โครงการแข่งขันการแข่งขันเขียนโฮมเพจวันราชภัฏวิชาการ
1. ชื่อโครงการ
โครงการแข่งขันการแข่งขันเขียนโฮมเพจวันราชภัฏวิชาการ
2. หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้พยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ ผู้เรียน ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 21)
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้กำหนดให้มีแผนงานหลักในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยการเตรียมคนให้มีลักษณะ "มองกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้" และได้กำหนดให้มีการปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยให้การเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลมุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ นอกจากนั้นยังกำหนดให้ผลิตและพัฒนาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนจัดให้มีสื่อ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเพียงพอ ควรจัดหาอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ รวมทั้งซอฟต์แวร์สำหรับการดำเนินงานด้านสารสนเทศ เพื่อการศึกษาอย่างเพียงพอแก่สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความพร้อมของบุคลากรเพื่อให้การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นยังกำหนดให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนส่งเสริมการสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา เช่น การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสื่อผสม (multimedia) ที่ผู้เรียนเข้าถึงบริการได้ง่ายทั้งในรูปแบบ การซื้อ การใช้ เช่น การส่งผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นการเรียนให้สนุก หลากหลาย และกว้างขวาง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2540 : 71)
รัฐบาลเองก็ให้การสนับสนุนการศึกษา โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดไว้ในมาตรา 43 ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : 13)
ภารกิจหลักของสถาบันราชภัฏในพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ นั้นเขียนไว้ชัดเจนว่า "ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ดังนั้นเพื่อให้การปลุกจิตสำนึกการเรียนรู้ของผู้คนในแผ่นดิน สถาบันราชภัฏจะต้องเป็นหน่วยงานสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาชน ในการดำเนินงานสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาชนนั้นมียุทธศาสตร์หลัก ๆ อยู่ 2 ประการคือ ปลุกจิตสำนึกสถาบัน และการสร้างสรรค์กลไกการพัฒนา (ทองคูณ หงส์พันธุ์. 2542 : 7)
นอกจากนี้ภารกิจของราชภัฏในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมีภารกิจที่สำคัญคือ การให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้การบริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
ภารกิจของสถาบันราชภัฏในฐานะที่เป็นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนเปรียบดัง "มหาวิทยาลัยมหาชน" เป็นส่วนเติมเต็มโอกาสเพื่อการศึกษาให้แก่ ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลายที่สนใจใคร่ศึกษาระดับดับอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่บริการ เพราะเจตนาเพื่อให้โอกาสดังกล่าวนั้น จึงทำให้ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลายที่อยู่ในภูมิภาคที่มีฐานะปานกลางและยากจนสามารถเข้าศึกษาได้ ขยายโอกาสให้กับให้กับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาค(นิเชต สุนทรพิทักษ์. 2542 : 5 - 6)
จากการพัฒนาการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ การเรียนการสอนในสถาบันราชภัฏควรเปลี่ยนแปลงไปในวิถีการเรียนรู้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างเข้มข้น ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ต่างหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ "Internet" มากขึ้น หลายสถาบันใช้การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม การเรียนการสอนหลายสาขา นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ "Multimedia" มาใช้ช่วยสอนอย่างจริงจัง มีห้องสมุดเสมือน (Virtual Library หรือ Electronic Library หรือ Virtual School) เกิดขึ้นในระบบการศึกษา โดยคนเรียนที่ไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงานโดยอาศัยการเชื่อมโยงเรียนรู้หาข้อมูลจากฐานข้อมูล หาครูหรือ Tutor จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือฟังคำบรรยายผ่านระบบ โทรคมนาคม ทำให้คนเราสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งต่างไปจากระบบเดิม ทำให้วิถีการเรียนรู้ของคนเปลี่ยนไป ทำให้การศึกษาไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ โดยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกเรียนรู้จากที่ใดในเวลาใดก็ได้ (กองส่งเสริมวิทยฐานะครู. 2540 : 61-62)
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ได้จัดทำเกณฑ์ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนไว้ดังนี้คือ วิธีการเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์ว่าผู้เรียนต้องเป็นคนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ต้องลงมือปฏิบัติจริงอย่างเต็มใจด้วยการคิด การสร้าง การค้นพบ จนเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม และตรวจสอบได้ พฤติกรรมการสอนของครูอาจารย์ โดยมีเกณฑ์ว่าครูต้องกำหนดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ครู อาจารย์เป็นเพียงผู้สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ของ ผู้เรียนเองจากข้อมูลข่าวสาร จากวัสดุการเรียนรู้ จากสื่อนวัตกรรม จากสถานการณ์ที่ความรู้ของผู้เรียนเองจากข้อมูลข่าวสาร จากวัสดุการเรียนรู้ จากสื่อนวัตกรรม จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมีอยู่จริงในสภาพจริง ครู อาจารย์เป็นเพียงผู้นำผู้เรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร หรือนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาให้ผู้เรียนได้คิด ได้สร้าง และได้ค้นพบสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้ ด้านวัสดุการเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์ว่าต้องจัดหาวัสดุการเรียนรู้ (Learning Materials) ที่ดีมีประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนได้นำมาสร้างความรู้ของตนเองให้มาก วัสดุการเรียนรู้ที่ดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพจะได้มาจากการศึกษาวิจัย และสร้างสรรค์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียน ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี โดยมีเกณฑ์ว่า ผู้เรียน จะต้องมีทางเลือกในการสร้างความรู้อย่างมากมาย ต้องมีความหลากหลายของทักษะและรูปแบบซึ่งหมายถึงการมีบุคคลที่มีทักษะแตกต่างกันหลายระดับ ตั้งแต่รู้น้อยจนถึงรู้มาก หรือบุคคลที่มีอายุแตกต่างกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องมีความเป็นกันเอง โดยมีความเป็นกัลยาณมิตร มีความรู้สึกเป็นอิสระ และเป็นสุขในการคิด การสร้าง และการค้นพบความรู้ ด้านการมีส่วนร่วมและใช้ระบบในการบริหารจัดการ โดยมีเกณฑ์ว่าต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการเรียนการสอนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และสังคมผู้ใช้ผลผลิตได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงทุกขั้นตอน (พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. 2541 : 3)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญกับสื่อเพื่อการศึกษา โดยได้กำหนดไว้ในหมวด 9 เทคโนโลยีการศึกษา มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีแรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการทำธุรกิจค้าขายในโลกปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นทั้งประโยชน์โดยตรง ต่อการดำเนินการภายในบริษัทและเป็นโอกาสทางการตลาดของบริษัทอีกด้วย นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย จนทำให้หลายคนเข้าใจว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับอินเทอร์เน็ต คอมเมิร์ซเป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งๆ ที่อินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซเป็นเพียงวิธีการหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการทำอินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซนับว่าเป็นแนวโน้มที่มาแรงและยังคงจะเติบโตต่อไปในอนาคตได้อีกมาก ซึ่งภาครัฐและเอกชนใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก ในขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น เท่านั้น ซึ่งเราควรจะเร่งรีบพัฒนาทั้งบุคลากรและระบบต่างๆ ที่จะมารองรับการทำอินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซเพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาส ทางการตลาดที่น่าไขว่คว้านี้นั่นเอง
ประกอบกับสถาบันราชภัฏได้จัดให้มีงานราชภัฏวิชาการขึ้นในระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2544 โปรแกรมบริหารธุรกิจ (การตลาด) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่นับวันจะนำมาใช้เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการประกอบธุรกิจ (E-commerce) รัฐเองก็เร่งให้การสนับสนุนตามภาวะความต้องการของโลก และให้สอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โปรแกรมวิชาจึงได้จัดกิจกรรมการแข่งขันการเขียนเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักศึกษาระดับ ปวช. และปวส. ในเขตสถาบันราชภัฏรับผิดชอบ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนของชาติ และประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ เกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ หรือใช้ประกอบอาชีพได้ในโอกาสต่อไป
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อจัดการแข่งขันการเขียนโฮมเพจเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) สำหรับนักศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ในเขตจังหวัดอุดรธานี หนองคาย และหนองบัวลำภู3.2 เพื่อจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักศึกษา และประชาชนทั่วไป
3.3 เพื่อให้นักศึกษา และประชาชนทั่วไปมีความตื่นตัว รับทราบความเคลื่อนไหว และเรียนรู้เกี่ยวกับการค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3.4 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โปรแกรมวิชาให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รับทราบข่าวสารของสถาบัน ในอันที่จะสร้างให้เกิดภาพลักษณ์อันดีต่อสถาบันอีกด้วย
4. เป้าหมาย
เชิงปริมาณเชิงคุณภาพ
5. แนวทางและขั้นตอนการดำเนินงาน
ลำดับที่ |
กิจกรรม |
ระยะเวลาดำเนินการ |
|
ธันวาคม |
มกราคม |
||
1. |
ศึกษาสภาพการณ์ของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
----- |
|
2. |
เขียนโครงการ |
------ |
|
3. |
เสนอโครงการ |
----- |
|
4. |
ส่งหนังสือให้สถาบันการศึกษาทั้ง 3 จังหวัด |
------- |
|
5. |
รับใบสมัคร |
------ |
|
6. |
จัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
------ |
|
7. |
จัดประชาสัมพันธ์โปรแกรมวิชา |
------- |
|
8. |
จัดการแข่งขัน |
----- |
|
9. |
ประเมินผล |
----- |
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่ ธันวาคม - มกราคมการจัดการแข่งขันการเขียนโฮมเพจเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 12 มกราคม 2544 ระหว่างเวลา 9.00 - 12.00 น. ส่วนนิทรรศการระหว่างวันที่ 12 - 13 มกราคม 2544
8. งบประมาณ
ค่าใช้สอย1. ค่าอุปกรณ์ในการจัดป้ายนิเทศ จำนวน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันนักศึกษาช่วยงาน จำนวน 36 คน 2 วัน เป็นเงิน 2,160 บาท
3. ค่าเช่าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง เป็นเงิน 1,200 บาท
ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน จำนวน 5 คน คนละ 900 เป็นเงิน 4,500 บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้น 12,860 บาท
9. การประเมินผล
ประเมินผลจากการจัดการแข่งขัน การจัดนิทรรศการ จากแบบสอบถาม สังเกต สัมภาษณ์ ผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักศึกษา ปวช. ปวส. ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเขียนโฮมเพจมากยิ่งขึ้น2. ประชาชนที่เข้าร่วมงานได้รับความรู้ เกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในอันที่จะนำไปใช้ในโอกาสต่อไป
3. ประชาชนมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อโปรแกรมวิชาและสถาบันราชภัฏมากยิ่งขึ้น
11. ผู้รับผิดชอบโครงการ
โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) วิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏอุดรธานี