สงครามปี ๒๓๒๘
....................พระเจ้าปดุง ต้องทำสงครามปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินอยู่หลายปี แต่พระเจ้าปดุงนั้นเข้มแข็งในการศึกยิ่งกว่าบรรดาราชวงศ์ของ พระเจ้าอลองพญาองค์อื่น ๆ เมื่อปราบปรามพวกที่คิดร้ายราบคาบทั่วทั้งเขตพม่า รามัญ และไทยใหญ่แล้ว จึงสร้างเมืองอมระบุระขึ้นเป็น ราชธานีใหม่ แล้วยกกองทัพไปตีประเทศมณีบุระทางฝ่ายเหนือ และประเทศยะไข่ทางตะวันตกได้ทั้งสองประเทศ แผ่ราชอาณาเขตกว้าง ขวางยิ่งกว่ารัชกาลก่อน ๆ มหาราชเหมือนเช่นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ด้วยในพระเจ้าปดุงเสวยราชย์มาได้ ๓ ปี จึงคิดเข้ามาตีเมืองไทยให้มีเกียรติยศเป็นขณะนั้น พระเจ้าปดุงก็ได้ประเทศที่ใกล้เคียงไว้ในอาณาเขต มีรี้พลบริบูรณ์ และทำสงครามมีชัยชนะมาทุกแห่ง พลทหารกำลังร่าเริงทำนองเดียวกัน
ทัพที่ ๑ ให้ แมงยี แมงข่องกยอ เป็นแม่ทัพ มีทั้งทัพบก ทัพเรือ จำนวนพล ๑๐,๐๐๐ เรือกำปั่นรบ ๑๕ ลำลงมาตั้งที่เมืองมะริด ให้ยกทัพบกมาตีหัวเมืองไทยทางปักษ์ใต้ ตั้งแต่เมืองชุมพรลงไปจนถึงเมืองตะกั่วป่าลงไป จนถึงเมืองถลาง ในพงศาวดารพม่ากล่าวว่า แมงยี แมงข่องกยอยกลงมาแต่เดือน ๘ ปีมะเส็ง ด้วยพระเจ้าปดงให้เป็นพนักงานรวบรวมเสบียงอาหารไว้สำหรับ กองทัพหลวงที่จะยกมาตั้งประชุมที่เมืองเมาะตะมะด้วย ครั้นเมื่อกองทัพหลวงยกลงมาไม่ได้เสบียงอาหารไว้พอการ พระเจ้าปดุงทรงพิโรธให้ประหารชีวิตแมงยี แมงข่องกยกอเสียแล้วตั้ง เกงหวุ่นแมงยีมหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดีเป็นแม่ทัพที่ ๑ แทน
....... ทัพที่ ๒ ให้ อนอกแฝกคิดหวุ่น เป็นแม่ทัพถือพล ๑๐,๐๐๐ ลงมาตั้งที่เมืองทวาย ให้เดินเข้าทางด่านบ้องตี้มาตีหัวเทืองไทยฝ่ายตะวันตก ตั้งแต่เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี ลงไปบรรจบกองทัพที่ ๑ ที่เมืองชุมพร
ทัพที่ ๓ ให้ หวุ่นคยีสะโดะศิริมหาอุจจะนา เจ้าเมืองตองอู เป็นแม่ทัพ ถือพล ๓๐,๐๐๐ ยกมาทางเมืองเชียงแสนให้ลงมาตีเมืองนครลำปางและหัวเมืองทางริมแน่น้ำแควใหญ่และน้ำยม ตั้งแต่เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย ลงมาบรรจบกองทัพหลวงที่กรุงเทพฯ
ทัพที่ ๔ ให้ เมียนหวุ่นแมงยีมหาทิมข่อง เป็นแม่ทัพ ถือพล ๑๑,๐๐๐ ยกลงมาตั้งที่เมืองเมาตะมะกรุงเทพฯ ทางด่านเจดีย์สามองค์
ทัพที่ ๕ ให้ เมียนเมหวุ่น เป็นแม่ทัพ ถือพล ๕๐,๐๐๐ มาตั้งที่เมืองเมาะตะมะ เป็นแม่ทัพหนุนที่ ๔
ทัพที่ ๖ ให้ ตะแคงกามะ ราชบุตรที่ ๒ (พม่าเรียกว่าศิริธรรมราชา) เป็นแม่ทัพ ถือพล ๑๒,๐๐๐ มาตั้งที่เมืองเมาะตะมะเป็นทัพที่ ๑ ของทัพหลวงที่จะยกเข้ามาตีกรุงเทพฯ ทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพที่ ๗ ให้ ตะแคงจักกุ ราชบุตรที่ ๓ (พม่าเรียกว่า สะโดะมันชอ) เป็นแม่ทัพ ถือพล ๑๑,๐๐๐ มาตั้งที่ เมืองเมาะตะมะเป็นแม่ทัพหน้าที่ ๒ ของทัพหลวง
ทัพที่ ๘ ให้ กองทัพหลวง จำนวนพล ๕๐,๐๐๐ พระเจ้าปดุง เป็นจอมทัพเสด็จลงมาเมืองเมาะตะมะเมื่อเดือน ๑๒ ปีมะเส็ง
ทัพที่ ๙ ให้ จอข่องนรทา เป็นแม่ทัพ ถือพล ๕,๐๐๐ (เข้าใจว่าตั้งที่เมืองเมาตะมะเหมือนกัน) ยกเข้า มาทางด่านแม่ละเมาะแขวงเมืองตาก เมืองกำแพงเพชร ลงมาบรรจบทัพหลวงที่กรุงเทพฯ กองทัพ๙ ทัพที่กล่าวมานี้กำหนดให้ยกเข้ามาตีเมืองไทยในเดือนอ้าย ปีมะเส็ง พร้อมกันทุกทัพ คือจะมาตีเมืองกรุงเทพฯ ๕ ทัพ เป็นจำนวนพล ๘๙,๐๐๐ ตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ ๒ ทัพ เป็นจำนวนพล ๓๕,๐๐๐ ตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก ๒ ทัพ จำนวน พล ๒๐,๐๐๐ จำนวนพลของข้าศึกที่ยกมาตีไทยครั้งนี้รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๔๔,๐๐๐ ด้วยกัน ขณะพม่าลงมือประชุมพลในฤดูฝนปีมะเส็ง พวกกองมอญไปลาดตระเวนสืบทราบความว่าพม่าเตรียมทัพที่เมืองเมาะตะมะจะมาตีที่เมืองไทย เมืองกาญจนบุรี บอกเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำ ต่อนั้นมาหัวเมืองเหนือใต้ทั้งปวงก็บอกข่าวศึกพม่าเข้ามาโดยลำดับ พระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์กับทั้งเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ๋พร้อมกันหน้าพระที่นั่ง ทรงการที่จะต่อสู้พม่าข้าศึก ศึกพม่าที่พระเจ้าปดุงยกมาครั้งนั้นใหญ่หลวงผิดกับศึกพม่าที่เคยมีมาแต่ก่อนด้วยรี้พลมากมาย และจะยกมาทุกทิศทาง กำลังข้างฝ่ายไทยมีจำนวนรี้พลเพียง ๗๐,๐๐๐ เศษ น้อยกว่าข้าศึกมากนัก ถ้าจะแต่งกองทัพไปต่อสู้รักษาเขตแดนทุกทาง ที่ข้าศึกยกเข้ามาเห็นว่าเสียเปรียบข้าศึก เพราะเหตุที่ต้องแบ่งกำลังแยกย้ายไป หลายแห่ง กำลังกองทัพไปก็จะอ่อนแอด้วยกันทุกทาง เพราะฉะนั้น ควรจะรวบรวมกำลังไปต่อสู้ข้าศึกแต่ในทางที่ สำคัญก่อน ทางไหนไม่เห็นสำคัญปล่อยให้ข้าศึกทำตามใจชอบไปำพลาง เมื่อเอาชัยชนะข้าศึกซึ่งเป็นทัพสำคัญได้ ก็เวลานั้นสืบได้ความว่า กองทัพใหญ่ของข้าศึกยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และพระเจ้าปดุงเป็นจอมพลมาเองในทางนั้นด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดให้จัดกองทัพสำหรับที่จะต่อสู้เป็น ๔ ทัพ คือ
ทัพที่ ๑ ให้ กรมพระราชวังหลัง (เวลานั้นยังดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์) เป็นแม่ทัพถือพล ๑๕,ขัดตาทัพอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ คอยป้องกันอย่าให้กองทัพพม่าที่ยกลงมาทางข้างเหนือล่วงเลยมาถึงกรุงเทพฯ ได้ในเวลากำลังต่อสู้ข้าศึกทางเมืองกาญจนบุรี
ทัพที่ ๒ เป็นกองทัพใหญ่กว่าทุกทัพ จำนวนพล ๓๐,๐๐๐ ให้ กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเป็นจอมพลไปตั้งที่เมืองกาญจนบุรี (เก่า) คอยตูจ่อสู้กองทัพพระเจ้าปดุง ๕ กองทัพ ที่จะยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพที่ ๓ ให้ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด) กับ เจ้าพระยายมราช ถือพล ๕,๐๐๐ ไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรีรักษาทางลำเลียงของกองทัพที่ ๒ และคอยต่อสู้พม่าซึ่งจะยกมาแต่ทางข้างใต้หรือทางเมืองทวาย
ทัพที่ ๔ ทัพหลวง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นจอมทัพ
จัดเตรียมไว้ในกรุงเทพฯ
จำนวนพล ๒๐,๐๐๐ เศษเป็นกองหนุน
ถ้ากำลังศึกหนักทางด้านไหนจะยกไปช่วยให้ทันที
รวมกำลังพลทั้ง ๔
กองทัพของไทย มีจำนวน ๗๐,๐๐๐
คน ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของพลฝ่ายพม่า
ดังนั้นกองทัพที่ ๒
โดยการนำของ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงเป็นกองทัพที่มีความสำคัญอย่างมาก
ชาติไทยจะอยู่รอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับกองทัพที่
๒
ซึ่งเคลื่อนทัพออกจากกรุงเทพฯ
อย่างรีบเร่งเมื่อเดือนอ้าย
อย่างสุขุมรอบคอบและเฉียบขาดด้วยกำลังพลเพียง
๓๐,๐๐๐ คน
โดยทรงจัดหน่วยปฏิบัติการรบ
ดังต่อไปนี้
๑. กองหน้า
ภายใต้บังคับชองพระยากลาโหมราชเสนา
และพระยาจ่าแสนยากร
๒. ยกบัตรทัพ
ภายใต้บังคับของ
เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
๓. เกียกกาย
ภายใต้บังคับของพระยารัตนาพิพิธ
๔. กองหลัง
ภายใต้บังคับของ
พระยามณเฑียรบาล
๕. กองโจร
ภายใต้บังคับของ
พระยาสีหราชเดโชชัย,พระยาท้ายน้ำ,พระยาเพชรบุรี
แต่พระยาทั้งสามนี้ปฏิบัติการขี้ขลาดอ่อนแอ
จึงถูกประหารชีวิตทั้งหมด
ทรงให้พระองค์เจ้าขุนเณรเป็นผู้ควบคุมกองโจรต่อมา
๖.
กองทหารดาบทลวงฟัน
ภายใต้บังคับของ
ขุนรัตนาวุธ
๗.
กองทหารมอญสวามิภักดิ์ ภายใต้บังคับของ
พระยามหาโยธา (เจ่ง)
พม่ายกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์
๓ องค์ ๕ กองทัพ โดย กองทัพที่
๔ มีเมียนเมหยุ่น
เป็นแม่ทัพยกเข้ามาก่อนมีกำลังพล
๑๑,๐๐๐ คน ทัพที่ ๕ ของพม่ามีเมียนเมหยุ่น
เป็นแม่ทัพ
ได้นำกำลังพล ๕,๐๐๐ คน
เคลื่อนตามทัพที่ ๔
มาตั้ง
ค่ายประจัญหน้ากับกองทัพไทยที่ทุ่งลาดหญ้า
ทัพที่ ๖
มีตะแคงกามะเป็นแม่ทัพ
กำลังพล ๑๒,๐๐๐ คน
ตั้งค่ายที่ท่าดินแดง ทัพที่
๗ มีตะแคงจักกุ
เป็นแม่ทัพ กำลังพล ๑๑,๐๐๐
คน ตั้งค่ายที่สามสบ
ส่วน ทัพที่ ๘ ซึ่งเป็นทัพหลวง
มีพระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพ
กำลังพล ๕๐,๐๐๐ คน
ตั้งค่ายที่ด่านเจดีย์สามองค์
จะเห็นได้ว่าพม่าทั้ง ๕
กองทัพ กำลังพล ๘๙,๐๐๐ คน
ตั้งค่ายเรียงกันไปข้างหลังตามแนวยาวของหุบเขา
เพื่อต้องกายบดขยี้ประเทศไทยให้แหลกราน
สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ทรงตั้งกองโจรขึ้นจำนวน
๑,๘๐๐ คน
ภายใต้บังคับของ
พระยาสีหราชเดโชชัย,พระยาท้ายน้ำ
และพระยาเพชรบุรี
โดยให้ททรงนำกองกำลังไปตั้งอยู่ที่พุไคร้
ทำหน้าที่คอยดัก ปล้นเสบียงอาหารของพม่า
ที่ลำเลียงเข้ามา
ได้ผลดีมากในขั้นแรกสามารถตัดเสบียงอาหารของพม่าได้
เตรียมการป้องกันบริเวณช่องแคบพุไคร้แข็งแรง
กองโจรไทยไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปในช่อแคบเส้นทางลำเลียงของพม่าได้และยังถูกพม่าติดตามค้นหากองโจรไทยอีก
พระยาทั้งสามจึงละเลยต่อหน้าที่นำกองโจรหลีกหนีพม่าไปซุ่ม
ที่อื่น
ปล่อยให้พม่าลำเลียงเลียงเสบียงอาหารและกระสุนดินดำมายิงถล่มค่ายของไทย
ที่ทุ่งลาดหญ้าจนพังพินาศยับเยิน
ทำให้ทหารไทยเสียชีวิตและเสียขวัญ
นับว่าฝ่ายพม่าปฏิบัติการได้ผล
ดังนั้น
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
จึงมีพระราชบัณฑูรให้ประกาศแก่แม่ทัพ
นายกองทั้งหลายให้ทราบโดยทั่วกันว่า
"ถ้าผู้ใดถอยหนีพม่าหรือกระทำการอ่อนแอก็ให้เอาโทษหนักโดยจับใส่ครกโขลกให้ละเอียด"
และทรงรับสั่งให้พระยามณเฑียรบาลกับข้าหลวงนายนำกำลังไปจับพระยาทั้งาสามมาพิจารณาโทษปรากฏว่าผิดจริง
ตามที่พวกขุนหมื่นในกองทัพรายงาน
พระยามณเฑียรบาลจึงได้ตัดศรีษะนำมาถวายสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ
ตามรับสั่งและพระองค์ทรงมี
พระราชบัญฑูรให้นำศรีษะของพระยาทั้งสาม
ไปเสียบประจานไว้หน้าค่าย
เพื่อมิให้ผู้ใดถือเป็นเยี่ยงอย่าง
หลังจากนั้น
สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ
จึงทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าขุนเณร
เป็นผู้คุมกองโจรไปปฏิบัติ
หน้าที่ปล้นสดมภ์ขบวนลำเลียงของพม่าที่พุไคร้
ช่องแคบแควน้อย ต่อไป
ปรากฏว่าได้ผล
สามารถยับยั้งขบวนลำเลียงของข้าศึก
และปล้นสดมภ์ขบวนลำเลียงของพม่าได้อย่างมาก
ทำให้พม่าขาดเสบียงอาหารและกระสุนดำที่จะยิงต่อสู้กับฝ่ายไทยนอกจากนี้
ขุนรัตนาวุธ
ได้วางแผนเล่นงาน พม่า
โดยส่งทหารภายใต้บังคับ
จำนวน ๕๐ คน แทรกซึมเข้าไปในเขตพม่าถึงเมืองเมาะตะมะ
โดยหาทางก่อวินาศกรรมและทำลายขบวนลำเลียงของพม่าตามลำน้ำสามสายคือ
ลำน้ำกษัตริย์ ลำน้ำสกลิ
และลำน้ำสมิกลาย
ส่วนอีก ๑๕๐ คน
มุ่งหน้าไปทำการจู่โจมขัดขวางการเดินทัพของพม่าที่จะเข้าสู่เขตตำบลสามสบและดินแดง
การปฏิบัติ หน้าที่อย่างกล้าหาญของกองทหารดาบทลวงฟัน
ภายใต้การนำของขุนรัตนาวุธ
ในครั้งนี้ได้ผลมาก
สามารถตัดกำลังข้าศึกโดยได้ทำลายสะพาน
เรือบรรทุก
เสบียงอาหารของพม่าเสียหายมากและยังทำให้กองทัพที่
๖ ของตะแคงกามะ
ที่ตั้งอยู่ที่ท่าดินแดง
หยุดชะงักการลำเลียงกำลังพลและเสบียงอาหารได้
ต่อมา
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙
มกราคม พุทธศักราช ๒๓๒๘
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงยกทัพหลวงจำนวน
๒๐,๐๐๐ คน
เสด็จยกทัพหลวงมาให้กำลังใจ
พม่ารู้ว่าทัพหลวงยกมาเพราะเสด็จมาในเวลากลางวัน
ในเวลาที่ทัพหลวงกลับสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ
ทรงดำเนินกลอุบายด้านสงครามจิตวิทยาโดยให้ทหารที่ค่ายทุ่งลาดหญ้าส่วนหนึ่งออกติดตามไปส่งทัพหลวงไปในเวลากลางคืน
รุ่งเช้าให้ถือธงทิวตีกลองร้องลั่นกลับมา
ผลัดกันปฏิบัติอย่างนี้
เป็นประจำ
ทำให้ฝ่ายพม่าเสียขวัญเข้าใจว่าฝ่ายไทยมีกำลังสนับสนุนทุกวันและยังทรงใช้ไม้เป็นลูกกระสุนยิงโจมตีค่ายพม่าเสียหายเป็นจำนวนมาก
การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือดเข้มข้น
จวบจนวันศุกร์ที่ ๑๗
กุมภาพันธ์ พุทธศักราช
๒๓๒๘ ตรงกับแรม ๔ ค่ำเดือน
๓สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
จึงมีพระราชดำรัสรับสั่งให้ท้าวพระยานายทัพทั้งปวงยกทัพ
ออกระดมตีค่ายพม่าทุกแห่งพร้อมกัน
พร้อมทั้งใช้ปืนลากล้อระดมยิงสนับสนุนอย่างหนักตั้งแต่เช้าถึงค่ำ
ทหารไทยยึดค่ายพม่าได้ทุกค่ายและจับทหารพม่าเป้นเชลยพร้อมทั่งยึดเครื่องศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก
ในพงศาวดารพม่าว่า "ไทยตีค่ายพม่า
แตกที่แนวรบทุ่งลาดหญ้านั้นทหารพม่ากำลังอดอยากอิดโรย
ถูกไทยฆ่าตายและจับเป็นเชลยทั้งนายและไพร่พล
ประมาณ ๖,๐๐๐ คน" ศึกทุ่งลาดหญ้าครั้งนี้
นับว่าเป็นเกียรติอันสูงส่ง
ที่ชาวไทยควรสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ได้อาศัยวีรกรรมอันกล้าหาญ
หลักแหลมเฉียบขาด เสียสละทั้งร่างกายและชีวิตจิตใจของบรรพบุรุษไทยโดยการนำของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท
แม่ทัพผู้ทรงเดชานุภาพ
และทรงพระปรีชาสามารถอันสูงส่งทำให้ชาติไทยคงความเป็นไทยดำรงคงมั่นอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
วีรกรรมขุนรัตนาวุธ
................การศึกทุ่งลาดหญ้า
เดือนอ้าย พุทธศักราช
๒๓๒๘
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ทรงเป็นแม่ทัพฝ่ายไทย
เสด็จยกทัพ จำนวนพล ๓๐,๐๐๐
คน จากกรุงเทพฯ
มายังกาญจนบุรี
เพื่อยับยั้ง ต้านทาน
ทัพพม่าจำนวนพล ๘๙,๐๐๐
คน โดยมี พระเจ้าปดุง
เป็นจอมทัพในขณะที่กองทัพไทยเดินทัพใกล้จะถึงกาญจนบุรี
กองทหารดาบทะลวงฟัน
นำโดย ขุนรัตนาวุธ
ได้ปะทะกับทหารพม่า
ที่ด่านเจดีย์สามองค์
แต่เนื่องจาก
มีกำลังน้อยกว่ายากที่จะต้านทานได้
จึงใช้ยุทธวิธีซุ่มโจมตี
รบกวน และรั้งหน่วง
การเดินทัพของพม่าให้ล่าช้าลงขุนรัตนาวุธ
ได้วางแผนส่งทหาร (หน่วยกล้าตาย)
จำนวน ๕๐ คน
แทรกซึมเข้าไปในเขตพม่าถึง
เมืองเมาะตะมะ
โดยให้หาทางก่อวินาศกรรม
และทำลายขบวนลำเลียงของพม่า
ส่วนอีก ๑๕๐ คน
ภายใต้การนำของตน
มุ่งหน้าทำการจู่โจม
ขัดขวางการเดินทัพของพม่า
ที่จะเข้าสู่เขตตำบลสามสบ
และท่าดินแดง
การปฏิบัติครั้งนี้
ทำให้กองทัพที่ ๖ ของ
ตะแคงกามะ
คำนวณกำลังของฝ่ายไทยไม่ถูกว่ามีมากน้อยเพียงไร
และเกิดความลังเลสงสัยว่า
กองทัพไทยน่าจะมีอีกทัพหนึ่งก่อนจะถึงทุ่งลาดหญ้า
จึงมิกล้าเคลื่อนทัพไปรวมกันที่ทุ่งลาดหญ้า
ตามแผนการเดินทัพที่ได้กำหนดไว้ครั้นเมื่อทัพพม่าบุกเข้ามาประชิดค่ายไทย
ณ ทุ่งลาดหญ้า
กองทหารดาบทะลวงฟันได้เข้าต่อสู้แบบประชิดตัวกับทหารพม่า
ขุนรัตนาวุธ ผู้นำหน่วยรบที่กล้าหาญ
เด็ดเดี่ยว
พลาดท่าเสียที
ถูกทหารพม่ารุมฟันจนแขนขวาขาด
เลือดไหลนอง ถึงแม้ว่าขุนรัตนาวุธจะบาดเจ็บอย่างสาหัส
แต่ขุนรัตนาวุธชายชาติทหาร
มีจิตใจห่วงใยในประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง
ถึงกับใช้นิ้วชี้ของมือซ้ายจุ่มลงที่เลือดของแขนขวาตรงที่ขาด
และเขียนลงบน
ผ้าปูเตียงนอนว่า "จงรักษาทุ่งลาดหญ้าไว้ด้วยเลือด
และ ชีวิต"
นับว่าขุนรัตนาวุธได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ
สมชายชาติทหารที่สมควรได้รับการสดุดีวีรกรรมเป็นอย่างยิ่ง
และความดีที่ขุนรัตนาวุธปฏิบัติหน้าที่แบบพลีชีพเพื่อชาติเช่นนี้
สมควรถือเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป
ประวัติโดยสังเขป. ...
ประวัติ
ผบ.พัน. ท่านปัจจุบัน ...
.โครงการของหน่วย
..
โครงการสวัสดิการ