Skip Navigation


 

โลกของคนหูหนวก


English Version หน้าแรก Thai Version

“คนหูหนวก...ฝากถึงคนหูดี” ขอมีโอกาสเท่าเทียมสุขภาพ

ภายใต้ความคิดอันเงียบเชียบของคนหูหนวกในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ราว 300,000 คน มีหลากเรื่องราวที่เขาเหล่านั้นพยายามจะถ่ายทอดให้คนหูดีได้
รับรู้ และหนึ่งนั้นเป็นเรื่องราวของการจัดสรรความเท่าเทียมกันทางสังคมให้เทียบกับคนทั่วไป แต่ร่างกายที่มีความเงียบติดตัวอยู่ตลอดเวลา ช่างยากลำบากเกินที่จะบอกเล่าต่อไปยังคนหูดีเข้าใจ หากคนหูดีไม่ได้ศึกษาภาษามือวัฒนธรรมของเขามาตั้งแต่ต้น

แม้ว่าจะมีล่ามภาษามือช่วยเป็นสื่อกลางส่งต่อความคิดความรู้สึกออกไป ไม่ใช่เรื่องง่ายนักในยุคปัจจุบันที่ล่ามภาษามือมีอยู่จำกัด หากไม่นับรวมคน
ที่มีอาชีพครูสอนภาษามือ ตัวเลขผู้ประกอบอาชีพล่ามภาษามือจริงๆ ในประเทศไทยมีแค่ 10 คน

อาการเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นหนึ่งในเรื่องราวโกลาหลของคนหูหนวกเสมอเมื่อต้องไปโรงพยาบาล ไปพบแพทย์ บอกเล่าความเจ็บป่วยให้แพทย์รับรู้ เขาไม่มีโอกาสที่จะพูดเจื้อยแจ้วได้เหมือนกับคนทั่วไป ภาษามือสีหน้าแววตาเท่านั้น ที่จะแสดงออกไปว่าเจ็บจี๊ดๆ ปวดตึ้บๆ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

แต่คิดหรือว่าหมอจะเข้าใจสามารถให้ยารักษาได้ถูกจุดอย่างแท้จริง ความวุ่นวายเช่นนี้ทำคนหูหนวกบางคนต้องอดทนต่อโรคร้าย เพียงเพราะไม่อยาก
ไปพบแพทย์ กลัวว่าจะสื่อสารกับหมอไม่เข้าใจมากกว่ากลัวโรคร้ายที่รุมเร้าอยู่ หากไม่มีล่ามภาษามือไปกับเขาด้วย

ประสบการณ์ตรงจากการทำงานของ จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ เลขานุการสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ในฐานะล่ามประจำสมาคมฯ คุ้นหน้า
คุ้นตาเธอดีจากจอทีวีช่อง 11 ในยามที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เธอเป็นหนึ่งในทีมล่มกลุ่มนั้น เล่าย้อนถึงเหตุการณ์อันน่ารันทดของชนกลุ่ม
น้อยของการได้ยินให้ฟังว่า เคยมีคนหูหนวกตาบอดตกท่อของกทม. และโชคร้ายถูกไม้เสียบตรงทวารหนัก เขาไม่ยอมไปโรงพยาบาล แต่ตรงดิ่งมายัง
สมาคมฯ มาขอล่ามเพื่อจะไปยังโรงพยาบาล

“อาการแย่มาก เขาใช้มือดึงไม้ออกเอง ตัวซีดเลือดไหลไม่หยุด ต้องผ่าตัดด่วน ในรายนี้ใช้ล่ามภาษามือไม่ได้ ต้องอาศัยหูหนวกมาใช้ภาษามือสัมผัสในขณะที่ตัวล่ามภาษามือเองก็ต้องอยู่กับเขาด้วย”

มีเรื่องน่าใจหายว่า ปัจจุบันคนหูหนวกป่วยเป็นโรคเอดส์จำนวนมาก เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เหมือนกับคนปกติ ไม่รู้จักวิธีป้องกัน
ตัวเองให้ปลอดภัย ไม่ทราบวิธีการดูแลสุขภาพระหว่างเจ็บป่วยหลังได้รับเชื้อ

ตัวหนังสือหรือข้อความต่างๆ ที่ปรากฏอย่างแพร่หลายตามสื่อต่างๆ มีคนหูหนวกกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่จะอ่านและเขียนออกมาได้ แม้ว่าหลายคนจะผ่าน
โรงเรียนสอนคนหูหนวกมาแล้ว แต่ไม่ได้ทำให้พวกเขาแตกฉานทางภาษา คนหูหนวกส่วนใหญ่อ่านเขียนไม่คล่อง

อาจารย์พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยตอบปัญหาอันน่าสงสัยให้ฟังว่า หลายคนเข้าใจว่า ภาษามือเป็นภาษาสากล นึกว่า
ทั่วโลกจะสามารถสื่อสารกันได้หมด จริงๆ แล้วภาษามือก็มีคุณสมบัติเหมือนกับภาษาอื่นๆ เหมือนกับภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน มีทั้งไวยากรณ์ มีทั้งคำศัพท์เหมือนกับภาษามืออื่นๆ

ดังนั้นภาษามืออเมริกันหรือภาษมือญี่ปุ่นก็จะต่างกัน แต่ภาษามือไทยกับภาษามือลาวอาจเป็นภาษาเดียวกัน และประเทศไทยเองก็มีภาษาถิ่น ทั้ง
ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาษามือก็เช่นกันก็มีภาษามือถิ่น นอกจากภาษาถิ่นแล้ว ภาษามือยังมี “แสลง”

แต่บังเอิญว่าประเทศไทยไม่มีการพัฒนาภาษามืออย่างเป็นระบบ เราได้รับวัฒนธรรมภาษามือมาจากสหรัฐอเมริกา และต้องเข้าใจว่าภาษามือนั้นเป็น
ภาษาแม่ของคนหูหนวก คนหูหนวกต้องเรียนภาษามือก่อน แล้วจึงเรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2

โชคไม่ดีภาษามือของคนหูหนวกบ้านเรารับวัฒนธรรมมาจากอเมริกาและยิ่งปัจจุบัน เมื่อมีคำศัพท์ใหม่ๆ เข้ามา ไม่มีใครคิดท่าขึ้นมา ต่างภาคต่างคิด
ทำให้ไม่ตรงกัน และไม่มีโอกาสได้เจอกันทำให้คุยกันยากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงภาษามือต้องพัฒนามาจากวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนในประเทศนั้นๆ

ตรงนี้เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้กระบวนอ่านเขียนไม่คล่อง เนื่องจากครูก็สอนไม่ได้ เพราะเราไม่มีท่าภาษามือของประเทศ จึงสอนได้ไม่เต็มที่เหมือนวิชา
ประวัติศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ มีรายละเอียดมาก ครูไม่รู้จะสอนอย่างไร ใช้วิธีเขียนบนกระดานให้อ่านเอา แต่ไม่ใช่เป็นความผิดของครู ครูนั้นก็ไม่รู้
จะคิดเริ่มต้นท่าภาษามือนี้อย่างไร

ยกตัวอย่างง่ายๆ คำว่า ปฏิรูป พลวัต โลกาภิวัตน์ คนไทยในชนบทอาจฟังไม่เข้าใจ คนหูหนวกก้เช่นกันไม่เข้าใจเป็นคำไทยที่ต้องมาแปลเป็นไทยอีกที
ดังนั้นโอกาสที่จะเรียนรู้จึงน้องลงไป

คนหูหนวกที่เรียบจบปริญญาตรี ปริญญาโท ส่วนใหญ่จะเป็นคนหูตึงเสียมากกว่า จากเดิมที่หูดีตั้งแต่แรก เมื่อเรียนได้น้อยการประกอบอาชีพก็ยิ่งได
้น้อย ชีวิตโดยทั่วไปจึงด้อยกว่าคนพิการประเภทอื่น ถ้าเทียบกันแล้วอย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่สมาคมฯ พยายามแก้ไขความสับสนทางภาษา คือ การคิด
พยายามคิดภาษามือกลาง หรือ เรียกว่าภาษามือกรุงเทพฯ ขึ้น

“เราคาดว่าหวังว่าจะเชิญคนหูหนวกจากภูมิภาคต่างๆ มาคิดภาษามือกรุงเทพฯ เรามาตกลงกัน แต่ว่าเมื่อกลับบ้านไปใช้ยังภาษามือถิ่นก็ถือว่าเป็น
ธรรมชาติของเขา ทำให้ต้องย้อนกลับมาคิดถึงการสร้างสรรค์คำศัพท์ภาษามือสุขภาพ”

ขณะที่รัฐบาลส่งเสริมให้คนไทยดูแลสุขภาพหันมาออกำลังกายคนหูหนวกก็สนใจเรื่องของสุขภาพ แต่เขามักจะไม่ได้รับข่าวสาร อย่างเช่นการรณรงค์
ให้เต้นแอโรบิกมีทุกชุมชน คนหูหนวกสนใจแต่เขาก็ไม่สามารถเต้นได้สนุกสนานเพราะไม่ได้ยินเสียงดนตรี

รวมถึงการระบาดของโรคซาร์ส คนหูหนวกส่วนใหญ่ที่อ่านหนังสือไม่คล่อง ไม่ได้ติดตามข่าวสารไม่ได้ดูทีวีอ่านหนังสือพิมพ์ จะไม่รู้เรื่อง แต่มีส่วนหนึ่งดู
ทีวี รู้แต่ว่ามีปิดหน้า แล้วมีการตายเกิดขึ้น แต่ไม่เข้าใจลึกซึ้งว่าสาเหตุของโรคเกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ป้องกันอย่างไร

คนหูหนวกอยากรู้หนทางเดียวที่จะเข้าใจได้ ต้องตรงดิ่งไปยังสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย เพราะที่นี่มีล่าม แต่สมาคมฯ ก็ไม่สามารถอธิบายได้
เพราะไม่ใช่หมอ สุดท้ายพวกเขาจึงรวมตัวกันไปที่กระทรวงสาธารณสุข เชิญแพทย์มาให้ความรู้ ปรากฏว่าคนหูหนวกสนใจเรื่องนี้มาก เพราะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพขายของย่านพัฒน์พงศ์ จำเป็นต้องพบปะกับคนต่างชาติจำนวนมากสถานการณ์ซาร์สมีผลกระทบต่อาชีพเขาเช่นกัน

สุรเชษฐ์ เลิศสัจญาณ คนหูหนวกในฐานะสมาชิกของสมาคมฯ ระบายให้ฟังว่าคนหูหนวกก็เจ็บป่วยเหมือนคนทั่วไป สนใจที่จะดูแลสุขภาพ รับ
ประทาน อาหารที่เป็นประโยชน์ จึงไม่ต้องแปลกใจที่คนหูหนวกป่วยเป็นโรคเอดส์เยอะ แม้บางครั้งเรื่องของกฎหมายคนหูหนวกก็ไม่รู้เรื่อง นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว พวกเขาก็อยากจะรู้เรื่องของกฎหมายอย่างลึกซึ้ง

ความตระหนักด้านสุขภาพไม่ได้แบ่งแยกว่าคนหูดีหรือคนหูหนวกกลุ่มไหนใส่ใจมากกว่า สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และมูลนิธิพัฒนาคน
พิการไทย จึงทำเรื่องของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อจัดทำหนังสือคู่มือศัพท์ภาษามือสุขภาพ โดยเชิญผู้นำ คนหูหนวกจากทั่วทุกภาคมาประชุม และร่วมมือกำหนดท่ามือของคำศัพท์ภาษาไทยเกี่ยวกับสุขภาพที่ใช้บ่อยๆ แบ่งเป็น 8 หมวด เช่น คน, อาการ, โรค, สถานที่, วิธีการตรวจ, สาเหตุ, คำสั่งแพทย์/วิธีรักษา, เอกสาร, ของใช้,สื่อ

คิดค้นมาได้ทั้งหมด 236 คำ หลังจากนั้นจึงจัดพิมพ์เป็นหนังสือคู่มือคำศัพท์ภาษามือสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ให้คนหูหนวก ล่ามภาษามือและบุคลากร
ทางการแพทย์ได้ใช้สื่อสารกัน เวลานี้ขั้นตอนรวบรวมคำเสร็จสิ้นไปแล้ว

เหลือแต่ขั้นตอนจัดพิมพ์เป็นเล่ม ซึ่งเป็นงานท้าทายอีกด้านของสมาคม เพราะงบประมาณจัดพิมพ์ยังไม่มี ระหว่างนี้คงต้องวิ่งวุ่นหาทุนมาสนับสนุน
กันอีกทอด เพื่อทำฝันทางสุขภาพของคนหูหนวกให้สำเร็จ

ธรรมชาติของคนหูหนวก
คนหูหนวกจะเล่าเรื่องราวยาวกว่าคนทั่วไป เพราะกลัวคนทั่วไปฟังไม่รู้เรื่อง ใช้ภาษามือ บวกกับการใช้สีหน้า ท่าทางแสดงอาการดีใจ ตื่นเต้น
มีความสุขทุกครั้งที่คนหูหนวกพูด จึงต้องใช้สีหน้ามากกว่าคนทั่วไป การใช้ภาษามือขึ้นอยู่กับสีหน้า และเป็นธรรมชาติของคนหูหนวกเมื่อมีการพบปะหรือประชุมกันกว่าจะแยกจากกันได้ จะใช้เวลานานกว่าคนทั่วไป

หนทางการติดต่อสื่อสารของคนหูหนวกจากเดิมลำบากมาก เพราะใช้โทรศัพท์ไม่ได้อาศัยส่งแฟกซ์ บางคนเขียนไม่คล่องก็ใช้วิธีการวาดรูป แต่สมัยนี้
โทรศัพท์มือถือสามารถส่งข้อความได้ คนหูหนวกดีใจมาก แต่เขาเหล่านั้นก็อยากจะขอร้องให้บริษัทผู้ขายโทรศัพท์มือถือ ช่วยลดราคาค่าส่งข้อความ
ทางโทรศัพท์ให้กับพวกเขาให้เท่าเทียมกับราคาค่าโทรศัพท์สาธารณะ เพราะเขาไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้โทรศัพท์สาธารณะเลย

คนหูหนวกมีพรสวรรค์ที่สำคัญมีสายตาที่ดีเยี่ยม มีจินตนาการที่ยาวไกล อาชีพใหม่ๆ ที่เขาอยากประกอบนอกจากขายของแล้ว เขาอยากทำงานด้าน
คอมพิวเตอร์ งานออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นต้น

ปัจจุบันคนหูหนวกขาดแคลนล่ามภาษามือเป็นอย่างมาก และอย่างที่รู้คนหูหนวกประกอบอาชีพอิสระ บางครั้งถูกเทศกิจจับ เขาต้องการล่ามมากเพื่อ
มาเจรจาค่าปรับ หรือ เกิดอุบัติเหตุต้องการใช้ล่ามด่วน สมาคมฯ มีล่ามจำกัด สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยจึงอยากเชิญชวนผู้สนใจเข้ามาเรียน
ภาษามือ โดยอาจจะเริ่มต้นจากครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นคนหูหนวกก่อน

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2546

กลับไปหน้าแรก