สารบาญพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 1
จิตตสังคหวิภาค
----------------------บรรดาคำสั่งสอน----------------------
----------------------จิตตสังคหวิภาค-----------------------
----------------------จิตคืออะไร-----------------------------
----------------------สภาพหรือลักษณะของจิต------------
----------------------จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท------------
----------------------กามาวจรจิต---------------------------
----------------------อกุสลจิต-------------------------------
----------------------โลภมูลจิต-----------------------------
----------------------โทสมูลจิต-----------------------------
----------------------โมหมูลจิต-----------------------------
----------------------สัมปยุตตในอกุศลจิต-----------------
----------------------อกุสลกรรมบถ------------------------
----------------------ผลแห่งโลภะ โทสะ โมหะ-----------
----------------------อกุสลจิตเป็นธรรมที่ควรละ---------
--จำแนกอกุศลจิตโดยประเภทต่างๆ มีชาติเภทเป็นต้น--
----------------------อเหตุกจิต-----------------------------
----------------------อกุสลวิบากจิต------------------------
----------------------อเหตุกกุสลวิบากจิต------------------
----------------------อเหตุกกิริยาจิต-----------------------
----------------------อุปปัตติเหตุ แห่งอเหตุกจิต----------
----------------------ทวารของอเหตุกจิต------------------
----------------------วัตถุของอเหตุกจิต-------------------
----------------------อารมณ์ของอเหตุกจิต----------------
----------------------แสดงอเหตุกจิต ๑๘ โดยวิถีจิต------
--จำแนกอเหตุกจิตโดยประเภทต่างๆ มีชาติเภทเป็นต้น-
----------------------โสภณจิต กับ อโสภณจิต------------
----------------------กามาวจรโสภณจิต-------------------
----------------------มหากุสลจิต---------------------------
----------------------บุญกิริยาวัตถุ ๑๐---------------------
----------------------มหาวิบากจิต-------------------------
----------------------สมังคิตา------------------------------
----------------------มหากิริยาจิต-------------------------
------จำแนกกามาวจรโสภณจิตโดยชาติเภทเป็นต้น----
----------------------การยิ้มและหัวเราะ-------------------
----------------------แสดงชาติแห่งกามาวจรจิต---------
----------------------รูปาวจรจิต---------------------------
----------------------ฌาน คืออะไร------------------------
----------------------นิวรณ์ของฌาน----------------------
--------------การเผานิวรณ์และประเภทแห่งฌาน ๕-----
----------------------อารมณ์ที่ให้เกิดฌาน-----------------
----------------------ฌานจตุกนัย--------------------------
----------------------รูปาวจรกุสลจิต----------------------
----------------------รูปาวจรวิบากจิต---------------------
----------------------รูปาวจรกิริยาจิต---------------------
----------------------อรูปาวจรจิต-------------------------
----------------------อรูปาวจรกุสลจิต--------------------
----------------------อรูปาวจรวิบากจิต-------------------
----------------------อรูปาวจรกิริยาจิต-------------------
----------------------มหัคคตจิต---------------------------
----------------------จำแนกมหัคคตจิต-------------------
----------------------โลกุตตรจิต---------------------------
----------------------การประหารกิเลส--------------------
----------------------โลกุตตรกุสลจิต หรือ มัคคจิต------
----------------------โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต-------
--------โสดาปัตติมัคคจิต คู่กับ โสดาปัตติผลจิต---------
--------สกทาคามิมัคคจิต คู่กับ สกทาคามิผลจิต---------
--------อนาคามิมัคคจิต คู่กับ อนาคามิผลจิต-----------
--------อรหัตตมัคคจิต คู่กับ อรหัตตผลจิต---------------
----------------------พระอรหันต์มีหลายประเภท--------
----------------------โลกุตตรจิตอย่างพิสดาร-------------
------------จำแนกโลกุตตรจิตโดยชาติเภทเป็นต้น------
----------------------จำแนกจิตทั้ง ๘๙ โดยชาติเภท------
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยภูมิเภท-----------
----------------จำแนกจิตโดยย่อและจิตอย่างพิสดาร----
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยเวทนาเภท------
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยเหตุเภท----------
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยสังขารเภท------
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยสัมปยุตตเภท---
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยโสภณเภท-------
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยโลกเภท----------
----------------------จำแนกจิต ๘๙ โดยฌานเภท--------
----------------------จำแนกโลกุตตรจิตโดยองค์ฌาน----
----------------------ฌาน กับ มัคคผล-------------------
----------------------ฌานจิต ๖๗---------------------------
---------จำนวนกุสลจิตและวิบากจิตโดยพิสดาร---------
----------------------อวสานคาถา--------------------------

         บรรดาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดเวลา ๔๕ ปี รวมได้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อประมวลและจัดสรรสงเคราะห์เป็นหมวดหมู่ได้ ๓ หมวด
         ๑. พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้เป็นข้อบังคับ เป็นระเบียบแบบแผนให้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ล่วงละเมิดหรือไม่ปฏิบัติจะต้องมีโทษตามชั้น ๆ ที่กำหนดไว้
      ๒. พระสุตตันตปิฏก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้ โดยยกบุคคลขึ้นเป็นตัวอย่างทั้งในทางดีและทางชั่ว มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาได้รู้ถึงสมมุติสัจจะรู้ความจริงตามความเป็นไปของโลก พระสูตรนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ให้อัธยาศัยสงบ และมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง
          ๓. พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่ล้วนเป็นปรมัตถสัจจะ คือเป็นความจริงอันมีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลงผันแปร เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นแจ้ง ในสภาวธรรมนั้น ๆ โดยไม่กล่าวอ้างบุคคล พระอภิธรรมนี้เป็นพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์ ให้มีสติว่องไว และมีปัญญาหลักแหลม
          ๑. บาลี หมายถึง พระพุทธพจน์ คือถ้อยคำที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาโดยตรง
          ๒. อรรถกถา หมายถึง คำอธิบาย หรือขยายความของท่านอรรถกถาจารย์ เพื่อให้คำหรือเนื้อความในบาลีให้ละเอียดชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น
          ๓. ฎีกา หมายถึง คำอธิบายขยายความในอรรถกถาให้ชัดเจนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งท่านฎีกาจารย์ได้อธิบายไว้
          ๔. อนุฎีกาจารย์ คือ ผู้ที่อธิบายข้อสงสัยในฎีกา
          ๕. เกจิอาจารย์ คือ อาจารย์อื่น ๆ ที่แสดงความเห็นในข้อธรรม เพื่ออธิบายขยายความในข้อธรรมโดยทั่ว ๆ ไป


                                                                           -อนิจจลักษณะ เรียกว่าไตรลักษณ์ (นิพพาน
                             -สามัญญลักษณะ                  -ทุกขลักษณะ   มีเฉพาะอนัตตลักษณะเท่านั้น                                                                             -อนัตตลักษณะ ไม่มีอนิจจลักษณะ
                                                                                                      และทุกขลักษณะ)
             -ปรมัตถธรรม
                                                                           -ลักษณะ เรียกว่า ลักขณาทิจตุกะ
                             -วิเสสลักษณะ                       -รสะ แปลว่า ธรรมที่มีองค์ ๔
                                                                           -ปัจจุปัฏฐาน
                                                                           -ปทัฏฐาน (นิพพานไม่มีปทัฏฐาน)
-พระอภิธรรม
            -บัญญัติธรรม


         ปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่มีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลง ไม่วิปริตผันแปร มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
         บัญญัติธรรม เป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมติขึ้นเพื่อเรียกขานกัน ตามความนิยม เฉพาะหมู่เฉพาะเหล่า (ไม่มีวิเสสลักษณะ)
         สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะสามัญทั่วๆไป ลักษณะตามธรรมชาติ ตามปกติปรมัตถธรรมจะต้องมีเหมือน ๆ กันอยู่ ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
         อนิจจลักษณะ เป็นลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล
         ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับเสื่อมสลายสูญหายไป
         อนัตตลักษณะ เป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ จะให้เป็นไปตามที่ใจชอบไม่ได้
         วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ของปรมัตถธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งไม่เหมือนกันเลย วิเสสลักษณะมี ๔ ประการ คือลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน
         ลักษณะ คือ คุณภาพหรือเครื่องแสดง หรือสภาพโดยเฉพาะ ที่มีประจำตัว ของธรรมนั้น ๆ
         รสะ คือ กิจการงาน หรือหน้าที่ของธรรมนั้น ๆ
         ปัจจุปัฏฐาน คือ ผลของรสะ หรืออาการปรากฏของธรรมนั้นๆ
         ปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้ที่ทำให้ธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้น

จิตตสังคหวิภาค
         พระอภิธัมมัตถสังคหปริจเฉทที่ ๑ ซึ่งชื่อว่าจิตตสังคหวิภาคนี้ พระอนุรุทธาจารย์ ได้ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะ รวม ๒๑ คาถา คาถาที่ ๑ ประพันธ์ว่า
         ๑. สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ            อภวาทิย ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺสงฺคหํ ฯ แปลความว่า ข้าพระพุทธเจ้า (พระอนุรุทธาจารย์) ขอถวายอภิวาท สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงอุดมด้วยสีลาทิคุณ หาผู้เสมอเหมือนมิได้พร้อม ด้วยพระสัทธรรมและหมู่พระอริยสงฆเจ้า แล้วจะกล่าวคัมภีร์พระ อภิธัมมัตถสังหะต่อไป
         ๒. ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ        เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพถา ฯ แปลความว่า เนื้อความแห่งพระอภิธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนา นั้นคือ ปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เท่านี้
พระอภิธัมมัตถสังคหะ แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท คือ
         ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อว่า จิตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดงจิตปรมัตถ
         ปริจเฉทที่ ๒ ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค รวบรวมแสดงเจตสิกปรมัตถ
         ปริจเฉทที่ ๓ ชื่อว่า ปกิณณกสังคหวิภาค รวบรวมแสดงธรรมต่าง ๆ ๖ หมวด คือ เวทนา เหตุ ทวาร กิจ อารมณ์ และวัตถุ
         ปริจเฉทที่ ๔ ชื่อว่า วิถีสังคหวิภาค รวบรวมแสดงวิถีจิต
         ปริจเฉทที่ ๕ ชื่อว่า วิถีมุตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดงจิตที่พ้นวิถี และธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับจิตที่พ้นวิถี
         ปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค รวบรวมแสดงรูปปรมัตถ และนิพพาน
         ปริจเฉทที่ ๗ ชื่อว่า สมุจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดงธรรมที่สงเคราะห์เข้าเป็นหมวด เดียวกันได้
         ปริจเฉทที่ ๘ ชื่อว่า ปัจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดงธรรมที่อุปการะซึ่งกันและกัน และแสดงบัญญัติธรรมด้วย
         ปริจเฉทที่ ๙ ชื่อว่า กัมมัฏฐานสังคหวิภาค รวบรวมแสดงอารมณ์อันเป็นที่ตั้ง แห่งการงาน ทางใจ คือ สมถะและวิปัสสน

จิตคืออะไร
         จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์
         จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ เรียกว่าอารมณ์
         จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์
         จิต ต้องรับอารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป
         จิต มีชื่อเรียกหลายคำ เช่น มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ฯล

สภาพหรือลักษณะของจิต
         จิตเป็นปรมัตถธรรม  ดังนั้นจิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่าง คือ สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
         ๑. สามัญญลักษณะ จิตมีไตรลักษณ์ครบ คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
         จิตนี้เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
         จิตนี้เป็นทุกขัง คือ ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาลจึงมีอาการเกิดดับเกิดดับ
         จิตนี้เป็นอนัตตา คือ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ ไม่ให้เกิดดับไม่ได้
         ๒. วิเสสลักษณะ หรือลักขณาทิจตุกะของจิต มีครบทั้ง ๔ ประการคือ
         มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
         เป็นประธานในธรรมทั้งปวงเป็นกิจ (รสะ)
         มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสายเป็นอาการปรากฏ(ปัจจุปัฏฐาน)
         มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด (ปทัฏฐาน)
อำนาจของจิต
         ๑. มีอำนาจในการกระทำ คือ ทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ ทำให้น่ากลัว ทำกิริยามารยาทที่น่ารัก หรือคิดผลิตสิ่งต่างๆ เช่น รถ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้เรียกว่า "วิจิตรในการกระทำ"
         ๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ จิตนั่นเองมีทั้งจิตกุศล จิตอกุศล จิตวิบาก จิตกิริยา จิตที่เป็นบุญ จิตที่เป็นบาป จิตที่โง่เขลา จิตที่มีปัญญา จิตที่ไม่มีปัญญา ซึ่งรวมเรียกว่า "วิจิตรด้วยตนเอง"
         ๓. มีอำนาจในการสั่งสมกรรมและกิเลส คือ จิตนั่นเอง ที่เป็นต้นเหตุในการ ก่อกรรมทำบาป ทำอกุศล ทำบุญกุศล ทำฌานอภิญญาเมื่อกระทำลงไปแล้ว ก็เก็บความดีความ ชั่วนั้นไว้ เรียกว่า "วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส"
         ๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (วิบาก=ผลของกรรม) ผลของกรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม บุญ บาป ฯลฯ ที่จิตได้ทำไว้นั้นไม่สูญหายไปไหน ผลของกรรมนั้นไม่เสื่อมคุณภาพ แม้นานเท่าไรก็จะให้ผลอย่างเต็มที่เมื่อมีโอกาส ซึ่งเรียกว่า "วิจิตรในการรักษาไว้ซึ่งวิบากกรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้"
         ๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง คือ ถ้าได้คิดได้ทำกรรมอย่างใด ๆ ก็ตาม ถ้าได้กระทำบ่อย ๆ ทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังติดเป็นนิสสัยสันดาน ชอบทำ ชอบคิดอย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป เรียกว่า "วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง"
         ๖. มีอำนาจต่ออารมณ์ต่างๆ คือ จิตจะรับอารมณ์ได้ต่างๆ นานา ไม่จำกัดและที่สำคัญที่สุด คือ คนพาลจะรับอารมณ์ที่ไม่ดีที่ชั่วได้ง่าย สำหรับบัณฑิตจะรับอารมณ์ที่ดีได้ง่าย เรียกว่า "วิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ"

จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท
         เมื่อกล่าวตามสภาพแล้ว จิตมีสภาพเพียงหนึ่ง คือ รับรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อกล่าวตามอาการที่รู้ ตามประเภทที่รู้ คือ รู้ในเรื่องของกาม เรื่องที่เป็นบุญเป็นบาป รู้เรื่องรูปฌาน รู้เรื่องอรูปฌาน รู้ในเรื่องนิพพาน ถ้ากล่าวตามอาการที่รู้แล้ว จิตก็จำแนกได้เป็น๔ ประเภท และนับจำนวนได้โดยย่อ ๘๙ ดวง นับโดยพิศดารได้ ๑๒๑ ดวง ดังนี้
                               ๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
                               ๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
                               ๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
                               ๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
                               รวม ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
มีแผนผังดังนี้
         ๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกกันสั้นๆ ว่า "กามจิต" มีจำนวน ๕๔ ดวง
         ๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งรูปฌาน พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
         ๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งอรูปฌาน พอใจที่จะเป็นอรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง
         ๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจากกามโลก(กามภูมิ) จากรูปโลก(รูปภูมิ) และจากอรูปโลก(อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวนเพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาน ตามชั้นตามประเภทของฌาน ซึ่งมี ๕ ชั้น แล้วก็จะเป็นจิตนับอย่างพิสดารได้ ๔๐ ดวง (๘x๕=๔๐)

กามาวจรจิต
         กามาวจรจิต หรือกามจิต ซึ่งมีจำนวน ๕๔ ดวง จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
                           อกุสลจิต ๑๒
                           อเหตุกจิต ๑๘
                           กามาวจรโสภณจิต ๒๔
         อกุสลจิต เป็นจิตที่ไม่ฉลาด ไม่ดี ไม่งาม เป็นจิตที่ทราม ที่ชั่ว หยาบ ที่เป็นบาป "ที่มีโทษ และให้ผลเป็นทุกข์"
         เหตุที่แสดงอกุสลจิตก่อนก็เพื่อให้รู้จักกับสิ่งที่ชั่วไม่ดี จะได้ไม่ประพฤติชั่ว อันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่นอุปมาว่า ให้เรารู้จักผู้ร้ายก่อนจะได้หนีให้ห่างไกล จึงจะพ้นความเดือดร้อนวุ่นวาย อเหตุกจิต เป็นจิตที่ "ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป" เพราะไม่มีเหตุบุญหรือบาปมาร่วมประกอบด้วย เป็นจิตที่มีอยู่แล้วในตัวเราทุกคนและเกิดอยู่เป็นนิจ
         แม้ว่าจะเป็นจิตที่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็จริง แต่ทว่าเป็นจิตที่เป็นสื่อ หรือเป็นทางน้อมนำมาซึ่งบาปและบุญอยู่แทบทุกขณะ กามาวจรโสภณจิต เป็นจิตที่ดีงาม ฉลาด สอาด ไม่ก่อความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ตนหรือผู้อื่น "เป็นจิตที่ปราศจากโทษและให้ผลเป็นสุข"

สรุปภูมิทั้ง ๓๑
                                                                  ๑เนวสัญญานาสัญญายตน
                                                                    ๒อากิญจัญญายตน
              อรูปภูมิ ๔                       ๓วิญญาณัญจายตน
                                                                  ๔อากาสานัญจายตน


                                                                                                   ๑อกนิฏฐา
                                                                                                   ๒สุทัสสี
                                                                สุทธาวาส ๕           ๓สุทัสสา
                                                                                                   ๔อตัปปา
                                                                                                   ๕อวิหา
                                จตุตถฌานภูมิ ๗
                                                                ๖เวหัปผลา
                                                                ๗อสัญญสัตตา


                                                                      ๑สุภกิณหา
                                      ตติยฌานภูมิ ๓      ๒อัปปมาณสุภา
                                                                      ๓ปริตตสุภา


๓๑ ภูมิ รูปภูมิ ๑๖
                                                                      ๑อาภัสสรา
                                      ทุติยฌานภูมิ ๓      ๒อัปปมาณาภา
                                                                      ๓ปริตตาภา


                                                                      ๑มหาพรหมา
                                      ปฐมฌานภูมิ ๓      ๒ปุโรหิตา
                                                                      ๓ปาริสัชชา


                                                                                                               ๑ปรินิมมิตวสวัสตี
                                                                                                               ๒นิมมานรตี
                                                                           ฉกามาวจร                  ๓ดุสิต
                                                                           หรือเทวภูมิ ๖             ๔ยามา
                                                                                                              ๕ดาวดึงสา
                                      กามสุคติภูมิ ๗                                                ๖จตุมมหาราชิกา

                                                                           มนุสสภูมิ ๑               ๗มนุสส
              กามภูมิ ๑๑ 

                                                                           ๑อสุรกาย
                                                                           ๒เปรต
                                      อบายภูมิ ๔                  ๓ดิรัจฉาน
                                                                           ๔นร


อกุสลจิต
         อกุสลจิต แม้จะเป็นจิตที่ชั่วเป็นบาปและให้ผลเป็นทุกข ์ แต่ส่วนมากมักจะเกิด ได้ง่ายและเกิดได้บ่อย ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อจิตได้รับอารมณ์ใดแล้วส่วนมาก ก็ไม่ได้พิจารณา ให้แยบคาย คือ ไม่พิจารณา ให้ซึ้งถึงสภาพแห่งความเป็นจริง ของอารมณ์ที่ประสบนั้น การไม่ใส่ใจพิจารณาอารมณ์ด้วยดีนี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อมีอโยนิโสมนสิการ อกุสลจิตย่อมเกิด และอโยนิโสมนสิการนี้ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ
         ๑. ไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ปางก่อน - เป็นอดีตกรรม
         ๒. อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ) - เป็นปัจจุบันกรรม
         ๓. ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ ,,
         ๔. ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ ,,
         ๕. ตั้งตนไว้ผิด ,,
อกุสลจิต ๑๒ ดวง ได้แก่
         โลภมูลจิต ๘
         โทสมูลจิต ๒
         โมหมูลจิต ๒
โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง่าเค้ามูลมาจาก
         ๑. ความอยากได้                                                    ๔. ความเพลิดเพลิน
         ๒. ความต้องการ                                                   ๕. ความติดใจ
         ๓. ความกำหนัด                                                     ๖. ความชอบใจในอารมณ์
         รวมความว่าโลภมูลจิต มีโลภะเป็นตัวนำ
โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง่าเค้ามูลมาจาก
                                    ๑. ไม่ชอบ                                                  ๖. โกรธ
                                    ๒. เสียใจ                                                  ๗. เกลียด
                                    ๓. กลุ้มใจ                                                 ๘. กลัว
                                    ๔. รำคาญ                                                 ๙. ประทุษร้าย
                                    ๕. หงุดหงิด                                            ๑๐. ทำลาย
         รวมความว่าโทสมูลจิตไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ
โมหมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง่าเค้ามูลมาจาก
          ๑. ความหลง                       ๒. ความงมงาย                  ๓. ความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย
   รวมความว่าโมหมูลจิต มีโมหะเป็นตัวนำ

โลภมูลจิต
   โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีความอยากได้เป็นมูลเหตุ หรือเป็นจิตที่มีโลภะเป็นตัวนำ จะเรียกว่า โลภสหคตจิต คือ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ
เหตุให้เกิดโลภะมี ๔ ประการ
          ๑. ปฏิสนธิมาด้วยกรรมที่มีโลภะเป็นบริวาร
          ๒. จุติมาจากภพที่มีโลภะมาก
          ๓. ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี ๆ อยู่เนือง ๆ
          ๔. ได้เห็นสิ่งที่เป็นที่ชอบใจ
โลภมูลจิต หรือโลภสหคตจิต มี ๘ ดวง
          ๑. โสมนัสสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
          ๒. โสมนัสสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง สสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
          ๓. โสมนัสสสหคตัง ทิฏฐิคตวิปปยุตตัง อสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
          ๔. โสมนัสสสหคตัง ทิฏฐิคตวิปปยุตตัง สสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
          ๕. อุเปกขาสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
          ๖. อุเปกขาสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง สสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
          ๗. อุเปกขาสหคตัง ทิฏฐิคตวิปปยุตตัง อสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่ง
ชักชวน
          ๘. อุเปกขาสหคตัง ทิฏฐิคตวิปปยุตตัง สสังขาริกัง จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
โลภมูลจิต ๘ ดวง มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจอยู่ ๓ คู่ คือ
          คู่ที่ ๑ โสมนัสสสหคตัง (จิตดวงที่ ๑-๔) แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความดีใจนั้นต้องถึงกับมีปิติ คือ ความอิ่มเอิบใจด้วย อุเปกขาสหคตัง (จิตดวงที่ ๕-๘) แปลว่าเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ มีความหมายว่าดีใจเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับปลื้มปิติอิ่มเอิบใจ
          คู่ที่ ๒ ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง กับ ทิฏฐิคตวิปปยุตตัง (ดวงที่ ๑-๒,๕-๖ กับ ๓-๔,๗-๘) คำว่า "ทิฏฐิ" แปลตามพยัญชนะ คือความเห็น แต่ตามความหมายแห่งธรรม ถ้าใช้คำว่า "ทิฏฐิ" ลอย ๆ หมายถึง "มิจฉาทิฏฐิ" คือความเห็นผิด เว้นแต่ที่ใดบ่งไว้ว่า "สัมมาทิฏฐิ" หรือ "ทิฏฐิวิสุทธิ" หมายถึง ความเห็นชอบ เห็นถูกต้องตามสภาพแห่งความเป็นจริง ทิฏฐิคตสัมปยุตต ในโลภมูลจิตนี้ หมายถึง ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิโดยตรงทีเดียว เช่น เห็นผิดว่า บาปไม่มี ผลแห่งการทำบาปไม่มี ทิฏฐิคตวิปปยุตต ในโลภมูลจิตนี้ หมายเพียงว่าไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเท่านั้น หรือทำไปโดยไม่รู้ แต่ไม่ถึงกับอวดรู้ โทษทัณฑ์ก็ย่อมเบาหน่อย
          คู่ที่ ๓ อสังขาริก แปลว่า เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งชักชวน จิตที่เป็นอสังขาริก(ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว) เพราะอำนาจ ๖ อย่างดังนี้
          ๑. มีปฏิสนธิจิตที่เกิดจากอสังขาริก เพราะในอดีตได้สั่งสมอสังขาริกมาก่อน
          ๒. มีกายและจิตเข้มแข็ง
          ๓. มีความอดทนอดกลั้นสูง
          ๔. เห็นอานิสงส์ในการงานของบุรุษที่กระทำขึ้น เห็นประโยชน์ของการงาน
          ๕. มีความชำนาญในการงาน
          ๖. ได้รับอากาศดี และมีอาหารดี สสังขาริก แปลว่า เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
          สิ่งชักชวน ชักนำ ชักจูง นั้นคือ สังขาร แปลว่าปรุงแต่ง สังขารในที่นี้หมายถึง ชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ คือคิดถึงเรื่องเพลิดเพลิน แล้วเกิดโลภจิตขึ้น หรือคิดถึงเรื่องไม่ดีไม่ชอบใจก็เกิดโทสะขึ้น
จิตที่เป็นสสังขาริก เพราะอำนาจ ๖ อย่าง ดังนี้
          ๑. มีปฏิสนธิจิตเป็น สสังขาริก เพราะในอดีตจะทำความดีต้องอาศัยผู้อื่นชักชวนจึงทำ
          ๒. มีกายและจิตใจไม่เข้มแข็ง คือร่างกายอ่อนแอและจิตใจก็อ่อนแอด้วยจึงไม่ทำ
          ๓. มีความอดทนน้อย ไม่อดทนต่อความร้อนหนาว ความหิวกระหาย ทนไม่ได้
          ๔. ไม่เห็นอานิสงส์ของการงานของบุรุษ มองไม่เห็นประโยชน์ของการงานเลย ไม่ทำจึงอ่อนแอ ต้องมีผู้ชักชวน
          ๕. ไม่มีความชำนาญในการงาน เพราะทำไม่เป็นจึงต้องคอยผู้ชักชวนจึงลงมือทำ
          ๖. ไม่ได้รับอากาศที่ดีและได้รับอาหารที่ไม่ดี
เหตุให้เกิดโสมนัสในโลภมูลจิต
          ๑. มีปฏิสนธิจิตเป็นโสมนัส
          ๒. ไม่มีความสุขุมคัมภีรภาพ มีความคิดตื้นเป็นปกติ คือ ไม่มีความคิดนึกลึกซึ้ง
          ๓. ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี
          ๔. พ้นจากความพินาศ ๕ ประการ คือ
                    (๑.) ญาติพฺยสน ความพินาศแห่งญาติ
                    (๒.) โภคพฺยสน ความพินาศแห่งทรัพย์สมบัติ
                    (๓.) โรคพฺยสน ความพินาศเพราะโรคภัยเบียดเบียน
                    (๔.) ทิฏฐิพฺยสน ความพินาศเนื่องด้วยเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
                    (๕.) สีลพฺยสน ความพินาศด้วยประพฤติผิดศีลธรรม เหตุให้เกิดอุเบกขาในโลภมูลจิต
          ๑. มีปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขา
          ๒. มีความสุขุมคัมภีรภาพ มีความคิดลึกซึ้งเป็นปกติ
          ๓. ได้ประสบกับอารมณ์ที่ปานกลาง
          ๔. พ้นจากความพินาศ ๕ ประการ (ดูข้อ๔ ของเหตุให้เกิดโสมนัสในโลภมูลจิต)
          ๕. มีสันดานเป็นคนใบ้
เหตุให้เกิดทิฏฐิคตสัมปยุตต
          ๑. มีมิจฉาทิฏฐิเป็นจริตอัธยาศัย
          ๒. ชอบคบหากับผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
          ๓. ไม่ได้ศึกษาพระสัทธรรม
          ๔. ชอบนึกคิดแต่เรื่องที่ผิด ๆ
          ๕. จมอยู่ในความพิจารณาที่ไม่แยบคาย
เหตุให้เกิดทิฏฐิคตวิปปยุตต
          ๑. ไม่เป็นคนทิฏฐิจริต (ไม่มีความเห็นผิด)
          ๒. ไม่คบหาสมาคมกับคนมิจฉาทิฏฐิ
          ๓. มุ่งหน้าเข้าหาพระสัทธรรม
          ๔. มากไปด้วยความคิดถูกคิดชอบ
          ๕. ไม่จมอยู่ในความพิจารณาที่ไม่แยบคา

โทสมูลจิต
          โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีความโกรธความเกลียดเป็นมูลเหตุ หรือเป็นจิต ที่มีโทสะเป็นตัวนำ หรือเรียกว่า "ปฏิฆจิต" คือจิตที่กระทบอารมณ์ที่ไม่ชอบ เหตุให้เกิดโทสะหรือปฏิฆะ มี ๕ ประการ ได้แก่
          ๑. มีอัธยาศัยเป็นคนมักโกรธ
          ๒. มีความคิดไม่สุขุม
          ๓. มีการศึกษาน้อย
          ๔. ได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี
          ๕. ได้ประสบกับอาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
                    ๑. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
                    ๒. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
                    ๓. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
                    ๔. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
                    ๕. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
                    ๖. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
                    ๗. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ คุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง
                    ๘. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ คุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง
                    ๙. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ คุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง
                    ๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่น เกิดโกรธขึ้นเมื่อเดินสะดุดตอไม้หรือเหยียบหนาม เป็นต้น
โทสมูลจิต หรือ ปฏิฆจิต มี ๒ ดวง คือ
          ๑. โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง อสังขาริกัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
          ๒. โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง สสังขาริกัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
          โทมนัสสสหคตัง แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ
          โทมนัสนี้เป็นเวทนา ชื่อว่า โทมนัสเวทนา เกิดได้พร้อมกับโทสจิต ๒ ดวงเท่านั้นเอง จะเกิดพร้อมกับจิตอื่นไม่ได้
          ปฏิฆสัมปยุตตัง แปลว่า ประกอบด้วยความโกรธ
          ปฏิฆะ ความโกรธ องค์ธรรมได้แก่โทสเจตสิก
          ปฏิฆะหรือโทสะจะต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา จะเกิดพร้อมกับ เวทนาอื่นไม่ได้
                    (๑) โทมนัสเป็นเวทนาเจตสิก มีลักษณะเสวยอารมณ์ที่ไม่ดีเป็นเวทนาขันธ์
                    (๒) ปฏิฆะเป็นโทสเจตสิก มีลักษณะดุร้าย หยาบคาย เป็นสังขารขันธ์ โทมนัสเวทนาจะต้องเกิดกับปฏิฆะเสมอ เพราะเป็นธรรมที่ต้องเกิดร่วมกัน

โมหมูลจิต
          โมหมูลจิต เป็นจิตที่มีความไม่รู้ ความหลงเป็นมูลเหตุ หรือเป็นจิตที่มีโมหะ เป็นตัวนำ จิตนี้เรียกว่า "โมมูหจิต" คือจิตที่ประกอบด้วยความหลง โมหะหรืออวิชชา มีความหมายอย่างเดียวกัน โมหะนี้เป็นรากเง้าแห่ง บาปอกุสลทั้งหมด เหตุให้เกิดโมหะ ได้แก่ "อโยนิโสมนสิการ" คือ การพิจารณาไม่แยบคาย พิจารณาไม่ละเอียดลึกซึ้งให้ถึงสภาพแห่งอารมณ์นั้น ๆ
โมหมูลจิต หรือโมมูหจิต มี ๒ ดวง
          ๑. อุเปกขาสหคตัง วิจิกิจฉาสัมปยุตตัง จิตหลงเกิดพร้อมกับความเฉย ๆ ประกอบด้วยความสงสัย
          ๒. อุเปกขาสหคตัง อุทธัจจสัมปยุตตัง จิตหลงเกิดพร้อมกับความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
          อุเปกขาสหคตัง ในโมหมูลจิตนี้หมายถึง เฉยเพราะไม่รู้
          วิจิกิจฉาสัมปยุตตัง แปลว่า ประกอบด้วยความสงสัยลังเลไม่แน่ใจ ตัดสินลงไปไม่ได้ หมายถึงเฉพาะสงสัยในธรรม ๘ ประการเท่านั้น
          อุทธัจจสัมปยุตตัง แปลว่า ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน มีความหมายว่า จิตคิดฟุ้งซ่านไป เลื่อนลอยไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่สงบหรือไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว คิดไปเรื่อย ๆ ไม่มุ่งมั่นอย่างจริงจังในสิ่งที่คิดเท่าใดนัก
ความสงสัยในธรรม ๘ ประการ
          ๑. สงสัยในพระพุทธเจ้า (ว่าพระพุทธเจ้ามีตัวตนจริงหรือ พระพุทธเจ้ามีพระพุทธคุณจริงหรือ)
          ๒. สงสัยในพระธรรม (ว่ามัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มีจริงหรือ พระธรรมนี้จะนำให้ออกจากทุกข์ได้จริงหรือ)
          ๓. สงสัยในพระอริยะสงฆ์ (ว่ามีจริงหรือ ผลแห่งทานที่ถวายแก่สงฆ์มีจริงหรือ)
          ๔. สงสัยในสิกขาบท คือ สีล สมาธิ ปัญญา ว่ามีจริงหรือ ผลานิสงส์แห่งการศึกษาปฏิบัติในสิกขา ๓ มีจริงหรือ
          ๕. สงสัยชาติที่แล้วมีจริงหรือ
          ๖. สงสัยว่าชาติหน้ามีจริงหรือ
          ๗. สงสัยว่าชาติที่แล้วและชาติหน้ามีจริงหรือ
          ๘. สงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลอาศัยกันเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสายเลยนั้นมีจริงหรือ
          ส่วนความสงสัยอื่น ที่ไม่ใช่ธรรม ๘ ประการดังกล่าวแล้ว ไม่ใช่กิเลส ไม่จัดเป็นวิจิกิจฉา
ปฏิจจสมุปปาทธรรม ๑๒ องค์
๑. อวิชชา                      เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
๒. สังขาร                     เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
๓. วิญญาณ                  เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
๔. นามรูป                    เป็นปัจจัยให้เกิด อายตนะ ๖
๕. อายตนะ ๖               เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
๖. ผัสสะ                       เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
๗. เวทนา                     เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
๘. ตัณหา                     เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
๙. อุปาทาน                  เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
๑๐. ภพ                         เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
๑๑. ชาติ                        เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณะ
๑๒. ชรา มรณะเกิดขึ้นแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ย่อมเกิดตามมาด้ว

สัมปยุตตในอกุศลจิต
ในอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนี้ มีสัมปยุตตรวม ๔ ประการ คือ
          ๑. ทิฏฐิคตสัมปยุตต ในโลภจิตที่สัมปยุตตด้วยทิฏฐิรวม ๔ ดวง
          ๒. ปฏิฆสัมปยุตต ในโทสจิตทั้ง ๒ ดวง
          ๓. วิจิกิจฉาสัมปยุตต ในโมหจิตดวงที่ ๑
          ๔. อุทธัจจสัมปยุตต เฉพาะอย่างยิ่งในโมหจิตดวงที่ 

อกุสลกรรมบถ
          อกุสลกรรมบถ คือ ทางแห่งการทำบาปมี ๑๐ เรียก อกุสลกรรมบถ ๑๐ หรือ ทุจจริต ๑๐ ได้แก่
๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์                            เป็นกายกรรม ๓
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ล่วงประเวณี                หรือกายทุจจริต ๓


๔. มุสาวาท พูดปด
๕. ปิสุณาวาท พูดส่อเสียด                           เป็นวจีกรรม ๔
๖. ผรุสวาท พูดคำหยาบ                              หรือวจีทุจจริต ๔
๗. สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ


๘. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้
๙. พยาบาท คิดปองร้ายเขา                         เป็นมโนกรรม ๓
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด                   หรือมโนทุจจริต ๓
          ปาณาติบาต
          ผรุสวาท                  เกิดขึ้นโดยโทสมูลจิต มีโทสะเป็นมูลเหตุตัวนำ
          พยาบาท
          กาเมสุมิจฉาจาร
          อภิชฌา                   เกิดขึ้นโดยโลภมูลจิต มีโลภะเป็นมูลเหตุตัวนำ
          มิจฉาทิฏฐิ
          อทินนาทาน
          มุสาวาท                 บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยโลภมูลจิตมีโลภะเป็นมูลเหตุตัวนำ
          ปิสุณาวาท              บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยโทสมูลจิตมีโทสะเป็นมูลเหตุตัวนำ
          สัมผัปปลาป
          จะเห็นได้ว่าอกุสลกรรมบถ ๑๐ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยโมหมูลจิต แต่โดยมูลเหตุให้เกิดอกุสลกรรมบถ ๑๐ นั้น มีโมหะเป็นตัวหนุนให้เกิด เพราะโลภจิตจะเกิดขึ้นก็มีโมหะเกิดด้วย และเมื่อโทสจิตเกิดขึ้น ก็มีโมหะเกิดด้วยเหมือนกัน

ผลแห่งโลภะ โทสะ โมหะ
          อกุสลจิต เป็นจิตที่บาปส่วนมากเป็นเหตุให้ได้รับผลดังนี้
          โลภะ เป็นจิตที่มีความอยากได้เป็นมูลเหตุ เป็นผลให้ไปเกิดเป็น เปรต เป็นอสุรกาย ด้วยอำนาจแห่งโลภะ
          สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโลภะ สมัยนั้นจะเกิดข้าวยากหมากแพง เป็นเหตุให้อดอยากล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก
          โทสะ เป็นจิตที่มีความโกรธ ความเกลียดเป็นมูลเหตุ เป็นผลให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก อันเป็นที่ทรมานสัตว์ให้เร่าร้อนเช่นเดียวกับสภาวะของโทสะ ที่ดุร้าย ทำลาย ทรมานเผาไหม้หัวใจอยู่ทุกขณะ
          สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโทสะ สมัยนั้นจะเกิดอันตรายจากศาตราวุธต่าง เป็นเหตุให้ฆ่าฟันกันล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก
          โมหะ เป็นจิตที่มีความไม่รู้ ความหลงเป็นมูลเหตุ เป็นผลให้ไปเกิดเป็นดิรัจฉาน ด้วยอำนาจแห่งโมหมูลจิต เพราะเป็นสภาพที่ยังสัตว์ให้ลุ่มหลงงมงาย
          สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโมหะ สมัยนั้นจะเกิดอันตรายจากโรคร้ายไข้เจ็บ เป็นเหตุให้เป็นโรคระบาด ล้มหายตายจากกันเป็นอันมา

อกุสลจิตเป็นธรรมที่ควรละ
          อกุสลจิต เป็นจิตที่ชั่ว ที่บาป มีโทษและให้ผลเป็นทุกข์ จึงเป็นธรรมที่ควรละ
          โลภมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความโลภ ความอยากได้ ถ้าไม่ระมัดระวังไว้บ้างก็จะอยากได้จนหาประมาณหาที่สุดมิได้ จงละด้วยสันโดษ
          ๑. ความพอใจเท่าที่มีอยู่
          ๒. ความพอใจเท่าที่กำลังตนจะหาได้
          ๓. ความพอใจเท่าที่จะพึงหาได้โดยชอบธรรม
          โทสมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความเกลียด โกรธ ประทุษร้าย ทำลาย อันมีแต่ความวู่วามก่อให้เกิดโทษ จงละด้วยเมตตา โดยพิจารณาเสมอ ๆ ว่า ตัวเราเกลียดทุกข์ ต้องการความสุขฉันใด ผู้อื่นสัตว์อื่นก็เกลียดทุกข์แสวงสุขเหมือนตัวเราฉันนั้น
วิธีที่จะประหานโทสะ ๖ ประการ คือ
          ๑. ศึกษาในเมตตานิมิต
          ๒. ประกอบภาวนาในเมตตาบ่อย ๆ
          ๓. พิจารณาว่าเป็นกรรมของตน
          ๔. ทำให้มากด้วยปัญญา
          ๕. มีมิตรที่ดี (ที่มีเมตตา)
          ๖. ได้ฟังถ้อยคำที่สบาย (เมตตากถา)
          โมหมูลจิต แม้จะไม่เห็นโทษเด่นชัด แต่ก็มีโทษไม่น้อย เปรียบเสมือนสนิมเหล็ก ที่กัดกินเนื้อเหล็ก ให้กร่อนลงทีละน้อย จนขาดผุไปอย่างไม่รู้ตัว
วิธีประหานโมหะ เหตุที่ประหานวิจิกิจฉา ๖ ประการ
          ๑. เป็นพหูสูต ได้ยินได้ฟังมามาก
          ๒. หมั่นสอบสวนทวนถาม
          ๓. รอบรู้ชำนาญและเคร่งในวินัย
          ๔. มากด้วยการตัดสินใจเชื่อ
          ๕. มีมิตรที่ดี
          ๖. ได้ฟังถ้อยคำอันเป็นที่สบาย (สัปปายกถา)
เหตุที่ประหานอุทธัจจะ ๖ ประการ
          ๑. เป็นพหูสูต ได้ยินได้ฟังมามาก
          ๒. หมั่นสอบสวนทวนถาม
          ๓. รอบรู้ชำนาญและเคร่งในวินัย
          *๔. ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าบ่อย ๆ
          ๕. มีมิตรที่ดี
          ๖. ได้ฟังถ้อยคำอันเป็นที่สบาย (สัปปายกถา)

จำแนกอกุศลจิตโดยประเภทต่าง ๆ มีชาติเภทเป็นต้น
          ในบรรดาจิตทั้งหมดนั้น ยังจำแนกเป็นประเภทต่างๆมีชาติเภทเป็นต้นอีกตั้ง ๙ ประเภท คือ ๑. ชาติเภท ๒. ภูมิเภท ๓. เวทนาเภท ๔. เหตุเภท ๕. สังขารเภท ๖. สัมปยุตตเภท ๗. โสภณเภท ๘. โลกเภท ๙. ฌานเภท
          แต่ละประเภทมีความหมายอย่างใด จะได้กล่าวต่อไปนี้ พร้อมกับแสดงประเภทต่างๆ แห่งอกุศลจิตนั้นเลยทีเดียว
          ๑. ชาติเภท จำแนกจิตโดยประเภทแห่งชาติ คือจิตทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยชาติแล้ว ก็มี ๔ ชาติ ได้แก่ ก. อกุศลชาติ ข. กุศลชาติ ค. วิบากชาติ และ ง. กิริยาชาติ
                    ก. อกุศลชาติ หรือ ชาติอกุศล หมายถึง อกุศลจิต ซึ่งเป็นจิตที่มีโทษให้ผลเป็นทุกข์
                    ข. กุศลชาติ หรือ ชาติกุศล หมายถึง กุศลจิต ซึ่งเป็นจิตที่ปราศจากโทษ ให้ผลเป็นสุข
                    ค. วิบากชาติ หรือ ชาติวิบาก หมายถึงวิบากจิต ซึ่งเป็นจิตที่เป็นผลของอกุศล เรียกว่า อกุศลวิบากจิต จิตที่เป็นผลของกุศล เรียกว่า กุศลวิบากจิต
                    ง. กิริยาชาติ หรือ ชาติกิริยา หมายถึง กิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่ใช่ผลของอกุศล ไม่ใช่ผลของกุศล ไม่ใช่จิตที่เป็นอกุศล   ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศลและเป็นจิตที่ไม่ก่อ ให้เกิดอกุศลวิบาก หรือกุศลวิบากแต่อย่างใดเลย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำเท่านั้นเอง
          อนึ่ง วิบากชาติ กับกิริยาชาติ รวมเรียกว่า ชาติอพยาตก ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่า อพยากตชาติเป็นชาติที่ไม่ใช่บุญและไม่ใช่บาปเท่านั้น สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นชาติอกุศลทั้ง ๑๒ ดวง
          ๒. ภูมิเภท จำแนกจิตโดยประเภทแห่งภูมิ คำว่า ภูมิในที่นี้หมายถึงชั้นของจิต พื้นเพของจิต ซึ่งจำแนกเป็น ๔ ภูมิ หรือ ๔ ชั้นด้วยกัน คือ ก. กามาวจรภูมิ ข. รูปาวจรภูมิ ค. อรูปาวจรภูมิ และ ง. โลกุตตรภูมิ
                    ก. กามาวจรภูมิ หมายถึงชั้นกามาวจร จิตชั้นกาม พื้นเพของจิตติดอยู่ในกามคุณ ในบรรดาจิตทั้งหมดนั้น ถือว่าจิตนี้มีพื้นเพต่ำกว่าเพื่อนถึงจัดว่าเป็น หินะ คือ เป็นจิตชั้นต่ำ
                    ข. รูปาวจรภูมิ หมายถึงจิตชั้นรูปาวจร จิตชั้นรูปฌาน พื้นเพของจิตสูงถึงชั้นรูปพรหม ดำรงอยู่ในพรหมวิหารธรรม จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐะ ชั้นอุกฤษฏ์ ชั้นสูง
                    ค. อรูปาวจรภูมิ หมายถึงจิตชั้นอรูปาวจร จิตชั้นอรูปพรหม พื้นเพของจิตละเอียดอ่อนถึงชั้นอรูปพรหม จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐตระ ชั้นอุกฤษฏ์ยิ่ง ชั้นสูงยิ่ง บรรดาโลกียจิตคือจิตที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะแล้ว จิตชั้นนี้เป็นชั้นสูงยิ่ง ประเสริฐยิ่งกว่าในฝ่ายโลกีย
                    ง. โลกุตตรภูมิ หมายถึงจิตชั้นโลกุตตร จิตชั้นที่ให้พ้นจากโลกให้พ้นจากทุกข์ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปเลย
          ในบรรดาจิตทั้งหมดไม่มีจิตชั้นในจะประเสริฐสุดเท่าจิตชั้นนี้ได้เลย จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐตมะ อันเป็นชั้นประเสริฐสุดยอด ซึ่งไม่มีจิตใดจะประเสริฐเท่าเทียมถึงเลย
          สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ คือเป็นจิตในชั้นกามทั้ง ๑๒ ดวง
          ๓. เวทนาเภท โดยประเภทแห่งเวทนา คือการเสวยอารมณ์ ในที่นี้จำแนกจิตโดยเวทนา ๕ อันได้แก่
สุขเวทนา เป็นความสุขทางกาย ๑
ทุกขเวทนา เป็นความทุกข์ทางกาย ๑
โสมนัสเวทนา เป็นความสุขทางใจ ๑
โทมนัสเวทนา เป็นความทุกข์ทางใจ ๑
และอุเบกขาเวทนา ไม่ทุกข์ไม่สุบเป็นความเฉยๆ ๑
          สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เกิดพร้อมกับเวทนาถึง ๓ อย่าง คือ โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา มีรายละเอียดดังนี้
          โสมนัสเวทนา เกิดแก่โลภมูลจิตที่เป็นโสมนัส ๔ ดวง
          โทมนัสเวทนา เกิดแก่โทสมูลจิต ๒ ดวง
          อุเบกขาเวทนา เกิดแก่โลภมูลจิตที่เป็นอุเบกขา ๔ ดวง
          และโมหมูลจิตอีกทั้ง ๒ ดวง
          อนึ่ง มีข้อที่ควรสังเกตว่า จิตทุก ๆ ดวง ( เว้นแต่โลกุตตรจิต ๘ ดวง เท่านั้น ) ชื่อของจิตแต่ละดวงได้ระบุบอกเวทนาไว้ด้วยแล้ว ทำให้สะดวกแก่การค้นหาและจดจำ
          ๔. เหตุเภท โดยประเภทแห่งเหตุ จำแนกได้เป็น ๒ คือ อเหตุกและสเหตุก
          อเหตุก หมายว่า ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือไม่มีเหตุประกอบ และเหตุในที่นี้ก็หมายเฉพาะ เหตุ ๖ อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ
          ดังนั้นอเหตุกจึง มีความหมายว่า เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ นี้ประกอบเลยแม้แต่เหตุเดียว
          สเหตุก มีความหมายว่า เป็นจิตที่เป็นสัมปยุตตเหตุ เป็นจิตที่มีเหตุ ๖ นั้นประกอบด้วย แม้ว่าจะมีเหตุ ๖ เพียงเหตุเดียวประกอบ ก็ได้ชื่อว่า สเหตุก
          สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นสเหตุกจิตทั้ง ๑๒ ดวง มีรายละเอียดดังนี้
          โลภมูลจิต ๘ ดวง มีสัมปยุตตเหตุ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
          โทสมูลจิต ๒ ดวง มีสัมปยุตตเหตุ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ
          โมหมูลจิต ๒ ดวง มีสัมปยุตตเหตุเพียงเหตุเดียว คือ โมหเหตุเท่านั้น
          อนึ่ง มีข้อที่ควรทราบว่าสเหตุจิตนั้น จิตแต่ละดวงมีสัมปยุตตเหตุอย่างน้อยเพียงเหตุเดียว แต่อย่างมากไม่เกิน ๓ เหตุ
          ๕. สังขารเภท โดยประเภทแห่งสังขาร จำแนกได้เป็น ๒ คือ อสังขาริก และสสังขาริก
          อสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีสิ่งชักชวน
          สสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะมีสิ่งชักชวน
          สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็น อสังขาริก ๗ ดวง ได้แก่
โลภมูลจิตที่เป็นอสังขาริก ๔ ดวง
โทสมูลจิตที่เป็นอสังขาริก ๑ ดวง
และโมหมูลจิตอีก ๒ ดวง
          ซึ่งจัดเป็นอสังขาริกด้วย เป็นสสังขาริก ๕ ดวง
          โลภมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง
          ๖. สัมปยุตตเภท โดยประเภทแห่งสัมปยุตต จำแนกได้เป็น ๒ คือ สัมปยุตต และ วิปปยุตต
          สัมปยุตตเภท ( ไม่ใช่สัมปยุตตเหตุ ) ในจิตทั้งหมดนั้น มีสัมปยุตต ๕ ประการ คือ
          ก. ทิฏฐิสัมปยุตต ประกอบด้วยความเห็นผิด
          ข. ปฏิฆสัมปยุตต ประกอบด้วยความโกรธ
          ค. วิจิกิจฉาสัมปยุตต ประกอบด้วยความลังเลสงสัย
          ง. อุทธัจจสัมปยุตต ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
          จ. ญาณสัมปยุตต ประกอบด้วยปัญญา
          ส่วนวิปปยุตตนั้นถ้าไม่ประกอบด้วยสัมปยุตต ก็เรียกว่าวิปปยุตต สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง
          เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง ได้แก่
โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง
          เป็นทิฏฐิวิปยุตต ๔ ดวง ได้แก่
โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปยุตต ๔ ดวง
          เป็นปฏิฆสัมปยุตต ๒ ดวง ได้แก่
โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
          เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง ได้แก่
โมหมูลจิตดวงที่ ๑
          เป็นอุทธัจจสัมปยุตต ๑ ดวง ได้แก่โมหมูลจิตดวงที่ ๒
          ๗. โสภณเภทโดยประเภทแห่งโสภณะ จำแนกได้เป็น ๒ คือ โสภณะ และอโสภณะ
          โสภณะ เป็นจิตที่ดีงาม มีโสภณเจตสิกประกอบ
          อโสภณะ ไม่ได้หมายว่าเป็นจิตที่ไม่ดีไม่งาม แต่หมายเพียงว่าเป็นจิตที่ไม่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วยเท่านั้นเอง
          สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นอโสภณะ เพราะไม่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วยเลยทั้ง ๑๒ ดวง
          ๘. โลกเภท โดยประเภทแห่งโลก จำแนกได้เป็น ๒ คือ โลกียะและโลกุตตระ
          โลกียะ หมายถึงจิตที่ยังข้องอยู่ในกามโลก รูปโลก อรูปโลก ซึ่งยังต้องวนเวียนอยู่ใน กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ คือไม่พ้นไปจากโลกทั้ง ๓ หรือภูมิทั้ง ๓ ได้
          โลกุตตระ หมายถึงจิตที่พ้นจากความข้องความติดอยู่ในโลกทั้ง ๓ นั้นแล้ว ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกทั้ง ๓ ในภูมิทั้ง ๓ นั้นอีกต่อแไปแล้ว
          สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นโลกียจิตทั้ง ๑๒ ดวง เพราะยังไม่พ้นไปจากโลกทั้ง ๓ หรือ ภูมิทั้ง ๓ เลย
          ๙. ฌานเภท โดยประเภทแห่งฌาน จำแนกได้เป็น ๒ คือ ฌาน และ อฌาน
ฌาน หมายถึงจิตที่มีฌาน จิตที่ได้ฌาน จิตที่ถึงฌาน
อฌาน หมายถึงจิตที่ไม่ได้ฌาน
สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นจิตที่ไม่ใช่ฌานจิตทั้ง ๑๒ ดว

อเหตุกจิต
          อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุบาป หรือเหตุบุญประกอบ
          เหตุบาปเรียกว่า อกุสลเหตุ มี ๓ เหตุ
          เหตุบุญเรียกว่า กุสลเหตุ มี ๓ เหตุ
          อเหตุกจิตเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบ
          เหตุบาป หรือ อกุสลเหตุ มีโลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
          เหตุบุญ หรือ กุสลเหตุ มีอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อเหตุกจิต มีจำนวน ๑๘ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก ดังนี้
          ๑. อกุสลวิบากจิต ๗ ดวง
          ๒. อเหตุกกุสลวิบากจิต ๘ ดวง
          ๓. อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง
          รวม ๑๘ ดว

อกุสลวิบากจิต
          เป็นจิตที่เป็นผลของอกุสลกรรม เป็นผลของฝ่ายชั่ว ฝ่ายบาปอกุสล ซึ่งได้กระทำสั่งสมมาแล้วแต่อดีต จึงต้องมาได้รับผลเป็นอกุสลวิบากจิต อันเป็นผลไม่ดี มี ๗ ดวง ดังนี้
          ๑. อุเปกขาสหคตัง อกุสลวิปากัง จักขุวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของอกุสล เห็นรูปที่ไม่ดี
          ๒. อุเปกขาสหคตัง อกุสลวิปากัง โสตวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของอกุสล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี
          ๓. อุเปกขาสหคตัง อกุสลวิปากัง ฆานวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของอกุสล ได้กลิ่นที่ไม่ดี
          ๔. อุเปกขาสหคตัง อกุสลวิปากัง ชิวหาวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของอกุสล ได้รสที่ไม่ดี
          ๕. ทุกขสหคตัง อกุสลวิปากัง กายวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุสล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดี
          ๖. อุเปกขาสหคตัง อกุสลวิปากัง สัมปฏิจฉันจิตตัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุสลรับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี
          ๗. อุเปกขาสหคตัง อกุสลวิปากัง สันตีรณจิตตัง
          จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุสล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี
          อกุสลวิบากจิต ดวงที่ ๑-๔ เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา คือ ความเฉย ๆ อย่างเดียว ไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
          ส่วนอกุสลวิบากจิตดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เพราะกายวิญญาณ เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกันระหว่างมหาภูตรูป (คือความแข็ง ความร้อน) กับ อุปาทายรูป (คือกายปสาท) เปรียบเหมือนเอาฆ้อนตีสำลีที่วางอยู่บนทั่งย่อมมีกำลังแรง จึงก่อให้เกิดทุกข์

อเหตุกกุสลวิบากจิต
          เป็นจิตที่เป็นผลของกุสลกรรม เป็นผลของฝ่ายดีฝ่ายบุญกุสล ที่ได้กระทำสั่งสม มาแต่อดีต จึงได้มารับผลเป็น อเหตุกกุสลวิบากจิต อันเป็นผลที่ดี มี ๘ ดวงดังนี้
          ๑. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง จักขุวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล เห็นรูปที่ดี
          ๒. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง โสตวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล ได้ยินเสียงที่ดี
          ๓. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง ฆานวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล ได้กลิ่นที่ดี
          ๔. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง ชิวหาวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล ได้รสที่ดี
          ๕. สุขสหคตัง กุสลวิปากัง กายวิญญาณัง จิตเกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เป็นผลของกุสล กายได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ดี
          ๖. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง สัมปฏิจฉันจิตตัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี
          ๗. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง สันตีรณจิตตัง จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี
          ๘. โสมนัสสหคตัง กุสลวิปากัง สันตีรณจิตตัง
          จิตเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาเป็นผลของกุสล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี
          อเหตุกกุสลจิตดวงที่ ๑-๔ เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา คือความเฉย ๆ อย่างเดียว ไม่รู้สึกเป็นสุข (เป็นการกระทบกันระหว่างอุปาทายรูปกับอุปาทายรูป)
          ส่วนอเหตุกกุสลวิบากจิต ดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เพราะกายวิญญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกันระหว่างมหาภูตรูป(คือความแข็ง ความร้อน) กับอุปาทายรูป (คือกายปสาท) จึงรู้สึกเป็นสุขเวทนากับกายปสาทขึ้น
          อนึ่ง อเหตุกกุสลวิบากจิต มีมากกว่า อกุสลวิบากจิต ๑ ดวง คือโสมนัสสันตีรณจิต ซึ่งทางฝ่ายอกุสลวิบากจิตไม่มีโทมนัสสันตีรณจิต เป็นคู่กันเหมือน ๗ คู่ข้างต้นนั้น ก็เพราะโทมนัสเป็นโทสะ เมื่อเกิดโทสะต้องมีโมหะหนุน จึงเป็นการมีเหตุประกอบ คือ โทสเหตุ กับโมหเหตุ ถ้าเข้าประกอบก็มิใช่ อเหตุกจิต ด้วยเหตุนี้ทางด้านอกุสลวิบากจิตจึงไม่มีโทมนัสสันตีรณจิต

อเหตุกกิริยาจิต
          เป็นจิตที่ไม่ใช่ผลของบาปอกุสลหรือบุญกุสล ทั้งเป็นจิตที่ไม่ใช่เป็นตัวกุสลหรืออกุสล ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำไปตามหน้าที่การงานของตนเท่านั้น จึงไม่สามารถจะก่อให้เกิดผลบุญหรือบาปต่อไปได้ มีจำนวน ๓ ดวง ดังนี้
          ๑. อุเปกขาสหคตัง ปัญจทวาราวัชชนจิตตัง จิตเกิดพร้อมด้วยความ เฉย ๆ พิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕
          มีความหมายว่า เป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบว่าเป็นอารมณ์ทางทวารไหน จะได้ให้สัญญาณแก่วิญญาณจิตทางทวารนั้นรับอารมณ์ เปรียบเหมือนนายประตู ที่รักษาประตูพระราชวัง คอยเปิดให้เข้าตามฐานะของบุคคลนั้น ๆ
          ๒. อุเปกขาสหคตัง มโนทวาราวัชชนจิตตัง จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวาร มีความหมายว่า จิตนี้ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ ๕ ทางทวาร ๕ และมีหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เกิดทางมโนทวาร คือทางใจนึกคิดโดยตรงด้วย
          ๓. โสมนัสสหคตัง หสิตุปปาทจิตตัง จิตที่ยิ้มแย้มของพระอรหันต์ เกิดพร้อมด้วยความโสมนัส
          มีความหมายว่าจิตดวงนี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ทั้งหลายโดยเฉพาะ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระอรหันต์ไม่ได้ยิ้มแย้มด้วยจิตดวงนี้
ขณะจิต ๑๗ ขณะ
๑. ตี = อดีตตภวังค (ภวังคในอดีต)
๒. น = ภวังคจลนะ (ภวังคไหว) รวม ๓ ดวงนี้เป็นภวังคจิตและเป็นวิบาก
๓. ท = ภวังคุปัจเฉทะ (ภวังคขาด)
๔. ป = ปัญจทวาราวัชชนะ (พิจารณาอารมณ์ที่มาถึงตนแล้วส่งต่อไปเริ่มวิถีจิตใหม่)
๕. วิ = ปัญจวิญญาณ (ทำหน้าที่รับอารมณ์ทางปัญจทวาร)
๖. สํ = สัมปฏิจฉันนะ (ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ)
๗. สัน = สันตีรณะ (ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์)
๘. ว = โวฏฐัพพนะ(ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์และกำหนดให้เป็นอกุสล กุสลหรือ กิริยา)
๙. ช
๑๐. ช
๑๑. ช
๑๒. ช = ชวนะ (ทำหน้าที่เสพอารมณ์ ทั้งกุสล อกุสล หรือกิริยา)
๑๓. ช
๑๔. ช
๑๕. ช
๑๖. ต = ตทาลัมพนะ (ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่เหลือจากชวนะ)
๑๗. ต
เมื่อครบ ๑๗ ขณะ แล้วจิตก็เป็นภวังคต่อไปใหม่

อุปปัตติเหตุ แห่งอเหตุกจิต
          อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ ประกอบเลย แต่ว่าอเหตุกจิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีเหตุ เหตุที่ให้เกิดขึ้นนี้มีชื่อว่า อุปัตติเหตุ ที่เราเรียกกันว่า อุบัติเหตุ ไม่ใช่เหตุ ๖ แต่เป็นเหตุที่ให้เกิด อุบัติเหตุนั้นมีดังนี้
อุปปัตติเหตุให้เกิด จักขุวิญญาณจิต
          ๑. จักขุปสาท มีประสาทตาดี มีนัยตาดี
          ๒. รูปารมณ์ มีรูป คือ สีต่าง ๆ
          ๓. อาโลกะ มีแสงสว่าง
          ๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด โสตวิญญาณจิต
          ๑. โสตปสาท มีประสาทหูดี
          ๒. สัททารมณ์ มีเสียง
          ๓. วิวรากาส มีช่องว่างของหู (มีอากาศ)
          ๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด ฆานวิญญาณจิต
          ๑. ฆานปสาท มีประสาทจมูกดี
          ๒. คันธารมณ์ มีกลิ่น
          ๓. วาโยธาตุ มีธาตุลม
          ๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด ชิวหาวิญญาณจิต
          ๑. ชิวหาปสาท มีประสาทลิ้นดี
          ๒. รสารมณ์ มีรส
          ๓. อาโปธาตุ มีธาตุน้ำ
          ๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด กายวิญญาณจิต
          ๑. กายปสาท มีประสาทกายดี
          ๒. โผฏฐัพพารมณ์ มีแข็ง อ่อน ร้อน เย็น หย่อน ตึง
          ๓. ถัทธปฐวี มีปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง
          ๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
ทวิปัญจวิญญาณ
          ๑. จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง (อกุสลจิต ๑ ดวง กับอเหตุกกุสลวิบากจิต ๑ ดวง)
          ๒. โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง (อกุสลจิต ๑ ดวง กับอเหตุกกุสลวิบากจิต ๑ ดวง)
          ๓. ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง (อกุสลจิต ๑ ดวง กับอเหตุกกุสลวิบากจิต ๑ ดวง)
          ๔. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง (อกุสลจิต ๑ ดวง กับอเหตุกกุสลวิบากจิต ๑ ดวง)
          ๕. กายวิญญาณจิต ๒ ดวง (อกุสลจิต ๑ ดวง กับอเหตุกกุสลวิบากจิต ๑ ดวง)
          รวม ๑๐ ดวง เรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
อุปปัตติเหตุให้เกิด มโนธาตุ
          ๑. ปัญจทวาร ได้แก่ ทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
          ๒. ปัญจารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฎฐัพพะ
          ๓. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยวัตถุรูป อันเป็นที่อาศัยเกิดแห่งจิต และเจตสิก
          ๔. มนสิการ มีความสนใจ มโนธาตุ หมายถึง จิต ๓ ดวง ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และสัมปฏิจฉันจิต ๒ ดวง
อุปปัตติเหตุให้เกิด มโนวิญญาณธาต
          ๑. มโนทวาร ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ ดวง (อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบากจิต ๙)
          ๒. อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์
          ๓. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยวัตถุ
          ๔. มนสิการ มีความสนใจ
          มโนวิญญาณธาตุ เฉพาะในอเหตุกจิตนี้ หมายถึง จิต ๕ ดวง ได้แก่ สันตีรณจิต ๓ ดวง มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และหสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
ประเภทของบุคคล ๑๒
ปุถุชน มี ๔ ได้แก่                      ทุคคติอเหตุกบุคคล                     สุคติอเหตุกบุคคล
                                                   ทวิเหตุกบุคคล                             ติเหตุกบุคคล
อริยบุคคล มี ๘ ได้แก่               โสดาปัตติมัคคบุคคล
                                                   สกทาคามิมัคคบุคคล
                                                   อนาคามิมัคคบุคคล                    มัคคบุคคล ๔
                                                   อรหัตตมัคคบุคคล
                                                   โสดาปัตติผลบุคคล
                                                   สกทาคามิผลบุคคล
                                                   อนาคามิผลบุคคล                      ผลบุคคล ๔
                                                   อรหัตตผลบุคคล
          ทุคคติอเหตุกบุคคล ๑ ได้แก่ บุคคลในอบายภูมิ รวม ๔ ภูมิ คือ นรก ๑ ภูมิ เปรต ๑ ภูมิ อสุรกาย ๑ ภูมิ และสัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ สัตว์ทั้ง ๔
ภูมิดังกล่าวปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณอกุสลวิบาก ๑ ดวง
          สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ได้แก่ มนุษย์ผู้เป็นใบ้ ตาบอด เป็นบ้า หูหนวก พิกลพิการต่าง ๆ ๑ ภูมิ และเทวดาบางจำพวกในชั้นจาตุมหาราชิกา๑ ภูมิ สัตว์ใน ๒ ภูมินี้ ปฏิสนธิด้วย อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง
          ทวิเหตุกบุคคล ๑ ได้แก่ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดาทั้ง ๖ ภูมิ (รวมเรียกว่า กามสุคติภูมิ ๗) เป็นผู้ไม่มีปัญญา สัตว์ใน ๗ ภูมินี้ ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง
          ติเหตุกบุคคล ๙ ได้แก่ ปุถุชน ๑ อริยบุคคล ๘ ปุถุชน ได้แก่ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปพรหม ๑๐ ภูมิ (เว้นสุทธาวาท ๕ ภูมิ อสัญญสัตต ๑ ภูมิ) และอรูปพรหม ๔ ภูมิรวม ๒๑ ภูมิทั้ง ๒๑ ภูมิ นี้ เป็นสัตว์ผู้มีปัญญาทั้งนั้น
          สัตว์ทั้ง ๒๑ ภูมินี้ ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง
          อริยบุคคล ๘ ได้แก่ มัคคบุคคล ๔ ผลบุคคล ๔ ในมนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปพรหม ๑๕ ภูมิ(เว้นอสัญญสัตต ๑ ภูมิ)และอรูปพรหม ๔ภูมิ
          สัตว์ใน ๒๖ ภูมินี้ ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง ประเภทของจิต ๘๙ ดวง
                                                                                                                โลภมูลจิต ๘
                                                                               อกุสลจิต ๑๒        โทสมูลจิต ๒
                                                                                                                โมหมูลจิต ๒

                                                                                                                อกุสลวิบากจิต ๗
                                        กามาวจรจิต ๕๔        อเหตุกจิต ๑๘       อเหตุกกุสลวิบากจิต ๘
                                                                                                                อเหตุกกิริยาจิต ๓

                                                                                                                มหากุสลจิต ๘
                                                                  กามาวจรโสภณจิต ๒๔    มหาวิบากจิต ๘
             โลกียจิต ๘๑                                                                           มหากริยาจิต ๘

                                                                                                            รูปาวจรกุสลจิต ๕
จิต๘๙                                                   รูปาวจรจิต ๑๕                    รูปาวจรวิบากจิต ๕
                                                                                                            รูปาวจรกิริยาจิต ๕
                                       มหัคคตจิต ๒๗
                                                                                                             อรูปาวจรกุสลจิต ๔
                                                                  อรูปาวจรจิต ๑๒               อรูปาวจรวิบากจิต ๔
                                                                                                                อรูปาวจรกิริยาจิต ๔

            โลกุตตรจิต ๘                           โลกุตตรกุสลจิต หรือ มัคคจิต ๔
                                                                    โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต ๔



ทวารของอเหตุกจิต
จักขุวิญญาณ ๒ ดวง       อาศัยเกิดทาง      จักขุทวาร
โสตวิญญาณ ๒ ดวง       อาศัยเกิดทาง      โสตทวาร
ฆานวิญญาณ ๒ ดวง      อาศัยเกิดทาง      ฆานทวาร
ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง    อาศัยเกิดทาง      ชิวหาทวาร
กายวิญญาณ ๒ ดวง       อาศัยเกิดทาง       กายทวาร
          ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง รวมจิต ๓ ดวงนี้อาศัยเกิดทางปัญจทวาร คือ ทางทวาร ๕ ได้แก่ จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร และกายทวาร
          มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สันตีรณจิต ๓ ดวง และ หสิตุปาทจิต ๑ ดวง รวม ๕ ดวงนี้ อาศัยเกิดทางทวาร ๖ คือ จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และมโนทวา

วัตถุของอเหตุกจิต
จักขุวิญญาณ   ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ จักขุวัตถุ
โสตวิญญาณ    ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ โสตวัตถุ
ฆานวิญญาณ   ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ ฆานวัตถุ
ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ ชิวหาวัตถุ
กายวิญญาณ    ๒ ดวง อาศัยเกิดที่  กายวัตถุ
          จิตที่เหลืออีก ๘ ดวง ได้แก่ สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง สันตีรณจิต ๓ ดวง อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง นั้น อาศัย หทยวัตถุเกิด

อารมณ์ของอเหตุกจิต
                                จักขุวิญญาณ       ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ        รูปารมณ์ รูปต่างๆ
                                โสตวิญญาณ        ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ        สัททารมณ์ เสียงต่างๆ
                                ฆานวิญญาณ       ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ        คันธารมณ์ กลิ่นต่างๆ
                                ชิวหาวิญญาณ     ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ        รสารมณ์ รสต่างๆ
กายวิญญาณ        ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ         โผฏฐัพพารมณ์ แข็ง อ่อน ร้อน เย็น
          ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง รวม ๓ ดวงนี้ รู้ปัญจารมณ์ คือ รู้อารมณ์ ๕ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
          มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สันตีรณจิต ๓ ดวง และหสิตุปาท ๑ ดวง รวมจิต ๕ ดวงนี้ รู้อารมณ์ ๖ คือ รู้ปัญจารมณ์ และธัมมารมณ์ ธรรมต่าง

แสดงอเหตุกจิต ๑๘ โดยวิถีจิต
          ๑. อตีตภวังค ภวังคเก่า             ----|
          ๒. ภวังคจลนะ ภวังคไหว             |-- รวม ๓ ดวงนี้ เป็นภวังคจิตและเป็นวิบาก
          ๓. ภวังคุปัจเฉทะ ภวังคขาด    ----|
          ๔. ปัญจทวาราวัชชนะ   เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบ
          ๕. ปัญจวิญญาณ เป็นทวิปัญจวิญญาณ ๑0 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งตามควรแก่การรับรู้อารมณ์ที่มากระทบนั้น
          ๖. สัมปฏิจฉนะ เป็นสัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งรับอารมณ์ที่ปัญจวิญญาณรู้แล้วนั้น ตกทอดให้แก่สันตีรณะ
          ๗. สันตีรณะ เป็นสันตีรณะจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งไต่สวนอารมณ์ว่าชั่วหรือดี
          ๘. โวฏฐัพพนะ เป็นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์และกำหนดให้เป็น อกุศล กุศล หรือกิริยา
          ๙. ชวนะ     ---|
         ๑0. ชวนะ       |
          ๑๑. ชวนะ       | จิตที่เสพอารมณ์ คือ สำเร็จกิจเป็นอกุศล กุศล หรือ กิริยา กล่าวโดยเฉพาะในอเหุตกจิตนี้
          ๑๒. ชวนะ     |-- ชวนะ ก็ได้แก่หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง เป็นผู้เสพอารมณ์ให้สำเร็จกิจเป็นกิริยา
          ๑๓. ชวนะ     |
          ๑๔. ชวนะ     |
          ๑๕. ชวนะ ---|
          ๑๖. ตทาลัมพณะ  ---| เป็นสันตีรณจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง รับรู้อารมณ์ที่เหลือจากชวนะ
          ๑๗. ตทาลัมพณะ ---|
          ครบ ๑๗ แล้ว จิตก็เป็นภวังค ต่อไปใหม่อีก วิถีจิตนี้มีแสดงโดยละเอียดในปริจเฉทที่ ๔ ในที่นี้ยกมากล่าวโดยย่อพอให้รู้เค้า เพื่อจะได้เข้าใจ อเหตุกจิต ดีขึ้นอีกบ้า

จำแนกอเหตุกจิตโดยประเภทต่างๆ มีชาติเภทเป็นต้น
          ๑. ชาติเภท โดยประเภทแห่งชาติ อเหตุกจิตมี ๒ ชาติ คือ อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวง รวมจิต ๑๕ ดวงนี้ เป็นชาติวิบาก
          อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง เป็นชาติกิริยา
          ๒. ภูมิเภท โดยประเภทแห่งภูมิ อเหตุกจิตเป็นกามาวจรภูมิอย่างเดียวทั้ง ๑๘ ดวง
          ๓. เวทนาเภท โดยประเภทแห่งเวทนา อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเวทนาถึง ๔ อย่างคือ
          สุขเวทนา ได้แก่สุขกาย ๑ ดวง คือ สุขสหคตํ กุสลวิปากํ กายวิญญาณํ
          ทุกขเวทนา ได้แก่ทุกข์กาย ๑ ดวง คือ ทุกฺขสหคตํ อกุสลวิปากํ กายวิญญาณํ
          โสมนัสเวทนา ได้แก่ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง ( คือ โสมนัสสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ ) และ หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง รวม ๒ ดวง
          อุเบกขาเวทนา ได้แก่จิตที่เหลืออีก ๑๔ ดวง คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๘ ( เว้นกายวิญญาณ ๒ ), สัมปฏิจฉนจิต ๒, อุเบกขาสันตีรณจิต ๒, ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ และมโนทวาราวัชชจิต ๑
          ๔. เหตุเภท โดยประเภทแห่งเหตุ อเหตุกจิตนี้เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ นั้น ๑๘ ดวงจึงได้ชื่อว่า อเหตุกจิต
          ๕. สังขารเภท โดยประเภทแห่งสังขาร อเหตุกจิตสงเคราะห์ว่าเป็นอสังขาริก ทั้ง ๑๘ ดวง
          ๖. สัมปยุตตเภท โดยประเภทแห่งสัมปยุตต อเหตุกจิตเป็นวิปปยุตตทั้ง ๑๘ ดวงเพราะไม่มี ทิฏฐิ ปฏิฆะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ หรือญาณมาสัมปยุตตด้วยเลย
          ๗. โสภณเภท โดยประเภทแห่งโสภณะ อเหตุกจิตเป็นอโสภณะทั้ง ๑๘ ดวง เพราะอเหตุกจิตไม่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วยเลย
          ๘. โลกเภท โดยประเภทแห่งโลก อเหตุกจิตเป็นโลกียะ ทั้ง ๑๘ ดวง
          ๙. ฌานเภท โดยประเภทแห่งฌาน อเหตุกจิตเป็นอฌานทั้ง ๑๘ ดว

โสภณจิต กับ อโสภณจิต
          จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวนโดยสังเขป โดยย่อ ๘๙ ดวง หรือ โดยพิสดาร ๑๒๑ ดวงนั้น ยังจำแนกเป็นโสภณจิต และอโสภณจิต ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๕ แสดงว่า
          ๕. ปาปาเหตุกมุตฺตานิ
โสภณานีติ วุจฺจเร
เอกูนสฏฺฐิ จิตฺตานิ
อเถกนวุตีปิ วาฯ
          แปลความว่า จิต ๕๙ ดวง ( โดยสังเขป ) หรือจิต ๙๑ ดวง ( โดยพิสดาร ) ซึ่งพ้นจาก อกุศลจิต และอเหตุกจิต นั้น เรียกว่า โสภณจิต
          มีความหมายว่า อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง รวมจิต ๓0 ดวงนี้ เรียกว่า อโสภณจิต
          กามาวจรโสภณจิต ๒๔, รูปาวจรจิต ๑๕, อรูปาวจรจิต ๑๒, โลกุตตรจิต ( โดยย่อ ) ๘ หรือ ( โดยพิสดาร ) ๔0 ดวง, รวมจำนวนโดยย่อ ๕๙ หรือ โดยพิสดาร ๙๑ ดวงนี้ เรียกว่า โสภณจิต
          โสภณจิตเป็นจิตที่ดีงามโดยแท้ เป็นจิตที่มีโสภณเจตสิกประกอบ
( เจตสิกเป็นธรรมชาติประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบจิต ปรุงแต่งจิตให้จิตประพฤติเป็นไปตามนั้น เจตสิกนี้มีแสดงโดยละเอียดในปริจเฉทที่ ๒ )
          ส่วน อโสภณจิต ไม่ได้หมายความว่า เป็นจิตที่ไม่ดีงาม เพราะพระอรหันต์ก็ยังมีอเหตุกจิตซึ่งเป็นอโสภณจิตอยู่ จะกลายเป็นว่าพระอรหันต์ยังคงมีจิตที่ไม่ดีงามอยู่อีก ซึ่ง ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพระพระอรหันต์เป็นผู้ที่สิ้นกิเลสทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ที่มีจิตใจขาวสะอาดบริสุทธิ์หมดจดแล้ว หามีจิตใจอันไม่ดีไม่งามเหลืออยู่เลยแม้แต่น้อย ดังนั้น อโสภณจิต จึงมีความหมายแต่เพียงว่า เป็นจิตที่ไม่มีโสภณเจตสิกประกอ

กามาวจรโสภณจิต
          กามาวจรโสภณจิต มี ๒๔ ดวง เป็นจิตที่ยังต้องท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ แต่ก็เป็นจิตในฝ่ายที่ดีงามไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นทั้ง ๒๔ ดวง แบ่งได้ดังนี้
มหากุสลจิต ๘ ดวง
มหาวิบากจิต ๘ ดวง
มหากิริยาจิต ๘ ดว

มหากุสลจิต
เรียกว่า มหากุสลเฉยๆ ก็ได้ ที่ว่าเป็นมหากุสลเพราะ
          ก. เป็นกุสลจิตที่กว้างขวางมากมายมีได้ทั่วไป กล่าวคือ สัตว์ในอบายภูมิ(สัตว์นรก สัตว์เปรต สัตว์อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน) มนุษย์ เทวดา ตลอดจน รูปพรหม อรูปพรหม สามารถที่จะมีมหากุสล หรือประกอบกรรมอันเป็นมหากุสลได้
          ข. เป็นที่ตั้งของกุสลทั้งปวง และยังเป็นปัจจัยก่อให้เกิด กุสลฌานจิต มัคคจิต ผลจิต ทั้งเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้ด้วย
มหากุสลจิต มี ๘ ดวง ได้แก่
          ๑. โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
          ๒. โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
          ๓. โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งจูงใจ
          ๔. โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ๕. อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ๖. อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ๗. อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ๘. อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากุสลดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
อรรถแห่งกุสล
          กุสลจิต เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เป็นจิตที่ดีที่งาม ที่ฉลาด ที่สะอาด ที่ปราศจากโทษ และให้ผลเป็นสุข มีอรรถ ๕ ประการ คือ
          ๑. ไม่มีโรค คือ ไม่มีราคะเป็นต้น ราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ ตัวนี้เรียกว่า โรค เพราะเสียดแทงจิตตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย
          ๒. ดีงาม คือ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย
          ๓. ฉลาด เรียบร้อย คือ ผู้ที่มีจิตใจเป็นกุสลย่อมมีกิริยา วาจา สุภาพเรียบร้อย
          ๔. ไม่มีโทษอันจะพึงติเตียนได้
          ๕. ให้ผลเป็นสุขอันพึงปรารถนา
เหตุให้เกิดกุสล
          โยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาโดยการแยบคาย เป็นเหตุให้เกิดกุสลจิต เพราะการพิจารณาให้ซึ้งถึงสภาพแห่งความจริงในอารมณ์นั้น ๆ ย่อมเกิดกุสลจิต โยนิโสมนสิการเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ
          ๑. เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน (เป็นอดีตกรรม)
          ๒. อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ
          ๓. คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ เป็นปัจจุบันกรรม
          ๔. ฟังธรรมของสัปบุรุษ
          ๕. ตั้งตนไว้ชอบ
เหตุให้เกิดโสมนัสกุสล ๖ ประการ
          ๑. มีปฏิสนธิจิตเป็นโสมนัส
          ๒. มีสัทธามาก
          ๓. มีความเห็นถูกต้องหมดมลทิน
          ๔. เห็นอานิสงส์แห่งกุสลกรรมนั้น ๆ
          ๕. ได้ประสบกับอิฏฐารมณ์ คือ ได้ไทยธรรมและปฏิคาหกที่พึงพอใจ
          ๖. ไม่มีอุปสรรคขัดข้องใด 

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
          บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ความดีที่ควรกระทำ เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งผลดีให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ให้สำเร็จเป็นบุญเป็นกุสล บุญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ได้แก่
          ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน  คือการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ได้รับ
          ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาสีล คือ รักษากายวาจาให้เป็นปกติ ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น
          ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คือ การอบรมจิตใจให้กุสลอันประเสริฐเกิดขึ้นและเจริญยิ่งขึ้นด้วย
          ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ คือ การแสดงคารวะ และอ่อนน้อมแก่ผู้ที่เจริญด้วย ชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ
          ๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบ คือ สงเคราะห์ช่วยเหลือกิจการที่เกี่ยวแก่ปริยัติ และปฏิบัติ
          ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น คือ อุทิศส่วนกุสลให้ผู้มีคุณตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
          ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญของผู้อื่น คือการเห็นดี เห็นชอบ และคล้อยตามด้วยความอิ่มใจในส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้นั้น
          ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม คือ ตั้งใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา แม้ฟังการสั่งสอนวิชาการทางโลกที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้
          ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง คือ การแสดงธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์ฟังธรรม แม้การสั่งสอนวิชาการทางโลกที่ไม่มีโทษก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้
          ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม การทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง อย่างน้อยก็ต้องถึง กัมมัสสกตาปัญญา คือรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ จัดเป็นประเภท ทาน สีล ภาวนา ได้ดังนี้
          ปัตติทานมัย กับ ปัตตานุโมทนามัย จัดได้เป็น ทานมัย
          อปจายนมัย กับ เวยยาวัจจมัย จัดได้เป็น สีลมัย
          ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย และทิฏฐุชุกัมม จัดได้เป็น ภาวนามัย
          ทิฏฐุชุกัมม จัดเข้าได้ทั้ง ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย เพราะการบริจาคทาน การรักษาสีล และเจริญภาวนา ถ้าไม่มีทิฏฐุชุกัมมประกอบแล้ว การให้ผลของทาน สีล ภาวนา ก็จะไม่สมบูรณ์มีการขาดตกบกพร่อง แม้จะให้ผลไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาก็ตาม ก็จะเป็นมนุษย์ เทวดาชั้นต่ำ มีอวัยวะขาดตกบกพร่อง หรือโง่เขลาเบาปัญญา ทรัพย์สมบัติก็ไม่อุดมสมบูรณ์ มีความเดือดร้อนไม่ใคร่มีความสุขความสบาย
เหตุให้เกิดอุเบกขากุสล ๖ ประการ
          ๑. มีปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขา
          ๒. มีสัทธาน้อย
          ๓. มีความเห็นไม่บริสุทธิ์นัก มีมลทินเจือบ้าง
          ๔. ไม่เห็นหรือไม่เข้าใจอานิสงส์ แห่งกุสลกรรมนั้น ๆ
          ๕. ประสบกับอารมณ์ปานกลาง คือได้ไทยธรรมและปฏิคาหก พอปานกลาง
          ๖. มีอุปสรรคขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
ญาณสัมปยุตต
          ญาณสัมปยุตตัง แปลว่าประกอบด้วยปัญญา คือ มีความรู้เห็นถูกต้อง ตรงความเป็นจริง ในกามกุสลนี้มีความหมายเพียงว่า มีกัมมัสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญาก็เป็นญาณสัมปยุตต์แล้ว (ปัญญาที่แจกแจงออกไปอีกกว้างขวางมาก ยกตัวอย่างกว้าง ๆ มี สุตามยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา) กัมมัสกตาปัญญา ปัญญารู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มี ๑๐ ประการ คือ
          ๑. ปัญญารู้เห็นว่า การให้ทานย่อมมีผล
          ๒. ปัญญารู้เห็นว่า การบูชา ย่อมมีผล
          ๓. ปัญญารู้เห็นว่า การบวงสรวงเทวดา ย่อมมีผล
          ๔. ปัญญารู้เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมีอยู่ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
          ๕. ปัญญารู้เห็นว่า โลกนี้มีอยู่ (ผู้ที่จะมาเกิดนั้นมี)
          ๖. ปัญญารู้เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่ (ผู้ที่จะไปเกิดนั้นมี)
          ๗. ปัญญารู้เห็นว่า มารดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อมารดาย่อมจะได้รับผล)
          ๘. ปัญญารู้เห็นว่า บิดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อบิดา ย่อมจะได้รับผล)
          ๙. ปัญญารู้เห็นว่า โอปปาติกสัตว์นั้นมีอยู่(สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม นั้นมี)
          ๑๐. ปัญญารู้เห็นว่า พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบด้วยตนเองมีอยู่ เหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม ๒ นัย
นัยที่ ๑ มีเหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม ๔ ประการ
          ๑. ปฏิสนธิมาโดยอาศัยกุสลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา
          ๒. เกิดในชาติที่หมดความกังวลห่วงใยปราศจากความพยาบาท มีโอกาสเข้าวัดฟังธรรม
          ๓. ห่างไกลจากกิเลส ไม่สนใจในการแสวงกิเลสธรรม
          ๔. มีปัญญินทรียแก่กล้า คือมีอายุระหว่าง ๔๐-๕๐ ปี ที่เรียกว่าปัญญาทสกะ อันเป็นวัยที่มีปัญญาพินิจพิจารณาโดยรอบคอบถึงเหตุผล
นัยที่ ๒ มีเหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม ๗ ประการ
          ๑. ชอบไต่ถามปัญหาต่าง ๆ
          ๒. ชอบสะอาดทั้งกายใจ ตลอดจนวัตถุเครื่องใช้สอย
          ๓. ชอบรักษาอินทรีย ๕ (สัทธินทรีย วิริยินทรีย สตินทรีย สมาธินทรีย ปัญญินทรีย) ให้ทรงไว้โดยสม่ำเสมอกัน
          ๔. ชอบหลีกเลี่ยงให้พ้นจากบุคคลผู้ไม่มีปัญญา
          ๕. ชอบคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
          ๖. ชอบพิจารณาธรรมที่ลึกซึ้ง
          ๗. ชอบในการน้อมจิตแสวงหารสธรรมที่ต้องตรึกตรองอันทำให้เกิดปัญญา เหตุให้เกิดญาณวิปปยุตตธรรม ๒ นัย
นัยที่ ๑ มีเหตุให้เกิดญาณวิปปยุตตธรรม ๔ ประการ
          ๑. ปฏิสนธิมาโดยอาศัยกุสลกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
          ๒. เกิดในชาติที่มีความกังวลห่วงใย มีความพยาบาทมีโอกาสเข้าวัดฟังธรรมน้อย
          ๓. อยู่ใกล้กับกิเลส สนใจและยังแสวงหากิเลสธรรม
          ๔. มีปัญญินทรียไม่แก่กล้า พิจารณาธรรมโดยไม่รอบคอบไม่พิจารณาเหตุผล
นัยที่ ๒ มีเหตุให้เกิดญาณวิปปยุตตธรรม ๗ ประการ
          ๑. ไม่ชอบไต่ถามปัญหาต่าง ๆ
          ๒. ไม่ชอบและไม่ใส่ใจความสะอาดทั้งกายใจ วัตถุเครื่องใช้สอยไม่ใคร่สะอาด
          ๓. ไม่ชอบรักษาอินทรีย ๕ ให้ทรงไว้โดยสม่ำเสมอ
          ๔. ชอบคลุกคลีอยู่กับบุคคลผู้ไม่มีปัญญา
          ๕. ไม่ชอบคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
          ๖. ไม่ชอบพิจารณาธรรมที่ลึกซึ้ง
          ๗. ไม่ชอบและไม่สนใจแสวงหาธรรมที่ต้องตรึกตรองอันทำให้เกิดปัญญ

มหาวิบากจิต
          มหาวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของมหากุสล ทำบุญกุสลด้วยมหากุสลจิตดวงใด ก็จะได้มหาวิบากจิตดวงนั้น มหากุสลจิตเป็นเหตุ ย่อมให้ผลเป็นมหาวิบากจิตตรงกันเสมอ
ทำบุญกุศลด้วย     มหากุสลจิตเป็น          โสมนัส          ก็ให้ผลเป็นมหาวิบาก        โสมนัส
           ,,                           ,,                         อุเบกขา                      ,,                             อุเบกขา
           ,,                           ,,                   ญาณสัมปยุตต                 ,,                     ญาณสัมปยุตต
           ,,                           ,,                   ญาณวิปปยุตต                 ,,                     ญาณวิปปยุตต
           ,,                           ,,                       อสังขาริก                     ,,                             อสังขาริก
           ,,                           ,,                       สสังขาริก                     ,,                            สสังขาริก
          ดังนั้นมหาวิบากจิต จึงมีจำนวนเท่ากับมหากุสลจิต
มหาวิบากจิต มี ๘ ดวง คือ
          ดวงที่ ๑ โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๒ โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๓ โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๔ โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๕ อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๖ อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๗ อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๘ อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง
มหาวิบากจิต ดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจู

สมังคิตา
การบำเพ็ญกุสลก็ดี การกระทำอกุสลก็ดี ย่อมต้องมีสมังคิตา (ย่อมต้องประกอบพร้อมมูลด้วยธรรม) ๕ ประการ คือ
          ๑. อายุหนสมังคิตา ได้แก่ ความเพียรในการกระทำกุสลหรืออกุสลนั้น
          ๒. เจตนาสมังคิตา ได้แก่ เจตนา ๓ ประการในการกระทำกุสลหรืออกุสลคือเจตนาก่อนทำ เจตนาในขณะที่กำลังทำและเจตนาเมื่อทำสำเร็จแล้ว
          ๓. กัมมสมังคิตา ได้แก่ กุสลกรรม หรืออกุสลกรรม หมายถึง สิ่งที่ทำนั้นเป็นกุสลหรืออกุสลที่ทำสำเร็จมาจากความเพียร
          ๔. อุปัฏฐานสมังคิตา ได้แก่ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ ซึ่งปรากฏขึ้นในเวลาจะตาย
          ๕. วิบากสมังคิตา ได้แก่ ผลที่ต้องได้รับจากการกระทำกุสล หรืออกุสลนั้น ๆ แล้ว คือผลของสมังคิตาทั้ง ๔ ข้างต้น
วิบากจิตมีหน้าที่เป็นวิบาก ผลของกุสลและอกุสล โดย
          ๑. ทำหน้าที่ปฏิสนธิ
          ๒. เป็นภวังค เป็นองค์แห่งภพรักษาภพชาติ
          ๓. ทำหน้าที่เป็น ตทาลัมพนะ
          ๔. ทำหน้าที่จุติจากภพชาติ
          มหาวิบากจิต ได้สั่งสมผลของกรรมดีกรรมชั่วที่ได้กระทำไว้เพื่อสืบต่อให้ผลต่อไป เหมือนเมล็ดพืชซึ่งสั่งสมชีวภาวะไว้ในเมล็ด เมื่อนำเม็ดไปเพาะในสภาพแวดล้อมที่พอดี (เหตุและปัจจัยพร้อม) สมบูรณ์แล้ว เมล็ดพืชนั้นก็จะงอกงามออกมาเป็นต้น พืชแต่ละชนิด เช่น เมล็ดมะม่วงก็จะงอกเงยเป็นต้นมะม่วง เป็นต้น ในขณะที่เมล็ดยังไม่งอกออกนั้น ต้นก็อยู่ในเมล็ดเหมือน วิบาก ที่ทำไว้เมื่อเหตุปัจจัยยังไม่พร้อมก็จะรออยู่ เพื่อให้ผลเมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม
วิบากจิต จะทำหน้าที่กักเก็บ สิ่งที่เป็นกุสลหรืออกุสลไว้ ๗ อย่างดังนี้
          ๑. วิปากกิจ ทำหน้าที่เป็นผลของกรรมแต่ปางก่อน (ปฏิสนธิ, ภวังค, ตทาลัมพนะ, จุติ)
          ๒. อาเสวนกิจ ทำหน้าที่อาเสวนะ คือเสพบ่อย ๆ
          ๓. อุปนิสสยกิจ ทำหน้าที่เป็นอุปนิสสัย คือความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นในสันดาน
          ๔. วาสนกิจ ทำหน้าที่เป็นวาสนา (กิเลสละได้แต่วาสนาละได้ยาก แม้พระสารีบุตรก็ยังละวาสนาไม่ได้ มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ที่ละได้ทั้งกิเลสและวาสนา วาสนาเปรียบเทียบได้เหมือนกลิ่นน้ำปลาที่ติดอยู่ในไหใส่น้ำปลา แม้จะเทน้ำปลาในไหออกแล้ว กลิ่นน้ำปลาก็ยังติดอยู่ในไหล้างไม่ออก น้ำปลาสมมติเป็น กิเลส กลิ่นที่ติดไหสมมติเป็นวาสนา)
          ๕. อนุสยกิจ ทำหน้าที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องในขันธสันดาน (กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน) มี ๗ คือ
                    ๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม
                    ๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิด
                    ๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด
                    ๔) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
                    ๕) มานะ ความถือตัว
                    ๖) ภวราคะ ความกำหนัดในภพ
                    ๗) อวิชา ความไม่รู้จริง
          ๖. จริตกิจ ทำหน้าที่เป็นจริตพื้นนิสัย มี ๖ คือ
                    ๑) ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามมักติดใจ น้ำเลี้ยงหัวใจมีสีแดง
                    ๒) โทสจริต หนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด น้ำเลี้ยงหัวใจสีดำ
                    ๓) โมหจริต หนักไปทางเหงา ซึม งมงาย น้ำเลี้ยงหัวใจสีหม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ
                    ๔) สัทธาจริต หนักไปทางโน้มใจเชื่อ น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหลืองอ่อน คล้ายสีดอกกัณณิกา
                    ๕) วิตกจริต หนักไปทางคิดจับจด ฟุ้งซ่าน น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหมือนน้ำเยื่อถั่วพู
                    ๖) พุทธิจริต หนักไปทางคิด พิจารณา น้ำเลี้ยงหัวใจสีขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย
          ๗. บารมีกิจ ทำหน้าที่เป็นบารมี (คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่)

มหากิริยาจิต
          มหากิริยาจิต เป็นจิตที่ทำให้สำเร็จในการคิด การทำ การพูด ของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้สิ้นกิเลสทั้งปวงโดยสิ้นเชิงแล้ว การคิด การทำ การพูดเหล่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดผลในอนาคตอีก เพราะพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านสิ้นกิเลสแล้ว ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก การที่ท่านยังไม่นิพพานนั้นก็เพื่อ สงเคราะห์ เป็นเนื้อนาบุญให้ผู้มีกุสลได้ทำบุญและได้ฟังธรรม ซึ่งพระอรหันต์ท่านถือเป็นหน้าที่ สงเคราะห์สัตว์โลกเท่านั้น ผลที่ท่านทำไปก็ไม่เป็นบุญเป็นกุสลต่อไป
          มหากุสลนั้น ถ้าเกิดกับบุคคลอื่นที่มิใช่พระอรหันต์ ก็เรียกว่า มหากุสลจิต แต่ถ้าเกิดกับพระอรหันต์โดยเฉพาะแล้ว เรียกว่า มหากิริยาจิต ที่เรียกว่า มหากุสลจิต เพราะต้องให้ผลในภายหน้า
          แต่ที่เรียกว่า มหากิริยาจิต เพราะเป็นจิตที่ปราศจากผลในอนาคต มหากิริยาจิต มีจำนวนเท่ากับมหากุสลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่
          ดวงที่ ๑ โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๒ โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๓ โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๔ โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๕ อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๖ อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๗ อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
          ดวงที่ ๘ อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง
มหากิริยาดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจู

จำแนกกามาวจรโสภณจิตโดยชาติเภทเป็นต้น
          ๑. ชาติเภท โดยประเภทแห่งชาติกามาวจรกุศลโสภณจิต หรือกามโสภณจิต ๒๔ ดวงนี้ มี ๓ ชาติ คือ
มหากุศลจิต ๘ ดวง เป็นชาติกุศล
มหาวิบากจิต ๘ ดวง เป็นชาติวิบาก
มหากิริยาจิต ๘ ดวง เป็นชาติกิริยา
          ๒. ภูมิเภท โดยประเภทแห่งภูมิ กามโสภณจิตทั้ง ๒๔ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ คือ เป็นจิตชั้นกามาวจรอย่างเดียว
          ๓. เวทนาเภท โดยประเภทแห่งเวทนา กามโสภณจิต ๒๔ ดวง มีเวทนา ๒ อย่างคือ โสมนัสเวทนา ๑๒ ดวง อุเบกขาเวทนา ๑๒ ดวง ซึ่งตามรายชื่อของจิตก็ได้ระบุบอกไว้แล้วว่าดวงเป็นเป็นเวทนาอะไร จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก
          ๔. เหตุเภท โดยประเภทแห่งเหตุ กามโสภณจิตทั้ง ๒๔ ดวง เป็น สเหตุกจิตทั้งนั้น
          ที่เป็นญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวงนั้น เป็นสเหตุกจิตที่มี ๓ เหตุ คือ มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหะเหตุ ประกอบ
          ที่เป็นญาณวิปยุตต ๑๒ ดวง เป็นสเหตุกจิตที่มีสัมปยุตตเหตุเพียง ๒ คือ มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ ประกอบเท่านั้น
          ๕. สังขารเภท โดยประเภทแห่งสังขาร กามโสภณจิต เป็นอสังขาริก ๑๒ ดวง เป็นสสังขาริก ๑๒ ดวง ซึ่งตามรายชื่อก็บอกไว้แล้วว่าดวงไหนเป็นอสังขาริก หรือสสังขาริก
          ๖. สัมปยุตตเภท โดยประเภทแห่งสัมปยุตต กามโสภณจิตเป็นญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง เป็นญาณวิปยุตต ๑๒ ดวง ตามรายชื่อก็บอกไว้แล้วเหมือนกัน
          ๗. โสภณเภท โดยประเภทแห่งโสภณะ กามโสภณจิตทั้ง ๒๔ ดวง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นโสภณจิต เป็นจิตที่ดีงามทั้งนั้นและเป็นจิตที่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วย
          ๘. โลกเภท โดยประเภทแห่งโลก กามโสภณจิต ๒๔ ดวง เป็นโลกียจิต ไม่ใช่โลกุตตรจิต
          ๙. ฌาณเภท โดยประเภทแห่งฌาน กามโสภณจิตเป็น อฌานทั้ง ๒๔ ดว

การยิ้มและหัวเราะ
การยิ้มและการหัวเราะนั้น มี ๖ อย่าง
                                ๑. สิตะ ยิ้มอยู่ในหน้า ไม่เห็นไรฟัน
                                ๒. หสิตะ ยิ้มแย้มพอเห็นไรฟัน
                                ๓. วิหสิตะ หัวเราะเบา ๆ
                                ๔. อุปหสิตะ หัวเราะจนกายไหว
                                ๕. อปหสิตะ หัวเราะจนน้ำตาไหล
                                ๖. อติหสิตะ หัวเราะจนสั่นพริ้ว และโยกโคลงลงไปทั้งตัว
          สิตะ และหสิตะ เป็นการยิ้มแย้มของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่เรียกว่าหสิตุปปาทจิต แม้จะโสมนัสด้วยมหากิริยา ก็เพียงแต่ยิ้มแย้มเท่านั้น การยิ้มแย้มของพระอรหันต์นั้น ถ้าอารมณ์เป็นอโนฬาริกะ คือเป็นอารมณ์ละเอียดอันบุคคลธรรมดาไม่สามารถรู้ ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย หสิตุปปาทจิต (หสิตุปปาทจิตนี้ เรียกว่า หสนจิตก็ได้)
          ถ้าอารมณ์เป็น โอฬาริกะ คืออารมณ์ที่หยาบ หมายความว่าเป็นอารมณ์ธรรมดา ที่บุคคลทั่วๆไป ก็สามารถรู้ได้นั้น ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วยโสมนัสมหากิริยา วิหสิตะและอุปหสิตะ เป็นการหัวเราะของพระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน กัลยาณชนตลอดจนปุถุชนทั่ว ๆ ไป
          อปหติสะและอติหสิตะ เป็นการหัวเราะของบุคคลชั้นต่ำ พาลบุคคล
จิตที่ทำให้การยิ้มแย้มและการหัวเราะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่จิต ๑๓ ดวงคือ
                              โสมนัส                                โลภมูลจิต ๔
                                  "                                    หสิตุปปาทะ ๑
                                  "                                       มหากุสล ๔
                                  "                                      มหากิริยา ๔
ปุถุชน ยิ้มและหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ
                              โสมนัส                              โลภมูลจิต ๔
                                   "                                    มหากุสล ๔
พระเสกขบุคคล ๓ ยิ้มและหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง คือ
                              โสมนัส                 โลภมูลทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๒
                                   "                                    มหากุสล ๔
พระอเสกขบุคคล ยิ้มแย้มด้วยจิต ๕ ดวง คือ
                              โสมนัส                             หสิตุปปาทะ ๑
                                   "                                    มหากิริยา 

แสดงชาติแห่งกามาวจรจิต
          มีคาถาสังคหะ แสดงชาติแห่งกามาวจรจิต คือ กามจิต เป็นคาถาที่ ๗ ว่า
          ๗. กาเม เตวีส ปากานิ
          ปุญฺญาปุญฺญานิ วีสติ
          เอกทส กฺริยา เจติ
          จตุปญฺญาส สพฺพถา ฯ
          แปลความว่า วิบากจิต ๒๓ กุศลจิตอกุศลจิต ๒0 กิริยาจิต ๑๑ รวมเป็นกามจิต ๕๔ เท่านี้เอง
          ขยายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน นัยโดยย่อ ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิสดาร ๑๒๑ ดวงนั้น กล่าวโดยชาติก็มี ๔ ชาติเท่านั้น คือ ชาติอกุศล ชาติกุศล ชาติวิบาก และชาติกิริยา
          เฉพาะใน กามจิต คือ กามาวจรจิต ซึ่งเป็นจิตที่โดยมากท่องเที่ยวอยู่ในกามภูมินั้น มีครบทั้ง ๔ ชาติ ได้แก่ อกุศล ๑๒ กามกุศล ๘ รวม ๒0 กามวิบาก ๒๓ และ กามกิริยา ๑๑
          ที่ต้องเรียกว่า กามกุศล กามวิบาก กามกิริยา เพราะว่า จิตที่เป็นชาติกุศลนั้น มีทั้งกามกุศล ซึ่งกล่าวถึงอยู่บัดนี้ และ มหัคคตกุศล โลกุตตรกุศล ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
          จิตที่เป็นชาติวิบาก ก็มีทั้ง กามวิบาก ซึ่งกล่าวถึงอยู่ในบัดนี้ และมหัคคตวิบาก
          โลกุตตรวิบาก ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า จิตที่เป็นชาติกิริยา ก็มีทั้ง กามกิริยา ซึ่งกล่าวถึงอยู่ในบัดนี้ และ มหัคคตกิริยา ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
          ส่วนจิตที่เป็นชาติอกุศลนั้น มีกามจิตแต่แห่งเดียว
          จิตที่เป็นชาติอกุศลไม่มีในมหัคคตจิตและโลกุตตรจิตเลย จึงไม่ต้องใช้ว่า กามอกุศล อกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นชาติอกุศล
          มหากุศลจิต ๘ ดวง เป็นชาติกุศล เพื่อให้ชัดแจ้ง จึงเรียกว่า กามกุศล
          อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง อเหตุกกุศลวิบาก ๘ ดวง และ มหาวิบากจิต ๘ ดวง รวมจิต ๒๓ ดวงนี้ เป็นชาติวิบาก เพื่อให้ชัดแจ้งจึงเรียกว่า กามวิบาก
          อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง และมหากิริยาจิต ๘ ดวง รวมจิต ๑๑ ดวงนี้เป็นชาติกิริยา เพื่อให้ชัดแจ้งจึงเรียกว่า กามกิริยา
แสดงอย่างแบบบัญชีต่อไปนี้ บางทีจะทำให้เห็นชัดขึ้น
        จิต                                        ชาติอกุศล    ชาติกุศล    ชาติวิบาก     ชาติกิริยา
อกุศลจิต ๑๒
          โลภมูลจิต ๘                           
          โทสมูลจิต ๒                          
          โมหมูลจิต ๒                          
อเหตุกจิต ๑๘
          อกุศลวิบากจิต ๗                                                                     
          อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘                                                            
          อเหตุกกิริยาจิต ๓                                                                                              
กามาวจรโสภณจิต ๒๔
          มหากุศลจิต ๘                                              
          มหาวิบากจิต ๘                                                                       
          มหากิริยาจิต ๘                                                                                                
รวมกามจิต ๕๔                               ๑๒                             ๒๓             


รูปาวจรจิต
          รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌานหรือเป็นจิตที่โดยมากท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ รูปาวจรจิตเป็นจิตที่ต้องเข้าสมาธิถึงขั้นอัปปนาจนได้ปฏิภาคนิมิต และฝึกจนได้ฌาน ๕ คือ รูปาวจรปฐมฌานจิต รูปาวจรทุติยฌานจิต รูปาวจรตติยฌานจิต รูปาวจรจตุตถฌานจิต และรูปาวจรปัญจมฌานจิต ซึ่งมักเรียกกันสั้นๆ แต่เพียงว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน
          ฌานทั้ง ๕ ดังกล่าว จำแนกเป็นประเภทของจิตได้ ๑๕ ดวง เรียกว่า รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง ดังนี้
๑. รูปาวจรกุสลจิต ๕ ดวง ได้แก่
- รูปาวจรปฐมฌานกุสลจิต
- รูปาวจรทุติยฌานกุสลจิต
- รูปาวจรตติยฌานกุสลจิต
- รูปาวจรจตุตถฌานกุสลจิต
- รูปาวจรปัญจมฌานกุสลจิต
๒. รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง ได้แก่
- รูปาวจรปฐมฌานวิบากจิต
- รูปาวจรทุติยฌานวิบากจิต
- รูปาวจรตติยฌานวิบากจิต
- รูปาวจรจตุตถฌานวิบากจิต
- รูปาวจรปัญจมฌานวิบากจิต
๓. รูปาวจรกิริยาจิต ๕ ดวง ได้แก่
- รูปาวจรปฐมฌานกิริยาจิต
- รูปาวจรทุติยฌานกิริยาจิต
- รูปาวจรตติยฌานกิริยาจิต
- รูปาวจรจตุตถฌานกิริยาจิต
- รูปาวจรปัญจมฌานกิริยาจิต

ฌาน คืออะไร
          ฌาน คือธรรมชาติที่เพ่งอารมณ์ (อันมีกสิณเป็นต้น) หรือธรรมชาติที่เผานิวรณ์ (เผาธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ เป็นต้น) ธรรมชาตินั้นเรียกว่า ฌาน
          จิตใดประกอบด้วย ฌาน จิตนั้นเรียกว่า ฌานจิต
          ฌานจิตนี้ทั้งเพ่งอารมณ์และเผานิวรณ์ไปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันด้วย นิวรณ์ อันมีความหมายว่าเป็น เครื่องกั้น เครื่องกีดกัน เครื่องขัดขวางการกระทำความดี ในที่นี้หมายถึงการขัดขวางไม่ให้ทำจนถึงฌานได้

นิวรณ์ของฌาน
          นิวรณ์อันเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้เกิดฌานได้นั้น มี ๕ ประการ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ และวิจิกิจฉานิวรณ์
          ๑. กามฉันทนิวรณ์ คือความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ระคนด้วยสี ถ้ามัวไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้เป็นไม่ได้ฌานแน่ ต้องใช้เอกัคคตาเผากามฉันทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
          ๒. พยาปาทนิวรณ์ ความมุ่งจะปองร้ายผู้อื่น ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน ถ้ามัวแต่ครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ ฌานจิตก็เกิดไม่ได้ ต้องใช้ปิติเผาพยาปาทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
          ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ความหดหู่ ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำที่มีจอกมีแหนปิดบังอยู่ ถ้าใจท้อถอยคลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เกิดผลให้ถึงฌานได้ ต้องใช้วิตกเผาถีนมิทธนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
          ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจเลื่อนลอยซัดส่ายอยู่เรื่อย ๆ แล้วก็ไม่เป็นฌานจิต ต้องใช้สุขเผาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
          ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลไม่แน่ใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตมหรือน้ำที่ตั้งอยู่ในที่มืด ถ้าเกิดลังเลใจไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็เป็นอันว่าไม่ทำให้ถึงฌานได้อยู่ตราบนั้น ต้องใช้วิจารเผาวิจิกิจฉานิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

การเผานิวรณ์และประเภทแห่งฌาน ๕
          การเผา การข่ม การทำลายหรือการประหารนิวรณ์ กล่าวสรุปอย่างสั้น ๆ ก็ต้องใช้
  • วิตก เผา ถีนมิทธนิวรณ์
  • วิจาร เผา วิจิกิจฉานิวรณ์
  • ปิติ เผา พยาปาทนิวรณ์
  • สุข เผา อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
  • เอกัคคตา เผา กามฉันทนิวรณ์
          นิวรณ์ทั้ง ๕ อันเป็นปฏิปักษ์ธรรมอันเป็นเครื่องขัดขวางมิให้เกิดฌาน ต้องเผาให้หมดทั้ง ๕ ก่อน ฌานจิตจึงเกิดขึ้นได้ ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ยังคงอยู่แม้แต่อย่างเดียว ฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
          เหตุนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา จึงเป็นปัจจัยส่วนสำคัญยิ่งที่ให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียกธรรม ๕ ประการ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา นี้ว่าเป็น องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌานจิต
          การข่มนิวรณ์ด้วยอำนาจแห่งฌานนี้ เรียกว่า วิขัมภนปหาน เป็นการประหารไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม ซึ่งเปรียบเหมือนหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อม นิวรณ์ก็ไม่มีโอกาสจะกำเริบขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็เสื่อมไปเมื่อนั้น
ปิติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจนี้มีถึง ๕ ประการ คือ
๑. ขุทฺทกาปิติ              ปลาบปลื้มใจ                เล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
๒. ขณิกาปิติ                      "                            ชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อย ๆ
๓. โอกฺกนฺติกปิติ                "                            ถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๔. อุพฺเพงฺคาปิติ                "                            จนตัวลอย
๕. ผรณาปิติ                      "                            จนอิ่มอาบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ
          องค์ฌาน ๕ เผานิวรณ์ ๕ ประการนั้น มีอธิบายไว้ดังนี้
          ๑. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เป็นต้นว่า ใช้ดินมาทำเป็นดวงกสิณ ต้องยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ คือ เพ่งดวงกสิณนี้ ไม่ให้จิตใจไปคิดอะไรอื่น ถ้าจิตไปคิดอะไรอื่นก็หมายความว่า มีถีนมิทธ คือ จิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์ที่เพ่ง คลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่ง เป็นจิตที่ตกไปจากดวงกสิณแล้ว ต้องยกจิตให้กลับมาที่ดวงกสิณใหม่ คือให้เพ่งดวงกสิณอีก จนไม่เคลื่อนไปจากดวงกสิณอีกเลย เช่นนี้เป็นอันว่ามีวิตกโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตมี วิตกอยู่เฉพาะดวงกสิณ ก็ได้ชื่อว่าเผาหรือข่มถีนมิทธได้แล้ว เพราะจิตไม่ท้อถอยคลาดเคลื่อนไปจากดวงกสิณเลย
          ๒. วิจาร คือ การประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ไม่ให้ลังเลใจว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานละหรือ ถ้าเกิดลังเลใจขึ้น จิตก็จะหน่ายในการประคองจิต ก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ความลังเลใจเป็นวิจิกิจฉา เมื่อประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่งโดยปราศจากความลังเลใจ ก็ได้ชื่อว่ามี วิจาร โดยสมบูรณ์ เผาหรือข่มวิจิกิจฉานิวรณ์ แล้ว
          ๓. ปิติ คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบในการเพ่งอารมณ์ เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ โดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจแล้ว ย่อมเกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจในการกระทำเช่นนั้น ขณะที่จิตมีปิติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่
          ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้คิดไปถึงความพยาบาทมุ่งจะทำร้ายขุ่นเคืองใครจึงได้ชื่อว่า ปิติ นี้เผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ ได้แล้ว ปิติที่เป็นองค์ฌาน สามารถเผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงขั้น ผรณาปิติ ส่วนปิติ อีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อยอยู่
          ๔. สุข ในองค์ฌานนี้ หมายถึง ความสุขใจ คือ โสมนัสเวทนา เมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ประคองจิตจนตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ ถึงกับเกิดปิติแล้ว ย่อมเป็นสุขใจยิ่งนัก ความสุขก็คือ ความสงบ ปราศจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็นธรรมดา จึงได้ชื่อว่า สุขนี้เผาหรือข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ได้แล้ว
          ๕. เอกัคคตา คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว เมื่อจิตตั้งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งดังที่กล่าวมาเป็นลำดับเช่นนี้แล้ว ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้มีอารมณ์อื่นใดอีกเลย
          หมายความว่า ขณะนั้นไม่ได้คิดคำนึงถึง รูป เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัส แต่ประการใด ๆ ทั้งสิ้น แน่วแน่แต่อารมณ์ที่เพ่งอย่างเดียวเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า เอกัคคตา นี้เผาหรือข่มกามฉันทนิวรณ์ ได้แล้ว

ประเภทแห่งฌาน ๕

          ตามนัยแห่งพระอภิธรรม จำแนกประเภทแห่งฌานว่ามี ๕ ฌาน เรียกชื่อว่า ฌานปัญจกนัย ฌาน ๕ นี้ ได้แก่
ปฐมฌาน        มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน               "          ๔ คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน               "          ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน             "         ๒ คือ สุข เอกัคคตา
ปัญจมฌาน            "         ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
          มีข้อควรสังเกตว่า จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ และปัญจมฌานก็มีองค์ฌาน ๒ ทั้ง ๒ ฌานมีองค์ฌานเท่ากัน แต่ว่าชนิดขององค์ฌานนั้นไม่เหมือนกัน
          ๑. ปฐมฌาน ต้องมีองค์ฌานครบทั้ง ๕ เพื่อเป็นเครื่องทำลาย ประหาร เผา ข่ม นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ ปฐมฌานกุสลจิตจึงจะเกิดได้
          อนึ่ง ในขณะที่ปฐมฌานจิตเกิดขึ้น เกิดพร้อมกับองค์ฌานทั้ง ๕ ในขณะเดียวกัน และในขณะนั้นเอง องค์ฌานทั้ง ๕ ก็เผาหรือข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ไปพร้อมกันในขณะเดียวกันนั้นอีกด้วย หาใช่ว่าองค์ฌานเกิดทีละองค์เผา นิวรณ์ทีละอย่างไม่ แม้ในฌานจิตชั้นอื่น ๆ ก็เป็นเช่นที่กล่าวนี้
          ๒. ทุติยฌาน มีองค์ฌานเพียง ๔ โดยละ วิตก ซึ่งเป็นองค์ฌานองค์แรกได้ที่ละวิตกเสียได้เพราะ ผู้ที่ได้ปฐมฌาน จะต้องหัดเข้าปฐมฌานจนชำนิชำนาญแล้วจึงเริ่มทำทุติยฌานได้ เมื่อจะขึ้นทุติยฌาน เห็นว่า วิตก เป็นองค์ฌานที่หยาบกว่าองค์ฌานอีก ๔ คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา จึงละเสีย แล้วเริ่มต้นด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิตเลยทีเดียว เพ่งปฏิภาคนิมิตตามวิธีการจนทุติยฌานเกิด
          อนึ่ง การละวิตกเพราะเห็นว่าเป็นของหยาบตามหลักที่ได้กล่าวแล้วนั้น ยังมีเหตุผลที่น่าจะเป็นดังต่อไปนี้ด้วย
          ก. เพราะความชำนาญ มีความคล่องแคล่วว่องไว (มีวสี)ในปฐมฌาน จึงเริ่มทำทุติยฌานด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิตเลยทีเดียว ไม่ต้องเพ่งดวงกสิณเหมือนเมื่อเริ่มทำปฐมฌาน คือไม่ต้องใช้วิตกยกจิตขึ้นเพ่งดวงกสิณ จะเปรียบได้เหมือนเด็กที่เริ่มเรียนบวกเลขว่า ๔ กับ ๓ บวกกันได้เท่าไร ซึ่งอาจจะต้องทำพิธีคิด คือยกมือชูขึ้น ๔ นิ้ว และอีกมือชูขึ้น ๓ นิ้ว แล้วนับจึงตอบได้ว่า ๗ ที่แปลว่ามีพิธีในการคิด คือ มีวิตก ถ้าหากว่าเรียนมาจนคล่องแคล่วชำนาญแล้ว ก็ตอบได้ทันทีที่ถาม ว่าเป็น ๗ โดยไม่ต้องชูนิ้ว ไม่ต้องนับเท่ากับว่าไม่ต้องคิดไม่ต้องใช้วิตก
          ข. ผู้เข้าปฐมฌานจนถึงมีวสีแล้ว ย่อมไม่มีความหดหู่ท้อถอย คือปราศจากถีนมิทธะแล้ว จึงไม่ต้องใช้วิตกเผาอีกเพราะปฐมฌานได้ข่ม ถีนมิทธะมาจนอยู่มือแล้ว
          ๓. ตติยฌาน มีองค์ฌานเพียง ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา โดยละวิจารซึ่งเป็นองค์ฌานองค์ที่ ๒ ได้อีกองค์หนึ่ง ที่ละวิจารได้อีก เพราะ ทุติยฌานลาภีบุคคล จะต้องมีวสีในทุติยฌานนั้นแล้ว จึงจะเริ่มทำ ตติยฌานได้
          เมื่อจะขึ้นตติยฌาน ก็เห็นโทษของวิจารว่ามีสภาพที่หยาบกว่า ปิติ สุข เอกัคคตาจึงละวิจารอันเป็นองค์ฌานที่มีสภาพหยาบนั้นเสีย ให้สมกับตติยฌานอันเป็นฌานที่ประณีตกว่าทุติยฌาน จึงเริ่มต้นด้วยการเพ่งปฏิภาค นิมิตจนกว่าตติยฌานจิตจะเกิด ที่ตติยฌานละวิจารได้ นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว น่าจะเป็นดังนี้ด้วย คือ ปฐมฌานได้เผาได้ข่มความลังเลใจ คือวิจิกิจฉามาแล้ว และทุติยฌานก็ได้เผา ได้ข่มซ้ำอีกต่อหนึ่งด้วย ในการทำตติยฌานจึงไม่ต้องอาศัยวิจารมาเผาวิจิกิจฉานิวรณ์อีก
          ๔. จตุตถฌาน มีองค์ฌานเพียง ๒ เท่านั้นโดยละปิติได้อีก คงเหลือแต่ สุข กับ เอกัคคตา ตติยฌานลาภีบุคคลผู้มีวสีในตติยฌานแล้ว ก็พิจารณาว่าปิติที่เป็นองค์ฌาน องค์หนึ่งนั้น เป็นความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจจนซาบซ่านไปทั่วตัวทั้งกายและใจ มีอาการโน้มเอียงไปทางที่มีความลิงโลดใจนับเป็นสภาพที่หยาบ เมื่อต้องการฌานที่ประณีตขึ้นไปอีกก็ไม่ควรที่จะติดอยู่ในใจ ในเวลาที่เจริญเพื่อขึ้นจตุตถฌาน จึงละปิติเสีย ดังนั้นเมื่อจตุตถฌานเกิด จึงเหลือองค์ฌานเพียง ๒ องค์คือ สุข กับ เอกัคคตา
          ๕. ปัญจมฌาน มีองค์ฌานเพียง ๒ เท่ากับจตุตถฌาน แต่ไม่เหมือนกับจตุตถฌาน คือ จตุตถฌานมี สุข กับ เอกัคคตา เป็นองค์ฌาน ส่วนปัญจมฌาน มี อุเบกขา กับ เอกัคคตา เป็นองค์ฌาน สุขที่เป็นองค์ฌานนี้ หมายถึง สุขใจ คือ โสมนัสเวทนา โสมนัสเวทนาในฌานเป็นของหยาบ มีอานิสงส์น้อยกว่าอุเบกขาเวทนาในฌาน
          เมื่อจตุตถฌานลาภีบุคคลมีวสีในจตุตถฌานแล้ว พิจารณาเห็นว่าปัญจมฌานเป็นฌานที่ประณีตกว่าจตุตถฌาน จึงได้ละสุขเสีย มาตั้งอยู่ในความวางเฉยต่อความสุข คือ อุเบกขา ดังนั้นขณะที่เกิดปัญจมฌานจิตจึงพร้อมด้วยองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา กับ เอกัคคตา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า รูปาวจรจิต มี ๕ ฌานนั้นแตกต่างกันที่องค์ฌาน ของฌานแต่ละฌานแต่ละชั้น ซึ่งมีจำนวนมากน้อยลดหลั่นกันเป็นข้อสำคัญ ส่วนอารมณ์นั้นอาจจะเป็นอารมณ์อย่างเดียวกัน ไม่แตกต่างกันก็ได้

อารมณ์ที่ให้เกิดฌาน
          อารมณ์ที่ใช้เพ่งให้เกิดฌานจิตนั้น เรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน คือ ปฐมฌาน มีอารมณ์ ๒๕ อย่าง คือ
๑. กสิณ ๑๐
  • ๑) ปฐวีกสิณ คือ เพ่งดิน
  • ๒) อาโปกสิณ คือ เพ่งน้ำ
  • ๓) เตโชกสิณ คือ เพ่งไฟ
  • ๔) วาโยกสิณ คือ เพ่งลม
  • ๕) นีลกสิณ คือ เพ่งสีเขียว
  • ๖) ปีตกสิณ คือ เพ่งสีเหลือง
  • ๗) โลหิตกสิณ คือ เพ่งสีแดง
  • ๘) โอทาตกสิณ คือ เพ่งสีขาว
  • ๙) อากาสกสิณ คือ เพ่งที่ว่างเปล่า
  • ๑๐) อาโลกกสิณ คือ เพ่งแสงสว่าง
๒. อสุภ ๑๐
          หมายถึงเพ่งของไม่งามเป็นกัมมัฏฐาน คือ
  • ๑) ศพที่ มีอาการขึ้นพอง
  • ๒) ศพที่ เน่า ขึ้นเขียว
  • ๓) ศพที่ มีน้ำเหลืองน้ำหนองไหลออกมา
  • ๔) ศพที่ ถูกตัดขาดเป็นท่อน ๆ
  • ๕) ศพที่ ถูกสัตว์แทะกัดกิน เหวอะหวะ
  • ๖) ศพที่ มือ เท้า ศีรษะอยู่คนละทางสองทาง
  • ๗) ศพที่ ถูกสับฟันยับเยิน
  • ๘) ศพที่ มีโลหิตไหลอาบ
  • ๙) ศพที่ มีหนอนไชทั่วร่างกาย
  • ๑๐) ศพที่ เหลือแต่กระดูกกระจัดกระจายไป
๓. อานาปานสติ ๑ (ระลึกถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออก)
๔. กายคตาสติ ๑ (ระลึกถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ)
๕. พรหมวิหาร ๓ (คือ เมตตา กรุณา มุทิตา)
          ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน มีอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง คือ กสิณ ๑๐ อานาปานสติ ๑ และพรหมวิหาร ๓
อารมณ์ที่ให้เกิดฌานปัญจมฌาน มีอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง คือ กสิณ ๑๐ อานาปานสติ ๑ และ อุเบกขาพรหมวิหาร 

ฌานจตุกนัย
          ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นการกล่าวตามนัยแห่งพระอภิธรรม ซึ่งจำแนกฌานออกเป็น ๕ ประเภท เรียกว่า ฌานปัญจกนัย
          แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือ ตามแนวพระสูตร จำแนกฌานออกไว้เป็น ๔ ประเภท เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้
ปฐมฌาน          มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน                 "          ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน                 "          ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน              "          ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
          น้อยกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรม ๑ ฌาน โดยทุติยฌานละได้ทั้ง วิตกและวิจารพร้อมกันเลย เท่ากับรวมทุติยฌานกับตติยฌานทางปัญจกนัย ๒ ฌาน รวมเป็นฌานเดียว ซึ่งทางจตุกนัยจัดเป็นทุติยฌานเท่านั้น ฌานอื่น ๆ นอกนั้นเหมือนกัน
          ส่วนทางพระอภิธรรมที่จำแนกเป็นปัญจกนัย ก็เพื่อให้ตรงตามสภาวะตรงตามประเภทจิต และตรงตามจำนวนของจิตที่มีอยู่ และที่ทุติยฌานละได้แต่เพียงวิตกอย่างเดียว ต่อเมื่อถึงตติยฌานจึงจะละวิจารได้อีกนั้น ก็เพราะเป็น มันทบุคคล คือผู้รู้ช้า จึงละได้เพียงฌานละหนึ่งองค์ฌานเท่านั้นแต่ถ้าเป็น ติกขบุคคล คือผู้รู้เร็ว ก็ละได้ทีเดียวทั้ง วิตก วิจาร เหมือนกัน
          เหตุนี้ทางพระสูตรจึงแสดงว่า รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็น ฌาน ๘ และเมื่อกล่าวถึงการเข้าฌานสมาบัติจึงกล่าวว่า สมาบัติ ๘
          ทางพระอภิธรรมแสดงว่า รูปฌานมี ๕ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็น ฌาน ๙ สมาบัติ ๙
          ฌานตามแนวพระอภิธรรมที่กล่าวถึงอยู่นี้ มี ๕ ฌาน เมื่อจำแนกโดยชาติเภท มี กุสล วิบาก กริยา เรียกว่า รูปาวจรกุสลจิต ๕ รูปาวจรวิบากจิต ๕ รูปาวจรกิริยาจิต 

รูปาวจรกุสลจิต
          รูปาวจรกุสลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญกุสลจนถึงรูปฌาน เป็นจิตที่ตกแต่ง บุญกุสลไว้เพื่อรับสมบัติ คือ เป็นรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๕ ดวง คือ
          ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานกุสลจิตฺตํ
รูปาวจรกุสลดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกุสล
          ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานกุสลจิตฺตํ
รูปาวจรกุสลดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกุสล
          ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานกุสลจิตฺตํ
รูปาวจรกุสลดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานกุสล
          ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานกุสลจิตฺตํ
รูปาวจรกุสลดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานกุสล
          ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานกุสลจิตฺตํ
รูปาวจรกุสลดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานกุส

รูปาวจรวิบากจิต
          รูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุสลจิต เมื่อทำรูปา วจรกุสลจิตได้แล้วก็จะได้รับผลเป็นรูปาวจรวิบากจิตซึ่งจะนำไปเกิดเป็นพรหม ในพรหมโลกมีอยู่ ๕ ดวง เท่ากับรูปาวจรกุสลจิต รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง คือ
          ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานวิปากจิตฺตํ
รูปาวจรวิบากดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาเป็นปฐมฌานวิบาก
          ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานวิปากจิตฺตํ
รูปาวจรวิบากดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานวิบาก
          ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานวิปากจิตฺตํ
รูปาวจรวิบากดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานวิบาก
          ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานวิปากจิตฺตํ
รูปาวจรวิบากดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานวิบาก
          ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานวิปากจิตฺตํ
รูปาวจรวิบากดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานวิบา

รูปาวจรกิริยาจิต
          รูปาวจรกิริยาจิต เป็นจิตของพระอรหันต์ที่เข้ารูปฌาน ถ้าพระอรหันต์ เข้าฌานในรูปาวจร เรียกว่าพระอรหันต์เข้ารูปาวจรกิริยาจิต แต่ถ้าปุถุชนและเสกขบุคคลเข้ารูปาวจรฌานนั้น จะเรียกว่า รูปาวจรกุสลจิต (เสกขบุคคล มี พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี) รูปาวจรกิริยาจิตมี ๕ ดวง คือ
          ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานกิริยาจิตฺตํ
รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกิริยา
          ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานกิริยาจิตฺตํ
รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกิริยา
          ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานกิริยาจิตฺตํ
รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานกิริยา
          ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานกิริยาจิตฺตํ
รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานกิริยา
          ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานกิริยาจิตฺตํ
รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานกิริยา
          ผู้ที่เข้าฌานจะมีความสุข อาจเข้าฌานถึง ๗ วัน ก็จะมีความสุขถึง ๗ วันซึ่งจะหาความสุขอื่นที่จะมีความสุขติดต่อกันถึง ๗ วันนั้นยาก พระอรหันต์จึงหลีกเล้นไปเข้าฌานเพื่อหาความสุข แต่ผลของฌานรูปาวจรของพระอรหันต์นั้นไม่มีผลจะส่งให้ต่อไปเหมือนปุถุชน และเสกขบุคคลแล้ว จึงเรียกฌานจิตที่พระอรหันต์เข้ารูปาวจรจิตนี้ว่า รูปาวจรกิริยาจิต
          บุคคลที่ได้ปัญจมฌานแบ่งเป็นสองสาย สายหนึ่งเห็นว่าจิตใจ หรือนามนั้นเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวาย คิดแล้วทำให้ไม่มีความสุขจึงพยายามละ นามต้องการเพียงรูปอย่างเดียว เมื่อขณะเข้าปัญจมฌานจึงภาวนาเพียงรูปอย่างเดียว ถ้าตายในขณะนั้นก็จะไปเกิดเป็นรูปพรหม
          อีกสายหนึ่งมีความเห็นว่ารูปนี้เกิดทุกข์ เดี๋ยวต้องเจ็บ ป่วย ฯลฯ จึงภาวนาละรูปในขณะเข้าปัญจมฌา

อรูปาวจรจิต
          อรูปาวจรจิต เป็นจิตของผู้ถึงอรูปฌาน เป็นจิตที่ถึงซึ่งอรูปฌาน อรูปาวจรจิตเป็นฌานจิตของผู้ที่ได้เจริญรูปาวจรจิตได้ถึง ฌาน ๕ แล้วเห็นว่ารูปเป็นเหตุให้เกิดราคะ เกิดตัณหา จึงต้องการให้เกิด วิราคะ ซึ่งเป็นภาระอันหนัก จึงพยายามเจริญฌานโดยละรูปเสีย ในขณะที่เจริญรูปาวจรฌานที่ ๕ แล้วภาวนาละรูป (เพิกรูป=ไม่ใส่ใจในรูป)
          อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง คือ เป็นกุสล ๔ วิบาก ๔ กิริยา ๔
          อรูปาวจรจิต ตามประเภทแห่งอารมณ์ มี ๔ คือ
          ๑. มี อากาศที่ว่างเปล่าเป็นอารมณ์ คือบุคคลที่เจริญฌานจนได้ปัญจมฌาน โดยเพ่งกสิณจนเป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว ได้เลิกใส่ใจในปฏิภาคนิมิตนั้นเสีย แล้วเจริญฌานโดยเพ่งอากาศว่างเปล่าโดยบริกรรมว่า อากาโส อนนฺโต อากาศไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยเพ่งอากาศที่ว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน บางทีก็เรียกว่า ปฐมารูปจิต คือ ปฐมอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นต้น
          ๒. มี วิญญาณ คือตัวรู้เป็นอารมณ์ โดยเอาตัวรู้ว่าอากาศไม่มีที่สุดนั้นแหละเป็นอารมณ์ โดยบริกรรมว่า วิญฺญาณํอนนฺตํ วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น
          ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมีอากาสานัญจายตนจิตเป็นอารมณ์นี้ ชื่อว่า วิญญานัญจายตนฌาน บางทีเรียกว่า ทุติยารูปจิต คือ ทุติย อรูปาจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๒
          ๓. มี สภาพที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ โดยเจริญวิญญาณัญจา ยตนฌานบ่อย ๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่า วิญญาณ คือตัวรู้ว่าอากาศไม่มีที่สุดก็ดี แม้แต่อากาศที่ไม่มีที่สุดนั้นเองก็ดี ความจริงไม่มีอะไรแม้สักหน่อยหนึ่ง จึงได้มาเพ่งถึงความไม่มี โดยบริกรรม นตฺถิ กิญฺจิ นิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มี จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมี นัตถิภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน บางทีเรียกว่า ตติยารูปจิต คือ ตติยอรูปจิต เป็น อรูปาวจรจิตชั้นที่ ๓
          ๔. มี อากิญจัญญายตนจิตเป็นอารมณ์ โดยกำหนดเอาความประณีต ความละเอียดของตติยารูปจิตเป็นอารมณ์ โดยความรู้สึกที่ว่า สัญญา คือจิตที่รู้ว่านิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มีนั้นจะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะยังมีตัวรู้ว่าไม่มีอยู่จะว่ามีก็ไม่เชิงเพราะสัญญานั้นประณีต ละเอียดอ่อนและสงบมากเหลือเกิน จนแทบจะไม่รู้ว่ามี
          ดังนั้นจึงกำหนดเพ่งธรรมชาติที่สงบประณีต โดยบริกรรมว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ สงบหนอ ประณีตหนอ จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นนี้ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แปลว่า ฌานที่ไม่มีสัญญาหยาบมีแต่สัญญาละเอียด เรียกว่า จตุตถารูปจิต คือ จตุตถอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดเพียงนี้
          อรูปาวจรจิต อรูปจิต อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แตกต่างกันด้วยประเภทแห่งอารมณ์ ไม่ใช่ต่างกันด้วยองค์ฌาน เพราะองค์ฌานของอรูปฌานมี ๒ องค์ คือ อุเบกขา กับเอกัคคตาเท่ากัน เหมือนกันทั้ง ๔ ชั้น
          อนึ่ง องค์ฌานของอรูปฌานนี้เท่ากัน และเหมือนกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌาน จึงจัดว่า อรูปฌาน เป็นปัญจมฌานด้วย
          อรูปาวจรจิตหรือ อรูปฌาน ๔ จำแนกโดยชาติได้ คือ อรูปาวจรกุสลจิต อรูปาวจรวิบากจิต และ อรูปาวจรกิริยาจิต ก็มีอย่างละ ๔ คือ

อรูปาวจรกุสลจิต
          อรูปาวจรกุสลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญกุสลจนถึงอรูปฌาน ถ้าถึงแก่กรรม ในขณะที่เข้าอรูปฌาน จะจุติไปเป็นอรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๔ ดวง คือ
          ๑. อากาสานัญจายตนกุสลจิต
          ๒. วิญญาณัญจายตนกุสลจิต
          ๓. อากิญจัญญายตนกุสลจิต
          ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุสลจิต

อรูปาวจรวิบากจิต
          อรูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุสลจิต ผลเรียกว่าวิบากจิตดวงนี้ เป็นจิตของอรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๔ ดวง คือ
          ๑. อากาสานัญจายตนวิบากจิต
          ๒. วิญญาณัญจายตนวิบากจิต
          ๓. อากิญจัญญายตนวิบากจิต
          ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต

อรูปาวจรกิริยาจิต
          อรูปาวจรกิริยาจิต เป็นจิตของพระอรหันต์โดยเฉพาะที่เข้าอรูปฌาน อรูปาวจรกุสลกับอรูปาวจรกิริยานั้นเหมือนกัน แต่ต่างกันเฉพาะที่เกิด อรูปาวจรกุสลเกิดในสันดานปุถุชนและเสกขบุคคล
          ส่วนอรูปาวจรกิริยาเกิดในสันดานอเสกขบุคคล (คือ พระอรหันต์) อรูปาวจรกิริยาจิตมีจำนวน ๔ ดวง คือ
          ๑. อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
          ๒. วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต
          ๓. อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
          ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต
          ขอย้ำอีกครั้งว่า รูปาวจรจิตนั้นอารมณ์อาจจะเหมือนกันแตกต่างกันที่องค์ฌาน คือ องค์ฌานไม่เท่ากัน
          ส่วนอรูปาวจรจิตนั้นองค์ฌานเท่ากันและเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่อารมณ์ไม่ เหมือนกัน

มหัคคตจิต
          มหัคคตจิต คือธรรมชาติของจิตที่ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ ที่ว่า ถึงซึ่งความเป็นใหญ่นั้น มีอรรถาธิบายว่า
          ก. ข่มกิเลสไว้ได้นาน ชนิดที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
          ข. มีผลอันไพบูลย์ คือมีพรหมวิหารธรรม ได้เสวยพรหมสมบัติในพรหมโลก
          ค. เกิดขึ้นสืบต่อกันได้เป็นเวลานาน เป็นรูปพรหม อรูปพรหม ที่อายุยืนยาวกว่าสัตว์อื่นทั้งหลาย
          จิตที่ประกอบด้วยมหัคคตธรรมนี้เรียกว่า มหัคคตจิต มี ๒๗ ดวง คือ รูปาวจรจิต ๑๕ และ อรูปาวจรจิต๑๒

จำแนกมหัคคตจิต โดย
          ๑. ชาติเภท มหัคคตกุสลจิต ๙ ดวง เป็นชาติกุสล มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง เป็นชาติวิบาก มหัคคตกิริยาจิต ๙ ดวง เป็นชาติกิริยา
          ๒. ภูมิเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง เป็นรูปา วจรภูมิ คือเป็นจิตชั้นรูปาวจร อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง เป็นอรูปาวจรภูมิ คือเป็นจิตชั้นอรูปาวจร
          ๓. เวทนาเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มี เวทนา ๒ อย่าง คือ รูปาวจรปฐมฌาน ๓ ดวง รูปาวจรทุติยฌาน ๓ ดวง รูปาวจรตติยฌาน ๓ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ๓ ดวง รวม ๑๒ ดวงนี้เป็นโสมนัสเวทนา รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง รวมจิต ๑๕ ดวงนี้เป็นอุเบกขาเวทนา
          ๔. เหตุเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง เป็นสเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ มีเหตุประกอบทั้ง ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
          ๕. สังขารเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง เป็นสสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง คือต้องเจริญสมถภาวนาด้วยมหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ฌานจิตจึงจะเกิด ฉะนั้นมหากุสลญาณสัมปยุตตจิตนั่นแหละเป็นสิ่งชักจูงให้เกิดกุสลฌานจิต
          ๖. สัมปยุตตเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง เป็นญาณสัมปยุตต เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา
          ๗. โสภณเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นโสภณจิต
          ๘. โลกเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นโลกียจิตไม่ใช่โลกุตตร จิต
          ๙. ฌานเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นฌานจิต เป็นจิตที่เป็นฌาน จิตที่ได้ฌาน จิตที่ถึงฌา

โลกุตตรจิต
          โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต
          โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก(กามภูมิ) รูปโลก(รูปภูมิ) และอรูป-โลก(อรูปภูมิ) ก็ได้
          อีกนัยหนึ่งคำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับก็ได้ อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น
          ดังนั้นโลกุตตรจิตจึงเป็นจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ เป็นจิตที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ ซึ่งมิได้หมายความว่า จิตนี้อยู่เหนือโลกหรือจิตนี้พ้นไปจากโลก แต่หมายความว่า จิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลก มีอารมณ์ที่พ้นจากโลก คือโลกุตตร จิตนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก
          โลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จิตนี้ไม่ได้เกิดดับ จิตนี้คงเกิดดับตามสภาพของจิต แต่เป็นจิตที่มีอารมณ์อันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์นั้นคือ นิพพาน ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ ธรรมทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดดับเป็นธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก
          อีกนัยหนึ่ง โลกุตตรจิตมีความหมายว่า เป็นจิตที่กำลังประหารและประหาร แล้วซึ่งกิเลส หมายความว่าโลกุตตรกุสลจิตหรือมัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่ โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต เป็นจิตที่เสวยผลซึ่งมัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด อันทำให้กิเลสนั้น ๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมองเร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย การประหารเช่นนี้แหละที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
          โลกุตตรจิต มี ๘ ดวง คือ โลกุตตรกุสลจิต ซึ่งเป็นประเภท อริยมัคค ๔ และโลกุตตรวิบาก ซึ่งเป็นผลของโลกุตตรกุสลจิตอีก ๔ จำง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า มัคคคือกุสล ผลคือวิบาก ซึ่งหมายความว่า มัคคจิตนั้นเป็นชาติกุสล ผลจิตนั้นเป็นชาติวิบาก
          มีข้อสังเกตว่าโลกุตตรจิตมีแต่โลกุตตรกุสลและโลกุตตรวิบาก ไม่มีโลกุตตรกิริยาด้วยเลย ที่โลกุตตรจิตไม่มีโลกุตตรกิริยานั้นเพราะ โลกุตตรกิริยาถ้ามีก็คือ มีโลกุตตรกุสลอันเกิดในสันดานพระอรหันต์ อันว่ามหากุสลหรือมหัคคตกุสลนั้น สามารถเกิดได้บ่อยๆ เกิดได้เนือง ๆ ดังนั้นจึงเกิดในสันดานพระอรหันต์ได้เสมอ
          เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นมหากิริยา หรือมหัคคตกิริยาไป ไม่เหมือนกับ มัคคจิต ซึ่งเกิดได้เพียงมัคคละครั้งเดียวคือ โสดาปัตติมัคคก็เกิดได้ครั้งเดียว สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค ตลอดจนอรหัตตมัคค ก็เกิดได้มัคคละครั้งเดียวเท่านั้น เพราะมัคคจิตนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อประหารกิเลส และประหารเป็นสมุจเฉทเสียด้วย
          เมื่อได้เป็นถึงพระอรหันต์ซึ่งได้ประหาร กิเลสจนหมดจดโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเหลือเลยแม้แต่น้อย ก็ไม่ต้องมีมัคคจิตเกิดขึ้นมาประหารอะไรอีก ดังนั้นจึงไม่มีโลกุตตรกิริยาจิ

การประหารกิเลส
          กิเลส คือ ธรรมชาติที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อกิเลสเกิดพร้อมกับจิตใดหรือประกอบกับจิตใดแล้วก็ทำให้จิตนั้นเศร้าหมอง
และเร่าร้อนไปด้วย กิเลสนี้ประกอบเฉพาะอกุสลจิตเท่านั้น
          ดังนั้นการประหารกิเลสเท่ากับประหารอกุสลจิตนั่นเอง กิเลสนี้แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ
          ๑. วิติกกมกิเลส ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นชั้นนอก หมายความว่ากิเลสพวกนี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวารหรือวจีทวาร คือถึงกับลงมือกระทำการทุจริตทางกายหรือทางวาจาแล้ว กิเลสชนิดนี้ระงับไว้ได้ด้วยสีลเป็นการระงับไว้ได้ชั่วคราวชั่วขณะที่ยังรักษาสีลอยู่ การระงับ การข่ม หรือการประหารเช่นนี้เรียกว่า ตทังคปหาน หมายความว่าขณะใดที่จิตเป็นมหากุสลอยู่กิเลสเหล่านี้ก็สงบระงับไปชั่วขณะ ไม่สามารถประกอบกับจิตก่อให้เกิดกายทุจริตหรือวจีทุจริตได้ในชั่วขณะนั้น
          ๒. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่กิเลสที่อยู่ภายใน หมายความว่ากิเลสจำพวกนี้เกิดอยู่ในมโนทวาร คือคิดอยู่ในใจเท่านั้น ไม่ถึงกับแสดงออกมาทางกายหรือทางวาจา ตัวเองรู้ได้ ผู้อื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้ กิเลสชนิดนี้ข่มไว้ได้ด้วยสมาธิ คือ ฌานข่มไว้หรือระงับไว้ได้นานตราบเท่าที่ ฌานยังไม่เสื่อม เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
          ๓. อนุสยกิเลส ได้แก่กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน ซึ่งตนเองและผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้ได้ กิเลสจำพวกนี้ต้องประหารด้วยปัญญา อันหมายถึงมัคคจิต ซึ่งมัคคจิตสามารถประหารได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อได้โดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
สรุปได้ว่า
วิติกกมกิเลส               ประหารด้วยมหากุสลจิต                เป็น ตทังคปหาน
ปริยุฏฐานกิเลส          ประหารด้วยมหัคคตกุสลจิต          เป็น วิกขัมภนปหาน
อนุสยกิเลส                 ประหารด้วยมัคคจิต                       เป็น สมุจเฉทปหา

โลกุตตรกุสลจิต หรือ มัคคจิต
โลกุตตรกุสลจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากโลก เป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส มีจำนวน ๔ ดวง คือ
          ๑. โสดาปัตติมัคคจิต
          ๒. สกทาคามิมัคคจิต
          ๓. อนาคามิมัคคจิต
          ๔. อรหัตตมัคคจิต

โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต
          โลกุตตรวิบากจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ผลจิต เป็นจิตที่เป็นผลแห่ง โลกุตตรกุสลจิต เป็นจิตที่พ้นจากโลก เป็นจิตที่ได้ประหารแล้วซึ่งกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นและดับแล้ว ผลจิตก็จะเกิดติดต่อกันในทันทีทันใดนั่นเอง โดยไม่มีระหว่างคั่น คือไม่มีจิตใดเกิดมาคั่นเลย ดังนั้นจึงเรียกมัคคจิตว่า อกาลิโก เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาลเวลาเลย
          ผลจิตมีจำนวน ๔ ดวง คือ
          ๑. โสดาปัตติผลจิต
          ๒. สกทาคามิผลจิต
          ๓. อนาคามิผลจิต
          ๔. อรหัตตผลจิต

โสดาปัตติมัคคจิต คู่กับ โสดาปัตติผลจิต
          โสดาปัตติมัคคจิต มาจากคำว่า โสต (กระแสคือไหล) + อาปัตติ (ถึงครั้งแรก) + มัคค (ทาง) + จิต รวมแปลความว่า จิตที่ถึงครั้งแรกซึ่งทางอันเป็นกระแสแห่ง พระนิพพาน หมายความว่าตกกระแสที่ไหลไปสู่พระนิพพาน เหมือนดังกระแสน้ำไหล ไปสู่มหาสมุทร โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากกามโลก เฉพาะส่วนที่เป็นอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และดิรัจฉาน
          โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่พ้นแล้วจากอบายภูมิโดยเด็ดขาด หมายความว่า พระโสดาบันเมื่อจุติแล้วจะไม่ปฏิสนธิในอบายภูมิอีกเลย เพราะประหารจิตชั่วจิตบาป ที่เป็นเหตุให้ต้องไปเกิดในอบายได้แล้ว โสดาปัตติมัคคจิต
          เป็นจิตที่ประหารกิเลสที่เป็นตัวการที่มาประกอบ และก่อให้เกิดอกุสลจิต อกุสลจิตที่โสดาปัตติมัคคจิตกำลังประหารมี ๕ ดวง คือ
โลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง
          โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งอกุสลจิต ๕
ดวงนั้นได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
          อกุสลกรรมบถ ๑๐ ประการ โสดาปัตติผลเป็นจิตที่ประหารอกุสลกรรมบถได้ ๕ ประการ คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ และ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ประหารได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
พระโสดาบันจำแนกได้ ๓ พวก
          ๑. เอกพิชีโสดาบัน เป็นพระโสดาบันที่มีพืชกำเนิดอีกเพียงหนึ่งคือ พระโสดาบันผู้นั้นจะต้องปฏิสนธิเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีกชาติเดียวก็บรรลุอรหัตตผล
          ๒.โกลังโกลโสดาบัน คือพระโสดาบันผู้ต้องปฏิสนธิเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีก ในระหว่าง ๒ ถึง ๖ ชาติ จึงจะบรรลุอรหัตตผล
          ๓.สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือพระโสดาบันผู้ต้องปฏิสนธิอีกถึง ๗ ชาติ จึงจะบรรลุอรหัตตผล
          ที่แตกต่างกันเช่นนี้ เป็นเพราะอินทรียแก่กล้าไม่เท่ากัน จึงทำให้ความมุ่งมั่นในการบรรลุอรหัตตมัคคอรหัตตผลใช้เวลานานไม่เท่ากันไปด้วย แต่อย่างไรก็ดีพระโสดาบันก็ไม่ต้องปฏิสนธิในชาติที่ ๘ เพราะแม้จะเป็นผู้เพลิดเพลินมีความประมาทอยู่บ้าง ก็ต้องบรรลุอรหัตตผลในชาติที่ ๗ แน่นอ

สกทาคามิมัคคจิต คู่กับ สกทาคามิผลจิต
          สกทาคามิมัคคจิต มาจากคำว่า สกึ (ครั้งเดียว) + อนาคามี (กลับมา) + มัคค (ทาง) + จิต รวมความแปลว่า จิตที่ถึงซึ่งทางที่จะกลับมาอีกครั้งเดียว หมายความว่า เป็นผู้ที่จะกลับมาปฏิสนธิในกามภูมิอีกครั้งเดียวเท่านั้น
          สกทาคามิมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าสกทาคามิมัคคบุคคล
          สกทาคามิผลจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าสกทาคามิผลบุคคล
          สกทาคามิผลบุคคลนี่แหละที่เรียกว่า พระสกทาคามี บางทีก็เรียกว่า พระสกิทาคามี เป็นเสกขบุคคล เพราะยังต้องศึกษา คือปฏิบัติให้บรรลุเป็น พระอรหันต์ต่อไป
          สกทาคามิมัคคจิต ได้พ้นจากโลกในส่วนอบายภูมิ โดยอำนาจแห่ง โสดาปัตติมัคคจิต เท่านั้น สกทาคามิมัคคจิต ประหารกิเลสได้จำนวนเท่ากับโสดาปัตติมัคคจิต แต่ได้ประหารกิเลสจำนวนที่เหลือจากโสดาปัตติมัคคจิตให้เบาบางลง อันเรียกว่า ตนุกรปหาน การประหารอกุสลกรรมบถ สกทาคามิมัคคจิต ก็ไม่ได้ประหารเพิ่มขึ้น เป็นแต่เพียงทำให้เบาบางลงเช่นกัน พระสกทาคามี นี้มี ๕ จำพวก
          ๑. อิธ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ฯ เป็นพระสกทาคามี ที่บรรลุสกทาคามิผลในมนุษยโลก และปรินิพพานในมนุษยโลกนี้
          ๒. ตตฺถ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ฯ เป็นพระสกทาคามี ที่บรรลุสกทาคามิผลในเทวโลก และปรินิพพานในเทวโลกนั้นแหละ
          ๓. อิธ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ฯ สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้ แต่ปรินิพพานในเทวโลกโน้น
          ๔. ตตฺถ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ฯ สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลกโน้น มาปรินิพพานในมนุษยโลกนี้
          ๕. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพตฺติตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ฯ สำเร็จเป็นพระสกทาคามี ในมนุษยโลกนี้ ไปบังเกิดในเทวโลกโน้นแล้วกลับมาปรินิพพานในมนุษยโลกนี้

อนาคามิมัคคจิต คู่กับ อนาคามิผลจิต
          อนาคามิมัคคจิต มาจากคำว่า น (ไม่) + อาคามี (กลับมา) + มัคค (ทาง) + จิต รวมแปลความว่า จิตถึงซึ่งทางที่ไม่กลับมาอีก มีความหมายว่าเป็นผู้ไม่กลับมาปฏิสนธิในกามโลกอีก คือจะต้องไปเกิดเป็นพรหมบุคคลในพรหมโลกแน่นอน
          อนาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่า อนาคามิมัคคบุคคล
          อนาคามิผลจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่า อนาคามิผลบุคคล
          อนาคามิผลบุคคลนี่แหละ เรียกว่า พระอนาคามี ยังเป็นเสกข บุคคลเหมือนกัน เพราะยังจะต้องศึกษา คือปฏิบัติต่อไปให้บรรลุอรหัตตผล อนาคามิมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากกามโลกโดยเด็ดขาด หมายความว่า พระอนาคามีเมื่อจุติแล้ว จะไม่มาปฏิสนธิในกามโลก อีกเลย แต่จะไปปฏิสนธิเป็น พรหมบุคคลในพรหมโลกแน่นอน
          อนาคามิมัคคจิตเป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส กล่าวโดยจิตก็ประหาร โทสมูลจิต ๒ ดวง อนาคามิผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งโทสจิต ๒ ดวง โดยเด็ดขาดเป็น สมุจเฉทปหาน กล่าวโดยอกุสลกรรมบถ ๑๐ อนาคามิมัคคจิต เป็นจิตที่กำลัง ประหาร อกุสลกรรมบถเพิ่มขึ้นอีก ๓ คือ ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และพยาบาท
          อนาคามิผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งกิเลสเพิ่มขึ้นอีก ๓ ประการ นั้นได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน พระอนาคามี มี ๕ จำพวก
          ๑. อนฺตรปรินิพฺพายี ฯ พระอนาคามีผู้ถึงซึ่งปรินิพพาน ในกึ่งแรกแห่งอายุกาลในภูมินั้น
          ๒.อุปหจฺจปรินิพฺพายีฯ พระอนาคามีผู้ถึงซึ่งปรินิพพาน ในกึ่งหลังแห่งอายุกาลในภูมินั้น
          ๓. อสงฺขารปรินิพฺพายี ฯ พระอนาคามีผู้ไม่ต้องใช้ความเพียรอย่างแรงกล้า ก็ถึงซึ่งปรินิพพาน
          ๔. สสงฺขารปรินิพฺพายี ฯ พระอนาคามีผู้ต้องขมักเขม้นพากเพียรอย่างแรงกล้า จึงจะถึงซึ่งปรินิพพาน
          ๕. อุทฺธํโสตอกนิฏฺฐคามี ฯ พระอนาคามี ผู้มีกระแสไปถึงอกนิฏฐภูมิ จึงจะถึงซึ่งปรินิพพา

อรหัตตมัคคจิต คู่กับ อรหัตตผลจิต
          อรหัตตมัคคจิต มาจากคำว่า อรหัตต (ผู้ควรบูชายิ่ง) + มัคค (ทาง) + จิต รวมแปลความว่า จิตถึงซึ่งทางที่เป็นผู้ควรแก่การบูชาเป็นอย่างยิ่ง
          อรหัตตมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่า อรหัตตมัคคบุคคล
          อรหัตตผลจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่า อรหัตตผลบุคคล
          อรหัตตผลบุคคลนี่แหละ เรียกว่า พระอรหันต์ เป็นพระขีณาสพ คือผู้ที่สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว เป็นอเสกขบุคคล คือบุคคลที่ไม่ต้องศึกษา ไม่ต้องปฏิบัติอีกแล้ว เพราะบริสุทธิหมดจดสิ้นเชิงแล้ว อรหัตตมัคคจิต
          เป็นจิตที่กำลังพ้นจากรูปโลกและอรูปโลก(อนาคามี พ้นจากกามโลกแล้ว อรหัตตมัคคจิต นี้กำลังพ้นจากรูปโลกและอรูปโลกอีก) อรหัตตผลจิต
          เป็นจิตที่พ้นแล้วจากรูปโลกและอรูปโลกโดยเด็ดขาด หมายความว่า พระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้ว ไม่ต้องปฏิสนธิอีกเลย เป็นอันสิ้นภพสิ้นชาติ พ้นจากสังสารวัฏฏ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป อรหัตตมัคคจิต
          เป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส กล่าวโดยจิต ก็กำลังประหาร อกุสลจิตที่เหลืออีก ๕ ดวง คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต ๔ ดวงและโมหมูลจิต ที่เป็นอุทธัจจสัมปยุตต ๑ ดวง
          อรหัตตผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งอกุสลจิตที่เหลือ ๕ ดวง ที่กล่าวแล้วข้างบน นั้นได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน เป็นอันว่าพระอรหันต์ไม่มีจิตที่เป็นอกุสลทั้ง ๑๒ ดวงเกิดในสันดานอีกเลย กล่าวโดยอกุสลกรรมบถ ๑๐
          อรหัตตมัคคจิตเป็นจิตที่กำลังประหาร อกุสลกรรมบถที่เหลืออีก ๒ คือ สัมผัปปลาป ๑ และ อภิชฌา ๑ อรหัตตผลจิต
          เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งอกุสลกรรมบถที่เหลือ ๒ ประการ (สัมผัปปลาป ๑ และ อภิชฌา ๑) โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน เป็นอันว่า พระอรหันต์ไม่มีอกุสลกรรมบถ ๑๐ เกิดในสันดานอีกเล

พระอรหันต์มีหลายประเภท
          พระอรหันต์ บางทีก็เรียกว่า พระขีณาสพ บางทีก็เรียกว่า อเสกข บุคคล ที่เรียกว่า
          พระอรหันต์ หมายความว่า เป็นบุคคลที่ควรสักการะบูชายิ่ง
          ที่เรียกว่าพระขีณาสพ หมายความว่า เป็นบุคคลที่สิ้นอาสวกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว และที่เรียกว่าพระ อเสกขบุคคลนั้นหมายถึงว่า เป็นผู้ไม่ต้องศึกษาต่อไปอีกแล้ว เพราะมีสีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา โดยบริบูรณ์บริสุทธิแล้ว
พระอรหันต์นี้ จัดได้ว่ามี ๓ ประเภท คือ
          ๑. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง และสามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ คือให้ถึงอริยมัคคอริยผลได้ด้วย เพราะทรงเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย อาสยานุสยญาณ ญาณที่สามารถรู้อัธยาศัย ของเวไนยสัตว์ทั้งหลายประการหนึ่ง อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณที่สามารถรู้อินทรียของสัตว์ทั้งหลายว่า ยิ่งหรือหย่อนเพียงใดประการหนึ่ง และ สัพพัญญุตตญาณ ญาณที่สามารถรอบรู้สิ้นซึ่งปวงสังขตธรรมและอสังขตธรรม อีกประการหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า คือขนานพระนามกันว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
          ๒. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเหมือนกัน แต่ไม่สามารถโปรดสัตว์ให้ พ้นทุกข์ได้ เพราะไม่ถึงพร้อมด้วยญาณ ๓ ประการ ดังกล่าวแล้วในข้อ ๑ นั้น พระอรหันต์ประเภทนี้ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่มีบารมีแก่กล้าพอที่จะเข้าถึงธรรมอันประเสริฐถึงชั้นที่ จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ และพระปัจเจกพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นเฉพาะในยุค ที่ว่างพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในกาลที่ว่างพระพุทธศาสนานั้น บุคคลทั้งหลายย่อมปราศจากสีลธรรม ประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุสล พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถสั่งสอนผู้ที่ไร้สีลธรรมให้บรรลุถึงธรรมอันประเสริฐ ยิ่งปานนั้นได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพระมหากรุณา ได้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดได้เท่านั้น ไม่ใช่โปรดได้ทั่วไปทั้งหมด
          ๓.พระอรหันต์ที่ตรัสรู้อรหัตตมัคคอรหัตตผลตามคำสั่งสอนของสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า(คือไม่ได้ตรัสรู้เอง)นั้นได้ชื่อว่า พระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ ทั่ว ๆ ไป
          นอกจากพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั่ว ๆ ไป ยังจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ปัญญาวิมุตต และเจโตวิมุตต
          ปัญญาวิมุตต หมายถึงพระอรหันต์ผู้ไม่ได้ฌานเลย ไม่ได้เจริญสมถภาวนา ไม่ได้ทำฌาน เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวจนบรรลุอรหัตต มัคคอรหัตตผล พระอรหันต์ผู้ที่ไม่ได้ณานนี้เรียกว่า สุกขวิปัสสกพระอรหันต์
          เจโตวิมุตต หมายถึงพระอรหันต์ผู้ที่ได้ฌานด้วย (ผู้ที่ได้ฌานเรียกว่าฌานลาภีบุคคล) การได้ฌานก็สามารถได้มาด้วย ๒ ประการ คือ
          ก. เป็นผู้ที่เจริญสมถภาวนาจนได้ฌานเช่นนี้เรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน ได้ฌานด้วยการปฏิบัติ แล้วก็มาเจริญวิปัสสนาภาวนาตามลำดับ จนบรรลุเป็นพระอรหันต์
          ข. เป็นผู้ที่แม้จะไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อนก็ตาม แต่ว่าเมื่อได้เจริญ วิปัสสนาภาวนามาตามลำดับ จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล
          ด้วยผลแห่งบุญญาธิการแต่ปางก่อน เมื่อบรรลุอรหัตตผล ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วย เช่นนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค จนถึงได้อภิญญาด้วยก็มี เช่นพระจุฬปัณถก เมื่อสำเร็จพระอรหันต์ ก็มีอภิญญาด้วย คือมีฤทธิสำแดงปาฏิหาริย์ เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวัน
          พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุตตไม่ได้ฌานด้วย เรียกว่า สุกขวิปัสสกพระอรหันต์
          พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุตตนั้นเป็นผู้ที่ได้ฌานด้วย เรียกว่าพระอรหันตฌานลาภีบุคคล พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีนั้น ได้ฌานจนถึงได้อภิญญาด้วยก็มี ได้ฌานก็จริงแต่ ไม่ถึงได้อภิญญาด้วยก็มี
          ฌานลาภีอรหัตตบุคคลได้ถึงอภิญญาด้วยนั้น บางองค์ก็ได้เพียงอภิญญา ๓ บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญา ๖
อภิญญา ๓ หรือบางทีก็เรียกว่า วิชา ๓ นั้น ได้แก่
          (๑) บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
          (๒) ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย
          (๓) อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ
          เฉพาะอภิญญาข้อ ๓ นี้ จะเป็นสุกขวิปัสสกพระอรหันต์ก็ตาม หรือ ฌานลาภี อรหัตตบุคคลที่ได้ถึงอภิญญาด้วยหรือไม่ก็ตามต้องมีอภิญญาข้อ ๓ นี้ด้วยทุก ๆ องค์
อภิญญา ๖ หรือบางทีก็เรียกว่า วิชา ๖ นั้นได้แก่
          (๑) บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
          (๒) ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย
          (๓) อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ
          (๔) ปรจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
          (๕) ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
          (๖) อิทธิวิธ สำแดงฤทธิได้
          อีกนัยหนึ่งนั้น จำแนกพระอรหันต์เป็น ๒ ประเภท โดยจำแนกเป็นอรหันต์ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ และพระอรหันต์ ผู้ไม่มี ปฏิสัมภิทาญาณ
          ปฏิสัมภิทาญาณ คือ ถึงพร้อมด้วยความรู้อันแตกฉาน แปลสั้นๆ ว่าปัญญาแตกฉาน ปฏิสัมภิทาญาณ มี ๔ ประการ คือ
          ๑. อตฺถปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในผลทั้งปวง อันบังเกิดจากเหตุชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ อัตถะ หรือ ผล นั้นได้แก่ ธรรม ๕ ประการ คือ
          ก. ยํ กิญฺจิ ปจฺจยสมฺภูตํ คือ รูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง
          ข. นิพฺพานํ คือ พระนิพพาน
          ค. ภาสิตตฺโถ คือ อรรถที่กล่าวแก้ให้รู้วิบากขันธ์ ๓๒ ดวง*
          ง. กิริยาจิตฺตํ คือ กิริยาจิต ๒๐ ดวง**
          จ. ผลจิตฺตํ คือ ผลจิต ๔ ดวง***
          ๒. ธมฺมปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในเหตุที่ทำให้บังเกิดผล ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
---------------------------------------------------
          * อกุสลวิบาก ๗ ดวง อเหตุกกุสลวิบาก ๘ ดวง มหาวิบาก ๘ ดวง มัคคตวิบาก ๙ ดวง
          ** อเหตุกกิริยา ๓ ดวง มหากิริยา ๘ ดวง มหัคคตกิริยา ๙ ดวง
          ***โสดาปัตติผลจิต ๑ดวง สกทาคามิผลจิต ๑ดวง อนาคามิผลจิต ๑ดวง อรหัตตผลจิต ๑ ดวง
---------------------------------------------------

ธรรม หรือ เหตุ นั้นได้แก่ ธรรม ๕ ประการ คือ

          ก. โย โกจิ ผลนิพฺพตฺตโก เหตุ คือ เหตุทั้งปวงบรรดาที่ยังผลให้เกิดขึ้น
          ข. อริยมคฺคโค คือ มัคคจิตทั้ง ๔ (โสดาปัตติมัคค สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค อรหัตตมัคค)
          ค. ภาสิตํ คือ พระธรรมทั้ง ๓ ปิฎก (พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก)
          ง. กุสลจิตฺตํ คือ กุสลจิต ๑๗ ดวง (มหากุสลจิต ๘ รูปาวจรกุสลจิต ๕ อรูปา วจรกุสลจิต ๔)
          จ. อกุสลจิตฺตํ คืออกุสลจิต ๑๒ ดวง(โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต๒)
          ๓. นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือ มีความสามารถและรู้จักใช้ ถ้อยคำหรือภาษาอันเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า โวหาร ในการอธิบายขยายความ แห่งอัตถปฏิสัมภิทาและธัมมปฏิสัมภิทา ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้ง ลึกซึ้งโดยถ้วนถี่ เช่นนี้เป็นต้น
          ๔. ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือ มีปัญญาว่องไว ไหวพริบ เฉียบแหลม คมคาย ในการโต้ตอบอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทาและ นิรุตติปฏิสัมภิทาทั้ง ๓ นั้นได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว ชัดแจ้ง โดยฉับพลันทันที
          ความรู้แตกฉานเช่นนี้แหละชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญา

โลกุตตรจิตอย่างพิสดาร
          โลกุตตรจิตอย่างพิสดาร คือโลกุตตรจิตอย่างย่อ ๘ ดวง แจกไปตามฌานที่ได้ที่ถึงซึ่งมีอยู่ ๕ ฌานนั้นเช่น โสดาปัตติมัคคจิต ๑ ดวง สามารถได้ปฐมฌาน ๑ ได้ทุติยฌาน ๑ ได้ตติยฌาน ๑ ได้จตุตถฌาน ๑ และปัญจมฌาน ๑ รวมเป็น ๕ ฌาน หรือ ๕ ชั้น
          ดังนั้นโสดาปัตติมัคคจิตที่ประกอบด้วยฌาน ก็มี ๕ ดวง มัคคจิตโดยย่อมี ๔ ดวง ประกอบด้วยฌาน ๕ ชั้น จึงมีมัคคจิตโดยพิสดารเป็น ๒๐ ดวง เฉพาะมัคคจิตโดยย่อ ๔ ดวงซึ่งแม้จะมิใช่จิตที่ประกอบด้วยฌาน แต่ก็ถือว่าเป็นปฐมฌานด้วย
          อนึ่ง มัคคจิตนี้ก็ไม่ได้แจกไปตามอรูปฌานอีก ๔ ฌานนั้นด้วย ก็เพราะเหตุว่าอรูปฌานทั้ง ๔ นั้นนับเป็นปัญจมฌาน ด้วยว่ามีองค์ฌานเพียง ๒ คือ อุเบกขากับเอกัคคตาเท่ากัน และเหมือนกันกับรูปาวจรปัญจมฌาน เป็นแต่อารมณ์ต่างกันเท่านั้นเอง ส่วนองค์ฌานคงเท่ากัน ดังนั้นจึงนับว่าฌานทั้ง ๙ ฌาน มีเพียง ๕ ชั้น ด้วยเหตุนี้มัคคจิต ๔ ดวง จำแนกไปตามฌาน ๕ ชั้น จึงเป็น ๒๐ ดวง
          โดยทำนองเดียวกัน ผลจิตโดยย่อ ๔ ดวง เมื่อจำแนกไปตามฌานที่ได้ที่ถึงซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง รวมมัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง กับผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง จึงเป็นโลกุตตรจิตอย่างพิสดาร ๔๐ ดวง
โลกุตตรกุสลจิต หรือมัคคจิต อย่างพิสดาร ๒๐ ดวงนั้น ได้แก่
          ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌาน
          ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌาน
          ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌาน
          ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตตํ โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน
          ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌาน
          สกทาคามิมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌาน เป็น ๕ ดวง อนาคามิมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌาน เป็น ๕ ดวง และอรหัตตมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง ก็มีนัยเป็นทำนองเดียวกันนี้
โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต อย่างพิสดาร ๒๐ ดวงนั้น ได้แก่
          ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌาน
          ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌาน
          ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌาน
          ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานโสตาปตฺติผลจิตตํ โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน
          ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌาน
          สกทาคามิผลจิตที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง อนาคามิผลจิตที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง และอรหัตตผลจิต ที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง ก็มีนัยเป็นทำนองเดียวกันนี้

จำแนกโลกุตตรจิตโดยชาติเภทเป็นต้น
          ๑. ชาติเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงก็ดี โลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงก็ดี จำแนกโดยชาติได้ ๒ คือ
          โลกุตตรกุสลจิต หรือ มัคคจิต โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวง ก็ดี เป็นชาติกุสล
          โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวง ก็ดี เป็นชาติวิบาก ดังนั้นจึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า มัคคเป็นกุสล ผลเป็นวิบาก
          ๒. ภูมิเภท โลกุตตรจิตเป็นโลกุตตรภูมิ คือเป็นจิตชั้นที่เหนือยิ่งกว่าจิตชั้นใด ๆ ทั้งสิ้น
          ๓. เวทนาเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น
          ถ้ามหากุสลญาณ สัมปยุตตจิตที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นโสมนัสสเวทนา จนโลกุตตรจิตเกิด โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนาเช่นเดียวกัน
          ถ้ามหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ที่เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นอุเบกขา เวทนาจนโลกุตตรจิตเกิด โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอุเบกขาเวทนาเช่นเดียวกัน
          ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงนั้น เป็นโลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยฌานซึ่ง ฌานที่ประกอบกับโลกุตตรจิตนั้นมีเวทนาอย่างใด โลกุตตรจิตนั้นก็มีเวทนาอย่างนั้น กล่าวคือ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌานก็ดี ทุติยฌานก็ดี ตติยฌานก็ดี แม้จตุตถฌานก็ดี เหล่านี้ย่อมเป็นโสมนัสเวทนา
          เพราะฌานเหล่านั้นที่ประกอบกับโลกุตตรจิตเหล่านี้ เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา โลกุตตรจิตประกอบด้วยปัญจมฌาน ย่อมเป็นอุเบกขาเวทนา เพราะปัญจมฌานนั้น เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา
          ๔. เหตุเภท โลกุตตรจิตเป็นสเหตุกจิต เป็นจิตที่มี สัมปยุตตเหตุ และเหตุที่ประกอบก็ครบทั้ง ๓ เหตุเต็มที่คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุและอโมหเหตุ
          ๕. สังขารเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๔๐ ดวงก็ดีเป็นสสังขาริกจิต ทั้งสิ้น เพราะโลกุตตรจิตจะเกิดได้ก็โดยอาศัยมหากุสลญาณสัมปยุตตจิตเจริญ วิปัสสนาภาวนามาก่อน จึงต้องถือว่ามหากุสลญาณสัมปยุตตจิตนั้นแหละเป็นสิ่งที่ชัก จูงให้โลกุตตรจิตเกิดขึ้น
          ๖. สัมปยุตตเภท โลกุตตรจิตจะเป็นญาณสัมปยุตต เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่มีปัญญา ถ้าเป็นจิตที่ไม่มีปัญญา เป็นจิตญาณวิปปยุตต ไม่ใช้ปัญญาประกอบด้วยแล้ว โลกุตตรจิตเกิดขึ้นไม่ได้เลยเป็นอันขาด
          ๗. โสภณเภท โลกุตตรจิตเป็นโสภณจิต เป็นจิตที่ประเสริฐยิ่งกว่าจิตใด ๆ ทั้งปวง ไม่มีจิตใดจะประเสริฐเทียบเทียมได้เลย
          ๘. โลกเภท โลกุตตรจิตประเภทเดียวเท่านี้แหละเป็นโลกุตตระ หาใช่โลกียะไม่ นอกจากโลกุตตรจิตนี้แล้ว จิตอื่น ๆ นั้น เป็นโลกียจิตทั้งหมด
          ๙. ฌานเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวง เป็นจิตที่ไม่มีฌานจิตประกอบด้วยซึ่งเป็น อฌานจิต
          แต่อย่างใดก็ดี โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงที่ไม่ได้ฌานด้วยนี้ ก็ถือว่าเป็นปฐมฌาน ถึงซึ่งปฐมฌานด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่า โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนี้ ควรจัดเป็นฌานจิตได้ด้วย ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงนั้น เป็นจิตที่ประกอบด้วยฌานโดยแท้ จึงเป็น ฌานจิต อย่างไม่มีปัญห

จำแนกจิตทั้ง ๘๙ โดยชาติเภท
          จิตทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น เมื่อจำแนกโดยชาติเภทนัยแล้วก็มี ๔ ชาติ คือ ชาติอกุสล ชาติกุสล ชาติวิบาก และชาติกิริยา
          ชาติอกุสล ได้แก่ จิต ๑๒ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่มีโทษ และให้ผลเป็นทุกข์คือ อกุสลจิต ๑๒ ดวง
          ชาติกุสล ได้แก่ จิต ๒๑ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ปราศจากโทษและให้ผลเป็นสุข คือ มหากุสลจิต ๘ ดวง มหัคคตกุสลจิต ๙ ดวง โลกุตตรกุสลจิต ๔ ดวง
          ชาติวิบาก ได้แก่ จิต ๓๖ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่เป็นผลของบาปและผลของบุญ คือ อกุสลวิบาก ๗ ดวง อเหตุกกุสลวิบาก ๘ ดวง มหาวิบาก ๘ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง โลกุตตรวิบาก ๔ ดวง
          ชาติกิริยา ได้แก่ จิต ๒๐ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญและไม่เป็นบาป ทั้งไม่ใช่ผลของบาปหรือผลของบุญด้วยเป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำเท่านั้นเอง คือ อเหตุกกิริยา ๓ ดวง มหากิริยา ๘ ดวง มหัคคตจิต ๙ ดวง ชาติวิบากและชาติกิริยานี้รวมเรียกว่า ชาติอพายากตะ
          หมายแต่เพียงว่าชาติของจิตเหล่านั้นไม่ใช่กุสลและไม่ใช่อกุสลด้วยทั้ง ๒ อย่า

จำแนกจิต ๘๙ โดยภูมิเภท
          จิตทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้นเมื่อจำแนกโดยภูมิเภทนัยแล้ว ได้ดังนี้
          กามาวจรจิต ๕๔ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ
          รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง เป็นรูปาวจรภูมิ
          อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง เป็นอรูปาวจรภูมิ
          โลกุตตรจิต ๘ ดวง เป็นโลกุตตรภูมิ
          คำว่า ภูมิ นี้แปลว่า แผ่นดิน ที่ดิน ที่อยู่อาศัย ก็ได้ หรือแปลว่า ชั้น พื้นเพ ก็ได้ ในที่นี้แปลว่า ชั้น
          กามาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นกามาวจร ชั้นกามโลก
          รูปาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นรูปาวจร ชั้นรูปโลก
          อรูปาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นอรูปาวจร ชั้นอรูปโลก
          โลกุตตรภูมิ หมายถึง จิตชั้นโลกุตตร คือจิตชั้นที่เหนือโลก ที่พ้น จากโลกทั้ง ๓นั้น

จำแนกจิตโดยย่อและจิตอย่างพิสดาร
          คาถาสังคหะที่ ๑๓ แสดงว่า
๑๓. อิตฺถเมกูนนวุติปฺ
          ปเภทํ ปน มานสํ
          เอกวีสสตํ วาถ
          วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ
          แปลความว่า บัณฑิตพึงจำแนกจิตด้วยประการฉะนี้ว่า มีประเภท ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง หมายความว่า จิตทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทโดยย่อ ก็มี ๘๙ ดวง แต่ถ้าจำแนกโดยพิสดารแล้ว มีถึง ๑๒๑ ดวง ที่มากขึ้นหรือที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็มากขึ้นหรือเพิ่มขึ้นที่โลกุตตรจิตแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนกามาวจรจิตก็ดี รูปาวจรจิตก็ดี อรูปาวจรจิตก็ดี จำนวนคงที่ไม่มีการเพิ่มให้มากขึ้นแต่อย่างใ

จำแนกจิต ๘๙ โดยเวทนาเภท
จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งเวทนาแล้ว ได้ดังนี้
          สุขเวทนา มี ๑ คือ สุขกาย
          ทุกขเวทนา มี ๑ คือ ทุกข์กาย
          โสมนัสเวทนา มี ๓๐ คือ กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๑๒ (กามโสมนัส ๑๘ ได้แก่ โสมนัสโลภมูลจิต ๔, โสมนัส สันตีรณะ ๑, โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑ ,โสมนัส มหากุสล ๔ ,โสมนัสมหาวิบาก ๔ ,โสมนัสมหากิริยา ๔ ส่วนฌานโสมนัส ๑๒ นั้นได้แก่ รูปาวจรปฐมฌาน ๓ , รูปาวจรทุติยฌาน ๓ รูปาวจรตติยฌาน ๓, และรูปาวจรจตุตถฌาน ๓)
          โทมนัสเวทนา มี ๒ คือ โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
          อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ คือ อุเบกขาโลภมูลจิต ๔, อุเบกขาโมห มูลจิต ๒, อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ ,อุเบกขามหากุสล ๔, อุเบกขามหาวิบาก ๔,อุเบกขามหากิริยา ๔,รูปาวจรปัญจมฌาน ๓,อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตร จิต ๘
          เฉพาะโลกุตตรจิตนั้น ถ้ามหากุสลญาณสัมปยุตตจิตที่เจริญวิปัสสนาภาวนา นั้นเกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาจนเกิดโลกุตตรจิต โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นโสมนัสเวทนา
         หากว่ามหากุสลญาณสัมปยุตตจิตที่เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนาจนเกิดโลกุตตรจิตแล้ว โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอุเบกขาเวทนา
          แต่ตามปกติที่จำแนกจิตโดยเวทนาแล้ว ส่วนมากมักจัดโลกุตตร จิต ๘ ดวงไว้ในอุเบกขาเวทนา ดังนั้นในที่นี้จึงจัดโลกุตตรจิต ๘ ดวง อยู่ในอุเบกขาเวทนา เช่นเดียวกัน
          อนึ่ง ถ้าจำแนกจิตอย่างพิสดาร ๑๒๑ ดวงโดยประเภทแห่งเวทนาแล้ว ก็ได้ดังนี้
          สุขเวทนา มี ๑ คือ สุขกาย
          ทุกขเวทนา มี ๑ คือ ทุกข์กาย
          โสมนัสเวทนา มี ๖๒ คือ กามโสมนัส ๑๘, รูปฌานโสมนัส ๑๒ และโลกุตตรที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ๘,โลกุตตรที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ๘, โลกุตตรที่ประกอบด้วยตติยฌาน ๘ ,โลกุตตรที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ๘
          โทมนัสเวทนา มี ๒ คือ โทสมูลจิต ๒ ดวง
          อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ คือ กามอุเบกขา ๓๒, รูปาวจรปัญจมฌาน ๓, อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน ๘ (กามอุเบกขา ๓๒ ได้แก่ อุเบกขาในอกุสลจิต ๖ , อุเบกขาในอเหตุกจิต ๑๔ และ อุเบกขาในกามาวจรโสภณจิต ๑๒)

จำแนกจิต ๘๙ โดยเหตุเภท
          จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งเหตุแล้วได้ดังนี้
          เป็น อเหตุก คือ เป็นจิตที่ไม่มีเหตุนั้น มี ๑๘ ดวง ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘ ดวง เท่านั้นเอง
          เป็น สเหตุก คือ เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุนั้น มี ๗๑ ดวง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          -เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุเดียว เรียกว่า เเอกเหตุกจิต นั้น มี ๒ ดวง คือ โมหมูลจิต ๒ โมหมูลจิตนี้เป็นจิตที่มีโมหเหตุเพียงเหตุเดียวเท่านั้น
          -เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุ ๒ เรียกว่า ทวิเเหตุกจิต นั้นมีอยู่ ๒๒ ดวงคือ
          โลภมูลจิต ๘ มี โลภเหตุกับโมหเหตุ
          โทสมูลจิต ๒ มี โทสเหตุกับโมหเหตุ
          กามาวจรโสภณจิตที่เป็นญาณวิปปยุตต ๑๒ ดวง มีอโลภเหตุกับอโทสเหตุ
          -เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุ ๓ เหตุ เรียกว่าา ติเหตุกจิต คือมีทั้ง อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ นั้น มี ๔๗ ดวง คือ
          กามาวจรโสภณจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง
          มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
          โลกุตตรจิต ๘ ดว

จำแนกจิต ๘๙ โดยสังขารเภท
          จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งสังขารแล้ว ได้ดังนี้
          เป็น อสังขาริก มี ๓๗ ดวง คือ อกุสลจิตที่เป็นอสังขาริก ๗, อเหตุกจิต ซึ่งจัดเป็นอสังขาริกทั้ง ๑๘ และกามโสภณจิตที่เป็น อสังขาริก ๑๒
          เป็น สสังขาริก มี ๕๒ ดวง คือ อกุสลจิตที่เป็นสสังขาริก ๕, กามโสภณจิต ที่เป็น สสังขาริก ๑๒ มหัคคตจิต ๒๗ และโลกุตตรจิต 

จำแนกจิต ๘๙ โดยสัมปยุตตเภท
          จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งสัมปยุตตแล้ว ได้ดังนี้
          เป็น ทิฏฐิสัมปยุตต มี ๔ คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง
          เป็น ปฏิฆสัมปยุตต มี ๒ คือ โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง เป็น วิจิกิจฉาสัมปยุตต มี ๑ คือ โมหมูลจิตดวงที่ ๑
          เป็น อุทธัจจสัมปยุตต มี ๑ คือ โมหมูลจิตดวงที่ ๒
          เป็น ญาณสัมปยุตต มี ๔๗ คือ กามโสภณญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ , มหัคคตจิต ๒๗, โลกุตตรจิต ๘ เป็น ทิฏฐิวิปปยุตต มี ๔ คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตต ๔ ดวง
          เป็น ญาณวิปปยุตต มี ๑๒ คือ กามโสภณญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ ดวง
          เป็น วิปปยุตตจิต มี ๑๘ คือ อเหตุกจิต ๑๘ ซึ่งไม่มีทิฏฐิ ปฏิฆะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะหรือ ญาณ(ปัญญา) มาสัมปยุตตด้วยเลยแม้แต่อย่างเดีย

จำแนกจิต ๘๙ โดยโสภณเภท
          จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งโสภณะแล้ว ได้ดังนี้
          เป็น โสภณะ ๕๙ ดวง คือ กามโสภณจิต ๒๔, มหัคคตจิต ๒๗ , และโลกุตตรจิต ๘
          เป็น อโสภณะ ๓๐ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ และอเหตุกจิต ๑๘

จำแนกจิต ๘๙ โดยโลกเภท
          จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งโลกแล้ว ได้ดังนี้
          เป็น โลกียะ ๘๑ ดวง คือ กามจิต ๕๔ และมหัคคตจิต ๒๗
          เป็น โลกุตตระ ๘ ดวง คือ โลกุตตรจิต

จำแนกจิต ๘๙ โดยฌานเภท
          จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งฌานแล้ว ได้ดังนี้
          เป็น ฌานจิต ๒๗ คือ มหัคคตจิต ๒๗
          เป็น อฌานจิต ๖๒ คือ อกุสลจิต ๑๒, อเหตุกจิต ๑๘, กามโสภณจิต ๒๔ และ โลกุตต รจิต

จำแนกโลกุตตรจิตโดยองค์ฌาน
โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น เมื่อจำแนกออกไปตามจำนวนองค์ฌานที่ประกอบแล้ว ก็ได้ ๕ ประเภท คือ
          ประเภทที่ ๑ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๕ องค์ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา (คือ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌาน)
          ประเภทที่ ๒ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๔ องค์ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา (คือ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌาน)
          ประเภทที่ ๓ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๓ องค์ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา (คือ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยตติยฌาน)
          ประเภทที่ ๔ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ สุข เอกัคคตา (คือ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน)
          ประเภทที่ ๕ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา (คือ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน)
          มีข้อควรสังเกตว่า ประเภทที่ ๔ กับประเภทที่ ๕ แม้ว่าจะมีองค์ฌาน ๒ องค์เท่ากันก็จริง แต่ว่าชนิดขององค์ฌานนั้นไม่เหมือนกัน จึงต้องแยกเป็นคนละประเภท รวมเป็น ๕ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีโลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น แต่ละดวงก็มี ๕ ประเภท ด้วยเหตุนี้โลกุตตรจิตอย่างพิสดารจึงมี ๔๐ ดวง
          อนึ่ง โลกุตตรจิตโดยพิสดารนั้นแบ่งเพียง ๕ ประเภทตามอำนาจแห่งองค์ฌาน ไม่ได้แบ่งเป็น ๙ ประเภทตามจำนวนฌาน คือ รูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ นั้นเล

ฌาน กับ มัคคผล
          โลกุตตรจิตถือเหมือนว่าปฐมฌาน และอรูปาวจรฌานก็ถือเหมือนว่า ปัญจมฌาน
          โลกุตตรจิตของพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ทำฌานมาก่อนเมื่อสำเร็จมัคคผล ย่อมมีปฐมฌานเข้าประกอบด้วย จึงจัดโลกุตตรจิตเข้าไว้ในปฐมฌานด้วย
          ส่วนบุคคลที่ได้ฌานมาก่อนแค่ฌานใด ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌาน เมื่อสำเร็จมัคคผล ก็เกิดพร้อมองค์ฌานนั้น ๆ ด้วย คือ
             ผู้ได้ ปฐมฌาน           สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย             ปฐมฌาน
             ผู้ได้  ทุติยฌาน                             " "                                  ทุติยฌาน
             ผู้ได้ ตติยฌาน                              " "                                  ตติยฌาน
             ผู้ได้ จตุตถฌาน                           " "                                  จตุตถฌาน
             ผู้ได้ ปัญจมฌาน                          " "                                  ปัญจมฌาน
         แม้ใน อรูปฌานทั้งหมด ก็จัดเข้าในปัญจมฌา

ฌานจิต ๖๗
          ปฐมฌานถึงจตุตถฌานแต่ละฌานมี ๑๑ ดวง ปัญจมฌานมี ๒๓ ดวง
          จิตโดยพิสดารซึ่งมีจำนวน ๑๒๑ ดวงนั้น นับเฉพาะจิตที่เป็นฌาน จิตที่ถึงฌานแล้ว มีดังนี้
ปฐมฌาน ๑๑                 ได้แก่    โลกียจิต ๓            โลกุตตรจิต ๘
ทุติยฌาน ๑๑                    "              "       ๓                    "         ๘
ตติยฌาน ๑๑                    "              "       ๓                    "         ๘
จตุตถฌาน ๑๑                 "              "       ๓                    "         ๘
ปัญจมฌาน ๒๓              "              "       ๑๕                  "         ๘
          รวมฌานจิต ๖๗ นั่น ก็คือ มหัคคตจิต ๒๗ ดวง และโลกุตตรจิตพิสดาร ๔๐ ดวง ที่ว่าปฐมฌาน ๑๑ ได้แก่ โลกียจิต ๓ คือ รูปาวจรปฐมฌานกุสลจิต ๑ รูปาวจรปฐมฌานวิบากจิต ๑ รูปาวจรปฐมฌานกิริยาจิต ๑ และโลกุตตรจิต ๘ คือโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ สกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ อนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ อรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ซึ่งได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑ ก็มีนัยทำนองเดียวกันนี้
          ส่วนปัญจมฌาน ๒๓ นั้นได้แก่ โลกียจิต ๑๕ คือ รูปาวจรปัญจมฌานกุสลจิต ๑ รูปาวจรปัญจมฌานวิบากจิต ๑ รูปาวจรปัญจมฌานกิริยาจิต ๑ อรูปาวจรกุสลจิต ๔ อรูปาวจรวิบากจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๘ ซึ่งได้ปัญจมฌา

จำนวนกุสลจิตและวิบากจิตโดยพิสดาร
          กุสลจิต ๓๗ และวิบากจิต ๕๒ อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่าท่านกล่าวอย่างพิสดาร เป็นการจำแนกชาติของจิตโดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง ดังนั้น กุสลจิตจึงมีถึง ๓๗ ดวง และวิบากจิตมี ๕๒ ดวง
กุสลจิต ๓๗ ดวงนั้น ได้แก่
          มหากุสล ๘
          มหัคคตกุสล ๙
          โลกุตตรกุสล ๒๐ (ซึ่งโดยย่อมีเพียง ๔ ดวง)
วิบากจิต ๕๒ ดวง ได้แก่
          อกุสลวิบาก ๗
          อเหตุกกุสลวิบาก ๘
          มหาวิบาก ๘
          มหัคคตวิบาก ๙
          โลกุตตรวิบาก ๒๐ (ซึ่งโดยย่อมีเพียง ๔ ดวง)

อวสานคาถา
อิจฺจานุรุทฺธรจิเต
                          อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
                                                    ปฐโม ปริจฺเฉโทยํ
                                                                            สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ
          นี่ปริจเฉทที่ ๑ ( ชื่อ จิตตสังคหวิภาค ) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อเพียงเท่านี้แล
จบปริจเฉทที่ ๑ (ชื่อจิตตสังคหวิภาค)