การเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนของ กองทุนวิฑูรย์  ภัทรเลาหะ

1. ชื่อโครงการ

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อ E-commerce สำหรับอาจารย์ผู้สอนด้านบริหารธุรกิจ การตลาด สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ

 

2. หลักการและเหตุผล

การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้พยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่  ผู้เรียน ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 21)

แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (.. 2540-2544) ได้กำหนดให้มีแผนงานหลักในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยการเตรียมคนให้มีลักษณะ "มองกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้" และได้กำหนดให้มีการปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยให้การเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลมุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้  รู้จักคิดวิเคราะห์ นอกจากนั้นยังกำหนดให้ผลิตและพัฒนาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนจัดให้มีสื่อ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเพียงพอ ควรจัดหาอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ รวมทั้งซอฟต์แวร์สำหรับการดำเนินงานด้านสารสนเทศ เพื่อการศึกษาอย่างเพียงพอแก่สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความพร้อมของบุคลากรเพื่อให้การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นยังกำหนดให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนส่งเสริมการสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา เช่น การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสื่อผสม (multimedia) ที่ผู้เรียนเข้าถึงบริการได้ง่ายทั้งในรูปแบบ การซื้อ การใช้ เช่น การส่งผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นการเรียนให้สนุก หลากหลาย และกว้างขวาง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.  2540 : 71)

รัฐบาลเองก็ให้การสนับสนุนการศึกษา โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดไว้ในมาตรา 43 ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 : 13)   ทำให้ประชาชนเริ่มส่งลูกหลานเข้าสู่ระบบการศึกษามากขึ้น นอกจากนี้ยังมีกองทุนกู้ยืมเงินให้กับนักเรียนนักศึกษาที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และระดับปริญญาตรี จากโครงการดังกล่าวสร้างให้เกิดการเข้าสู่ระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น การศึกษาของประชาชนเริ่มสูงขึ้น เกิดสภาพปัญหาการแข่งขันกันเข้าสู่มหาวิทยาลัยที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังจะเห็นได้จากจำนวนนิสิตเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าในรอบ 3 ทศวรรษ จากจำนวนไม่ถึงหนึ่งแสนคนในปี 2515 มาเป็นกว่า 1 ล้านคนในปี 2541 เป็นความสำเร็จของการขยายการศึกษาระดับมัธยม (อมรวิชช์    นาครทรรพ.  2542 : 1-9) โดยรัฐไม่ได้คิดถึงแผนในการให้การสนับสนุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การเปิดรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยปิดของรัฐเป็นไปได้อย่างจำกัด แม้จะมีการปรับนโยบายรับรอบสองของมหาวิทยาลัย ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน นักศึกษาที่มีจำนวนมากได้

สถาบันราชภัฏมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ เพราะเป็นแหล่งผลิตกำลังคนในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นสถาบันที่เสริมสร้างความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาให้กับสังคมไทย เนื่องด้วยเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่มา ยาวนานกว่า 100 ปี มีจำนวนถึง 36 แห่งกระจายครอบคลุมทั่วประเทศ ได้ผลิตบัณฑิตให้กับสังคมมาแล้วในช่วง 10 ปี มากกว่า 4 แสนคน ปัจจุบันสถาบันราชภัฏมีนักศึกษาเฉพาะในระบบปกติ เป็นจำนวนถึง 154,016 คน ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแบบจำกัดรับของรัฐทั้งหมดรวมกัน (176,066 คน) (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.   2541 : 2)

ปัจจุบันกระแสความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภูมิภาคอันเป็นผลมาจากความต้องการแรงงานมีฝีมือ และกำลังคนวิชาชีพต่าง ๆ เมื่อประกอบกับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของรัฐ จึงมีผลให้อัตราการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาสูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้จำนวนผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสูงขึ้นตามมาด้วย โดยเฉพาะสถาบันราชภัฏ จำนวนผู้สมัครเรียนได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี จากจำนวน 50,076 คน ในปีการศึกษา 2535 เป็นจำนวนกว่า  1.66 แสนคนในปีการศึกษา 2541

จากกระแสแรงกดดันของความต้องการศึกษาต่อในสถาบันราชภัฏ สถานการณ์ความต้องการกำลังคนในตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับปรัชญาการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสนองความต้องการของท้องถิ่น สถาบันราชภัฏจึงได้รับนักศึกษาเพิ่มขึ้น จากเป้าหมายเดิม     ที่กำหนดไว้ในแผนโดยตลอดช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 ได้รับนักศึกษาภาคปกติไว้ถึง 184,421 คน ขณะที่เป้าหมายในแผนฯกำหนดไว้เพียง 100,000 คน และใน 2 ปีแรกของแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 ได้รับนักศึกษาเกินแผนไปแล้ว 34,816 คน อย่างไรก็ตามแม้สถาบันราชภัฏได้รับนักศึกษาเพิ่มอย่างมากมาโดยตลอด แต่ในช่วงที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากรัฐ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและอัตรากำลังอย่างจำกัด เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาที่รับผิดชอบ จึงส่งผลกระทบต่อการบริหารและจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฏทุกด้านทั้งระบบ จากสภาพปัญหาทำให้สถาบันราชภัฏ ไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้ประสงค์จะเข้าเรียนได้ทั้งหมด (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. 2541 : 2)

ภารกิจหลักของสถาบันราชภัฏในพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ นั้นเขียนไว้ชัดเจนว่า "ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ดังนั้นเพื่อให้การปลุกจิตสำนึกการเรียนรู้ของผู้คนในแผ่นดิน สถาบันราชภัฏจะต้องเป็นหน่วยงานสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาชน ในการดำเนินงานสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาชนนั้นมียุทธศาสตร์หลัก ๆ อยู่ 2 ประการคือ ปลุกจิตสำนึกสถาบัน และการสร้างสรรค์กลไกการพัฒนา  (ทองคูณ  หงส์พันธุ์.  2542 : 7)

นอกจากนี้ภารกิจของราชภัฏในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมีภารกิจที่สำคัญคือ การให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้การบริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู

ภารกิจของสถาบันราชภัฏในฐานะที่เป็นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนเปรียบดัง "มหาวิทยาลัยมหาชน" เป็นส่วนเติมเต็มโอกาสเพื่อการศึกษาให้แก่ ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลายที่สนใจใคร่ศึกษาระดับดับอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่บริการ เพราะเจตนาเพื่อให้โอกาสดังกล่าวนั้น จึงทำให้ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลายที่อยู่ในภูมิภาคที่มีฐานะปานกลางและยากจนสามารถเข้าศึกษาได้ ขยายโอกาสให้กับให้กับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาค(นิเชต  สุนทรพิทักษ์. 2542 : 5 - 6)

วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการเรียนการสอนประการหนึ่งคือ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการฝึกหัดครู ให้เปิดกว้างสู่ชุมชน ขยายความร่วมมือระหว่างสถาบัน ขยายแหล่งเรียนรู้ แหล่งวิทยาการ และแหล่งฝึกประสบการณ์อย่างกว้างขวาง (กองส่งเสริมวิทยฐานะครู.  2540)

การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคโลกาภิวัตน์ สาระความรู้ต่าง ๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนทุกวัยจึงต้องมีโอกาสเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่รอบตัว ทั้งจากครูคน ครูเครื่อง และครูธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นประตูที่จะเปิดออกไปสู่โลกกว้างเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตน ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 21)

จากการพัฒนาการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ การเรียนการสอนในสถาบันราชภัฏควรเปลี่ยนแปลงไปในวิถีการเรียนรู้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างเข้มข้น ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ต่างหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ "Internet" มากขึ้น หลายสถาบันใช้การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม การเรียนการสอนหลายสาขา นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ "Multimedia" มาใช้ช่วยสอนอย่างจริงจัง มีห้องสมุดเสมือน (Virtual Library หรือ Electronic Library หรือ Virtual School) เกิดขึ้นในระบบการศึกษา โดยคนเรียนที่ไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงานโดยอาศัยการเชื่อมโยงเรียนรู้หาข้อมูลจากฐานข้อมูล หาครูหรือ Tutor จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือฟังคำบรรยายผ่านระบบ   โทรคมนาคม ทำให้คนเราสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งต่างไปจากระบบเดิม ทำให้วิถีการเรียนรู้ของคนเปลี่ยนไป ทำให้การศึกษาไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ โดยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกเรียนรู้จากที่ใดในเวลาใดก็ได้ (กองส่งเสริมวิทยฐานะครู.  2540 : 61-62)

สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ได้จัดทำเกณฑ์ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนไว้ดังนี้คือ วิธีการเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์ว่าผู้เรียนต้องเป็นคนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ต้องลงมือปฏิบัติจริงอย่างเต็มใจด้วยการคิด การสร้าง การค้นพบ จนเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม และตรวจสอบได้ พฤติกรรมการสอนของครูอาจารย์ โดยมีเกณฑ์ว่าครูต้องกำหนดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ครู อาจารย์เป็นเพียงผู้สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ของ     ผู้เรียนเองจากข้อมูลข่าวสาร จากวัสดุการเรียนรู้ จากสื่อนวัตกรรม จากสถานการณ์ที่ความรู้ของผู้เรียนเองจากข้อมูลข่าวสาร จากวัสดุการเรียนรู้ จากสื่อนวัตกรรม จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมีอยู่จริงในสภาพจริง ครู อาจารย์เป็นเพียงผู้นำผู้เรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร หรือนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาให้ผู้เรียนได้คิด ได้สร้าง และได้ค้นพบสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้ ด้านวัสดุการเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์ว่าต้องจัดหาวัสดุการเรียนรู้ (Learning Materials) ที่ดีมีประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนได้นำมาสร้างความรู้ของตนเองให้มาก วัสดุการเรียนรู้ที่ดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพจะได้มาจากการศึกษาวิจัย และสร้างสรรค์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียน ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี โดยมีเกณฑ์ว่า   ผู้เรียน จะต้องมีทางเลือกในการสร้างความรู้อย่างมากมาย ต้องมีความหลากหลายของทักษะและรูปแบบซึ่งหมายถึงการมีบุคคลที่มีทักษะแตกต่างกันหลายระดับ ตั้งแต่รู้น้อยจนถึงรู้มาก หรือบุคคลที่มีอายุแตกต่างกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องมีความเป็นกันเอง โดยมีความเป็นกัลยาณมิตร มีความรู้สึกเป็นอิสระ และเป็นสุขในการคิด การสร้าง และการค้นพบความรู้ ด้านการมีส่วนร่วมและใช้ระบบในการบริหารจัดการ โดยมีเกณฑ์ว่าต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการเรียนการสอนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และสังคมผู้ใช้ผลผลิตได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงทุกขั้นตอน (พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง.  2541 : 3)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้ให้ความสำคัญกับสื่อเพื่อการศึกษา โดยได้กำหนดไว้ในหมวด 9 เทคโนโลยีการศึกษา มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีแรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการทำธุรกิจค้าขายในโลกปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นทั้งประโยชน์โดยตรง ต่อการดำเนินการภายในบริษัทและเป็นโอกาสทางการตลาดของบริษัทอีกด้วย นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย จนทำให้หลายคนเข้าใจว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับอินเทอร์เน็ต คอมเมิร์ซเป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งๆ ที่อินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซเป็นเพียงวิธีการหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการทำอินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซนับว่าเป็นแนวโน้มที่มาแรงและยังคงจะเติบโตต่อไปในอนาคตได้อีกมาก ซึ่งภาครัฐและเอกชนใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก ในขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น เท่านั้น ซึ่งเราควรจะเร่งรีบพัฒนาทั้งบุคลากรและระบบต่างๆ ที่จะมารองรับการทำอินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซเพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาส ทางการตลาดที่น่าไขว่คว้านี้นั่นเอง

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 นั้นได้เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องเอื้อต่อผู้เรียนให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพ และก้าวเท่าทันกับวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพ และเป็นบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ปัจจัยที่จะสร้างให้บัณฑิตมีคุณภาพได้คืออาจารย์ผู้สอน ที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และต้องเรียนรู้ให้เท่าทันกับเทคโนโลยี     สารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนด้านการตลาดของสถาบัน    ราชภัฏ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา เรียนรู้ เกี่ยวกับการการค้า-ขายสินค้าออนไลน์ หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ที่นับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะสร้างตลาดออนไลน์ ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ติดต่อกับทั่วโลกได้ ถือเป็นโอกาสให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ และพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของแต่ละสถาบันต่อไป

3. วัตถุประสงค์

            3.1 เพื่อจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) สำหรับอาจารย์ผู้สอนโปรแกรมวิชาการตลาด สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ

            3.2 เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนด้านการตลาด มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำการซื้อ - ขาย ออนไลน์ได้ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            3.3 เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ ประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอน และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเว็บไซต์ของแต่ละสถาบันได้

            3.4 เพื่อสนับสนุนนโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.. 2542

4. เป้าหมาย

1.   อาจารย์ผู้สอนสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำนวน 36 แห่งมีความรู้ ความสามารถด้าน E-commerce ได้เป็นอย่างดี

2.   โปรแกรมวิชาการตลาด ของแต่ละสถาบันราชภัฏ มีเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเว็บไซต์ได้

3.   นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการด้านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถ บริหาร จัดการเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.   นักศึกษามีเวทีในการฝึกทักษะวิชาชีพด้านการขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

5. แนวทางและขั้นตอนการดำเนินงาน

1.   ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในยุคการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.   ศึกษานโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้ และหาแนวทางที่จะปฏิบัติให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.   ศึกษาปัญหาการเรียนการสอนด้านการตลาดในสถาบันราชภัฏ

4    เขียนโครงการ

5.   เสนอโครงการ

6.   ดำเนินงานตามโครงการ

7    ออกหนังสือเชิญอาจารย์ผู้สอนด้านการตลาดทั้ง 36 แห่ง

8    ติดต่อวิทยากร จัดหลักสูตรการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

9    ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

10. ประเมินผลการจัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และสรุปผลงาน

 6.      กิจกรรมการดำเนินงานและระยะเวลาปฏิบัติการ

ลำดับที่

กิจกรรม

ระยะเวลา พ.. 2543-2544

 

 

ตค

พย

ธค

มค

กพ

มีค

มย

พค

มิย

กค

สค

กย

1.

ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน

**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.

ศึกษานโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้

**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.

ศึกษาปัญหาด้านการเรียนการสอนด้านการตลาด

 

**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.

เขียนโครงการ

 

**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.

เสนอโครงการ

**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.

เชิญวิทยากร

 

 

**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7.

เชิญอาจารย์เข้าร่วมประชุมสัมมนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7.

ดำเนินการจัดประชุมสัมมนา

 

 

 

 

 

 

**

 

 

 

 

 

8.

ประเมินผลการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

 

 

 

 

 

 

 

**

 

 

 

 

9.

เผยแพร่

 

 

 

 

 

 

 

 

**

**

**

**

7. ระยะเวลาดำเนินการ

            ตั้งแต่ กันยายน พ.. 2543 – กันยายน 2544

            การจัดประชุมเชิงปฏิบัติในครั้งนี้ จำนวน 5 วัน คือในวันที่ 30 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม  2544 ณ ห้องประชุม 2 และศูนย์คอมพิวเตอร์ สถาบันราชภัฏอุดรธานี

8. งบประมาณ

            ค่าตอบแทน

            1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 วัน จำนวน 40 ชม. เป็นเงิน             20,000 บาท

            2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงาน 5 วัน จำนวน 6 คน เป็นเงิน       2,700 บาท

            3. ค่าปฏิบัติการนอกเวลา จำนวน 20 วัน 11 คน เป็นเงิน                   19,800 บาท

            4. ค่าพาหนะเดินทางวิทยากร กรุงเทพฯ-อุดร                           6,500 บาท

            ค่าใช้สอย

            1. ค่าเอกสารจัดการประชุมสัมมนา จำนวน                          30,000 บาท

            2. ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน 5 วัน เป็นเงิน            32,000 บาท

          3. ค่างานเลี้ยงรับรอง จำนวน 80 คน เป็นเงิน                      8,000 บาท

            4. ค่าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 วัน                               7,200 บาท

          5. ค่าจัดพิมพ์เอกสารสรุปผลการประชุมสัมมนาจำนวน 100 ชุด          20,000 บาท

          6. ค่าจัดป้ายนิเทศก์แนะนำโปรแกรมวิชา, มูลนิธิ เป็นเงิน                 6,100 บาท

                                                รวมงบประมาณทั้งสิ้น                           152,300 บาท

9. การประเมินผล

            ประเมินผลจากการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบบสอบถาม สังเกต สัมภาษณ์ อาจารย์ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ และติดตามผลจากโฮมเพจที่อาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาจัดทำขึ้น  

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1. อาจารย์ผู้สอนด้านการตลาดของสถาบันราชภัฏ มีความรู้ ความสามารถด้านการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นอย่างดี

            2. สามารถพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละสถาบันได้

            3. สถาบันราชภัฏมีเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตได้

            4. อาจารย์แต่ละสถาบันนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษาได้นำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพด้าน E-commerce ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            5.  สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ได้สนองตอบนโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542

            6 นักศึกษามีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพออนไลน์ ในการทำธุรกรรมด้านอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

11. ผู้รับผิดชอบโครงการ

            โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) วิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏอุดรธานี

            1. ดร.ณัติเทพ  พิทักษานุรัตน์                      ประธานดำเนินงาน

          2. อาจารย์เอื้องไพร  พรหมสาขา ณ สกลนคร          รองประธาน

          3. ผศ.สุวิมล  พิสัยสวัสดิ์                                 รองประธาน

          4. อาจารย์ศิศวิมล  บัวราษฎร์                           กรรมการ

          5. อาจารย์วัชพร  มานะจิตร                            กรรมการ

          6. อาจารย์เขมณัฐ  ภูกองไชย                            กรรมการ

          7. อาจารย์เสกสรร  สายสีสด                             กรรมการและเลขานุการ

          8. อาจารย์พีระนันท์  คำบอนพิทักษ์            กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


[หน้าแรก] [กำหนดการ]