ข้อมูลด้านเทคนิค ของซาฟิร่า...

Suspension and steering
Genearal
Front suspension typeIndependent, with MacPherson struts, gas-filled shock absprbers and anti-roll bar
Rear suspension typeSemi-independent torsion beam, wih trailing arms, coil springs and telescopic shock absorbers
Steering typeRack and pinion. Electro-hydraulic power steering
Front wheel alignment
Camber-0 degree 20' +/- 30' (max difference between sides 1 degree)
Castor3 degree 10' +/- 30' (max difference between sides 1 degree)
Toe-in1 degree
Toe-out on turns (inner wheel turned in 20 degree)1 degree 09' +/- 45'
Rear wheel alignment
Camber-1 degree 45' +/- 30' (max difference between sides 35')
Toe-in0 degree 10' +30'/-20'
Tyre pressure
Up to 3 personsFront 32 psi.........................Rear 32 psi
Full loadFront 38 psi.........................Rear 44 psi

Front wheel alignment

การตั้งศูนย์ล้อหน้า (Front wheel alignment) ที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมบังคับที่แม่นยำ รวมไปถึงการสึกของยางหน้าด้วย ก่อนจะทำการตั้งศูนย์ล้อ ต้องตรวจสอบก่อนว่า
- ลมยางได้รับการเติมอย่างถูกต้อง
- ล้ออยู่ในสภาพที่ดี
- ลูกหมาก และข้อต่อต่างๆของช่วงล่างหน้า และแกนพวงมาลัย รวมไปถึงคันชักคันส่งอยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีการฉีกขาดชำรุดเสียหาย
และเพื่อความแม่นยำของการตั้งศูนย์ล้อ แนะนำว่าควรให้รถมีน้ำมันอยู่ประมาณครึ่งถัง และมีน้ำหนักวางที่เบาะหน้าทั้งคู่ ข้างละ 70 กก. (เวลาไปตั้งศูนย์ พาใครไปด้วยสักคน แล้วนั่งอยู่หน้ารถกันทั้งคู่ตอนช่างเค้ากำลังตั้งศูนย์ให้ก็ได้ครับ)

ศูนย์ล้อประกอบด้วยค่าจำเพาะต่างๆ คือ

Camber

ค่า camber เป็นมุมที่แนวล้อทำมุมกับเส้นดิ่ง (ตั้งฉากกับพื้น) เมื่อมองมาจากทางด้านหน้ารถ ค่า "บวก" หมายถึงขอบบนของล้อและยางเบนออกทางด้านนอก ค่า "ลบ" ก็จะเป็นไปในทางตรงกันข้าม ถ้าค่า camber ผิดไปจากปกติจะทำให้เนื้อยางด้านใดด้านหนึ่งสึกหรอมากกว่าอีกด้านหนึ่ง เช่น ถ้าตั้งค่า camber เป็น "ลบ" มากเกินไป เนื้อยางด้านในก็จะสึกมากกว่าด้านนอก

ด้านใน ด้านนอก


Castor

เวลาเราหมุนพวงมาลัย ล้อหน้าก็จะหมุนรอบแกนซึ่งติดอยู่กับระบบกันสะเทือน (ซึ่งแกนนี้จะไม่ตั้งฉากกับพื้นเป๊ะๆครับ) มุม castor เป็นมุมที่แนวแกนดังกล่าวทำกับเส้นตั้งฉากกับพื้น ถ้าขอบบนของแนวแกนนี้เอนไปด้านหลังรถ ก็จะเป็น castor "บวก" และในทางตรงกันข้ามถ้าเอนไปด้านหน้าก็จะเป็น "ลบ" ในภาพประกอบด้านซ้ายนั้นเป็นลักษณะของรถที่มี castor เป็น "บวก"

ค่า castor ที่ผิดไปจากปกติ จะไม่ก่อปัญหาเรื่องการสึกหรอของยาง แต่จะทำให้น้ำหนักพวงมาลัย และการบังคับควบคุมรถในทางตรงผิดเพี้ยนไป ถ้ามุม castor มีค่าเป็น "บวก" มากเกินไป พวงมาลัยจะหนักขึ้น ถ้า castor เป็น "ลบ" มากไป พวงมาลัยจะเบาและจะมีความรู้สึกว่าหน้ารถ "ร่อน" ถ้า castor ทั้งซ้ายขวาผิดไปจากกันมาก พวงมาลัยจะถูกดึงไปด้านที่ "บวก" น้อยกว่า (เพราะมันเบากว่านั่นเองครับ)

เพื่อนๆสมาชิกที่ต้องไปเป็นลิ่วล้อ เข็นรถเข็นตาม supermarket ต่างๆ จะเข้าใจการตอบสนองของมุม castor ได้ดีครับ นึกภาพล้อรถเข็นตามห้างเหล่านี้ (ภาพประกอบซ้าย) จะเห็นว่าแกนการหมุนของล้อหน้าแม้จะไม่ทำมุมอย่างในรถเก๋งที่เราพูดถึงกันอยู่ แต่ก็จะไม่อยู่ตรงศูนย์กลางของล้อ เมื่อลากเส้นตามแนวแกนหมุนลงมา เส้นนี้จะตกอยู่หน้าล้อ ลักษณะนี้ก็เสมือนมี castor เป็น "บวก" นั่นเองครับ ครั้งหน้าที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่เข็นรถเข็นของ ลองทดสอบดูอย่างนี้ครับ พลิกให้ล้ออยู่ด้านหน้าแกน (negative castor) แล้วลองเข็นให้รถตรง จะพบว่าทำได้ยาก ล้อจะปัดไปปัดมา แล้วก็จะพยายามพลิกไปอยู่ด้านหลัง นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับรถยนต์เช่นเดียวกันครับ ถ้าเซ็ทค่า castor ให้เป็น "ลบ" มากเกินไป

ทั้งมุม camber และ castor ไม่สามารถปรับตั้งได้ ถ้าเพี้ยนไปมักเกิดจากอุบัติเหตุ มีอะไรบางอย่างในระบบกันสะเทือนเสียหาย หักงอ ต้องตรวจเช็คดูโดยละเอียดครับ

Toe-in

ค่า toe เป็นความแตกต่างของระยะระหว่างขอบหน้าและขอบหลังของล้อทั้งสองข้าง และวัดออกมาเป็นมุม (หรือบางแห่งวัดเป็นนิ้ว) โดยทั่วไปค่า toe จะเป็นศูนย์ นั่นคือล้อขนานกันเป๊ะ ถ้าค่า toe เพี้ยนไป ขอบหน้าของล้อทั้งสอง อยู่ใกล้กันมากกว่าขอบหลัง (อย่างในรูปด้านซ้าย) แบบนี้ก็เป็น toe-in ในทางกลับกัน ก็จะเรียกว่า toe-out ครับ

ค่า toe นี้จะมีผลกับการสึกของยางเช่นเดียวกับ caster โดย toe ที่บวกหรือลบมากไป จะทำให้ยางสึกเป็นลักษณะฟันเลื่อย อย่างในรูปข้างล่าง ถ้ามุมแหลมของดอกยางที่สึกไม่เท่ากันชี้เข้าใน หมายถึง toe-in มากเกินไป ถ้าชี้ไปด้านข้างรถ ก็หมายถึง toe-out มากไป

ปกติค่า toe นี่ล่ะครับ จะเป็นตัวที่ร้านยางตรวจสอบและปรับแก้ให้ โดยการไขปรับ track rod กัน

Toe-out on turns

เวลารถเลี้ยว ล้อหน้าทั้งสองก็จะหมุนไปตามกัน แต่เนื่องจากล้อด้านนอกจะหมุนไปตามวงกลมที่มีรัศมียาวกว่าล้อใน ทำให้ล้อด้านในทำมุมมากกว่าล้อด้านนอก (ดูภาพประกอบครับ) มุมนี้ล่ะครับเรียกว่า Toe-out on turns ซึ่งโดยปกติจะวัดค่ากันที่แป้นหมุน ที่เวลาเอารถไปตั้งศูนย์ ช่างจะขับรถขึ้นไปบนเครื่อง แล้วให้ล้อหน้าทั้งสองล้อวางอยู่บนแป้นหมุนนี้ล่ะครับ การวัดค่ามักจะกำหนดให้ล้อด้านในทำมุม 20 องศา แล้ววัดมุมที่ล้อด้านนอกทำ

ยกตัวอย่างเช่นของซาฟิร่านี่ กำหนดค่า Toe-out on turns ไว้ที่ 1 องศา 9 ลิบดา +/- 45 ลิบดา เมื่อล้อด้านในทำมุม 20 องศา ดังนั้นเวลาเอาไปตั้งศูนย์ ถ้าช่างหมุนพวงมาลัยไปทางขวา ก็จะหมุนจนเครื่องมืออ่านได้ว่าล้อขวาทำมุม 20 องศา แล้วก็อ่านค่ามุมของล้อซ้าย ซึ่งควรวัดได้น้อยกว่า ซึงน่าจะอยู่ในช่วงประมาณ 18 องศากว่าๆ ไปจนถึง 19 องศากว่าๆ

ค่า Toe-out on turns ถูกกำหนดโดย steering arm ที่ได้รับการออกแบบมาให้ได้มุมที่ต้องการ และไม่สามารถปรับตั้งได้ ถ้าเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ toe-out on turns ผิดเพี้ยนไปมาก ก็ควรเปลี่ยน steering arm ใหม่ครับ

Rear wheel alignment

ทั้งค่า toe และ camber ของล้อหลัง เป็นค่าอ้างอิงเท่านั้น ไม่สามารถปรับตั้งแก้ไขได้

Tyre pressure

แรงดันลมยางมีความสำคัญมากครับ เพื่อนๆ ควรตรวจเช็คลมยางบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเราคงใช้ซาฟิร่าออกทางไกลบ่อยๆ ก็อย่าลืมตรวจสอบทุกครั้งก่อนเดินทางไกลครับ ในสมุดคู่มือติดรถให้ค่าลมยางมาเป็นหน่วย pascal ที่ดูไม่คุ้นเคยกับบ้านเรา ที่นิยมพูดกันด้วยหน่วย psi มากกว่า อย่างปกติของซาฟิร่านี่ก็ 32/32 บอกแบบนี้เด็กปั๊มก็ร้องอ๋อเลย ถ้าไปบอก หน้า 2.0 หลัง 2.0 อย่างในคู่มือรถ เด็กปั๊มคงทำตาปริบๆ...

เพื่อนๆควรซื้อเกจ์วัดแรงดันลมยางดีๆติดรถไว้เองครับ ประสบการณ์ส่วนตัวพบว่าเกจ์ในปั๊มน้ำมันมักจะเพี้ยนเสมอ และหลายๆครั้งผมพบว่าเพี้ยนไปในทาง "แก่" กว่าความเป็นจริง นั่นหมายถึงว่าจะทำให้ลมยาง "อ่อน" กว่าที่ควรเป็นซึ่งอันตรายมากครับ เพราะยางที่อ่อนเกินไปจะบิดตัวมาก สะสมความร้อน และระเบิดได้ง่ายครับ

>BACK<

myzafira@yahoo.com