เนื้อหาที่สอบ
หลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
วิชาที่
1 ความรู้ทั่วไป กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น องค์กรระหว่างประเทศ
และข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
1.2 ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กฎกระทรวงคมนาคมและประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลขที่เกี่ยวข้อง
1.3 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ
ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530
1.4 ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดสัญญาณเรียกขานสำหรับประเทศไทย และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
วิชาที่
2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
2.1 ประมวลรหัส Q
2.2 การรายงานสัญญาณระบบ RST
2.3 การอ่านออกเสียงตัวอักษร
2.4 คำเฉพาะและคำย่อต่าง ๆที่ควรรู้
2.5 การปฏิบัติและมารยาทในการเรียกขาน และการติดต่อสื่อสาร
2.6 การรับและแจ้งเหตุฉุกเฉิน
2.7 สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร
วิชาที่
3 ทฤษฎีต่าง ๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
3.1 ทฤษฎีไฟฟ้า
- คำนำหน้าหน่วย
- ตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
- แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
- คุณสมบัติของแบตเตอรี่แบบต่าง ๆ
- แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ตัวต้านทาน กำลังไฟฟ้า และกฎของโอห์ม
- การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม และแบบขนาน
- ไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ
- ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการต่อแบบอนุกรม และแบบขนาน
- คาปาซิตีฟรีแอกแตนซ์ อิมพีแดนซ์ และรีโซแนนซ์
- หม้อแปลงไฟฟ้า
- สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรรู้
- เดซิเบล
3.2 ทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์
- หน้าที่โดยสังเขปและสัญลักษณ์ของอุปกรณ์บางอย่าง ได้แก่ ไดโอด
ทรานซิสเตอร์ ผลึกแร่ ไมโครโฟน ลำโพง หลอดวิทยุ และไอซี
3.3 หลักการทำงานของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
- หน้าที่ของภาคต่าง ๆ ในเครื่องรับ/ส่งวิทยุแบบ TRF และแบบซุปเปอร์เฮเทอโรดายน์
- AM และ FM
- คุณสมบัติของเครื่องรับ/ส่งวิทยุ
- ซิมเพล็กซ์ ฟูลดูเพล็กซ์ และเซมิดูเพล็กซ์
3.4 สายอากาศและสายนำสัญญาณ
- คุณสมบัติของคลื่นวิทยุ
- ความถี่และความยาวคลื่น
- โพลาไรเซชั่น
- คุณสมบัติของสายอากาศ
- สายอากาศพื้นฐานที่ควรรู้
- สายนำสัญญาณแบบต่าง ๆ และคุณสมบัติที่ควรรู้
- SWR และการแมทช์
- บาลัน
3.5 การแพร่กระจายคลื่น
- การแบ่งย่านความถี่
- ลักษณะการแพร่กระจายคลื่นของย่านความถี่ต่าง ๆ
- องค์ประกอบที่มีผลต่อระยะการรับ/ส่งในย่าน
วิชาที่
4 หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
4.1 ข้อพึงระวังเรื่องความปลอดภัย
4.2 การใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
4.3 สาเหตุและการลดปัญหาการรบกวน
หมายเหตุ
วิธีการสอบ
ทดสอบความรู้ความเข้าใจในวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของกรมไปรษณีย์โทรเลข
ด้วยวิธีการสอบข้อเขียนโดยข้อสอบจะเป็นปรนัยจำนวน 100 ข้อ ที่นำมาจากหนังสือข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
ซึ่งจัดพิมพ์โดยสวัสดิการกรมไปรษณีย์โทรเลข
เกณฑ์การตัดสิน
เกณฑ์การตัดสินในการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นนั้นได้กำหนดไว้ว่า
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
ต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนตามหลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของกรมไปรษณีย์โทรเลข
ไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
|
hs6pwy@hotmail.com หรือ 138/3 ม .1 ต. เขาแก้วศรีสมบูรณ์ อ. ทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย 64230 โทรศัพท์
0-1495-0845 , 0-2739-1169 , 0-5562-4764 แล้วพบกันที่ msn messenger นะครับ
|