www./oocities.com/pontipa001
หน้าแรก
..........
ทดสอบความรู้
ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์กร
โครงสร้างกำลังเปลี่ยนแปลง
|
ในยุคสมัยเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว
การประมวลผลข้อมูลข่าวสารในองค์กรส่วนใหญ่ใช้ระบบรวมศูนย์
(centralize) กล่าวคือ มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขององค์กรเป็นสถานที่จัดการข้อมูลข่าวสาร
ประมวลผลกับที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นระบบมินิคอมพิวเตอร์หรือ
เมนเฟรม ดังนั้นจึงมีใช้กันเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาพีซี
ขีดความสามารถของพีซีสูงขึ้น การใช้งานในระดับส่วนตัวทำได้ดี
เกิดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่ผู้ใช้เป็นผู้ดำเนินการเอง
มีโปรแกรมสำเร็จรูปให้ใช้มากมาย
หลังจากปี
ค.ศ. 1990 เครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลาย มีการนำคอมพิวเตอร์ระดับพีซีมาสร้างเป็นเครือข่าย
ก่อให้เกิดการทำงานแบบรวมกลุ่ม หรือที่เรียกว่า
เวอร์กกรุฟ และรวมหลายเวอร์กรุฟเรียกว่า Enterprise
แนวคิดจึงมีลักษณะการกระจายฟังก์ชันการทำงานออกไป
เริ่มมีการกระจายระบบเซิร์ฟเวอร์ไปยังหน่วยงานย่อยต่าง
ๆ ให้แต่ละหน่วยงานย่อยมีระบบเครือข่ายแลนของตนเอง
และเชื่อมโยงเครือข่ายแลนย่อยเข้าด้วยกันด้วยอุปกรณ์สื่อสารจำพวกสวิตชิ่งหรือเราเตอร์
เครือข่ายขององค์กรจึงเกิดขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไป
การปรับเปลี่ยนระบบการใช้งานคอมพิวเตอร์ก็แปรเปลี่ยนไปด้วย
มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่เข้ามาทำให้องค์กรต่าง
ๆ ต้องปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องโครงสร้างการประมวลผลระบบสารสนเทศในองค์กร
ทั้งนี้เพราะเซิร์ฟเวอร์มีขนาดใหญ่ขึ้น
มีประสิทธิภาพดี ขีดความสามารถของเซิร์ฟเวอร์จึงรองรับงานได้มากขึ้น
แนวคิดในเรื่องการรวมข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลางจึงเกิดขึ้น
แต่ก็ยังกระจายฟังก์ชันการทำงาน โดยมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนตัวเชื่อมการไหลกระแสข้อมูลข่าวสารในองค์กร
อินทราเน็ตจึงเป็นระบบที่องค์กรสมัยใหม่เลือกนำมาใช้
การทำงานแบบนี้พยายามตอบสนองผู้ใช้ในลักษณะกระจายหรือทำให้เกิดระบบที่เรียกว่า
Mobile/Remote Work ก่อให้เกิดการทำงานแบบ Virtual
Workplace ลักษระงานจึงมีลักษณะเป็นแบบลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง
หรือ Customer Centricity ลูกค้าสามารถรับบริการที่ใดก็ได้
ดังเช่นการใช้งานเอทีเอ็มของธนาคาร
เทคโนโลยีเครือข่ายยังเป็นตัวเร่งทำให้ระบบอินทราเน็ตขององค์กรแพร่กระจายได้เร็ว
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์เข้ามาสนับสนุนผู้ใช้ในฐานะที่เป็น
End User ได้มาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เรียกว่า Web
Technology
เทคโนโลยีเว็บ
ใช้เซิร์ฟเวอร์ที่รองรับระบบข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก
และเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสารในองค์กรได้ดี
การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารมีมาตรฐานที่ชัดเจนขึ้น
ข้อมูล ข่าวสารที่เรียกดูบนเว็บใช้มาตรฐาน
HTML ขณะเดียวกันมีการสร้างระบบเชื่อมโยงต่อกับระบบฐานข้อมูล
เพื่อให้ผู้ใช้เรียกผ่านเข้าดูในลักษณะเว็บได้
ถนนหลายสายของการพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสารในองค์กรจึงเดินทางมาในรูปแบบที่ใช้เทคโนโลยีเว็บ
แนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ
พีซีมีลักษณะเป็น Client ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จนมีผู้กล่าวขนานนามว่า Fat Client การใช้งานพีซีจึงทำงานได้มาก
จุดนี้เองเป็นแรงสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่พึงพอใจ
และเมื่ออยู่บนเครือข่ายขององค์กร แนวโน้มการทำงานแบบเวอร์กโฟลว์ก็เด่นชัดขึ้น
ซอฟต์แวร์ของค่ายดังหลายแห่งทั้งไมโครซอฟต์
โลตัส ไอบีเอ็ม ต่างเน้นให้เกิดการทำงานแบบเวอร์กโฟล์วบนเครือข่าย
ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ เช่น ออฟฟิส 97
โลตัสโน้ต (โดมิโน) แม้แต่ในระบบการพัฒนาฐานข้อมูลของค่ายดัง
ทั้งโอราเคิล อินฟอร์มิกซ์ ไซเบส ฯลฯ ล้วนแล้วแต่สนับสนุนการทำงานแบบเวอร์กโฟล์วบนเครือข่าย
ผู้ใช้สามารถใช้งานผ่านทางบราวเซอร์เพื่อดำเนินกิจกรรมการทำงานต่าง
ๆ ของตนได้
โมเดลขององค์กรในเรื่องการจัดการสารสนเทศจึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามกระแสเทคโนโลยีที่สำคัญคือ
ระบบจะรวมศูนย์ในลักษณะการมองแบบการรวมทรัพยากรต่าง
ๆ ให้เห็นเสมือนหนึ่งว่าทรัพยากรนั้นเป็นของรวมที่แบ่งกันใช้
ขณะเดียวกันก็กระจายการทำงาน กระจายการบริการ
มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานระดับส่วนตัว
แต่ก็ประสานรวมกับของทั้งองค์กรได้
องค์กรสมัยใหม่จึงเริ่มปรับฐานด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางระบบสื่อสารภายในองค์กร
โดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบแลนพัฒนาระบบงานบนพื้นฐาน
การเรียกเข้าหาจากเครือข่ายและที่สำคัญก็คือ
ทุกองค์กรมุ่งมาตรฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้
นั่นคือ TCP/IP หรืออินเทอร์เน็ต
จากกรณีการพัฒนาขององค์การต่าง
ๆ ที่พบเห็น บริษัท Gartner Group ได้สรุปผลไว้ว่า
"องค์กรต่าง ๆ ได้แสวงหาวิธีการสมัยใหม่
ในอันที่จะลดต้นทุนของระบบสารสนเทศ
โดยการปรับปรุงระบบภายในให้มีลักษณะเป็นแบบการรวมทรัพยากรข่าวสาร
โดยมีเครือข่ายกระจายไปยังผู้ใช้เพื่อกระจายการบริการข่าวสาร"
หน้าแรก