ
HS4DOR ประธานชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย
ระบบแพ็คเก็ตเรดิโอ
ระบบแพ็คเก็ตเรดิโอนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ
1. ระบบศูนย์ข้อมูล PBBS
2. ระบบเครือข่าย
3. สถานีลูกข่าย
ระบบศูนย์ข้อมูล PBBS
ระบบศูนย์ข้อมูล PBBS นั้นแบ่งออกเป็น 5 อย่างด้วยกันคือ
1. สถานีศูนย์ข้อมูล PBBS ให้บริการลูกข่ายในพื้นที่ พร้อมกับการ
forward ข้อความอัตโนมัติ
2. สถานีศูนย์ข้อมูล PBBS ให้บริการในด้าน forward ข้อความอย่างเดียว
ไม่อนุญาตให้สถานี
ลูกข่ายเข้าไปใช้บริการ
3. สถานีศูนย์ข้อมูล PBBS ให้บริการแก่สถานีลูกข่ายในพื้นที่อย่างเดียว
ไม่มีการบริการ
forward ข้อความอัตโนมัติ
4. สถานีศูนย์ข้อมูล PBBS สำหรับใช้กับระบบ DX Cluster
5. สถานีรับข้อความส่วนบุคคลที่เรียกว่า MBOX
สถานีศูนย์ข้อมูล PBBS ทั้ง 5 รูปแบบเหล่านี้ใช้คนละช่องความถี่ใช้งาน รวมถึง
5 ช่องด้วยกัน ทั้งนี้
เพื่อให้การรับส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายแพ็คเก็ตเรดิโอนั้น แบ่งออกเป็น 16
อย่าง คือ
1. B : ระบบดิจิพีทเตอร์ที่ใช้อยู่ใน TNC 2 ที่เรีกว่า
Dumb Digipeater
2. C : ระบบดิจิพีทเตอร์ที่เป็นโหนด layer3/4 (เรียกว่า
net node
3. D :ระบบดิจิพีทเตอร์ของสมาคม RATS ที่มีชื่อว่า ROSE
switch
4. E :ระบบดิจิพีทเตอร์ TEXNET
5. F :ระบบดิจิพีทเตอร์ชือว่า TCP switch
6. G: ระบบดิจิพีทเตอร์ชื่อ TCP Gateway
7. H : ระบบดิจิพีทเตอร์ที่เรียกว่า Ka-Node( ไม่มี gateway)
8. I : ระบบดิจิพีทเตอร์ที่เรียกว่า Ka-Node(พร้อมด้วย
gateway)
9. J : ระบบดิจิพีทเตอร์ของ TNC ความเร็ว 9600 buad( ใช้ความถี่เป็นเส้นทางสือสาร
Backbone)
10. K: ระบบดิจิพีทเตอร์ของ TNCความเร็ว 56 KB ( ใช้ความถี่เป็นเส้นทางสือสาร
backbone)
11.L: ระบบที่เรียกว่า packet radio repeater
12. M : ระบบดิจิพีทเตอร์ใช้ TNC ความเร็ว 2400 baud
13. N : ระบบดิจิพีทเตอร์ของ TNC ความเร็ว 120022400 buad
14. O:ระบบดิจิพีทเตอร์ใช้กับ converse mode
15. P: ระบบดิจิพีทเตอร์อันเป็นเครือข่าย BIOS ของ G8BPQ
16. # :ระบบดิจิพีทเตอร์ที่ใช้เป็น backbone อย่างเดียว ห้ามสถานีลูกข่ายเข้ามาใช้งาน
สถานีลูกข่าย
สถานีลูกข่ายแบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ
1. สถานีลูกขายของศูนย์ข้อมูล PBBS: สถานีลูกข่ายนี้จะต้องลงทะเบียนกับสถานี
PBBS
ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อประโยชน์ในการรับ/ส่งข่าวไปสู่พื้นที่อืน ๆ
ของประเทศ
ตลอดจนทั่วโลก จะต้องส่งผ่านสถานี PBBS ในพื้นทีของตน ซึ่งเรียกว่า
home bbs
2. สถานีลูกข่ายของ DAMA: สถานีลูกข่ายชนิดนี้จะต้องลงทะเบียนไว้กับสถานีแม่ข่ายที่เรียกว่า
DAMA master ซึ่งให้บริการอยู่ในพื้นที่นั้น โดยมีหลักการที่ว่า สถานีลูกข่ายในพื้นที่นั้น
ๆ จะ
ต้องติดต่อซึ่งกันและกันผ่านทาง DAMA master นี้เท่านั้น และในพื้นที่หนึ่ง
ๆ จะต้องมี
สถานี DAMA master เพียงสถานีเดียว และให้บริการครอบคลุมพื้นที่นั้น ๆ
3. สถานีลูกข่ายของระบบ APRS : ซึ่งเป็นระบบการรายงานตำแหน่งทีตั้งโดยอัตโนมัติ
ที่เรียกว่า Automatic Packet Reporting System สถานีลูกข่ายสามารถที่จะส่งรายการเหตุการณ์
ต่าง ๆที่เกิดขึ้นระบุตำแหน่งสถานีเช่นสถานที่เกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าวงโคจรของดาวเทียมบอก
ตำแหน่งเป็นละติจูดลองติจูด องศา ลิปดา ฟิลิบดา เป็นต้นให้เราทราบ
HS4DOR ประธานชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย