![]() |
|
ทีมวิจัยตลาดโพล 64 ถ.ทหาร อ.เมือง จ.อุดรธานี http://udmarket.cjb.net | |
ประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2544 |
|
โพลชี้อาจารย์ไม่เห็นด้วยกับการลงเวลาในวันปิดภาคเรียน |
|
ระบุไม่เห็นด้วยกับการลงเวลาถึงร้อยละ
48.9
นอกจากนี้ยังเห็นว่าเป็นการ
ทีมวิจัยตลาดโพล
ทำการสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีต่อการลงเวลาปฏิบัติ อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการลงเวลาปฏิบัติราชการในวันปิดภาคเรียน
มีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวน
46 คน
คิดเป็นร้อยละ
48.9
รองลงมาคือ
เฉย ๆ จำนวน 23
คน
คิดเป็นร้อยละ
24.35
และเห็นด้วยกับการลงเวลาปฏิบัติราชการ
จำนวน 13 คน
คิดเป็นร้อยละ
13.8 เหตุผล การลงเวลาในวันปิดภาคเรียน อาจารย์เห็นว่า เป็นการริดรอนสิทธิอันพึงมีพึงได้ของอาจารย์ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 36.2 รองลงมาคือ ความคิดเห็นอื่น ๆ ได้แก่ ต้องการไปเยี่ยมภูมิลำเนา อาจารย์ไม่มีวันหยุดพักผ่อนเพราะทำงานทั้ง 7 วันอยู่แล้ว เป็นการทำให้เกิดความเครียด การพัฒนางานวิชาการ ไม่ใช่การเฝ้าอยู่ในสถาบัน ควรเปิดโอกาสให้ไปเปิดวิสัยทัศน์บ้าง ดัชนีบ่งชี้การทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเซ็นต์เวลา เป็นต้น โดยมีผู้ตอบจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 28.7 เป็นการอุทิศเวลาให้กับทางราชการมากยิ่งขึ้น จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 18.1 ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันอย่างเคร่งครัด จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7 และสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเคร่งครัด จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ตามลำดับ สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อาจารย์มีความคิดเห็นว่าการมาลงเวลาในวันปิดภาคเรียนไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพแต่อย่างใด จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 รองลงมามีความเห็นอื่น ๆ ได้แก่ เป็นการปิดกั้นโอกาสในการใฝ่หาความรู้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างในการสอน อาจารย์มีความรับผิดชอบงานอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องลงชื่อ คนไม่ใช่เครื่องจักรควรมีวันหยุดพักผ่อนบ้างเพราะทำงานทั้ง 7 วันอยู่แล้ว การลงเวลาไม่ได้วัดว่าใครทำงานหรือไม่ทำงาน การบังคับไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน การทำงานนั้นขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ การอุทิศเวลา และเสียสละมากกว่า เป็นต้น มีผู้ตอบจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นได้ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 21.3 และประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.1 ตามลำดับ ส่วนการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานนั้น
อาจารย์เห็นว่า
มีความสำคัญมาก
จำนวน 75 คน
คิดเป็นร้อยละ
79.8
รองลงมาคือปานกลาง
จำนวน 12 คน
คิดเป็นร้อยละ
12.8
ไม่สำคัญเลย
จำนวน 4 คน
คิดเป็นร้อยละ
4.3 และอื่น ๆ
ได้แก่
การหยุดช่วงปิดเทอม
เพียงไม่ สำหรับคุณลักษณะอาจารย์ที่พึงประสงค์ ในการที่จะก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนั้น เห็นว่า อาจารย์ต้องมีความเป็นอิสระทางวิชาการ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 74.5 มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความอิสระในการปฏิบัติงาน ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากสถาบัน มีความเป็นอิสระทางวิชาการ เป็นผู้นำความรู้ใหม่ ๆ ให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ ความรับผิดชอบเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ เป็นต้น จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ปฏิบัติตามคำสั่งของสถาบันอย่างเคร่งครัด จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของอาจารย์ที่พึงประสงค์นั้น อาจารย์ส่วนใหญ่ เห็นว่า ควรมุ่งเน้นความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการมากที่สุดคือ 52 คน คิดเป็นร้อยละ 55.3 รองลงมาได้แก่ มุ่งเน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 39.2 ปฏิบัติตามคำสั่ง ประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ ควรจัดหาทุนดูงานนอกสถานที่ จัดหางบประมาณส่งเสริมด้านวิชาการให้มากขึ้น เป็นต้น จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.2 และปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบโดยเคร่งครัด จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.1 ตามลำดับ. |