สาระน่ารู้เกี่ยวกับ BOI 

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือมอบอำนาจให้สำนักงานกระทำการแทนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน

- กำหนดประเภท ขนาดของกิจการ และเงื่อนไขในการให้การส่งเสริม รวมถึงการงดให้การส่งเสริมแก่กิจการ

ที่หมดความจำเป็นต้องให้การส่งเสริม

- กำหนดสิทธิประโยชน์ การให้หลักประกัน และคุ้มครองกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริม และการเพิกถอนสิทธิประโยชน์

อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน

- ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

- ดำเนินการโฆษณาเผยแพร่บรรยากาศการลงทุน และชักจูงให้มีการลงทุนในกิจการที่สำคัญและเป็นประโยชน์

ในด้านเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของประเทศ

- จัดให้มีศูนย์บริการลงทุนสำหรับผู้สนใจลงทุนและผู้ลงทุนในการจัดให้ได้มาซึ่งการอนุญาตและให้ใช้บริการต่าง ๆ

ที่เกี่ยวกับการลงทุน

- ผู้สนใจลงทุนในการเตรียมโครงการลงทุน การหาผู้ร่วมลงทุน และการดำเนินการตามโครงการลงทุน

- วิเคราะห์โครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตรวจสอบและควบคุม ตลอดจนประเมินผลการลงทุนตามโครงการ

ที่ได้รับการส่งเสริม

- ศึกษาค้นคว้าหาลู่ทางในการลงทุน จัดทำรายงานความเหมาะสมของการลงทุน และวางแผนส่งเสริมการลงทุน

- ปฏิบัติหน้าที่อื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน

ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

- เกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร

- เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน

- อุตสาหกรรมเบา (ผลิตเครื่องประดับ เครื่องกีฬาฯ)

- ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง

- อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า

- เคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก

- บริการและสาธารณูปโภค

หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติโครงการ

1. โครงการที่มีเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) จะใช้หลักเกณฑ์พิจารณา

อนุมัติโครงการดังนี้

 

- 2 -

- มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นการผลิตเพื่อการส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ของมูลค่ายอดขาย หรือใช้ผลิตผลการเกษตรในประเทศเป็นวัตถุดิบ หรือมีผลเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟู

หรือพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

- มีเงินทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเงินทุนทั้งสิ้น สำหรับโครงการริเริ่ม

ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป

- ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยและใช้เครื่องจักรใหม่ เว้นแต่ในกรณีที่สถาบันที่เชื่อถือได้รับรอง

ประสิทธิภาพและคณะกรรมการให้ความเห็นชอบเป็นกรณีพิเศษ

- มีระบบการป้องกันสภาพแวดล้อมเป็นพิษที่เพียงพอ

2. โครงการที่มีเงินลงทุนมากกว่า 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) จะใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ 1

และมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้

- ผลกระทบของโครงการที่มีต่ออุตสาหกรรมนั้นหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

- ผลกระทบต่อรายได้ของรัฐหรือภาระที่รัฐอาจจะพึงมีเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว

- ผลกระทบต่อผู้บริโภค

- การพัฒนาด้านเทคโนโลยี

3. โครงการที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) จะต้องแนบรายงาน

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ตามที่คณะกรรมการกำหนด

สิทธิประโยชน์

เขต 1 จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม

- ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรร้อยละ 50

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เฉพาะโครงการที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม

ที่ได้รับการส่งเสริม

- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อส่งออก เป็นเวลา 1 ปี

เขต 2 จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง

สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต

- ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรร้อยละ 50

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี สำหรับโครงการที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม

ที่ได้รับการส่งเสริม

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี สำหรับโครงการที่ตั้งอยู่นอกนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม

ที่ได้รับการส่งเสริม

- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อส่งออกเป็นเวลา 1 ปี

 

- 3 -

เขต 3 จำนวน 58 จังหวัดที่เหลือ

18 จังหวัดรายได้ต่ำ ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม นครพนม ร้อยเอ็ด

กาฬสินธุ์ สกลนคร บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ แพร่ พะเยา น่าน สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

18 จังหวัดรายได้ต่ำได้สิทธิเหล่านี้เพิ่มเติม

ระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก จากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุนในการนั้น

    1. จังหวัดที่เหลือ

ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ

นครราชสีมา มุกดาหาร หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี เลย กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่

ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุทัยธานี

อุตรดิตถ์ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง ระนอง สุราษฎร์ธานี สระแก้ว สงขลา

    1. จังหวัดได้สิทธิประโยชน์เพิ่มดังนี้

- โครงการที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้ได้รับลดหย่อน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลา

การยกเว้นภาษีเงินได้ และอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี

นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้

สิ่งอำนวยความสะดวก จากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุนในการนั้น

กิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคล 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งอยู่เขตใด

- กิจการระบบขนส่งพื้นฐาน

- กิจการสาธารณูปการ

- กิจการที่เกี่ยวข้องกับการรักษา และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม

- กิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเทคโนโลยี

- กิจการอุตสาหกรรมพื้นฐาน

นอกจากนี้ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ยังได้รับสิทธิ์ประโยชน์อื่นๆ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน เช่น

การอนุญาต

- อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางลงทุน

- อนุญาตให้นำช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม

- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน

- 4 -

 

การให้หลักประกัน

- รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ

- รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขัน

- รัฐจะไม่ผูกขาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันกับของผู้ได้รับการส่งเสริม

- รัฐจะไม่ควบคุมราคาผลิตภัณฑ์ของผู้ที่ได้รับการส่งเสริม

- รัฐจะอนุญาตให้ส่งออกเสมอไป

- รัฐจะไม่อนุญาตให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ นำผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับการ

ส่งเสริมเข้ามา โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

โทร. 537-811-55

Edited :  10 มีนาคม 2547

By  industrypattani@yahoo.com