โรคภัยไข้เจ็บ

 

Home 
 เกี่ยวกับฟาร์ม 
สายพันธุ์นก 
การเลี้ยงดูนก 
โรคภัยไข้เจ็บ 
กลเม็ดเคล็ดไม่ลับ 
นกจำหน่าย 
เวปไซต์นก 

 
           
          โรคที่เกิดขึ้นกับนกและการรักษาได้รวบรวมมาจากเวปไซต์ต่าง ๆ และหนังสือเกี่ยวกับนกทั้งหลาย การรักษาอาจจะได้ผลหรือ
                  ไม่ได้ผลบางเรื่องเป็นการรักษาในเบื้องต้น ผู้เลี้ยงสามาารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง ถ้าต้องการความมั่นใจในการรักษาโรค
ต่าง ๆ ควรนำนกไปรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์หรือสัตวแพทย์ที่รักษาโรคโดยเฉพาะ

การดูแลรักษาสุขภาพเลิฟเบิร์ด


ข้อมูลจากหนังสือ การเลี้ยงเลิฟเบิร์ดฉบับสมบูรณ์ ของ มฤคมาศ แสงทับทิม


เป็นแผล
         กิดจากการที่นกจิกตีกันหรือบาดกับกรง  การรักษาต้องแยกนกออกมาไว้ในกรงพยาบาลแล้วล้างแผลทำความสะอาดเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อดรค จากนั้นก็ทายารักษาแผลสด คอยดูแลอย่าให้ติดเชื้อซ้ำอีก

ข้อต่อบวม

         เกิดจากบริเวณข้อต่อของนกได้รับการกระทบกระเทือนหรือกระแทกกับของแข็งทำให้ข้อเกิดอาการบวมขึ้น การรักษาใช้ยาไอโอดีนทาบริเวณที่บวมจนข้อที่บวมลดลง

ขาหัก
         เกิดจากอุบัติเหตุอย่างรุนแรงจนทำให้กระดูกขาของนกหัก การรักษา แยกนกออกมาไว้ในกรงพยาบาลแล้วทำการจัดบริเวณที่หักให้เข้าที่ จากนั้นก็ทำการดามกระดูกโดยใช้ไม้บางเล็กทาบแล้วใช้ผ้าหรือเทปมาพันเพื่อให้กระดูกที่จัดรูปไว้ไม่เสียรูป และในกรงพยาบาลต้องปรับแปลงใหม ่คือ  ต้องเอาคอนและอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นของนกออกทั้งหมด เพราะป้องกันไม่ให้นกบินขึ้นเกาะคอนซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บได้อีก  นอกจากนี้ถ้วยน้ำ ถ้วยอาหารควรวางไว้กับพื้นกรง เพื่อให้นกสามารถกินได้โดยสะดวก ใช้เวลา 2-3 อาทิตย์อาการของนกก็จะดีขึ้นเอง

ตาอักเสบ
         อาการของการเจ็บตาเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาจเกิดจากการโดนของแข็ง  หรือโดนควันไฟ  การรักษา   แยกนกที่ตาเจ็บออกให้ห่างจากนกตัวอื่น ๆ ใช้ยาทาหรือหยอดตานก    และพยายามแยกนกออกให้ห่างจากแหล่งที่มีสิ่งทำให้ตานกระคายเคืองอีก

จมูกอักเสบ
         อาการของนกจะมีของแข็งคล้ายเนยมาอุดจมูก การรักษาให้แกะของแข็งดังกล่าวออกแล้วให้ทำความสะอาดจมูก จากนั้นใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดจมูกของนกทุกวันอาการอักเสบก็จะดีขึ้น

เลียงแหบ
         สาเหตุเกิดจากอาหารที่หนาวเย็นมากเกินไปหรือการที่นกใช้เสียงมากเกินไป   การรักษา ใช้เมล็ดฝ้ายหนึ่งช้อนชาต้มให้เดือดกรองด้วยผ้าขาวแล้วนำมาผสมน้ำผึ้งหนึ่งช้อนชาผสมโปแตสเชียมคลอเรทอีกเล็กน้อย ให้นกกิน

ไข่ออกยาก
         การรักษา เมื่อนกไข่ไม่ออกให้นำแม่นกไปอยู่ในที่อบอุ่น จากนั้นให้ใช้น้ำมันมะกอกทาที่ช่องทวาร ใช้มือนวดเบา ๆ ที่ท้องของนกแต่อย่านวดแรงไข่นกอาจแตกได้

ปากทวารห้อย

         เกิดจากการที่นกพยายามที่จะเบ่งไข่ที่ไม่มีเปลือกออกมา  หรือไข่ที่มีขนาดใหญ่เกินไป  หรือนกมีอาการท้องผูกก็ได้ การรักษา ทำความสะอาดช่องทวารโดยใช้น้ำอุ่น ๆ เช็ด แล้วทาด้วยขี้ผึ้งออกไซด์

นิ้วเป็นอัมพาต
         นกมักมีอาการที่ไม่สามารถที่จะเกาะยืนหรือทรงตัวได้ มีสาเหตุมาจากนกเป็นไข้หรือขาดวิตามิน การรักษา  แยกนกออกมาอยู่ในกรงพยาบาลที่มีอากาศอบอุ่น แล้วใช้น้ำมันโอลีฟนวดขานกบ่อย ๆ อาการอัมพาตก็จะดีขึ้น

กระเพาะอาหารอักเสบ
         สังเกตได้โดยบริเวณกระเพาะอาหารของนกจะมีรอยบวมยื่นออกมา  สาเหตุเกิดจากที่นกได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงบริเวณกระเพาะอาหารและเกิดอาการอักเสบ การรักษา ใช้นิ้วมือนวดกระเพาะอาหารของนกเบา ๆ เพื่อให้อาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะได้สลายตัว หากนวดแล้วยังไม่ได้ผลให้นกอดอาหาร 1 วัน ส่วนน้ำก็ให้จำนวนน้อย  แล้วให้หยดกลีเซอรีน พาราฟินเหลวลงในน้ำ 2-3 หยด ในระหว่างการให้อาหารควรระวังอย่าให้นกมากเกินไปควรให้เพียงเล็กน้อย สังเกตุอาการของนกถ้าเริ่มดีขึ้นก็สามารถให้อาหารได้ตามปกติ

ลำไส้อักเสบ
         อาการของนกที่ลำไส้อักเสบ จะมีลักษณะเซื่องซึม  ไม่ค่อยส่งเสียงร้องและไม่กินอาหาร  แม้ว่านกจะหิวและต้องการอาหารเพียงใดก็ตาม มูลที่ขับถ่ายออกมาจะมีสีแดงหรือดำ บริเวณช่องท้องของนกเมื่อจับดูจะรู้สึกร้อน การรักษา  ให้แยกนกออกมาอยู่ในกรงพยาบาลที่มีอากาศอบอุ่น อาหารที่ให้กับนกในระยะนี้ควรที่จะงดพืชผักสดให้นกกินเฉพาะน้ำที่สะอาด
ผลมกลีเซอรีนประมาณ 2-3 หยด หลังจากนกท้องว่างดีจะเริ่มให้อาหารแต่ต้องให้เพียงแต่น้อย ถ้านกยังมีอาการท้องร่วงอยู่ให้ยาปฎิชีวนะพวกเทอร์ราไมซินผสมกับน้ำให้นกกิน


ท้องผูก
        สังเกตุได้ง่ายจากมูลที่นกขับถ่ายออกมาจะมีลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ แข็ง   หรือไม่นกก็ไม่ขับถ่ายหลายวัน สาเหตุก็มาจากการที่นกกินอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน การรักษา ให้อาหารประเภทผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น ส่วนน้ำก็ให้ผสมดีเกลือฝรั่งลงเล็กน้อย หากนกมีอาการท้องผูกอย่างรุนแรงควรใช้น้ำมันละหุ่งอุาน ๆ หยดป้อนนกประมาณ 2-3 หยด

ท้องร่วง
         นกจะขับถ่ายออกมาเป็นน้ำเหลวสีค่อนข้างเขียว สาเหตุมาจากการที่นกกินอาหารที่ไม่สะอาดหรือส่วนผสมอาหารไม่สัมพันธ์กัน  การรักษา ควรงดอาหารประเภทผักและผลไม้  ให้อาหารที่สะอาดประเภทแห้ง หากมีอาการที่รุนแรงซึ่งเกิด จากการติดเชื้อให้ใช้ยาปฏิชีวนะพวกเทอร์ราไมซินผสมน้ำให้นกกิน

ชัก
         อาการของนกที่ชักหรือที่เรียกกันว่าเป็นลมบ้าหมูนั้น มักเกิดขึ้นโดยฉับพลัน การรักษาหลังจากที่นกชักแล้วให้กินน้ำผสมยาระบายอ่อน ๆ ใช้โปตัสเซียมโบรไมด์ 5-6หยด ผสมน้ำให้นกกินด้วย

หน้ามืด
         นกที่โดนแดดมาก ๆ จะมีอาการหน้ามืดเป็นลมได้ นกที่เป็นลมหน้ามืดจะลงมานอนที่พื้นกรงหายใจหอบ ปีกมีอาการกระตุกและกระดกขึ้นเวลาที่สูดลมหายใจ การรักษา ให้นำนกไปไว้ที่อากาศเย็นปลอดโปร่งแล้วชะโลมตัวนกด้วยน้ำ ให้กินโบรไมด์แทรนวิลลิเซอร์และกลีเซอรีนอย่างละ 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำในปริมาณที่เท่ากัน งดการให้อาหารที่มัน ๆ

โรคซิททาโซซิล
         เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า โรคนกแก้ว นกที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการเบื่ออาหาร ซึม ขนฟู นัยตาไม่แจ่มใส ต่อมามีอาการ
หวัด น้ำมูกไหลและท้องร่วง หากเป็นรุนแรงจะเสียชีวิตภายในเวลา 3-4 วัน   นอกจากนี้โรคนี้ยังสามารถติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ การรักษา นิยมที่จะใช้ Anitibotie เช่น ออริโอมัย - เทอร์มัยซิน หรือซัลฟา เมทราลิน   การรักษาต้องให้ยารักษาทีละอาการ โดยเริ่มจากการแก้อาการท้องร่วงก่อนแล้วจึงให้ยาเจริญอาหาร


โรคเชื้อรา
          เกิดจากเชื้อราชนิด Aspergillus อันเป็นเชื้อราเล็ก ๆ จากวัตถุผุพัง ลักษณะของเชื้อโรคนี้คล้ายเชื้อรา ปรากฎเป็นหย่อม ๆ ในหลอดลมนกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการเหงา เศร้าซึม ไม่ค่อยที่จะกินอาหาร  ขนพอง หายใจไม่สะดวก มีเสียงครืนคราดในลำคออาการเป็น หืดเป็นโรคติดต่อที่แพร่ได้รวดเร็วทางน้ำ นกที่เป็นโรคนี้อย่างรุนแรงอาจถึงเสียชีวิตได้   สาเหตุที่เกิดเชื้อโรคนี้ก็มักจะพบว่านกกินข้าวที่สกปรกและหมักหมม การรักษา หากสามารถพบได้ในระยะแรกๆ หรือเชื้อพบเริ่มมีรักษาโดยการหยดกลีรเซอรีนหรือทิงเจอร์ไอโอดีนลงในน้ำดื่มของนกเล็กน้อย

โรคอหิวาต์
         สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อโรคพาสเจอเรลล่า เอวิซิดา เชื้อจะอยู่ในมูลของนก  โรคนี้สามารถติดต่อได้หลาย และยังสามารถติดไปกับมือผู้เลี้ยงได้ด้วย  เมื่อเชื้อโรคเข้าไปยังตัวนกจะแสดงอาการให้เห็นภายใน  1-3  วัน อาการที่เด่นชัดเจนคือนกจะท้องเสียขับถ่ายออกมาเป็นของเหลวสีขาวหรือน้ำตาลปนเขียวในปากและลำคอมีน้ำลายเหนียวหายใจหอบยืนเศร้าและหลับตา มีไข้ตัวร้อน และในที่สุดก็เสียชีวิตการรักษา      ให้แยกนกออกมาไว้ในกรงพยาบาลและใช้ยาปฎิชีวนะละลายน้ำให้กินสำหรับกรงและบริเวณที่เลี้ยงนกต้องทำความสะอาดทั้งหมดและหายาฆ่าเชื้อมาทำลายเชื้อด้วย

โรคฝีดาษ
          
โรคนี้เกิดสาเหตุที่นกโดนยุงกัด อาการของโรคคือขั้นแรกจะเป็นตุ่ม มักพบบริเวณตา จมูก ปากและขาหรือบริเวณที่มีขนคลุมบาง ๆ ต่อมาตุ่มนั้นจะใหญ่ขึ้นเป็นไตแข็ง ๆ และแตกไปเองในกรณีที่ไม่รุนแรงนัก  และหายไปเองในที่สุด ถ้ารุนแรงจะมีตุ่มเกิดขึ้นในลำคอทำให้กินน้ำและอาหารได้ลำบากการรักษา ก่อนอื่นต้องตรวจดูก่อนว่าเป็นที่ใด   ถ้าเป็นที่ในปากใช้คีมคีบถอนออกมาแล้วใช้ออริโอมัยซินครีมป้ายที่แผล หรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน   2% แต้มที่แผล แต่ถ้าเป็นที่ตา หน้าใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน 2% ทาหรือจะใช้พินนิซิลลินครีมทาก็ได้       โรคนี้จะระบาดได้รวดเร็วผู้เลี้ยงพบจะต้องรีบทำการแก้ไขเป็นการด่วน

หวัดหนาวสั่น
         
นกที่เป็นหวัดจะมีอาการคล้ายคนที่เป็นหวัดคือมีอาการจามและมีน้ำมูกหรือมีเสมหะเหนียวด้วยการรักษานำนกแยกออกมาไว้ที่กรงพยาบาลและใช้ปฎิชีวนะผสมลงในน้ำเล็กน้อยให้นกกิน

โรคปอดอักเสบ
         
สาเหตุเกิดการที่นกโดนลมโกรกมากเกินไปหรืออากาศด้วยร้อนด้วยหนาวเกิดอาการเป็นหืดแล้วตามด้วยการเป็นโรคปอดอักเสบ นกจะแสดงอาการเศร้าซึมไม่ร่าเริงตาและขนฟู จาม สำลัก หายใจติดขัดการรักษา แยกนกมาไว้ที่กรงพยาบาล เอาผ้าคลุมกรงโดยเปิดช่องให้เล็กน้อย เพื่อให้นกได้รับความอบอุ่น  ใช้ยาปฎิชีวนะผสมน้ำให้นกกิน

โรคเกาท์
          
สาเหตุเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น นกเป็นโรคไต   นกกินอาหารที่มีโปรตีนมากเกินไปหรือกินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป นกขาดวิตามินขาดการออกกำลังกายมักจะเกิดกับนกที่อายุมาก นกจะมีอาการข้อขาบวมอาจจะมีอาการท้องร่วงเรื้อรัง  การรักษา ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนอ่อน ๆ ทาที่ข้อขา ย้ายนกไปอยู่ในกรงที่กว้าง ๆ เพื่อให้นกได้ออกกำลังกาย  ให้อาหารที่เป็นประเภทผักและผลไม้ ให้น้ำที่ต้มผสมโซดาคาร์บอเนตให้นกกิน

โรคตับอักเสบ
         
นกที่เป็นโรคนี้จะตายในเวลาอันรวดเร็วหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มักเกิดขึ้นกับนกที่โดนเลี้ยงในสถานที่อบอ้าว อากาศร้อนจัด อาการนกที่ป่วยเป็นโรคนี้นกจะกระหายอย่างหนักมีอาการกระวนกระวายตลอดเวลา      การรักษา หยอดน้ำมันละหุ่งใก้นกกิน 1  หยด และผสมทิงเจอร์สะกัดผสมกับน้ำประมาณ  5  หยดให้นกกินทุกวัน

โรคโลหิตจาง
          
มักเกิดจากเห็บแดงและพยาธิภายใน   นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดจากการที่นกกินอาหารผิดแต่ไม่ค่อยที่จะพบนกที่ป่วยจากสาเหตุนี้มากเท่าไรนักการรักษา ใช้น้ำมันตับปลา หรือวิตามินผสมอาหารให้นกกินอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง   ผสมควินินกับน้ำ 6-10 หยดและควรฉีดยาวิตามิน 12 ให้นกอาทิตย์ละครั้งด้วย

โรคซีดเหลืองหรือวัณโรคในปอด
          
นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีลักษณะซูบซีดร่างกายเสื่อมโทรม  และตายในระยะเวลาอันสั้นการรักษาต้องให้สัตวแพทย์ฉีด Oxytetcyline

โรคดีซ่าน
        
  เกิดจากอาการผิดปกติของตับ น้ำดีซ่านซึมเข้าในเส้นเนื้อเยื่อใย อาการของนกจะสังเกตุได้จากตานก ภายในปากและโคนปากสีเหลืองซีดการรักษา เอาเกลือจืด ผสมน้ำให้กินทุกวัน

โรคขนร่วง
 สาเหตุเกิดจากตัวไร  หรือเป็นโรคขาดโปรตีน อาการของนก   คือขนบริเวณปีกและหางร่วงหรือขนงอกขึ้นไม่เท่ากันขาดแหว่งการรักษา ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดน้ำผสมน้ำแล้วนำปีกและหางของนกมาแช่หลังจากที่แช่น้ำแล้วใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดถูให้ทั่วแล้วปล่อยให้แห้งไปเอง ทำเช่นนี้สองครั้งโดยสัปดาห์ละครั้งและระหว่างนี้การควร ที่จะมีการบำรุงนกด้วยวิตามินและอาหารที่ดี ๆ  การป้องกันโรคนี้คือต้องพยายามรักษาความสะอาดของโรงเรือนและมีการฆ่าเชื้อในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ

โรคพยาธิ
          
 พยาธิภายใน  เช่น  พยาธิหนอนสมอ พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม พยาธิหนอนสมอมักจะเกิดกับนกโดยเฉพาะนกป่า แต่นกที่เลี้ยงตามบ้านไม่ค่อยที่จะพบพยาธิชนิดนี้  พยาธิชนิดนี้จะมีมากในหอย  ซากพยาธิตัวตืดลักษณะลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ  หัว   ตัว และคอ ซึ่งเป็นปล้อง ๆ  ที่หัวมีอวัยวะสำหรับดูดกินอาหรเกาะติดกับอวัยวะภายในของนกแม้บางครั้งมีการฆ่าพยาธิส่วนตัวของพยาธิตัวตืดก็จะตายหลุดไปแต่ส่วนหัวยังคงอยู่และสามารถเจริญเติบโตได้ใหม่พยาธิตังกลมหรือที่เรียกกันว่าพยาธิเส้นด้ายพยาธิชนิดนี้ขยายพันธุ์เร็วมากจากสามารถวางไข่ได้ครั้งละนับหมื่น จะแพร่เข้าตัวนกได้ทางน้ำและอาหารการรักษา  ใช้ยาฆ่าพยาธิผสมลงในอาหารให้นกกินป้องกันได้โดยทำความสะอาดถ้วยน้ำ  ถ้วยอาหารเสมอ และเก็บกวาดมูลของนกทุกวันพยาธิภายนอก เช่น ไร เห็บแดง  หมัด

ไร
          
จะเกาะดูดกินเลือด บางชนิดเกาะกินจนขนนกขาด  ทำให้นกรู้สึกรำคาญและหงุดหงิดการรักษาสามารถป้องกันได้โดยทำความสะอาดตัวนกอยู่เสมอ การฆ่าสามารถทำได้โดยให้ผงฆ่าแมลง โรยคลุกตัวนก หรือใช้ยา c-1ที่ให้สำหรับฆ่าหมัดสุนัข ประมาณ 2 ช้อนละลายลงในน้ำหนึ่งถังจับนกจุ่มลงประมาณ 15 นาทีแล้วให้นำไปตากแดด

โรคตาแดง ตาแข็ง
          เกิดจากยุงนำเชื้อมาสู่นก ฝุ่นละอองมาจากถาดรองมูลนก เวลานกบิน ฝุ่นจะเข้าตาได้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองจนตาแดงตาเจ็บได้ การรักษา แยกนกไว้ในกรงพยาบาล แล้วให้ยาปฏิชีวนะ  

 

Copyright(c) 2002 My Company. All rights reserved.
apiipa@yahoo.com