โครงสร้างของหัวใจ หัวใจของคนที่โตเต็มวัยจะมีขนาดกว้างประมาณ 9 cm. ยาว 12.5 cm. และหนา 5 cm. มีน้ำหนักประมาณ 300 กรัม มีตำแหน่งอยู่ภายในช่องอกระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจอยู่ภายในเยื่อหุ้มหัวใจที่เรียกว่า เยื่อเพอริคาร์เดียม (pericardium)



กล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหุ้ม 3 ชั้น


เป็นชั้นที่หุ้มหัวใจไว้มีเนื้อเยื่อไขมันเป็นจำนวนมาก และจะพบเส้นเลือดขนาดใหญ่ผ่านชั้นนี้ ที่ผนังด้านนอกของหัวใจที่เส้นเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงหัวใจ เรียกเส้นเลือดนี้ว่า โคโรนารี อาร์เทอรี (coronary artery) เป็นเส้นเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หากเส้นนี้เกิดการอุดตันแล้วเลือดจะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจทำให้หัวใจวายถึงตายได้


เป็นชั้นที่หนามากที่สุด ประกอบขึ้นจากกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยเฉพาะ และเป็นส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งมีลักษณะพิเศษที่มีการทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ และมีลายเล็กน้อย


เป็นชั้นที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อเรียบและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมากมาย

หัวใจคนมี 4 ห้อง คือ ห้องบน (atrium, auricle) 2 ห้อง และห้องล่าง (ventricle) 2 ห้อง แต่ละห้องแยกกันอย่างสมบูรณ์ ดังนี้



เป็นหัวใจห้องบนขวา มีขนาดเล็ก ผนังกล้ามเนื้อบาง มีหน้าที่รับเลือดที่ใช้แล้วจากส่วนต่างๆของร่างกาย (CO2) ที่ลำเลียงมากับเส้นเลือดซูพีเรียเวนาคาวา (superior vena cava) ซึ่งรับเลือดที่ใช้แล้วจากศีรษะและแขน กับเส้นเลือดอินฟีเรียเวนาคาวา (inferior vena cava) ซึ่งรับเลือดที่ใช้แล้วจากอวัยวะภายในและขา


เป็นหัวใจห้องบนซ้าย มีขนาดเล็ก ผนังกล้ามเนื้อบาง มีหน้าที่รับเลือดที่ฟอกแล้ว (oxygenated blood) จากปอดที่ลำเลียงมากับเส้นเลือดพัลโมนารีเวน (pulmonary vein)


เป็นหัวใจห้องล่างขวา มีขนาดเล็ก ช่องภายในมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีหน้าที่รับเลือดจากเอเตรียมขวา และส่งไปฟอกที่ปอดโดยเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี (pulmonary artery)


เป็นหัวใจห้องล่างซ้าย มีผนังกล้ามเนื้อหนาที่สุด และหนาประมาณ 3 เท่าของด้านขวา เพราะทำหน้าที่รับเลือดจากเอเตรียมซ้ายแล้วสูบฉีดเลือดอย่างแรงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยส่งออกไปกับเส้นเลือดเอออร์ตา (aorta)

ลิ้นหัวใจ เป็นโครงสร้างที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ลิ้นภายในหัวใจมีตำแหน่งลักษณะและชื่อเรียกดังนี้



อยู่ระหว่างหัวใจห้องเอเตรียมขวาและเวนตริเคิลขวา มีลักษณะเป็นแผ่น 3 แผ่น ที่ขอบของแต่ละลิ้นจะยึดติดกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและผนังของเวนตริเคิลเพือควบคุมการปิดเปิดลิ้น ป้องกันไม่ให้เลือดในเวนตริเคิลขวาไหลย้อนกลับขึ้นสู่เอเตรียมขวา


อยู่ที่โคนของเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี มีลักษณะเป็นถุงรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 3 ใบ บรรจบกันแต่ไม่ได้ยึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำหน้าที่กันไม่ให้เลือดไหลกลับสู่เวนตริเคิลขวา


อยู่ที่โคนของเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี มีลักษณะเป็นถุงรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 3 ใบ บรรจบกันแต่ไม่ได้ยึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำหน้าที่กันไม่ให้เลือดไหลกลับสู่เวนตริเคิลขวา


อยู่ที่โคนของเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี มีลักษณะเป็นถุงรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 3 ใบ บรรจบกันแต่ไม่ได้ยึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำหน้าที่กันไม่ให้เลือดไหลกลับสู่เวนตริเคิลขวา

เนื้อเยื่อหัวใจมี 4 ชนิด คือ


เป็นเนื้อเยื่อที่บุทั้งภายนอกและภายในหัวใจ


เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ ยึดลิ้นหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจ


เป็นเนื้อเยื่อซึ่งแตกต่างจากกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ ที่ไม่มีลายมากเหมือนกล้ามเนื้อลาย แต่ไม่อยู่ในอำนาจจิตเหมือนกับกล้ามเนื้อเรียบ


เป็นเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงมาจากกล้ามเนื้อหัวใจในระยะ embryo ขณะที่สร้างกล้ามเนื้อหัวใจ แต่การหดตัวไม่ดีเท่ากล้ามเนื้อหัวใจ แต่สามารถเกิด depolarization ได้ดีกว่า พร้อมกับเกิดการนำกระแสประสาท หัวใจจึงหดตัวได้โดยไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้น เนื้อเยื่อโดนัล ได้แก่

- Sinoatrial node หรือ S - A node มีขนาดกว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 18 มิลลิเมตร อยู่ที่ผนังห้องบนขวาใกล้ๆกับทางเข้าของเส้นเลือดเวนาคาวา ส่วนบนของ S - A node สร้างกระแสประสาทได้เอง จึงเรียกจุดนี้ว่า pace - maker หรือผู้ให้จังหวะ โดยให้จังหวะประมาณ 75 - 80 ครั้งต่อนาที ซึ่งเท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจของคนทั่วๆไป

ในรายที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหรือเป็นจังหวะที่ไม่แน่นอน จะมีการผ่าตัดฝัง Artificial pace maker ไว้ในกล้ามเนื้อบริเวณทรวงอก โดยโยงสายจาก Artificial pace maker เข้าทาง external jugular vein หรือ vein อื่นบริเวณลำคอเพื่อส่งเข้าซูพีเรียเวนาคาวา ผ่านหัวใจห้องบนขวาผ่านลิ้นไตรคัสปิด เข้าหัวใจห้องล่างซ้ายไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อกระตุ้นหัวใจให้เต้นตามปกติ คือ 72 ครั้ง/นาที

- Atrio - ventricular node หรือ A - V node

เป็นเนื้อเยื่อพิเศษที่รับกระแสประสาทมาจาก S - A node

ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มการเต้นของหัวใจ จนกระทั่งถึงการเต้นของหัวใจครั้งต่อไป เรียกว่า 1 วงจร ซึ่งประกอบด้วย กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (systole) เพื่อไล่เลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่างหรือไล่เลือดออกไปสู่เส้นเลือด หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะคลายตัว (diastole) เพื่อให้เลือดเข้ามาสู่หัวใจห้องที่ว่าง แล้วเริ่มวงจรใหม่ต่อไป ในแต่ละวงจรจะมีการกระตุ้นที่ S - A node แล้วส่งกระแสประสาทไปยัง A - V node ซึ่งอยู่ที่ฐานของผนังหัวใจห้องขวา แล้วส่งไปยังใยประสาทที่เรียกว่า A - V bundle หรือ Bundle of His แล้วแยกกิ่งไปยัง Ventricle ซ้ายและขวาทางเส้นใยที่เรียกว่า Purkinje fibers ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัว และในแต่ละวงจรจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางไฟฟ้าและทางกล เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สามารถวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าได้โดยใช้เครื่อง electrocardiograph แล้วแสดงออกมาเป็นกราฟที่เรียกว่า electrocardiogram ซึ่งเรียกกันย่อๆว่า EKG หรือ ECG ซึ่ง EKG หรือ ECG มีประโยชน์ในการแพทย์สำหรับตรวจการทำงานของหัวใจ