วิจัยตลาดโพล
ทีมวิจัยตลาดโพล 64 ถ.ทหาร อ.เมือง จ.อุดรธานี http://udmarket.cjb.net

ประจำวันที่ 18 ธันวาคม  2544

โพลชี้ ชาวอุดรธานีพอใจงานทุ่งศรีเมือง’ 44 แค่ปานกลาง 

           ระบุพอใจการเปิดให้เข้าชมงานฟรีสูงสุด รองลงมาพอใจการออกร้านของหน่วยงาน และการจำหน่ายสินค้า พบเข้าชมงานเป็นประจำทุกปี ด้านเศรษฐกิจยังฝืด ผู้เข้าชมงานใช้งบ ประมาณในการจับจ่ายแต่ละครั้งเพียง 500 บาท

          ทีมวิจัยตลาดโพล สถาบันราชภัฏอุดรธานี ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของประชาชนที่เข้าร่วมงานทุ่งศรีเมืองอุดธานี ประจำปี พ.ศ. 2544 ระหว่างวันที่ 1 15 ธันวาคม 2544 จากการเก็บแบบสอบถามผู้เข้าชมงานทุ่งศรีเมือง จำนวน 412 คน พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมชมงานในครั้งนี้มีความพึงพอใจต่องานทุ่งศรีเมือง อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง กล่าวคือ มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 46.8 รองลงมาพอใจมาก จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 พอใจมากที่สุดจำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 17 พึงพอใจน้อย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 และไม่พึงพอใจเลย จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ตามลำดับ

          สำหรับความพึงพอใจสูงสุดได้แก่ การเปิดให้เข้าชมงานฟรี มีผู้พึงพอใจสูงถึง 195 คน คิดเป็นร้อยละ 47.3 รองลงมาได้แก่ การออกร้านของหน่วยงาน และการจำหน่ายสินค้า มีผู้พึงพอใจ จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 38.3 พึงพอใจต่อการจัดแสดงบนเวที จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 35.2 พึงพอใจนิทรรศการ จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 พึงพอใจต่อการชิงโชค จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และพึงพอใจในด้านอื่น ๆ อาทิ การแสดงของนักศึกษาโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พึงพอใจต่อวงดนตรีโลโซ เป็นต้น จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 3.6

          การใช้จ่ายเงินในงานทุ่งศรีเมืองในครั้งนี้ พบว่า มีผู้ใช้จ่ายงบประมาณอยู่ในช่วง 101 500 บาท มากที่สุด จำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาอยู่ในช่วง 501 1000 บาท จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 22.8 ใช้งบประมาณน้อยกว่า 100 บาท จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 17.7 ใช้งบประมาณ 1,001-1,500 บาท จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 ใช้งบประมาณ 1,501 2,000 บาท จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 และใช้งบประมาณสูงกว่า 2,000 บาท จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5 ตามลำดับ

          พฤติกรรมการเข้าร่วมงานทุ่งพบว่า ประชาชนเข้าชมงานเป็นประจำทุกปีสูงถึง 264 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาได้แก่นาน ๆ ครั้ง จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 26.7 และมีผู้เข้าชมงานเป็นครั้งแรกจำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 ตามลำดับ โดยผู้เข้าชมงานอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง อุดรธานีมากที่สุด โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 คน รองลงมาได้แก่ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 24.8 คน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้อยู่ต่างอำเภอให้ความสนใจเข้าชมงาน ได้แก่อำเภอกุมภวาปี อำเภอเพ็ญ อำเภอบ้านดุง เป็นต้น มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 23.1 ต่างจังหวัด ได้แก่หนองคาย สกลนคร หนองบัวลำภู ขอนแก่น เป็นต้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม 82 คน คิดเป็นร้อยละ 19.9 ตามลำดับ ด้านการเข้าชมงานพบว่า นิยมเข้าชมงานกับเพื่อนมากที่สุด จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 46.4 รองลงมาคือกับครอบครัว จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 35.9 กับแฟน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 11.4 ไปคนเดียวจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 5.6 และอื่น ๆ ได้แก่กับญาติ คนรู้จัก เป็นต้น จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ตามลำดับ

          อาชีพผู้เข้าชมงานพบว่านักเรียนนักศึกษาเข้าชมงานมากที่สุด จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 51.5 รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 13.6  อาชีพรับราชการ จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7 อาชีพค้าขาย จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 9.5 อาชีพเกษตรกรรม จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 7.8 อาชีพผู้ประกอบการธุรกิจ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 และอาชีพอื่น ๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ตามลำดับ

          อายุผู้เข้าชมงาน พบว่า อยู่ในช่วงอายุ 20 30 ปี มากที่สุด จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 25.7 อายุ 31 40 ปี จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 อายุ 41 50 ปี จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 9.0 อายุ 51 60 ปี จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 3.9 และอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า เพศหญิงนิยมเที่ยวงานทุ่งมากกว่าเพศชาย โดยพบว่า เพศหญิงเข้าชมงานทุ่งศรีเมือง จำนวน 236 คน คิดเป็นร้อยละ 57.3 เพศชาย จำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 42.7 ตามลำดับ

          ด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับงานทุ่งศรีเมือง พบว่าประชาชนได้รับข่าวสารจากป้ายประกาศมากที่สุด จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 35.2 รองลงมาได้แก่วิทยุ จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 26.7 จากคนใกล้ชิด จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 13.6 จากรถแห่ จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 10.7 อื่น ๆ ได้แก่ รับรู้เองเพราะมีทุกปี เป็นต้น จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 5.6 จากหนังสือราชการ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 จากหนังสือพิมพ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 3.2 และจากโทรทัศน์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7 ตามลำดับ.