สภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย
( Thailand Amateur Radio League : TARL )
สภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักวิทยุสมัครเล่น และเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการติดต่อประสานงานและประขุมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น ประสานงานกับหน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น สำนักงานตั้งอยู่ที่ เลขที่ 40/54 ซอยอินทามระ 8 ถนนสุทธิสาร แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 |
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(International Telecommunication Union :ITU)
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เป็นองค์การของสหประชาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดูแล จัดสรรย่านความถี่ วิทยุสำหรับกิจการต่าง ๆ และประสานงานการใช้ความถี่วิทยุ ของแต่ล่ะประเทศ กำหนดวิธีปฏิบัติ และควบคุมคุณลักษณะทางเทคนิคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกัน โดยได้กำหนดออกมาเป็น ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (Radio Regulations) ให้ประเทศสมาชิกถือปฏิบัติ ปัจุบันมีสมาชิก 166 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2428 |
คณะกรรมการจดทะเบียนความถี่วิทยุระหว่างประเทศ
(International Frequency Registration Board: IFRB)
คณะกรรมการจดทะเบียนความถี่วิทยุระหว่างประเทศ เป็นคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย สมาชิกอิสระจำนวน 5 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม (Plenipotentiary Conference) ของสหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศเป็น ผู้เลือกตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ จดทะเบียน และบันทึกรายการความถี่วิทยุ ซึ่งประเทศต่าง ๆ ใช้อยู่ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้การใช้การความถี่วิทยุเป็นที่รับรองอย่างเป็นทางการในระหว่างประเทศ ตลอดจน การให้คำแนะนำแก่ บรรดาสมาชิกของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ในการใช้ช่องความถี่วิทยุในทางปฏิบัติให้ได้ประโยชน์มากที่สุด |
สหภาพวิทยุสมัครเล่นระหว่างประเทศ
(Internation Amateur Radio Union: IARU)
สหภาพ วิทยุสมัครเล่น ระหว่างประเทศ เป็นองค์การที่เกี่ยวข้องโดยตรงในกิจการ วิทยุสมัครเล่น มีสมาชิกซึ่งเป้นสมาคมในกิจการวิทยุสมัครเล่น ซึ่งเป็นผู้แทนของประเทศต่าง ๆ รวม 125 สมาคม (ข้อมูลเมื่อ ปี พ.ศ. 2530) มีหน้าที่ในการสนับสนุนกิจการวิทยุสมัครเล่น ทั่วโลก ดูแล และประสานงาน กิจกรรมวิทยุสมัครเล่นของสมาชิก และเป็นผู้สังเกตการณ์ ตลอดจนเข้าร่าวประชุมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างปรเทศ เพื่อให้ความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น สหภาพวิทยุสมัครเล่นระหว่างประเทศ มีสำนักงานเลขาธิการอยู่ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินงานโดยแบ่งการบริหารออกเป็น 3 ภูมิภาคย่อย เช่นเดียวกับการแบ่งภูมิภาคของการบริการความถี่ วิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยจัดอยู่ในภูมิภาคที่ 3 |
สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
(Radio Amateur Society of Thailand : RAST)
สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2507 และจดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2507 โดยมีวันถุประสงค์เพื่อเป็น แหล่งสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเป็นทางวิชาการอิเล็คทรอนิคส์ กระตุ้นความสนใจในการพัฒนา ค้นคว้าเทคนิคสมัยใหม่ เป็นการร่วมผลิตนักวิทยุสำรองไว้รับใช้ประเทศ ในยามฉุกเฉิน โดยไม่เกี่ยวกับกิจการค้าใด ๆ สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยนี้ เป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการเข้าแข่งขัน วิทยุสมัครเล่นนานาชาติมาโดยตลอด และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 - 2527 ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยรวม 16 ครั้ง โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัด และบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ให้มีการจัดตั้งสถานีชั่วคราวขึ้น |
สมาคมนักวิทยุอาสาสมัคร
(Voluntary Radio Association : VRA )
คณะกรรมการชมรมวิทยุอาสาสมัคร ได้เริ่มการจัดตั้ง และจดทะเบียนสมาคมนักวิทยุอาสาสมัครขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคม และสาธารณะประโยชน์ แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิก และพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม การปฏิบัติ การติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมด ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง สมาคมนักวิทยุอาสาสมัครได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จัดการประชุมทางวิชาการ จัดทัศนศึกษาทางวิชาการ จัดการอบรมสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบ การสื่อสารของตำรวจ เช่น การปรับปรุงระบบการสื่อสาร ในรถสายตรวจของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (สายตรวจ 191) การปรับปรุงเครื่องมือวิทยุคมนาคม ของกองกำกับการตำรวจภูธร นครปฐม เป็นต้น |
คณะกรรมธิการที่ปรึกษาการวิทยุระหว่างประเทศ
(International Radio Consultative Committee: CCIR)
คณะกรรมธิการที่ปรึกษา การวิทยุระหว่างประเทศ เป็นคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาระหว่างประเทศ (International Consultive Committee) คณะหนึ่งของ สหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ มีหน้าที่ ในการศึกษาพิจารณา ปัญหา และข้อเสนอแนะทางด้านวิชาการ และการดำเนินงาน โดยเฉพาะในทางด้านวิทยุคมนาคม โดยคณะกรรมาธิการนี้ปฏิบัติงาน ผ่านที่ประชุมใหญ่ (Plenary Assembly) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และกลุ่มศึกษา (Study Groups) ซึ่งที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวได้จัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาปัญหา และเสนอแนะข้อคิดเห็นต่าง ๆ ทางด้านวิชาการ และการดำเนินงานทางด้าน วิทยุคมนาคม |
[ย้อนกลับ] [กลับหน้าหลัก] [ถัดไป]
hs6pwy@hotmail.com หรือ 138/3 ม .1 ต. เขาแก้วศรีสมบูรณ์ อ. ทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย 64230 โทรศัพท์
0-1495-0845 , 0-2739-1169 , 0-5562-4764 แล้วพบกันที่ msn messenger นะครับ
|