โครงการฝึกประสบการณ์ด้านการตลาดยุคใหม่สำหรับนักศึกษา

 

1. ชื่อโครงการ

โครงการฝึกประสบการณ์ด้านการตลาดยุคใหม่สำหรับนักศึกษา

 

2. หลักการและเหตุผล

การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้พยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่   ผู้เรียน ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 21)

ปัจจุบันกระแสความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภูมิภาคอันเป็นผลมาจากความต้องการแรงงานมีฝีมือ และกำลังคนวิชาชีพต่าง ๆ เมื่อประกอบกับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของรัฐ จึงมีผลให้อัตราการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาสูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้จำนวนผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสูงขึ้นตามมาด้วย โดยเฉพาะสถาบันราชภัฏ จำนวนผู้สมัครเรียนได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี จากจำนวน 50,076 คน ในปีการศึกษา 2535 เป็นจำนวนกว่า  1.66 แสนคนในปีการศึกษา 2541

จากกระแสแรงกดดันของความต้องการศึกษาต่อในสถาบันราชภัฏ สถานการณ์ความต้องการกำลังคนในตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับปรัชญาการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสนองความต้องการของท้องถิ่น สถาบันราชภัฏจึงได้รับนักศึกษาเพิ่มขึ้น จากเป้าหมายเดิม     ที่กำหนดไว้ในแผนโดยตลอดช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 ได้รับนักศึกษาภาคปกติไว้ถึง 184,421 คน ขณะที่เป้าหมายในแผนฯกำหนดไว้เพียง 100,000 คน และใน 2 ปีแรกของแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 ได้รับนักศึกษาเกินแผนไปแล้ว 34,816 คน อย่างไรก็ตามแม้สถาบันราชภัฏได้รับนักศึกษาเพิ่มอย่างมากมาโดยตลอด แต่ในช่วงที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากรัฐ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและอัตรากำลังอย่างจำกัด เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาที่รับผิดชอบ จึงส่งผลกระทบต่อการบริหารและจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฏทุกด้านทั้งระบบ จากสภาพปัญหาทำให้สถาบันราชภัฏ ไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้ประสงค์จะเข้าเรียนได้ทั้งหมด (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. 2541 : 2)

ภารกิจหลักของสถาบันราชภัฏในพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ นั้นเขียนไว้ชัดเจนว่า "ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ดังนั้นเพื่อให้การปลุกจิตสำนึกการเรียนรู้ของผู้คนในแผ่นดิน สถาบันราชภัฏจะต้องเป็นหน่วยงานสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาชน ในการดำเนินงานสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาชนนั้นมียุทธศาสตร์หลัก ๆ อยู่ 2 ประการคือ ปลุกจิตสำนึกสถาบัน และการสร้างสรรค์กลไกการพัฒนา  (ทองคูณ  หงส์พันธุ์.  2542 : 7)

การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคโลกาภิวัตน์ สาระความรู้ต่าง ๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนทุกวัยจึงต้องมีโอกาสเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่รอบตัว ทั้งจากครูคน ครูเครื่อง และครูธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นประตูที่จะเปิดออกไปสู่โลกกว้างเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตน ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 21)

สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ได้จัดทำเกณฑ์ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนไว้ดังนี้คือ วิธีการเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์ว่าผู้เรียนต้องเป็นคนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ต้องลงมือปฏิบัติจริงอย่างเต็มใจด้วยการคิด การสร้าง การค้นพบ จนเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม และตรวจสอบได้ พฤติกรรมการสอนของครูอาจารย์ โดยมีเกณฑ์ว่าครูต้องกำหนดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ครู อาจารย์เป็นเพียงผู้สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ของ     ผู้เรียนเองจากข้อมูลข่าวสาร จากวัสดุการเรียนรู้ จากสื่อนวัตกรรม จากสถานการณ์ที่ความรู้ของผู้เรียนเองจากข้อมูลข่าวสาร จากวัสดุการเรียนรู้ จากสื่อนวัตกรรม จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมีอยู่จริงในสภาพจริง ครู อาจารย์เป็นเพียงผู้นำผู้เรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร หรือนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาให้ผู้เรียนได้คิด ได้สร้าง และได้ค้นพบสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้ ด้านวัสดุการเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์ว่าต้องจัดหาวัสดุการเรียนรู้ (Learning Materials) ที่ดีมีประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนได้นำมาสร้างความรู้ของตนเองให้มาก วัสดุการเรียนรู้ที่ดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพจะได้มาจากการศึกษาวิจัย และสร้างสรรค์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียน ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี โดยมีเกณฑ์ว่า   ผู้เรียน จะต้องมีทางเลือกในการสร้างความรู้อย่างมากมาย ต้องมีความหลากหลายของทักษะและรูปแบบซึ่งหมายถึงการมีบุคคลที่มีทักษะแตกต่างกันหลายระดับ ตั้งแต่รู้น้อยจนถึงรู้มาก หรือบุคคลที่มีอายุแตกต่างกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องมีความเป็นกันเอง โดยมีความเป็นกัลยาณมิตร มีความรู้สึกเป็นอิสระ และเป็นสุขในการคิด การสร้าง และการค้นพบความรู้ ด้านการมีส่วนร่วมและใช้ระบบในการบริหารจัดการ โดยมีเกณฑ์ว่าต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการเรียนการสอนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และสังคมผู้ใช้ผลผลิตได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงทุกขั้นตอน (พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง.  2541 : 3)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้ให้ความสำคัญกับสื่อเพื่อการศึกษา โดยได้กำหนดไว้ในหมวด 9 เทคโนโลยีการศึกษา มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีแรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

การจัดประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา ถือเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในสาขาการบริหารธุรกิจ (การตลาด) ประกอบกับภาวะปัจจุบัน การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการทำธุรกิจค้าขายในโลกปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นทั้งประโยชน์โดยตรง ต่อการดำเนินการภายในบริษัทและเป็นโอกาสทางการตลาดของบริษัทอีกด้วย นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย จนทำให้หลายคนเข้าใจว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับอินเทอร์เน็ต คอมเมิร์ซเป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งๆ ที่อินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซเป็นเพียงวิธีการหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการทำอินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซนับว่าเป็นแนวโน้มที่มาแรงและยังคงจะเติบโตต่อไปในอนาคตได้อีกมาก ซึ่งภาครัฐและเอกชนใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก ในขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น เท่านั้น ซึ่งเราควรจะเร่งรีบพัฒนาทั้งบุคลากรและระบบต่างๆ ที่จะมารองรับการทำอินเทอร์เน็ตคอมเมิร์ซเพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาส ทางการตลาดที่น่าไขว่คว้านี้นั่นเอง

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 นั้นได้เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องเอื้อต่อผู้เรียนให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพ และก้าวเท่าทันกับวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพ และเป็นบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ปัจจัยที่จะสร้างให้บัณฑิตมีคุณภาพได้นั้นจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และต้องเรียนรู้ให้เท่าทันกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักศึกษาโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การตลาด) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา เรียนรู้ เกี่ยวกับการการค้า-ขายสินค้าออนไลน์ หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ที่นับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะสร้างตลาดออนไลน์ ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ติดต่อกับทั่วโลกได้ ถือเป็นโอกาสให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ และพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาได้ต่อไป

3. วัตถุประสงค์

            3.1 เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) สำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) ปี 3/2

            3.2 เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำการซื้อ - ขาย ออนไลน์

            3.3 เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ ประสบการณ์ และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเว็บไซต์ของโปรแกรมวิชาได้

          3.4 เพื่อจัดตั้งเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้กับนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง ในการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์

            3.5 เพื่อสนับสนุนนโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.. 2542

 

4. เป้าหมาย

1.   นักศึกษาโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การตลาด) มีความรู้ ความสามารถด้าน E-commerce ได้เป็นอย่างดี

2.   โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) มีเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเว็บไซต์ได้

3.   นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการด้านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถ บริหาร จัดการเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.   นักศึกษามีเวทีในการฝึกทักษะวิชาชีพด้านการขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

 

5. แนวทางและขั้นตอนการดำเนินงาน

1.   ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในยุคการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.   ศึกษานโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้ และหาแนวทางที่จะปฏิบัติให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.   ศึกษาปัญหาการเรียนการสอนด้านการตลาดในสถาบันราชภัฏ

4    เขียนโครงการ

5.   เสนอโครงการ

6.   ดำเนินงานตามโครงการ

7    การนำเสนอแนวคิด โครงการของนักศึกษา

8    ดำเนินการจัดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

10. ประเมินผลการจัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และสรุปผลงาน

11. ประสานงานศูนย์คอมพิวเตอร์ขอพื้นที่เก็บเว็บไซต์จำนวน 50 Mb.

12. ดำเนินการสร้างเว็บไซต์ ซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์

 

6.      กิจกรรมการดำเนินงานและระยะเวลาปฏิบัติการ

 

ลำดับที่

กิจกรรม

ระยะเวลา พ.. 2544

 

 

มค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ษ

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

1.

ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน

**

 

 

 

 

 

 

2.

ศึกษานโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้

**

 

 

 

 

 

 

3.

ศึกษาปัญหาด้านการเรียนการสอนด้านการตลาด

 

**

 

 

 

 

 

 

4.

เขียนโครงการ

 

 

**

 

 

 

 

 

5.

เสนอโครงการ

 

**

 

 

 

 

 

6.

เชิญวิทยากร

 

**

 

 

 

 

 

7.

ดำเนินการจัดอบรมสัมมนา

 

 

**

 

 

 

 

8.

ประเมินผลการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

 

 

**

 

 

 

 

9.

เผยแพร่

 

 

 

**

 

 

 

10.

นำเว็บไซต์ขึ้นบนอินเทอร์เน็ต

 

 

 

**

 

 

 

10.

ซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์

 

 

 

 

**

**

**

7. ระยะเวลาดำเนินการ

            ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2544 – มิถุนายน 2544

            การจัดประชุมเชิงปฏิบัติในครั้งนี้ จำนวน 2 วัน ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ สถาบันราชภัฏอุดรธานี คือวันที่ 5-6 เมษายน  2544

 

8. งบประมาณ

            ค่าตอบแทน

            1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมง  เป็นเงิน                 3,600บาท

            ค่าใช้สอย

            1. ค่าเอกสารจัดการประชุมสัมมนา จำนวน                          3,000 บาท

            2. ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน 2 วัน เป็นเงิน            8,000 บาท

            4. ค่าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 วัน                             2,220 บาท

          5. ค่าจัดพิมพ์เอกสารสรุปผลการประชุมสัมมนาจำนวน 40 ชุด          3,000 บาท

          6. ค่าจด Domain main 5 ปี เป็นเงิน                                   3,000 บาท

                                                รวมงบประมาณทั้งสิ้น                           22,820 บาท

 

9. การประเมินผล

            ประเมินผลจากการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบบสอบถาม ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ และติดตามผลจากโฮมเพจเพื่อการค้า E-commerce ที่ได้สร้างขึ้น

 

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1. นักศึกษาโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การตลาด) มีความรู้ ความสามารถด้านการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นอย่างดี

            2. สามารถพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโปรแกรมวิชาได้

            3. โปแกรมวิชามีเว็บไซต์เพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตได้

            4. นักศึกษาได้นำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพด้าน E-commerce ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            5. นักศึกษามีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพออนไลน์ ในการทำธุรกรรมด้านอินเทอร์เน็ตได้ จากเว็บไซต์ที่ได้สร้างขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

          6. สนองนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนผู้เรียนสำคัญที่สุดของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การตลาด) สถาบันราชภัฏอุดรธานี

 

11. ผู้รับผิดชอบโครงการ

            โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏอุดรธานี

[หน้าแรก]