5. ประจุของรังสี
รังสีที่มีประจุบวก
ได้แก่ รังสีโปรตอน และรังสีแอลฟา (2 นิวตรอน + 2 โปรตอน) เมื่อเข้าไปท่ามกลางกลุ่มอะตอม
อิเล็กตรอนของอะตอม ซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากจะเข้ามาหา
(ประจุต่างชนิดกันดึงดูดกัน) เมื่อมีอิเล็กตรอนมารุมล้อมมากๆ
แอลฟาหรือโปรตอนจึงเดินทางไปไหนไม่ได้ไกล
รังสีที่มีประจุลบ
ได้แก่ รังสีบีตา
(อิเล็กตรอน) ถึงแม้จะตัวเล็กมาก แต่เพราะมีประจุลบ เมื่อเข้าไปท่ามกลางกลุ่มอะตอม
ก็จะถูกอิเล็กตรอนของอะตอมผลัก เมื่อเข้าใกล้นิวเคลียสซึ่งมีประจุบวก
ก็จะถูกดูดเข้าไป แต่ก็จะถูกอิเล็กตรอนตัวอื่นผลักออกไปอีก เส้นทางคล้ายเป็นเส้นซิกแซก
ดังนั้น แม้อิเล็กตรอนจะเดินทางไกลมาก แต่ได้ระยะทางน้อย
รังสีที่ไม่มีประจุ
เช่น รังสีเอกซ์
รังสีแกมมา รังสีนิวตรอน จะมีอำนาจทะลุทะลวงสูง เนื่องจากรังสีเหล่านี้ไม่ดึงดูด
หรือถูกผลัก จะถ่ายเทพลังงานให้เมื่อพบกับอิเล็กตรอนหรือนิวเคลียสตรงๆเท่านั้น
เนื่องจากส่วนใหญ่ของอะตอมเป็นที่ว่าง โอกาสที่รังสีที่จะชนกับอิเล็กตรอนหรือนิวเคลียสน้อยมาก
รังสีที่ไม่มีประจุจึงเดินทางไปได้ไกลมาก (อำนาจทะลุทะลวงสูง)
|