Skip Navigation


 

โลกของคนหูหนวก


English Version หน้าแรก Thai Version

แบบสะกดนิ้วมือไทย ข้อควรหลีกเลี่ยง ข้อควรปฏิบัติ

แบบสะกดนิ้วมือไทย
Thaifingerspellingchart
 
ข้อควรหลีกเลี่ยงสำหรับท่านที่มีโอกาสสัมผัสกับคนหูหนวก

1.ไม่ควรเรียกคนหูหนวกและคนหูตึงว่า "คนใบ้" เพราะคำว่า "ใบ้" อาจหมายถึงบ้าใบ้ โง่ ทึบ ไร้สมอง
2. ไม่ควรเอารัดเอาเปรียบและดูถูกคนหูหนวก
3.ไม่ควรมองข้ามความสามารถของคนหูหนวก
4.ไม่ควรบังคับให้คนหูหนวกพูดด้วยปาก (ก็รู้อยู่แล้วว่าคนหูหนวกพูดไม่ได้)
5.ไม่ควรทำปากเน้นคำพูดมากเกินไป (อาจจะทำให้คนหูหนวกเข้าใจผิด คิดว่าท่านกำลังอารมณ์เสียก็ได้)
6.ไม่ควรล้อเลียนหรือขบขันเมื่อเห็นคนหูหนวกใช้ภาษามือ
7.ไม่ควรเสแสร้งทำเป็นเข้าใจหรือเดาความหมายที่ท่านไม่แน่ใจหรือไม่เข้าใจ
8.ไม่ควรพูดซ้ำคำเดิม ถ้าคนหูหนวกไม่ค่อยเข้าใจ ท่านควรเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทน
9.ไม่ควรเอาอะไรใส่ไว้ในปากหรือปิดปากขณะพูดกับคนหูหนวก
10.ไม่ควรพูดกับคนหูหนวกขณะที่ท่านหันหลังให้กับดวงไฟ บริเวณที่มีแสงสว่างจ้าทางหน้าต่างหรือกระจก เพราะคนหูหนวกมีประสาทตาที่ไวต่อแสงมาก ถ้าถูกแสงจ้าจะแสบตาได้ง่าย
11.ไม่ควรพูดขอโทษกับคนหูหนวกในกรณีที่ท่านใช้ภาษามือไม่ชำนาญ เพราะคนหูหนวกจะทราบเองว่าท่านเพิ่งเริ่มหัดใช้ภาษามือ
12.ไม่ควรกักขังและ/หรือห่วงใยคนหูหนวกมากจนเกินเหตุ ทั้งนี้เพื่อให้คนหูหนวกสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมทั่วๆ ไป ตลอดจนเพื่อสร้างความมั่นใจและการช่วยเหลือตนเอง
13.ไม่ควรใช้สัญญาณอันตรายหรือสัญญาณต่างๆ ที่เป็นเสียงกับคนหูหนวก
14.ไม่ควรใช้สัญญาณมือที่มีท่าทางบ่งบอกว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งชนิดใด เช่น การทำปาก "จุ๊" และ/หรือ ทำมือ "สุนัข" เพื่อเรียกคนหูหนวก

ข้อควรปฏิบัติสำหรับท่านที่มีโอกาสสัมผัสกับคนหูหนวก

1.ควรเรียกชื่อของคนหูหนวก หรือเรียกชื่อเป็นภาษามือ
2.ให้เกียรติคนหูหนวกในความเป็นมนุษยชาติเท่าเทียมกัน
3.ถามคนหูหนวกว่าจะติดต่อสื่อสารด้วยวิธีใดจึงจะดีที่สุด (ภาษามือ / ภาษาเขียน ฯลฯ)
4.ควรเตรียมกระดาษและปากกาพร้อมที่จะใช้ และเต็มใจใช้ทุกเมื่อ เมื่อสื่อสารกับคนหูหนวก (ในกรณีที่เป็นหูหนวกภายหลังและ / หรือไม่รู้ภาษามือ)
5.ถ้าคนหูหนวกไม่เข้าใจคำแรก จงใช้คำอื่นสื่อความหมายแทน (ควรยืดหยุ่นตามสถานการณ์) เช่น คำว่า "บ้าน" มีภาษามือหลายแบบ
6.ควรดูสีหน้าของคนหูหนวก เพราะความหมายและข้อมูลต่างๆ จะส่งผ่านทางใบหน้าด้วย
7.ควรทดลองใช้วิธีการสื่อสารแบบต่างๆ เช่น เขียน ทำท่าปากพูด ทำท่ามือ
8.ควรสื่อความช้าๆ ซ้ำๆ ในกรณีที่จำเป็น เช่น เรื่องที่ซับซ้อน เข้าใจยาก
9.ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่สนทนากัน ด้วยการให้คนหูหนวกทำท่ามือซ้ำตามความหมายที่ท่านได้พูดไปแล้ว
10.ควรให้เวลา อดทน เป็นมิตร และทำตัวตามสบายขณะสื่อสารกับคนหูหนวก
11.ควรเรียนภาษามือเพื่อสื่อสารกับคนหูหนวก โดยเฉพาะในกรณีที่ท่านมีเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่เป็นคนหูหนวก ซึ่งท่านมีส่วนช่วยให้คนหูหนวกได้รับข่าวสารเพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาทางความรู้ ความคิด
12.ควรมองตรงไปที่คนหูหนวกตลอดเวลาขณะที่สนทนากัน
13.ควรระวังเรื่องความเข้าใจผิด (การพยักหน้าอาจจะไม่จำเป็นต้องหมายถึง "เข้าใจ" เสมอไป เพราะอันที่จริงอาจหมายถึง "ไม่อยากทำให้คุณอาย" หรือ "ไม่อยากได้รับความอับอาย" ก็ได้)
14.ถ้าการสื่อสารล้มเหลว ควรทดลองวิธีอื่น เช่นเดียวกับข้อ 5
15.ควรสนับสนุนให้คนหูหนวกได้รับการศึกษามากที่สุด ให้เข้าสังคมและพบเห็นสิ่งต่างๆ มากที่สุด เช่น การเข้าร่วมอบรมสัมมนา ชมนิทรรศการ หรือการเข้าสังคมแบบต่างๆ
16.โปรดใช้สัญญาณไฟกับคนหูหนวก

กลับไปหน้าแรก

ติดต่อกับเรา
 
โทรศัพท์.66(2)7171902-3 โทรสาร.66(2)7171904