ปัญญา
ปัญญา แปลได้หลายอย่าง เช่น ความรอบรู้เหตุผล รู้ชัด รู้ทัน รู้ประจักษ์ และรู้ถึงทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โลกิยปัญญา เป็นปัญญาของโลกิยชน และโลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาของพระอริยบุคคล ปัญญามีไว้สำหรับปราบปรามกิเลสอย่างละเอียด คือ อวิชชา (ความหลง ความไม่รู้เท่า ความเห็นผิดว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเป็นสุข)
ปัญญาต่างกับวิญญาณ คือ
วิญญาณนั้น เพียงแต่รู้ความกระทบ จากอาตตนะภายนอก เช่น ตาเห็นรูป เกิดจากวิญญาณ (รู้ทางตา) เป็นหน้าที่ต้องรับรู้ไว้ทั้งหมด ทั้งรูปดีและรูปไม่ดี จะเลือกแบ่งรูปแต่ส่วนที่ดี ที่ใจชอบอย่างเดียวไม่ได้ แต่มีความรู้สึกชอบไม่ชอบ ไม่มีความฉลาดรู้เท่าทันว่าดีหรือชั่ว
ส่วนปัญญานั้น รู้เท่าทันว่า
เราจะมีเพียงสมาธิเท่านั้นยังไม่พอ เพราะสมาธิระงับกิเลสได้ชั่วคราว เฉพาะเวลาที่สมาธิเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้าจะเปรียบเป็นเพียง ยารักษาโรคชั่วคราว หรือเปรียบเสมือน เอาก้อนหินทับหญ้าไว้ พอยกก้อนหินขึ้น หญ้าได้น้ำ ได้ฝน ก็งอกงามขึ้นอีกอย่างเดิม
ขันธ์ 5
พระพุทธศาสนาแยกแยะชีวิต พร้อมทั้ง องคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า สัตว์ ตัวตน บุคคล ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ออกเป็น 5 ประเภทหรือ 5 หมวด เรียกว่าเบญจขันธ์ หรืออาจกล่าวว่าองค์ประกอบของมนุษย์มี 5 อย่าง คือ
การเกิดสัญญา เช่น เมื่อวานเห็นดอกกุถหลาบสีชมพู ก็เกิดการรับรู้ว่าเป็นดอกกุหลาบ (เกิดวิญญาณ) และเกิดความรู้สึกชอบดอกกุหลาบนั้น (เกิดสุขเวทนา) เมื่อเวลาผ่านไปชั่วครู่วิญญาณและเวทนานั้นก็ดับไป รุ่งขึ้นเกิดไปเห็นดอกกุหลาบดอกเดียวกัน วิญญาณกับเวทนาก็เกิดขึ้นอีก ความจำได้นี่คือเกิดสัญญา
เมื่ออายตนะภายใน เช่น หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ กระทบกับอายตนะภายนอก คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ วิญญาณก็เกิดขึ้น
ลำดับการเกิดของขันธ์ 5 จะเป็นดังนี้
รูป---- วิญญาณ ---- เวทนา ---- สัญญา ---- สังขาร
วัตถุ,สสาร ---- รับรู้ทางประสาทสัมผัส---- เกิดความรู้สึก (สุข, ทุกข์ , เฉยๆ) ---- ความจำได้ ---- เกิดเจตนาหรือกรรมที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
- เวทนาจะเกิดหลังวิญญาณเสมอ
ขันธ์ 5 มีอยู่อย่างสัมพันธ์หรือเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน อนึ่งคำว่าสังขาร ในขันธ์ 5 มีความหมายแคบกว่าในไตรลักษณ์ เพราะหมายถึง ความดีชั่วที่ปรุงแต่งจิต เป็นนามธรรมอย่างเดียว ส่วนสังขารในไตรลักษณ์ หมายถึง สิ่งทั้งปวง ที่เกิดจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ คือเท่ากับขันธ์ 5 ทั้งหมด
ขันธ์ 5 ย่อให้สั้นเหลือรูปกับนาม รูปย่อมาจากรูป นามก็มาจาก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปนามนี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่า ปรมัตถ์ (เกิดทางตา หู จมูก กาย ใจ)