กระดานสื่อสาร
สื่อการเรียนการสอนใหม่ ของ"น.ร.พิการ"
โดย เบญจวรรณ สุทธิลักษณ์
การ ศึกษามีความสำคัญกับนักเรียนทุกคน
ไม่เว้นแม้แต่นักเรียนที่เป็น *"ผู้พิการ"*
ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้มีข้อจำกัดทางการศึกษาอยู่บ้าง
จึงต้องมีสื่อการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสม เพื่อช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ของพวกเขา
ซึ่งปัจจุบันได้มีสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ
*โรงเรียนศรีสังวาลย์*
เป็นโรงเรียนหนึ่งที่ใส่ใจ และให้ความสนใจกับ *"สื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้พิการ"*
เป็นอย่างมาก ได้ประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนผู้พิการ
ซึ่งสื่อการเรียนการสอนหลายชิ้นเป็นฝีมือของครูผู้สอน
และอีกส่วนหนึ่งก็ได้รับความช่วยเหลือจาก*โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระ
ราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี*
*นางอำนวย สีพั้วฮาม*
ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการโรงเรียนศรีสังวาลย์ กล่าวว่า โรงเรียนศรีสังวาลย์รับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย
หรือสุขภาพทั้งหมด รับทั้งนักเรียนประจำ และไปกลับ ในการจัดการเรียนการสอนใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปี 2544 เหมือนกับนักเรียนในโรงเรียนปกติ แต่จะปรับกิจกรรม
และเทคนิคในการสอนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีสื่อการเรียนการสอนเข้ามาช่วย
ทั้งสื่อปกติ และสื่อพิเศษสำหรับเด็กที่พิการทางร่างกาย
มีการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาช่วยให้เด็กเข้าถึงการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด
ในการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนนั้น จะใช้สื่อทั่วๆ ไปตามบทเรียน
แต่นำมาปรับให้เข้ากับนักเรียน ให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
เช่น หนังสือเปิดง่าย คือต้องทำหนังสือให้หนาขึ้น เพื่อช่วยเด็กที่มีปัญหาเรื่องมืออ่อนแรง
เปิดอ่านหนังสือได้ง่าย
*" สื่อที่นำมาใช้ส่วนหนึ่ง
คุณครูผู้สอนจะเป็นผู้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา อาจดูจากต้นแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
แล้วนำมาปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนให้มากที่สุด ซึ่งโรงเรียนได้นำสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนการสอนอีก
ทางหนึ่ง นักเรียนของเราสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป
แต่ก็มีบางคนที่บกพร่องทางด้านสติปัญญา ก็ทำให้เรียนรู้ได้ช้าหน่อย
แต่ก็เรียนรู้ได้เช่นกัน และยังมีสื่ออีกหนึ่งประเภทที่ใช้สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการพูด
และไม่สามารถเขียนได้ นักเรียนกลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มที่มีความลำบากที่สุดในการสอน
เนื่องจากนักเรียนไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบกับครูผู้สอนได้
ซึ่งทางโรงเรียนได้นำการสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสารสนเทศตามพระราชดำริของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ นำเข้ามาใช้กับนักเรียนกลุ่มนี้
เป็นครั้งแรกของประเทศไทย"*
*นางสา วอลิสา สุวรรณรัตน์*
ผู้ช่วยนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(เนคเทค) กล่าวว่า โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เข้ามาช่วยเหลือในส่วนของนักเรียนที่พิการด้านร่างกาย
กลุ่มสมองพิการ ซึ่งเด็กพวกนี้สมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวมีปัญหา
ทำให้การเคลื่อนไหวลำบาก พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีปัญหาเรื่องการเปล่งเสียงพูด
หลายคนพูดไม่ชัด บางคนพูดไม่ได้เลย จึงได้หาวิธีการสื่อสารใหม่ๆ
โดยการนำระบบสัญลักษณ์เข้ามาช่วยเสริม สัญลักษณ์ที่ใช้นั้น
เป็นสัญลักษณ์ที่มีความเป็นมาตรฐานสากล สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ
นักเรียนผู้พิการทางหู กำลังสื่อสารกับคุณครูผ่านการใช้สมุดภาพสื่อสาร
*" อุปกรณ์ที่นำมาใช้
ได้แก่ *"กระดานสื่อสาร"* โดยในกระดานจะมีกลุ่มคำศัพท์ที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันบรรจุไว้บน
กระดาน แล้วให้นักเรียนใช้การชี้แทนการพูด คำศัพท์ที่อยู่บนกระดานสื่อสารนั้น
บางครั้งมีคำศัพท์บรรจุไว้ไม่ครบถ้วนทุกคำ จึงสามารถนำคำศัพท์มารวบรวมจัดใส่ลงสมุดโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่
ตามสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างเช่น สถานการณ์ในตลาด
จะต้องบรรจุคำศัพท์ที่เกี่ยวกับรายการอาหาร มีคำถามสั้นๆ
เกี่ยวกับราคา เป็นต้น ทั้งหมดเป็นสถานการณ์ที่เด็กจะนำไปใช้สื่อสารได้จริงในชีวิตประจำวัน"*
นาง สาวอลิสาบอกว่า
สื่อการสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่นนั้น มีทั้งแบบที่สามารถสร้างขึ้นเองได้ไปจนถึง
สื่อที่มีความทันสมัย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการสื่อสาร
เรียกว่าโปรแกรมวาจา เป็นโปรแกรมขั้นสูงสำหรับผู้พิการที่มีพัฒนาการดี
เมื่อพิมพ์คำที่ต้องการสื่อสารลงไปแล้ว โปรแกรมก็จะเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด
เหมือนกับที่พิมพ์ลงไป ซึ่งเสียงที่ออกมานั้นได้มาจากเสียงสังเคราะห์
และโปรแกรมนี้คิดค้นขึ้นมาโดยฝีมือคนไทย จากการที่ได้นำสื่อการสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่นมาใช้นั้น
สามารถทำให้การเรียนของนักเรียนกลุ่มนี้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
" ผู้ปกครองเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น
เราจึงจัดทำห้องพัฒนาสื่อการสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่น
มีครูมาประจำ 1 คนในการทำสื่อ ทำหน้าที่เติมคำศัพท์ให้กับนักเรียน
ผู้ปกครองก็เข้ามามีส่วนช่วยในการที่จะเติมคำศัพท์ให้กับลูกๆ
ตัวเองด้วย และมองว่าในการสอนนักเรียนพิการนั้น สิ่งที่เป็นหัวใจของการสอน
คือครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจนักเรียน แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรค์ใหญ่ในการสื่อสารกับนักเรียนก็คือ
ความไม่ต่อเนื่องที่จะใช้เครื่องมือ ไม่พยายามเติมคำศัพท์
ไม่รอให้นักเรียนตอบโต้กลับมา คนดูแล หรือครูผู้สอนจึงมีสำคัญมากในการเรียนรู้ของนักเรียน
เมื่อคนดูแลดีแล้ว ไม่นานนักเรียนก็จะมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่ดีขึ้น"
แต่เพื่อให้ การสอนนักเรียนผู้มีความพิการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จึงไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว
ผู้ปกครองควรเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ก็จะเป็นการดีอย่างยิ่งในการเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนกลุ่มนี้ให้ดี
ยิ่งขึ้นๆ ไป
|